คณิศ ติดเครื่องลงทุนอีอีซี บูมอ่าวตะวันออกดัน GDP เพิ่ม 2%
วันที่ : 18 เมษายน 2562
2562 คือปีที่ 3 ของการบริหารเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) การเคลียร์บัญชีลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เป็นไปตามแผนในปี 2562 ช่วงรอยต่อ 2 รัฐบาล เป็น 1 ในภารกิจ
2562 คือปีที่ 3 ของการบริหารเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) การเคลียร์บัญชีลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เป็นไปตามแผนในปี 2562 ช่วงรอยต่อ 2 รัฐบาล เป็น 1 ในภารกิจ
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จึงต้องเร่งสปีด-จัดคิวโครงสร้างพื้นฐานรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น หลังสัญญาสัมปทานทุกโครงการเริ่มเดินหน้า
"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ "นายคณิศ" ระหว่างเดินทาง โรดโชว์แผนการลงทุนในเขตอีอีซีที่เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเวทีสัมมนา "การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ ครั้งที่ 13" (The 13th China Henan International & Trade Fair) ระหว่างวันที่ 8-11 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นเวทีสำคัญเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติ
อัดฉีด 6.5 แสนล้าน ดัน GDP เพิ่ม 2%
"นายคณิศ" กล่าวว่า แผนการลงทุนในช่วง 5 ปีของเขต อีอีซีที่วางไว้ประมาณ 6.5 แสนล้าน ทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, เมืองการบินอู่ตะเภา, ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3, ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3, ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา และเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
"หากการลงทุนทั้งหมดนี้เริ่มขึ้น คาดว่าจะมีการลงทุนในเขตอีอีซีเฉลี่ยปีละ 1 แสนล้าน คิดเป็น 0.8% ของ GDP บวกกับการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) อีก 1 แสนล้าน ตัวเลข 0.8% ของ GDP เช่นกัน นอกจากนั้น จะมีการลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และอื่น ๆ อีก 0.4% จะดันตัวเลข GPD รวมของประเทศเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 2%"
เจรจาไฮสปีดจบลงทุนขึ้นเฟส 3
เลขาธิการอีอีซีกล่าวถึงความคืบหน้าภาพรวมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานว่า ขณะนี้เตรียมความพร้อมไว้หมดแล้ว ทั้งแผนการพัฒนา ระเบียบและกฎหมาย เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หลังเจรจากับกลุ่ม ซี.พี.ให้ปลดเงื่อนไขทั้งหมดออก และจัดทำรายละเอียดการลงทุน พร้อมทั้งแก้ปัญหากับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ผ่านไปได้แล้ว ทั้งโปรเจ็กต์อีอีซี กำลังเข้าสู่เฟสที่ 3 คือเดินหน้าลงทุนตามแผน
"สำหรับเงื่อนไขที่ฝ่าย ซี.พี.อยากให้บันทึกไว้ 3 ข้อ เช่น การจ่ายรายได้คืนผู้ลงทุนในปีแรก แต่เรายืนยันให้จ่ายในปีที่ 6, การตั้งกองทุนอีเมอร์เจนซี่ฟันด์ เพื่อสนับสนุนแก้ปัญหา ในอนาคต, การขอผ่อนจ่ายค่าใช้สิทธิ์แอร์พอร์ตลิงก์ 10 ปี ในปีที่ 2 ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่บอร์ดอีอีซีไม่รับอยู่แล้ว ถึงอย่างไร ก็ไม่รับ เราจะรับเฉพาะข้อเสนอที่เป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย ในอนาคต อย่างไรก็ตาม มีการเสนอกันก่อนหน้านี้ว่าควรจะมีกองทุนอินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯในอนาคต เพราะโครงการขนาดใหญ่สามารถระดมทุนได้ แต่ทั้งนี้จะตั้งขึ้นมาเมื่อไร ขึ้นอยู่กับรายได้ ซึ่งต้องรอให้โครงการมีรายได้เข้ามาก่อน"
นายคณิศกล่าวด้วยว่า "กองทุนอีเมอร์เจนซี่ฟันด์ ซึ่งเจบิก ตั้งใจจะทำให้เกิดขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนร่วมกันในประเทศที่ 3 ของญี่ปุ่นกับจีน ซึ่งต้องหารือกับกระทรวงการคลังด้วย ซึ่งจะเป็นกองทุนสำหรับโครงการพื้นฐานทุกโครงการในอีอีซี"
เตรียมเปิด 3 ซองประมูลสนามบินอู่ตะเภา
สำหรับโครงการสนามบินอู่ตะเภาที่อีอีซีตั้งใจจะพัฒนาให้เป็น "มหานครการบิน" นั้น ขณะนี้มีเอกชนสนใจ 3 ราย คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในนามบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ได้แก่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD, บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด และ Fraport AG Frankfurt Airport Services Worldwide จากเยอรมนี
รายที่ 2 เป็นกลุ่มแกรนด์ คอนโซเตียม (GRAND Consortium) ประกอบด้วย บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAND อยู่ในกลุ่มบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF สัดส่วน 80% บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (บ.ย่อยของบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน)) หรือ AAV ถือ 10% และบริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CNT ถือ 10% โดยให้ GMR Airport Limited จากอินเดียมาบริหารสนามบิน และ China Harbour Engineering Company Limited
รายที่ 3 เป็นกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ซึ่งประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS, บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC
"โครงการสนามบินอู่ตะเภากำลังจะเปิดซองแรกหลังเทศกาลสงกรานต์ คาดว่าจะเปิดซองเทคนิคและซองการเงินหลังจากนั้น โครงการนี้เอกชนต้องจ่ายเงินรัฐบาล 50 ปี กว่า 5 หมื่นล้าน ประสบการณ์จากโครงการรถไฟความเร็วสูงจะไม่มีการเสนอซองพิเศษ หลังเปิดซองการเงินแล้วห้ามเจรจาเพิ่มเติม เสนอตัวเลขเท่าไรก็จบเท่านั้น คาดว่าในเดือนเมษายนจะรู้ผลว่าใครได้โครงการอะไรทั้ง 4 โครงการ"
"สมคิด" MOU เมืองการบินคู่ "เจิ้งโจว-อู่ตะเภา"
ในการโรดโชว์เขตพัฒนาพิเศษอีอีซีในเวทีสัมมนานักลงทุนนานาชาติ ที่เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ครั้งนี้จะเป็นการนำร่องเพื่อไปสู่การลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) 2 ฉบับ ในการพัฒนา "เมืองมหานครการบิน" ร่วมกันระหว่าง เมืองการบินอู่ตะเภา อีอีซี กับเมืองการบินเจิ้งโจว เหอหนาน ระหว่างนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กับผู้ว่าการมณฑลเหอหนาน ในช่วงวันที่ 27-29 เมษายน 2562
"เอ็มโอยู 2 ฉบับจะเป็นการยกระดับความร่วมมือความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุนระหว่าง 2 ฝ่าย เจาะลึกถึงระดับอีอีซีกับระดับมณฑล และระหว่างสนามบินต่อสนามบิน เหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องโชคช่วย แต่เป็นความพยายามของรัฐบาลและทีม อีอีซีที่สานพลังเพื่อเสริมสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ 1,300 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นเกตเวย์สู่อาเซียนที่ดี"
อีอีซีเชื่อม "One Belt One Road"
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนจากจีนได้แสดงความสนใจลงทุนในอีอีซี โดยจะมีนักลงทุนจากมณฑลเหอหนานไปลงทุนในอนาคตอันใกล้ ขณะนี้แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่อีอีซีเริ่มมีความชัดเจนแล้ว คาดว่า อีก 2 ปีโครงการพื้นฐานหลายโครงการจะเสร็จแล้ว มีความพร้อมรองรับการลงทุนมหานครการบิน ครอบคลุมพื้นที่ 30 กิโลเมตร จากอู่ตะเภา
ทั้งนี้ ความร่วมมือภายใต้ MOU ที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะลงนาม เป็นการเปิดประตูการค้าจากจีนสู่อาเซียน ซึ่งจะช่วยสนับสนุน โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง "One Belt One Road" หรือ เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 ของจีน โดยใช้โครงการอีอีซี ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้เป็นตัวขับเคลื่อนร่วมกัน
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จึงต้องเร่งสปีด-จัดคิวโครงสร้างพื้นฐานรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น หลังสัญญาสัมปทานทุกโครงการเริ่มเดินหน้า
"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ "นายคณิศ" ระหว่างเดินทาง โรดโชว์แผนการลงทุนในเขตอีอีซีที่เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเวทีสัมมนา "การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ ครั้งที่ 13" (The 13th China Henan International & Trade Fair) ระหว่างวันที่ 8-11 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นเวทีสำคัญเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติ
อัดฉีด 6.5 แสนล้าน ดัน GDP เพิ่ม 2%
"นายคณิศ" กล่าวว่า แผนการลงทุนในช่วง 5 ปีของเขต อีอีซีที่วางไว้ประมาณ 6.5 แสนล้าน ทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, เมืองการบินอู่ตะเภา, ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3, ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3, ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา และเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
"หากการลงทุนทั้งหมดนี้เริ่มขึ้น คาดว่าจะมีการลงทุนในเขตอีอีซีเฉลี่ยปีละ 1 แสนล้าน คิดเป็น 0.8% ของ GDP บวกกับการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) อีก 1 แสนล้าน ตัวเลข 0.8% ของ GDP เช่นกัน นอกจากนั้น จะมีการลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และอื่น ๆ อีก 0.4% จะดันตัวเลข GPD รวมของประเทศเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 2%"
เจรจาไฮสปีดจบลงทุนขึ้นเฟส 3
เลขาธิการอีอีซีกล่าวถึงความคืบหน้าภาพรวมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานว่า ขณะนี้เตรียมความพร้อมไว้หมดแล้ว ทั้งแผนการพัฒนา ระเบียบและกฎหมาย เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หลังเจรจากับกลุ่ม ซี.พี.ให้ปลดเงื่อนไขทั้งหมดออก และจัดทำรายละเอียดการลงทุน พร้อมทั้งแก้ปัญหากับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ผ่านไปได้แล้ว ทั้งโปรเจ็กต์อีอีซี กำลังเข้าสู่เฟสที่ 3 คือเดินหน้าลงทุนตามแผน
"สำหรับเงื่อนไขที่ฝ่าย ซี.พี.อยากให้บันทึกไว้ 3 ข้อ เช่น การจ่ายรายได้คืนผู้ลงทุนในปีแรก แต่เรายืนยันให้จ่ายในปีที่ 6, การตั้งกองทุนอีเมอร์เจนซี่ฟันด์ เพื่อสนับสนุนแก้ปัญหา ในอนาคต, การขอผ่อนจ่ายค่าใช้สิทธิ์แอร์พอร์ตลิงก์ 10 ปี ในปีที่ 2 ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่บอร์ดอีอีซีไม่รับอยู่แล้ว ถึงอย่างไร ก็ไม่รับ เราจะรับเฉพาะข้อเสนอที่เป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย ในอนาคต อย่างไรก็ตาม มีการเสนอกันก่อนหน้านี้ว่าควรจะมีกองทุนอินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯในอนาคต เพราะโครงการขนาดใหญ่สามารถระดมทุนได้ แต่ทั้งนี้จะตั้งขึ้นมาเมื่อไร ขึ้นอยู่กับรายได้ ซึ่งต้องรอให้โครงการมีรายได้เข้ามาก่อน"
นายคณิศกล่าวด้วยว่า "กองทุนอีเมอร์เจนซี่ฟันด์ ซึ่งเจบิก ตั้งใจจะทำให้เกิดขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนร่วมกันในประเทศที่ 3 ของญี่ปุ่นกับจีน ซึ่งต้องหารือกับกระทรวงการคลังด้วย ซึ่งจะเป็นกองทุนสำหรับโครงการพื้นฐานทุกโครงการในอีอีซี"
เตรียมเปิด 3 ซองประมูลสนามบินอู่ตะเภา
สำหรับโครงการสนามบินอู่ตะเภาที่อีอีซีตั้งใจจะพัฒนาให้เป็น "มหานครการบิน" นั้น ขณะนี้มีเอกชนสนใจ 3 ราย คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในนามบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ได้แก่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD, บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด และ Fraport AG Frankfurt Airport Services Worldwide จากเยอรมนี
รายที่ 2 เป็นกลุ่มแกรนด์ คอนโซเตียม (GRAND Consortium) ประกอบด้วย บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAND อยู่ในกลุ่มบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF สัดส่วน 80% บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (บ.ย่อยของบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน)) หรือ AAV ถือ 10% และบริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CNT ถือ 10% โดยให้ GMR Airport Limited จากอินเดียมาบริหารสนามบิน และ China Harbour Engineering Company Limited
รายที่ 3 เป็นกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ซึ่งประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS, บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC
"โครงการสนามบินอู่ตะเภากำลังจะเปิดซองแรกหลังเทศกาลสงกรานต์ คาดว่าจะเปิดซองเทคนิคและซองการเงินหลังจากนั้น โครงการนี้เอกชนต้องจ่ายเงินรัฐบาล 50 ปี กว่า 5 หมื่นล้าน ประสบการณ์จากโครงการรถไฟความเร็วสูงจะไม่มีการเสนอซองพิเศษ หลังเปิดซองการเงินแล้วห้ามเจรจาเพิ่มเติม เสนอตัวเลขเท่าไรก็จบเท่านั้น คาดว่าในเดือนเมษายนจะรู้ผลว่าใครได้โครงการอะไรทั้ง 4 โครงการ"
"สมคิด" MOU เมืองการบินคู่ "เจิ้งโจว-อู่ตะเภา"
ในการโรดโชว์เขตพัฒนาพิเศษอีอีซีในเวทีสัมมนานักลงทุนนานาชาติ ที่เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ครั้งนี้จะเป็นการนำร่องเพื่อไปสู่การลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) 2 ฉบับ ในการพัฒนา "เมืองมหานครการบิน" ร่วมกันระหว่าง เมืองการบินอู่ตะเภา อีอีซี กับเมืองการบินเจิ้งโจว เหอหนาน ระหว่างนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กับผู้ว่าการมณฑลเหอหนาน ในช่วงวันที่ 27-29 เมษายน 2562
"เอ็มโอยู 2 ฉบับจะเป็นการยกระดับความร่วมมือความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุนระหว่าง 2 ฝ่าย เจาะลึกถึงระดับอีอีซีกับระดับมณฑล และระหว่างสนามบินต่อสนามบิน เหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องโชคช่วย แต่เป็นความพยายามของรัฐบาลและทีม อีอีซีที่สานพลังเพื่อเสริมสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ 1,300 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นเกตเวย์สู่อาเซียนที่ดี"
อีอีซีเชื่อม "One Belt One Road"
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนจากจีนได้แสดงความสนใจลงทุนในอีอีซี โดยจะมีนักลงทุนจากมณฑลเหอหนานไปลงทุนในอนาคตอันใกล้ ขณะนี้แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่อีอีซีเริ่มมีความชัดเจนแล้ว คาดว่า อีก 2 ปีโครงการพื้นฐานหลายโครงการจะเสร็จแล้ว มีความพร้อมรองรับการลงทุนมหานครการบิน ครอบคลุมพื้นที่ 30 กิโลเมตร จากอู่ตะเภา
ทั้งนี้ ความร่วมมือภายใต้ MOU ที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะลงนาม เป็นการเปิดประตูการค้าจากจีนสู่อาเซียน ซึ่งจะช่วยสนับสนุน โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง "One Belt One Road" หรือ เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 ของจีน โดยใช้โครงการอีอีซี ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้เป็นตัวขับเคลื่อนร่วมกัน
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ