โบรกชี้พ.ร.บ.ภาษีที่ดินไม่สะเทือนวงการอสังหา
วันที่ : 15 มีนาคม 2562
โบรกประเมินผลกระทบจากพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นกลางต่อภาคอสังหา เหตุผู้ประกอบการไม่สะสม Land Bank ไว้นาน ส่วนใหญ่ซื้อแล้วจะทำโครงการทันที เลือก SPALI-QH เด่นนำกลุ่ม เนื่องจากเน้นความต้องการอยู่อาศัยจริง, พอร์ตกระจายความเสี่ยงได้ดี และได้รับผลกระทบจากเกณฑ์ธปท.ใหม่จำกัด ยังเชียร์ "ซื้อ" เคาะเป้าหมาย 22.50 และ 3.70 บาท
โบรกประเมินผลกระทบจากพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นกลางต่อภาคอสังหา เหตุผู้ประกอบการไม่สะสม Land Bank ไว้นาน ส่วนใหญ่ซื้อแล้วจะทำโครงการทันที เลือก SPALI-QH เด่นนำกลุ่ม เนื่องจากเน้นความต้องการอยู่อาศัยจริง, พอร์ตกระจายความเสี่ยงได้ดี และได้รับผลกระทบจากเกณฑ์ธปท.ใหม่จำกัด ยังเชียร์ "ซื้อ" เคาะเป้าหมาย 22.50 และ 3.70 บาท
บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บังคับใช้ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อเกษตรกรรม กำหนดเพดานจัดเก็บ 0.15% และต่ำสุด 0.01% หากมูลค่าไม่เกิน 75 ล้านบาท ขณะที่ได้รับยกเว้น หากมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท และยกเว้น 3 ปีแรกในทุกระดับราคา 2. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย กำหนดเพดานจัดเก็บ 0.3% และต่ำสุด 0.02% หากมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท
ขณะที่ได้รับยกเว้น หากมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท กรณีเป็นเจ้าของและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และยกเว้นมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท กรณีเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน
3. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างใช้ประโยชน์นอกเหนือจากข้อ 1, 2 หรือเพื่อพาณิชย์ กำหนดเพดานจัดเก็บ 1.2% และต่ำสุด 0.3% หากมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท และ 4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า กำหนดเก็บภาษีต่ำสุด 0.3% หากไม่พัฒนา 3 ปีติดต่อกัน เก็บเพิ่ม 0.3% โดยมีเพดานภาษีรวม 3%
สรุปผลกระทบจากพ.ร.บ.
โดยสรุปผลกระทบจากพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่อกลุ่มอสังหา ดังนี้ มุมมองเป็นบวก ต่อการลดการเก็งกำไรของราคาที่ดิน ซึ่งจะช่วยหนุนความสามารถทำกำไรในอนาคต รวมถึงมีทางเลือกในการหาทำเลใหม่ๆ มาพัฒนาโครงการมากขึ้น
มุมมองเป็นกลาง แม้การจัดเก็บภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่ามีเพดานจัดเก็บที่สูงถึง 3% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ประกอบการมักไม่สะสม Land Bank ไว้นาน ส่วนใหญ่ซื้อแล้วจะทำโครงการทันที หรือภายใน 1-2 ปี นอกจากนี้ ในแง่ของผลกระทบต่อผู้บริโภค คาดกระทบต่อกำลังซื้อไม่มากนัก เนื่องจากที่ดินของเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยหลังหลักมีกรณีที่ได้รับการยกเว้น
มุมมองค่อนไปทางลบ ในด้านต้นทุนการพัฒนาโครงการที่สูงขึ้น จากที่ดินระหว่างก่อสร้าง และสต๊อกสร้างเสร็จพร้อมขาย (Inventory)ที่ถูกเก็บภาษีในลักษณะเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าผู้ประกอบการสามารถผลักภาระไปยังผู้บริโภค โดยการปรับขึ้นราคาขายได้ รวมถึงพ.ร.บ.มีการบรรเทา กรณีภาษีใหม่สูงกว่าภาษีเดิม ใน 3 ปีแรก โดยปีที่ 1 จ่ายเพิ่ม 25%, ปีที่ 2 จ่ายเพิ่ม 50% และปีที่ 3 จ่ายเพิ่ม 75%
SPALI-QH เสี่ยงต่ำ
สำหรับราคาหุ้นกลุ่มอสังหาปรับขึ้นเฉลี่ย +9% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน Outperform SET ที่ +4% สะท้อนงบไตรมาส 4/2561 ที่ออกมาดี และการจ่ายปันผลที่สูงไปแล้ว ขณะที่ความเสี่ยงจากผลกระทบของเกณฑ์ LTV ใหม่ที่เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 เมษายนนี้ จะเป็นประเด็นจำกัดการปรับขึ้นของราคาหุ้น ซึ่งต้องติดตาม Sentiment และยอดขายของการเปิดตัวโครงการใหม่ต่อไป แต่หากมีผลน้อยกว่าคาดจะเป็น Key Catalyst ทันที
ฝ่ายวิเคราะห์ให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มอสังหาเป็น "เท่ากับตลาด" และเลือก SPALI (ราคาเหมาะสม 22.50 บาท) และ QH (ราคาเหมาะสม 3.70 บาท) เป็น Top Pick ของกลุ่ม เนื่องจากเน้นความต้องการอยู่อาศัยจริง, พอร์ตกระจายความเสี่ยงได้ดี และได้รับผลกระทบจากเกณฑ์ธปท.ใหม่จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บังคับใช้ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อเกษตรกรรม กำหนดเพดานจัดเก็บ 0.15% และต่ำสุด 0.01% หากมูลค่าไม่เกิน 75 ล้านบาท ขณะที่ได้รับยกเว้น หากมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท และยกเว้น 3 ปีแรกในทุกระดับราคา 2. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย กำหนดเพดานจัดเก็บ 0.3% และต่ำสุด 0.02% หากมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท
ขณะที่ได้รับยกเว้น หากมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท กรณีเป็นเจ้าของและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และยกเว้นมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท กรณีเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน
3. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างใช้ประโยชน์นอกเหนือจากข้อ 1, 2 หรือเพื่อพาณิชย์ กำหนดเพดานจัดเก็บ 1.2% และต่ำสุด 0.3% หากมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท และ 4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า กำหนดเก็บภาษีต่ำสุด 0.3% หากไม่พัฒนา 3 ปีติดต่อกัน เก็บเพิ่ม 0.3% โดยมีเพดานภาษีรวม 3%
สรุปผลกระทบจากพ.ร.บ.
โดยสรุปผลกระทบจากพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่อกลุ่มอสังหา ดังนี้ มุมมองเป็นบวก ต่อการลดการเก็งกำไรของราคาที่ดิน ซึ่งจะช่วยหนุนความสามารถทำกำไรในอนาคต รวมถึงมีทางเลือกในการหาทำเลใหม่ๆ มาพัฒนาโครงการมากขึ้น
มุมมองเป็นกลาง แม้การจัดเก็บภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่ามีเพดานจัดเก็บที่สูงถึง 3% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ประกอบการมักไม่สะสม Land Bank ไว้นาน ส่วนใหญ่ซื้อแล้วจะทำโครงการทันที หรือภายใน 1-2 ปี นอกจากนี้ ในแง่ของผลกระทบต่อผู้บริโภค คาดกระทบต่อกำลังซื้อไม่มากนัก เนื่องจากที่ดินของเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยหลังหลักมีกรณีที่ได้รับการยกเว้น
มุมมองค่อนไปทางลบ ในด้านต้นทุนการพัฒนาโครงการที่สูงขึ้น จากที่ดินระหว่างก่อสร้าง และสต๊อกสร้างเสร็จพร้อมขาย (Inventory)ที่ถูกเก็บภาษีในลักษณะเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าผู้ประกอบการสามารถผลักภาระไปยังผู้บริโภค โดยการปรับขึ้นราคาขายได้ รวมถึงพ.ร.บ.มีการบรรเทา กรณีภาษีใหม่สูงกว่าภาษีเดิม ใน 3 ปีแรก โดยปีที่ 1 จ่ายเพิ่ม 25%, ปีที่ 2 จ่ายเพิ่ม 50% และปีที่ 3 จ่ายเพิ่ม 75%
SPALI-QH เสี่ยงต่ำ
สำหรับราคาหุ้นกลุ่มอสังหาปรับขึ้นเฉลี่ย +9% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน Outperform SET ที่ +4% สะท้อนงบไตรมาส 4/2561 ที่ออกมาดี และการจ่ายปันผลที่สูงไปแล้ว ขณะที่ความเสี่ยงจากผลกระทบของเกณฑ์ LTV ใหม่ที่เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 เมษายนนี้ จะเป็นประเด็นจำกัดการปรับขึ้นของราคาหุ้น ซึ่งต้องติดตาม Sentiment และยอดขายของการเปิดตัวโครงการใหม่ต่อไป แต่หากมีผลน้อยกว่าคาดจะเป็น Key Catalyst ทันที
ฝ่ายวิเคราะห์ให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มอสังหาเป็น "เท่ากับตลาด" และเลือก SPALI (ราคาเหมาะสม 22.50 บาท) และ QH (ราคาเหมาะสม 3.70 บาท) เป็น Top Pick ของกลุ่ม เนื่องจากเน้นความต้องการอยู่อาศัยจริง, พอร์ตกระจายความเสี่ยงได้ดี และได้รับผลกระทบจากเกณฑ์ธปท.ใหม่จำกัด
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ