ระยองคึกรับเมืองไฮสปีดชงรถไฟฟ้า4สายเชื่อมEEC
วันที่ : 27 กุมภาพันธ์ 2562
ระยองตื่นรับไฮสปีดเทรนแต่หัววัน รื้อระบบขนส่งใหม่ทั้งกระบิ ชงลงทุนรถไฟฟ้ารางเบา 4 สาย เชื่อม smart bus 3 เส้นทาง เปิดให้เอกชนร่วมวง PPP กว่า 2.5 หมื่นล้าน พลิกที่ดินย่าน CBD เมืองเก่า พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริการผู้มีรายได้ ปานกลาง-สูง เชื่อมเศรษฐกิจอีอีซีบูม ม.บูรพา-ม.เกษตร ดันพิมพ์เขียวแจ้งเกิด
ระยองตื่นรับไฮสปีดเทรนแต่หัววัน รื้อระบบขนส่งใหม่ทั้งกระบิ ชงลงทุนรถไฟฟ้ารางเบา 4 สาย เชื่อม smart bus 3 เส้นทาง เปิดให้เอกชนร่วมวง PPP กว่า 2.5 หมื่นล้าน พลิกที่ดินย่าน CBD เมืองเก่า พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริการผู้มีรายได้ ปานกลาง-สูง เชื่อมเศรษฐกิจอีอีซีบูม ม.บูรพา-ม.เกษตร ดันพิมพ์เขียวแจ้งเกิด
แหล่งข่าวระดับสูงจากองค์การบริหารจังหวัดระยองเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ระยองกำลังจะพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองใหม่ คู่กับการพัฒนาที่ดินรอบสถานี เงินลงทุน 15,000-25,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามการศึกษา 2 ฉบับ คือ 1.โครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยอง 25,000 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานจังหวัดระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยบูรพาศึกษา
ฉบับที่ 2.การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในเขตเทศบาลนครระยอง 15,000 ล้านบาท ซึ่งเทศบาลนครระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษา พร้อมเสนอแผนพัฒนาเมืองรัศมีรอบสถานีหลัก เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พิจารณาและสรรหาผู้ดำเนินโครงการ อาจให้เอกชนร่วมลงทุน PPP
หัวใจของการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ พบว่า "จราจรติดขัดเป็นปัญหาหลักของระยอง และในอนาคต EEC เกิด จะมีคนเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล ปริมาณจราจรในอนาคตมีความต้องการเดินทางในเขตผังเมืองรวมระยอง จะเพิ่มขึ้นเป็น 383,231 เที่ยว/วัน ปี 2563 จะมีปริมาณการเดินทางเพิ่มขึ้น 73.06% โดยระบบขนส่งใช้รถสองแถวเป็นหลัก จึงต้องพัฒนา"
โชว์รถไฟฟ้า 4 สายเชื่อมเมือง
โครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยองนั้น แบ่งเป็น 3 ระยะ รวม 316.40 กม. 84 สถานี วงเงิน 25,845,252,880 บาท แบ่งเป็น โครงการระยะสั้น รถไฟฟ้า light rail transit (LRT) (ระยะที่ 1) วิ่งยกระดับบนเกาะกลางคือ สายสีม่วง สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง -สถานีตะพง 20 กม. 7 สถานี วงเงิน 12,854,980,000 บาท และ smart bus 3 เส้นทาง ได้แก่ 1) สาย สีแดง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1-ห้างสรรพสินค้า Passion ถึงสถานีขนส่ง ผู้โดยสารแห่งที่ 1 2) สายสีฟ้า สถานีห้างสรรพสินค้า Passion-สถานีอู่ตะเภา และ 3) สายสีเทา สถานีขนส่งผู้โดยสาร แห่งที่ 2-แยกทับมา-สถานีขนส่ง ผู้โดยสารแห่งที่ 2 รวม 89.93 กม. 36 สถานี วงเงิน 194,403,000 บาท
โครงการระยะกลาง วงเงิน 12,641,539,880 บาท แบ่งเป็นรถ LRT 1 สายสีม่วง (ระยะที่ 2) สถานี รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์-สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง 23.99 กม. 5 สถานี วงเงิน 12,458,741,880 บาท และ smart bus 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.สาย สีเขียวเข้ม สถานีขนส่งแห่งที่ 1-สถานีบ้านค่าย 2.สายสีน้ำตาล สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง-สถานีขนส่ง ผู้โดยสารแห่งที่ 2 รวม103.88 กม. 21 สถานี วงเงินรวม 182,798,000 บาท
โครงการระยะยาว แบ่งเป็น smart bus สายสีน้ำเงิน สถานีตะพง-สถานีท่าเรือบ้านเพ 29.80 กม. 6 สถานี วงเงิน 61,160,000 บาท และสายสีเหลือง สถานีโรงพยาบาลระยอง-สถานี ขนส่งแห่งที่ 1 ระยะทาง 48.80 กม. มี 13 สถานี วงเงิน 93,170,000 บาท
นอกจากศึกษาพื้นที่ 3 สถานีหลัก ได้แก่ 1) สถานีตะพง ลักษณะ TOD ใน พื้นที่อยู่อาศัยชุมชนชานเมือง เน้นพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ผู้มีรายได้ปานกลาง พัฒนาเป็นคอมมิวนิตี้มอลล์ 2) สถานี เทศบันเทิง ในศูนย์กลางเมือง เน้นพัฒนา สำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง-รายได้สูง 3) สถานีสำนักงานขนส่งผู้โดยสารแห่ง ที่ 2 เน้นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับ ผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง ส่งเสริมเส้นทาง การเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่การค้า และที่อยู่อาศัยด้วยจักรยาน ส่งเสริมการพัฒนา community mall ขนาดเล็ก
พลิกที่ดิน 3 ย่าน CBD เก่า
นายฉัตรนุชัย สมบัติศรี รองปลัดเทศบาลนครระยอง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ผลการศึกษาให้เริ่มต้นด้วยรถชัตเทิลบัส (shuttle bus) ก่อน หลังจากนั้น จึงทำรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดิน ภายใต้ เงื่อนไขที่มีสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานี ที่ 10 ระยองแบ่งเป็น 2 เส้นทาง คือ สายสีแดง ระยะทาง 23 กม. มี 18 สถานี ถ้าใช้ระบบ LRT วงเงินลงทุน 14,476.43 ล้านบาท เริ่มจากถนนสุขุมวิท บริเวณห้วยโป่ง ถึงบริษัท IRPC และ สายสีเหลือง ใช้รถชัตเทิลบัสวงเงินลงทุน 488.01 ล้านบาท ระยะทาง 13 กม. มี 14 สถานี เริ่มจากถนนตากสินมหาราช บริเวณก้นปิกถึงถนนสุขุมวิท เลี้ยวขวาเข้าถนนจันทอุดม บรรจบสาย 36 และเลี้ยวซ้ายแยกโกลบอลเฮ้าส์ ไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทบริเวณแยกขนส่ง (เพิ่มสถานี ร.ร.ตากสิน 1 สถานี)
รวมถึงเสนอการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง หรือ TOD จำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีระยองวิทยาคม สถานีโรงพยาบาลระยอง สถานีเทสโก้ โลตัส สถานีแหลมทอง และสถานีเซ็นทรัล เกาะลอย และแผนในการพัฒนาเมือง ระยอง เพื่อพลิกฟี้นย่านเมืองเก่าที่เคย เป็นย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) เมื่อ 50 ปีก่อนให้กลับคืนมาใน 3 ย่านเก่า ได้แก่ บริเวณถนนยมจินดา เทศบันเทิง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ขณะเดียวกันจะนำรถสมาร์ทบัสมาวิ่งในเส้นทางสาย สีเหลืองก่อน
นายภูษิต ไชยฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แผนการพัฒนาย่านพาณิชยกรรม หรือเมืองเก่าบนถนนสุขุมวิท ซึ่งกินพื้นที่รวมที่ดินของเอกชน 4 ตร.กม. จะมุ่งพัฒนาพื้นที่ที่อยู่ใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาลนครระยอง บริเวณตลาดเทศบันเทิง เชื่อมต่อกับถนนยมจินดาเท่านั้น ทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงกลางปี 2563
แหล่งข่าวระดับสูงจากองค์การบริหารจังหวัดระยองเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ระยองกำลังจะพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองใหม่ คู่กับการพัฒนาที่ดินรอบสถานี เงินลงทุน 15,000-25,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามการศึกษา 2 ฉบับ คือ 1.โครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยอง 25,000 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานจังหวัดระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยบูรพาศึกษา
ฉบับที่ 2.การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในเขตเทศบาลนครระยอง 15,000 ล้านบาท ซึ่งเทศบาลนครระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษา พร้อมเสนอแผนพัฒนาเมืองรัศมีรอบสถานีหลัก เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พิจารณาและสรรหาผู้ดำเนินโครงการ อาจให้เอกชนร่วมลงทุน PPP
หัวใจของการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ พบว่า "จราจรติดขัดเป็นปัญหาหลักของระยอง และในอนาคต EEC เกิด จะมีคนเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล ปริมาณจราจรในอนาคตมีความต้องการเดินทางในเขตผังเมืองรวมระยอง จะเพิ่มขึ้นเป็น 383,231 เที่ยว/วัน ปี 2563 จะมีปริมาณการเดินทางเพิ่มขึ้น 73.06% โดยระบบขนส่งใช้รถสองแถวเป็นหลัก จึงต้องพัฒนา"
โชว์รถไฟฟ้า 4 สายเชื่อมเมือง
โครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยองนั้น แบ่งเป็น 3 ระยะ รวม 316.40 กม. 84 สถานี วงเงิน 25,845,252,880 บาท แบ่งเป็น โครงการระยะสั้น รถไฟฟ้า light rail transit (LRT) (ระยะที่ 1) วิ่งยกระดับบนเกาะกลางคือ สายสีม่วง สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง -สถานีตะพง 20 กม. 7 สถานี วงเงิน 12,854,980,000 บาท และ smart bus 3 เส้นทาง ได้แก่ 1) สาย สีแดง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1-ห้างสรรพสินค้า Passion ถึงสถานีขนส่ง ผู้โดยสารแห่งที่ 1 2) สายสีฟ้า สถานีห้างสรรพสินค้า Passion-สถานีอู่ตะเภา และ 3) สายสีเทา สถานีขนส่งผู้โดยสาร แห่งที่ 2-แยกทับมา-สถานีขนส่ง ผู้โดยสารแห่งที่ 2 รวม 89.93 กม. 36 สถานี วงเงิน 194,403,000 บาท
โครงการระยะกลาง วงเงิน 12,641,539,880 บาท แบ่งเป็นรถ LRT 1 สายสีม่วง (ระยะที่ 2) สถานี รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์-สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง 23.99 กม. 5 สถานี วงเงิน 12,458,741,880 บาท และ smart bus 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.สาย สีเขียวเข้ม สถานีขนส่งแห่งที่ 1-สถานีบ้านค่าย 2.สายสีน้ำตาล สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง-สถานีขนส่ง ผู้โดยสารแห่งที่ 2 รวม103.88 กม. 21 สถานี วงเงินรวม 182,798,000 บาท
โครงการระยะยาว แบ่งเป็น smart bus สายสีน้ำเงิน สถานีตะพง-สถานีท่าเรือบ้านเพ 29.80 กม. 6 สถานี วงเงิน 61,160,000 บาท และสายสีเหลือง สถานีโรงพยาบาลระยอง-สถานี ขนส่งแห่งที่ 1 ระยะทาง 48.80 กม. มี 13 สถานี วงเงิน 93,170,000 บาท
นอกจากศึกษาพื้นที่ 3 สถานีหลัก ได้แก่ 1) สถานีตะพง ลักษณะ TOD ใน พื้นที่อยู่อาศัยชุมชนชานเมือง เน้นพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ผู้มีรายได้ปานกลาง พัฒนาเป็นคอมมิวนิตี้มอลล์ 2) สถานี เทศบันเทิง ในศูนย์กลางเมือง เน้นพัฒนา สำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง-รายได้สูง 3) สถานีสำนักงานขนส่งผู้โดยสารแห่ง ที่ 2 เน้นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับ ผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง ส่งเสริมเส้นทาง การเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่การค้า และที่อยู่อาศัยด้วยจักรยาน ส่งเสริมการพัฒนา community mall ขนาดเล็ก
พลิกที่ดิน 3 ย่าน CBD เก่า
นายฉัตรนุชัย สมบัติศรี รองปลัดเทศบาลนครระยอง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ผลการศึกษาให้เริ่มต้นด้วยรถชัตเทิลบัส (shuttle bus) ก่อน หลังจากนั้น จึงทำรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดิน ภายใต้ เงื่อนไขที่มีสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานี ที่ 10 ระยองแบ่งเป็น 2 เส้นทาง คือ สายสีแดง ระยะทาง 23 กม. มี 18 สถานี ถ้าใช้ระบบ LRT วงเงินลงทุน 14,476.43 ล้านบาท เริ่มจากถนนสุขุมวิท บริเวณห้วยโป่ง ถึงบริษัท IRPC และ สายสีเหลือง ใช้รถชัตเทิลบัสวงเงินลงทุน 488.01 ล้านบาท ระยะทาง 13 กม. มี 14 สถานี เริ่มจากถนนตากสินมหาราช บริเวณก้นปิกถึงถนนสุขุมวิท เลี้ยวขวาเข้าถนนจันทอุดม บรรจบสาย 36 และเลี้ยวซ้ายแยกโกลบอลเฮ้าส์ ไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทบริเวณแยกขนส่ง (เพิ่มสถานี ร.ร.ตากสิน 1 สถานี)
รวมถึงเสนอการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง หรือ TOD จำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีระยองวิทยาคม สถานีโรงพยาบาลระยอง สถานีเทสโก้ โลตัส สถานีแหลมทอง และสถานีเซ็นทรัล เกาะลอย และแผนในการพัฒนาเมือง ระยอง เพื่อพลิกฟี้นย่านเมืองเก่าที่เคย เป็นย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) เมื่อ 50 ปีก่อนให้กลับคืนมาใน 3 ย่านเก่า ได้แก่ บริเวณถนนยมจินดา เทศบันเทิง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ขณะเดียวกันจะนำรถสมาร์ทบัสมาวิ่งในเส้นทางสาย สีเหลืองก่อน
นายภูษิต ไชยฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แผนการพัฒนาย่านพาณิชยกรรม หรือเมืองเก่าบนถนนสุขุมวิท ซึ่งกินพื้นที่รวมที่ดินของเอกชน 4 ตร.กม. จะมุ่งพัฒนาพื้นที่ที่อยู่ใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาลนครระยอง บริเวณตลาดเทศบันเทิง เชื่อมต่อกับถนนยมจินดาเท่านั้น ทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงกลางปี 2563
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ