3โครงการ อีอีซี ส่อเค้ายืดเยื้อ
วันที่ : 16 พฤษภาคม 2562
ประมูล 3 เมกะโปรเจ็กต์อีอีซี ส่อเค้ายืดเยื้อ ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 คณะกรรมการคัดเลือกฯ ประกาศซอง 4 ไม่ได้ ต้องรอศาลชี้ขาดกลุ่ม NPC ถูกตัดสิทธิ์หรือไม่ ประมูลอู่ตะเภา ศาลนัดไต่สวน ยื่นซองประมูลล่าช้า 16 พ.ค.นี้ ส่วนท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 รอครม.ไฟเขียวทีโออาร์ใหม่
ประมูล 3 เมกะโปรเจ็กต์อีอีซี ส่อเค้ายืดเยื้อ ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 คณะกรรมการคัดเลือกฯ ประกาศซอง 4 ไม่ได้ ต้องรอศาลชี้ขาดกลุ่ม NPC ถูกตัดสิทธิ์หรือไม่ ประมูลอู่ตะเภา ศาลนัดไต่สวน ยื่นซองประมูลล่าช้า 16 พ.ค.นี้ ส่วนท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 รอครม.ไฟเขียวทีโออาร์ใหม่
โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของค่าเรือ F วงเงินลงทุนราว 8.4 หมื่นล้านบาท หนึ่งในเมกะโปรเจ็กต์ แผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ด้วยการร่วมลงทุนรัฐกับเอกชน ซึ่งมี 2 กลุ่มใหญ่ที่ยื่นซองประมูล ได้แก่ กลุ่มกิจการร่วมค้า จีพีซี ประกอบด้วย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด และ China Harbour Engineering Company Limited ตัดเชือกกับ กลุ่มกิจการร่วมค้า เอ็นพีซี ประกอบด้วยบริษัท นทลิน จำกัด, บริษัท แอสโซซิเอท อินฟินิตี้ จำกัด, บริษัท พีเอชเอส ออแกนิค ฮีลลิ่ง จำกัด, บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ทั้งนี้ การประมูลโครงการดังกล่าวดูเหมือนจะยืดเยื้อ หลังคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ได้ตัดสิทธิ์กลุ่มเอ็นพีซี เนื่องจากยื่นเอกสารเข้ามาไม่ครบตามมาตรฐาน ซึ่งนำไปสู่การฟ้องผู้ตรวจการแผ่นดินและศาลปกครองกลาง เพื่อขอความเป็นธรรมและการพิจารณาที่โปร่งใส
ล่าสุดแหล่งข่าวระดับสูงของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าคณะกรรมการฯ ได้เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ถึงผลการพิจารณาตัดสิทธิ์กลุ่มเอ็นพีซี ซึ่งกพอ.เพียงรับทราบเท่านั้น ไม่มีการชี้ขาดหรือพิจารณาแนวทางการดำเนินงานออกมาแต่อย่างใด ซึ่งหลังจากนี้จะต้องรอความชัดเจนการพิจารณาของศาลปกครองกลางออกมาก่อน
อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการคัดเลือกได้พิจารณาซองที่ 4 เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ประกาศผล เนื่องจากต้องรอผลการพิจารณาของศาลปกครอง กลาง ก่อนจึงจะสามารถประกาศผลการพิจารณาซองที่ 4 ได้
"การประชุมของคณะกรรมการกพอ.ยังไม่มีผลใดๆคณะกรรมการคัดเลือกยังเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งยังมีระยะเวลาดำเนินการ จึงสามารถรอความชัดเจนของการพิจารณาของศาลปกครองกลางได้ เบื้องต้นคณะกรรมการได้หยุดการพิจารณาเอาไว้ก่อน ไม่ได้ประกาศผลในซองที่ 4 จากนั้นจึงค่อยขับเคลื่อนการประชุมหลังผ่านพ้นวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ ที่จะมีการประชุมกพอ.แต่หากศาลมีคำสั่งตรงกันข้ามให้กลับไปเริ่มต้นใหม่ก็สามารถดำเนินการได้ทันที"
ส่วนการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่าราว 2.9 แสนล้านบาท ที่เกิดปัญหาในการยื่นฟ้องร้องต่อศาลด้วยนั้น ในวันที่ 16 พฤษภาคม2562 ศาลปกครองกลางได้นัดไต่สวน กรณี บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จากกรณีมีมติไม่รับซองข้อเสนอของผู้ฟ้องคดีบางรายการ (กล่องที่ 6 ซึ่งเป็นข้อเสนอทางเทคนิคและแผนธุรกิจ และตัวจริงกล่องที่ 9 ซึ่งเป็นข้อเสนอด้านราคา
เนื่องจากกลุ่มกิจการค้าร่วมบริษัทธนโฮลดิ้งฯ (ที่มีนายธนินท์ เจียรวนนท์และเครือญาติเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่) และพันธมิตรยื่นซองประมูลเกินเวลา15.00 น. ในวันที่ 21 มีนาคม 2562 ซึ่งเป็นวันปิดรับซองข้อเสนอประมูล
สำหรับการประมูลโครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 มูลค่าโครงการ 5.54 หมื่นล้านบาทนั้น ทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ได้หยุดการพิจารณาซอง 3 ด้านข้อเสนอราคาที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ตอบแทนรัฐที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด กับกลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์และพีทีที แทงค์ เทอร์มินัล ไว้ก่อน เนื่องจากมีเงื่อนไขที่เปลี่ยน แปลงไปจากทีโออาร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในเงื่อนไขใหม่
โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของค่าเรือ F วงเงินลงทุนราว 8.4 หมื่นล้านบาท หนึ่งในเมกะโปรเจ็กต์ แผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ด้วยการร่วมลงทุนรัฐกับเอกชน ซึ่งมี 2 กลุ่มใหญ่ที่ยื่นซองประมูล ได้แก่ กลุ่มกิจการร่วมค้า จีพีซี ประกอบด้วย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด และ China Harbour Engineering Company Limited ตัดเชือกกับ กลุ่มกิจการร่วมค้า เอ็นพีซี ประกอบด้วยบริษัท นทลิน จำกัด, บริษัท แอสโซซิเอท อินฟินิตี้ จำกัด, บริษัท พีเอชเอส ออแกนิค ฮีลลิ่ง จำกัด, บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ทั้งนี้ การประมูลโครงการดังกล่าวดูเหมือนจะยืดเยื้อ หลังคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ได้ตัดสิทธิ์กลุ่มเอ็นพีซี เนื่องจากยื่นเอกสารเข้ามาไม่ครบตามมาตรฐาน ซึ่งนำไปสู่การฟ้องผู้ตรวจการแผ่นดินและศาลปกครองกลาง เพื่อขอความเป็นธรรมและการพิจารณาที่โปร่งใส
ล่าสุดแหล่งข่าวระดับสูงของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าคณะกรรมการฯ ได้เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ถึงผลการพิจารณาตัดสิทธิ์กลุ่มเอ็นพีซี ซึ่งกพอ.เพียงรับทราบเท่านั้น ไม่มีการชี้ขาดหรือพิจารณาแนวทางการดำเนินงานออกมาแต่อย่างใด ซึ่งหลังจากนี้จะต้องรอความชัดเจนการพิจารณาของศาลปกครองกลางออกมาก่อน
อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการคัดเลือกได้พิจารณาซองที่ 4 เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ประกาศผล เนื่องจากต้องรอผลการพิจารณาของศาลปกครอง กลาง ก่อนจึงจะสามารถประกาศผลการพิจารณาซองที่ 4 ได้
"การประชุมของคณะกรรมการกพอ.ยังไม่มีผลใดๆคณะกรรมการคัดเลือกยังเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งยังมีระยะเวลาดำเนินการ จึงสามารถรอความชัดเจนของการพิจารณาของศาลปกครองกลางได้ เบื้องต้นคณะกรรมการได้หยุดการพิจารณาเอาไว้ก่อน ไม่ได้ประกาศผลในซองที่ 4 จากนั้นจึงค่อยขับเคลื่อนการประชุมหลังผ่านพ้นวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ ที่จะมีการประชุมกพอ.แต่หากศาลมีคำสั่งตรงกันข้ามให้กลับไปเริ่มต้นใหม่ก็สามารถดำเนินการได้ทันที"
ส่วนการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่าราว 2.9 แสนล้านบาท ที่เกิดปัญหาในการยื่นฟ้องร้องต่อศาลด้วยนั้น ในวันที่ 16 พฤษภาคม2562 ศาลปกครองกลางได้นัดไต่สวน กรณี บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จากกรณีมีมติไม่รับซองข้อเสนอของผู้ฟ้องคดีบางรายการ (กล่องที่ 6 ซึ่งเป็นข้อเสนอทางเทคนิคและแผนธุรกิจ และตัวจริงกล่องที่ 9 ซึ่งเป็นข้อเสนอด้านราคา
เนื่องจากกลุ่มกิจการค้าร่วมบริษัทธนโฮลดิ้งฯ (ที่มีนายธนินท์ เจียรวนนท์และเครือญาติเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่) และพันธมิตรยื่นซองประมูลเกินเวลา15.00 น. ในวันที่ 21 มีนาคม 2562 ซึ่งเป็นวันปิดรับซองข้อเสนอประมูล
สำหรับการประมูลโครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 มูลค่าโครงการ 5.54 หมื่นล้านบาทนั้น ทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ได้หยุดการพิจารณาซอง 3 ด้านข้อเสนอราคาที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ตอบแทนรัฐที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด กับกลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์และพีทีที แทงค์ เทอร์มินัล ไว้ก่อน เนื่องจากมีเงื่อนไขที่เปลี่ยน แปลงไปจากทีโออาร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในเงื่อนไขใหม่
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ