ชงบอร์ดEECเคาะไฮสปีดเทรน 5 บิ๊กโปรเจกต์เดินต่อ
วันที่ : 10 พฤษภาคม 2562
วานนี้ (9 พ.ค.) นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ภายในวันที่ 10 พ.ค.นี้ การเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (กลุ่มซีพีและพันธมิตร) เพื่อพัฒนาโครงการ รถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน ขั้นตอนสุดท้ายจะแล้วเสร็จ และจะสรุปการเจรจาและร่างสัญญาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอนุมัติ ในวันที่ 13 พ.ค. และเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติอีกครั้ง ก่อนเซ็นสัญญาระหว่างรัฐและกลุ่มซีพีต่อไป
วานนี้ (9 พ.ค.) นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ภายในวันที่ 10 พ.ค.นี้ การเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (กลุ่มซีพีและพันธมิตร) เพื่อพัฒนาโครงการ รถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน ขั้นตอนสุดท้ายจะแล้วเสร็จ และจะสรุปการเจรจาและร่างสัญญาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอนุมัติ ในวันที่ 13 พ.ค. และเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติอีกครั้ง ก่อนเซ็นสัญญาระหว่างรัฐและกลุ่มซีพีต่อไป
"ยอมรับยังไม่มั่นใจว่าจะมีการประชุม ครม.อีกหรือไม่หรืออาจต้องรอ ครม.ชุดใหม่เข้ามาอนุมัติ แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันมั่นใจว่า จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงทั้งโครงการไฮสปีด และ 4 โครงการโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้แก่ ท่าเรือมาบตาพุด ระยะ 3 ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะ 3 สนามบินอู่ตะเภาฯ และศูนย์ซ่อม-สร้างอากาศยานจะยังคงเดินหน้า และเข้า ครม.เพื่ออนุมัติสัญญาทั้ง5โครงการได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้" นายคณิศ กล่าว
มาบตาพุดเฟส 3 เจรจาใกล้จบ
ส่วนความคืบหน้าโครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะ 3 ล่าสุดอยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มกิจการ ร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีที แทงค์ (บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด) โดยประเด็นที่ต้องสรุปในขั้นสุดท้าย เช่น อัตราผลตอบแทนที่เดิมเอกชนต้องจ่าย 100% แต่จากการเจรจา เอกชนขอลดลงเหลือ 80% หลังจากนี้จะเสนอต่อบอร์ดอีอีซีอนุมัติสัญญาปลายเดือน พ.ค.นี้ และเสนอ ครม.อนุมัติสัญญา คาดว่า ครม.จะอนุมัติได้ในเดือน มิ.ย.เช่นกัน
ขณะที่โครงการสนามบินอู่ตะเภาฯที่ล่าสุดกลุ่มกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท ธนโฮลดิ้ง เครือซีพี ใช้สิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับมติและคำสั่งของคณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่ไม่รับพิจารณาเอกสารการยื่นประมูลเพราะส่งเอกสารบางส่วนไม่ทันนั้น ในภาพรวมจะมีการพิจารณากลุ่มที่ยื่นตามเกณฑ์เป็นหลัก คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จากัด (มหาชน) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) แต่หากศาลมีมติให้รับพิจารณาก็ต้องดำเนินการ ไม่มีปัญหาอะไร
ด้านโครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะ 3 อยู่ระหว่างข้อเสนอกลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์ และ พีทีที แทงค์ ที่ยื่นเข้ามา และรอการตัดสินจากศาลปกครอง กรณีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอ็นซีพี ประกอบด้วยบริษัท นทลิน จำกัด บริษัท พรีมารีน จำกัด (มหาชน) บริษัท แอโซซิเอท อินฟินิตี้ จำกัด และ บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรั๊คชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด ยื่นฟ้องให้มีสิทธิร่วมประมูลหลังโดนตัดสิทธิเพราะเอกสารไม่ครบถ้วน ขณะที่ ศูนย์ซ่อม-สร้างอากาศยาน ก็อยู่ระหว่างเจรจาระหว่างกลุ่มแอร์บัสที่ร่วมลงทุนกับการบินไทย คาดว่าจะมีความชัดเจนและเข้า ครม.ในเดือน มิ.ย.
"ยอมรับยังไม่มั่นใจว่าจะมีการประชุม ครม.อีกหรือไม่หรืออาจต้องรอ ครม.ชุดใหม่เข้ามาอนุมัติ แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันมั่นใจว่า จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงทั้งโครงการไฮสปีด และ 4 โครงการโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้แก่ ท่าเรือมาบตาพุด ระยะ 3 ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะ 3 สนามบินอู่ตะเภาฯ และศูนย์ซ่อม-สร้างอากาศยานจะยังคงเดินหน้า และเข้า ครม.เพื่ออนุมัติสัญญาทั้ง5โครงการได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้" นายคณิศ กล่าว
มาบตาพุดเฟส 3 เจรจาใกล้จบ
ส่วนความคืบหน้าโครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะ 3 ล่าสุดอยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มกิจการ ร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีที แทงค์ (บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด) โดยประเด็นที่ต้องสรุปในขั้นสุดท้าย เช่น อัตราผลตอบแทนที่เดิมเอกชนต้องจ่าย 100% แต่จากการเจรจา เอกชนขอลดลงเหลือ 80% หลังจากนี้จะเสนอต่อบอร์ดอีอีซีอนุมัติสัญญาปลายเดือน พ.ค.นี้ และเสนอ ครม.อนุมัติสัญญา คาดว่า ครม.จะอนุมัติได้ในเดือน มิ.ย.เช่นกัน
ขณะที่โครงการสนามบินอู่ตะเภาฯที่ล่าสุดกลุ่มกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท ธนโฮลดิ้ง เครือซีพี ใช้สิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับมติและคำสั่งของคณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่ไม่รับพิจารณาเอกสารการยื่นประมูลเพราะส่งเอกสารบางส่วนไม่ทันนั้น ในภาพรวมจะมีการพิจารณากลุ่มที่ยื่นตามเกณฑ์เป็นหลัก คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จากัด (มหาชน) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) แต่หากศาลมีมติให้รับพิจารณาก็ต้องดำเนินการ ไม่มีปัญหาอะไร
ด้านโครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะ 3 อยู่ระหว่างข้อเสนอกลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์ และ พีทีที แทงค์ ที่ยื่นเข้ามา และรอการตัดสินจากศาลปกครอง กรณีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอ็นซีพี ประกอบด้วยบริษัท นทลิน จำกัด บริษัท พรีมารีน จำกัด (มหาชน) บริษัท แอโซซิเอท อินฟินิตี้ จำกัด และ บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรั๊คชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด ยื่นฟ้องให้มีสิทธิร่วมประมูลหลังโดนตัดสิทธิเพราะเอกสารไม่ครบถ้วน ขณะที่ ศูนย์ซ่อม-สร้างอากาศยาน ก็อยู่ระหว่างเจรจาระหว่างกลุ่มแอร์บัสที่ร่วมลงทุนกับการบินไทย คาดว่าจะมีความชัดเจนและเข้า ครม.ในเดือน มิ.ย.
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ