เนรมิตพัทยาเมืองอัจฉริยะ
วันที่ : 14 เมษายน 2562
เมืองพัทยา จับมือม.บูรพา เร่งพัฒนาศูนย์ข้อมูลภูมิสารสนเทศและแผนแม่บทพัทยา 4.0 สู่ยุทธศาสตร์ "นีโอ พัทยา" เตรียมความพร้อมรองรับอีอีซี หวังให้เป็นเมืองอัจฉริยะ รับการลงทุนและการท่องเที่ยวระดับโลกควบคู่กับการดูแลประชาชนในพื้นที่
ดึงม.บูรพาพัฒนาบิ๊กดาต้า
เมืองพัทยา จับมือม.บูรพา เร่งพัฒนาศูนย์ข้อมูลภูมิสารสนเทศและแผนแม่บทพัทยา 4.0 สู่ยุทธศาสตร์ "นีโอ พัทยา" เตรียมความพร้อมรองรับอีอีซี หวังให้เป็นเมืองอัจฉริยะ รับการลงทุนและการท่องเที่ยวระดับโลกควบคู่กับการดูแลประชาชนในพื้นที่
เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเมือง ภายใต้การพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ที่ต้องการยกระดับการพัฒนาเมืองพัทยา ให้สอดรับกับการเจริญเติบโตของอีอีซี ที่กำลังจะมีนักลงทุนจำนวนมากเข้ามาลงทุน และการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว เศรษฐกิจและการลงทุน ที่ขณะนี้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า "นีโอ พัทยา" (NEO PATTAYA) ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาพัทยา ให้เป็นศูนย์กลางในเรื่องเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ภาคการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรม พร้อมกับการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชน ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ เพื่อรองรับอีอีซีที่จะเกิดขึ้น โดยให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่
ล่าสุดทางเมืองพัทยา ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) กับมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้ เทคโนโลยีเชิงพื้นที่ และประสบการณ์การบริหารงานด้วยศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นีโอพัทยา (NEO Pattaya) สู่การเป็นเมืองพัทยาสมาร์ทซิตี (Pattaya Smart City) โดยศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคตะวันออก (ศทอภอ.) คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จะพัฒนาศูนย์ข้อมูลภูมิสารสนเทศขนาดใหญ่ (Big Geospatial Data Center) และการพัฒนาแผนแม่บทเมืองพัทยาสู่ยุคดิจิทัล 4.0 (Digital Transformation) เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการเมืองพัทยา ในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม ด้านการบริหาร และการลงทุนของโลก
นายกฤษนัยน์ เจริญจิตร ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยว่า การลงนามในเอ็มโอยูครั้งนี้ จะนำไปสู่การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้วิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศ พร้อมกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมความสามารถ และมีคุณลักษณะสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ หรือเป็นนักนวัตกรรมตามแนวทางอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่อีอีซี โดยการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม ที่จะดึงผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น จากจีน เข้ามาร่วม
ทั้งนี้ การพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศของเมืองพัทยา จะสอดรับกับระบบสารสนเทศของ อีอีซี ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้พัทยาสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของประชาชนและธุรกิจ เช่น โครงการ Bangsaen Innovation District ที่ใช้ระบบสารสนเทศมาตรวจวัดความสุข ความทุกข์ของประชาชนในบางแสน ทำให้ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้นนายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา กล่าวว่า ความร่วมมือนี้มีความสำคัญอย่างสูงต่อการพัฒนาเมืองพัทยา เนื่องจากพัทยายังขาดระบบจัดเก็บและประมวลข้อมูลข่าวสาร ที่จะรองรับการพัฒนาอีอีซี และสมาร์ท ซิตี อย่างกรณีน้ำท่วมหลังฝนตกหนัก จะทราบเฉพาะเมื่อน้ำมาอยู่บนถนน ในบ้าน แต่เส้นทางจากต้นทางของน้ำความลาดชันเป็นอย่างไร จะดักน้ำได้ที่ไหนบ้างไม่มีข้อมูลพอ และสิ่งเหล่านี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยได้ ตลอดไปจนถึงการมีข้อมูลเพื่อวางแผน ทั้งสังคม สาธารณสุข และอื่นๆ อีกหลายด้าน
"ชลบุรีและพัทยา เป็นเป้าหมายหนึ่งที่จะมีประชากรเพิ่มขึ้นเพราะเป็นศูนย์กลางของ อีอีซี และถ้าไม่เตรียมความพร้อมและเพิ่มประสิทธิภาพ จะกลายเป็นความแออัด มลภาวะ และปัญหาทางสังคมต่างๆ ตามมา จนศักยภาพที่มีอยู่เสียหายไป"
นายอภิชาต ทองอยู่ ที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรใน อีอีซี กล่าวว่า ปัจจุบันการพัฒนาบุคลากรรองรับอนาคตของอีอีซีมีความก้าวหน้าไปมาก ดังนั้นการมีระบบสารสนเทศที่ดีจะยิ่งทำให้พัทยามีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
"เราเริ่มพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการของธุรกิจสาขาต่างๆ โดยมีบริษัทระหว่างประเทศเข้ามาร่วมมือมากมาย แต่ถ้าภาพรวมของพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย พัทยาก็จะเสียโอกาสให้แก่เมืองอื่นอย่างน่าเสียดาย ฉะนั้นการพัฒนาภูมิสารสนเทศครั้งนี้เป็นการริเริ่มที่ดีมาก มีโอกาสดีที่จะพัฒนาไปเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนของโลก ตามแนวทาง Neo Pattaya"
ความร่วมมือนี้มีความสำคัญอย่างสูงต่อการพัฒนาเมืองพัทยา เนื่องจากยังขาดระบบจัดเก็บและประมวลข้อมูลข่าวสาร ที่จะรองรับการพัฒนาอีอีซี และสมาร์ท ซิตี
เมืองพัทยา จับมือม.บูรพา เร่งพัฒนาศูนย์ข้อมูลภูมิสารสนเทศและแผนแม่บทพัทยา 4.0 สู่ยุทธศาสตร์ "นีโอ พัทยา" เตรียมความพร้อมรองรับอีอีซี หวังให้เป็นเมืองอัจฉริยะ รับการลงทุนและการท่องเที่ยวระดับโลกควบคู่กับการดูแลประชาชนในพื้นที่
เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเมือง ภายใต้การพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ที่ต้องการยกระดับการพัฒนาเมืองพัทยา ให้สอดรับกับการเจริญเติบโตของอีอีซี ที่กำลังจะมีนักลงทุนจำนวนมากเข้ามาลงทุน และการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว เศรษฐกิจและการลงทุน ที่ขณะนี้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า "นีโอ พัทยา" (NEO PATTAYA) ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาพัทยา ให้เป็นศูนย์กลางในเรื่องเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ภาคการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรม พร้อมกับการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชน ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ เพื่อรองรับอีอีซีที่จะเกิดขึ้น โดยให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่
ล่าสุดทางเมืองพัทยา ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) กับมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้ เทคโนโลยีเชิงพื้นที่ และประสบการณ์การบริหารงานด้วยศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นีโอพัทยา (NEO Pattaya) สู่การเป็นเมืองพัทยาสมาร์ทซิตี (Pattaya Smart City) โดยศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคตะวันออก (ศทอภอ.) คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จะพัฒนาศูนย์ข้อมูลภูมิสารสนเทศขนาดใหญ่ (Big Geospatial Data Center) และการพัฒนาแผนแม่บทเมืองพัทยาสู่ยุคดิจิทัล 4.0 (Digital Transformation) เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการเมืองพัทยา ในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม ด้านการบริหาร และการลงทุนของโลก
นายกฤษนัยน์ เจริญจิตร ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยว่า การลงนามในเอ็มโอยูครั้งนี้ จะนำไปสู่การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้วิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศ พร้อมกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมความสามารถ และมีคุณลักษณะสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ หรือเป็นนักนวัตกรรมตามแนวทางอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่อีอีซี โดยการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม ที่จะดึงผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น จากจีน เข้ามาร่วม
ทั้งนี้ การพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศของเมืองพัทยา จะสอดรับกับระบบสารสนเทศของ อีอีซี ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้พัทยาสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของประชาชนและธุรกิจ เช่น โครงการ Bangsaen Innovation District ที่ใช้ระบบสารสนเทศมาตรวจวัดความสุข ความทุกข์ของประชาชนในบางแสน ทำให้ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้นนายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา กล่าวว่า ความร่วมมือนี้มีความสำคัญอย่างสูงต่อการพัฒนาเมืองพัทยา เนื่องจากพัทยายังขาดระบบจัดเก็บและประมวลข้อมูลข่าวสาร ที่จะรองรับการพัฒนาอีอีซี และสมาร์ท ซิตี อย่างกรณีน้ำท่วมหลังฝนตกหนัก จะทราบเฉพาะเมื่อน้ำมาอยู่บนถนน ในบ้าน แต่เส้นทางจากต้นทางของน้ำความลาดชันเป็นอย่างไร จะดักน้ำได้ที่ไหนบ้างไม่มีข้อมูลพอ และสิ่งเหล่านี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยได้ ตลอดไปจนถึงการมีข้อมูลเพื่อวางแผน ทั้งสังคม สาธารณสุข และอื่นๆ อีกหลายด้าน
"ชลบุรีและพัทยา เป็นเป้าหมายหนึ่งที่จะมีประชากรเพิ่มขึ้นเพราะเป็นศูนย์กลางของ อีอีซี และถ้าไม่เตรียมความพร้อมและเพิ่มประสิทธิภาพ จะกลายเป็นความแออัด มลภาวะ และปัญหาทางสังคมต่างๆ ตามมา จนศักยภาพที่มีอยู่เสียหายไป"
นายอภิชาต ทองอยู่ ที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรใน อีอีซี กล่าวว่า ปัจจุบันการพัฒนาบุคลากรรองรับอนาคตของอีอีซีมีความก้าวหน้าไปมาก ดังนั้นการมีระบบสารสนเทศที่ดีจะยิ่งทำให้พัทยามีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
"เราเริ่มพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการของธุรกิจสาขาต่างๆ โดยมีบริษัทระหว่างประเทศเข้ามาร่วมมือมากมาย แต่ถ้าภาพรวมของพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย พัทยาก็จะเสียโอกาสให้แก่เมืองอื่นอย่างน่าเสียดาย ฉะนั้นการพัฒนาภูมิสารสนเทศครั้งนี้เป็นการริเริ่มที่ดีมาก มีโอกาสดีที่จะพัฒนาไปเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนของโลก ตามแนวทาง Neo Pattaya"
ความร่วมมือนี้มีความสำคัญอย่างสูงต่อการพัฒนาเมืองพัทยา เนื่องจากยังขาดระบบจัดเก็บและประมวลข้อมูลข่าวสาร ที่จะรองรับการพัฒนาอีอีซี และสมาร์ท ซิตี
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ