ชงผังเมืองหนุน ธุรกิจริมน้ำ
วันที่ : 20 กุมภาพันธ์ 2562
ภาคประชาชน แนะ พัฒนาบางปะกง เป็นเส้นทางขนส่งหลักรับอีอีซี ขยายตัว "เอกชน" เสนอแก้ผังเมืองใช้ที่ดินริมฝั่ง ตั้งโรงงานแปรรูปเกษตร คลังสินค้า โรงแรม เพิ่มการใช้ประโยชน์แม่น้ำบางปะกง ต่อท่อจากอ่างเก็บน้ำสียัด รับความต้องการใช้น้ำตัวเมืองฉะเชิงเทรา
เอกชนฉะเชิงเทราหวังตั้งโรงงาน โรงแรม
ภาคประชาชน แนะ พัฒนาบางปะกง เป็นเส้นทางขนส่งหลักรับอีอีซี ขยายตัว "เอกชน" เสนอแก้ผังเมืองใช้ที่ดินริมฝั่ง ตั้งโรงงานแปรรูปเกษตร คลังสินค้า โรงแรม เพิ่มการใช้ประโยชน์แม่น้ำบางปะกง ต่อท่อจากอ่างเก็บน้ำสียัด รับความต้องการใช้น้ำตัวเมืองฉะเชิงเทรา
การร่างผังเมืองรวมเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) อยู่ในขั้นตอนการรับฟัง ความเห็น โดยมีข้อเสนอจากผู้มีส่วนได้เสีย
นายศักดา ทองประสิทธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลุ่มน้ำบางปะกง และคณะที่ปรึกษาผังเมืองรวมจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า ปัจจุบันการขนส่งสินค้าใน จ.ฉะเชิงเทรา จะใช้เส้นทางหลัก 3 สาย ได้แก่ ถนนสุขุมวิท ถนนมอเตอร์เวย์ และถนนสาย 331 ซึ่งทำให้ถนนทั้ง 3 เส้นแออัดและติดขัดมาก ดังนั้นจึงเห็นว่ารัฐบาลควรจะปรับปรุงถนนสาย 3245 ที่เชื่อมกับถนนสาย 4012 และสาย 331 ให้เป็นถนน 4 เลน จะช่วยลดภาระถนน 3 เส้นหลักได้มาก
นายศักดา กล่าวว่า เส้นทาง 3245 มีขนาดเล็ก 2 เลน ใช้สำหรับขนส่งสินค้าเกษตรเป็นหลัก แต่ถ้าขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจร รวมทั้งตัดถนนเพิ่มอีก 10 กิโลเมตร จากถนน 4012 ช่วงถนนแปลงยาง-เขาหินซ้อน จะช่วยให้การขนส่งในฉะเชิงเทราและอีอีซีสะดวก ซึ่งจะช่วย ลดงบประมาณสร้างถนนใหม่และยังใช้พื้นที่ 2 ฝั่งถนนขยายอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร และธุรกิจท่องเที่ยวได้ โดยได้เสนอนำเรื่องนี้ กับกรมโยธาธิการและผังเมืองแล้วและ เห็นด้วยกับแนวทางนี้
จี้พัฒนาแหล่งน้ำรับเมืองใหม่
นอกจากนี้ แผนพัฒนาอีอีซีกำหนดให้ฉะเชิงเทราเป็นพื้นที่รองรับการขยายเมืองจากกรุงเทพฯ และการสร้างเมืองใหม่ เพื่อเป็น ที่พักรองรับบุคลากรที่ทำงานในอีอีซี ดังนั้น จะต้องมีโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่สมบูรณ์ แต่ยังมีปัญหาน้ำประปาไม่มีคุณภาพ เพราะแหล่งน้ำที่ได้จากคลองพระองค์เจ้าไชยญานุชิตมีคุณภาพน้ำไม่ดี
ดังนั้น ภาครัฐควรพัฒนาอ่างเก็บน้ำสียัด ที่อยู่ในต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา มีความจุกว่า 425 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้เป็น แหล่งน้ำดิบในการทำน้ำประปา โดยจะต้อง สร้างท่อลำเลียงน้ำประมาณ 70-80 กิโลเมตร เข้าโรงงานผลิตน้ำประปา เพื่อใช้ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งแม้ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนพอสมควร แต่ก็คุ้มค่าในการจัดหาน้ำประปาเพื่อรองรับการขยายตัวเมืองฉะเชิงเทรา
"ในอนาคตตัวเมืองจะขยายอีกมาก จะมีโรงแรม โรงพยาบาลเข้ามาตั้ง ทำให้ต้องการน้ำประปาคุณภาพสูง ซึ่งหากน้ำประปา ยังขาดแคลนและไม่มีคุณภาพพอก็จะดึงคน เข้ามาในฉะเชิงเทราได้ยาก"
หนุนบางปะกงขนส่งทางน้ำ
นายบุญรักษ์ พัฒนยินดี เจ้าของโรงงานเส้นหมี่ตราพระอาทิตย์ กล่าวว่าภายหลังการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนใน จ.ฉะเชิงเทรา เรื่องจัดทำผังเมืองในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า แนวทางการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมในอีอีซี ส่วนใหญ่จะเน้นระบบรางและถนน แต่ไม่ให้ความสำคัญการขนส่งทางน้ำ โดยเฉพาะเส้นทาง แม่น้ำบางปะกงที่ยังไม่มีแผนการพัฒนา
โดยมองว่าการขนส่งทางน้ำสามารถลดการขนส่งโดยรถบรรทุกทางถนนได้มากที่สุด โดยเรือขนส่ง 1 ลำ รองรับสินค้าได้ 3,000 ตัน หากนำมาพ่วงต่อกัน 7 ลำ จะขนส่งได้ 20,000 ตัน เท่ากับการใช้รถบรรทุก 2,000 เที่ยว ซึ่งขนส่งสินค้าจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ถึงท่าเรือศรีราชาได้สะดวก ซึ่งโครงการอีอีซียังไม่พูดถึงการขนส่งทางแม่น้ำเลย
ทั้งนี้ การขนส่งผ่านแม่น้ำบางปะกงในพื้นที่ อีอีซี ใช้เงินลงทุนไม่มาก ปัจจุบันยังติดปัญหาที่เขื่อนทดน้ำแม่น้ำบางปะกง ที่เรือ ไม่สามารถผ่านได้ หากปรับปรุงเขื่อนให้สามารถทดน้ำเป็นช่วงๆ ให้เรือผ่านได้ ซึ่งควรจะทำแบบนี้ทุกแม่น้ำก็จะทำให้ การขนส่งทางแม่น้ำมีความสะดวกลดต้นทุน การขนส่งได้มาก รวมทั้งยังช่วยลดงบประมาณ ในการซ่อมแซมถนน และลดอุบัติเหตุ และจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี
เสนอแก้สีผังเมืองริมบางปะกง
นอกจากนี้ ควรจะปรับปรุงกฎหมายผังเมือง ที่กำหนดให้พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเป็น สีเขียวทะแยงขาว ห้ามสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ทุกชนิด รวมไปถึงธุรกิจโรงแรม คลังสินค้า ทำให้ที่ดินริมฝั่งแม่น้ำใช้ประโยชน์ไม่ได้ เต็มที่ และส่งผลไม่ให้ขยายการใช้ประโยชน์การขนส่งผ่านแม่น้ำ
ส่วนข้อกังวลว่าโรงงานจะปล่อยน้ำเสีย ลงสู่แม่น้ำนั้น ในขณะนี้ทุกโรงงานระวัง ในเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ เพราะลงทุนโรงงานหลายร้อยล้านบาทหากถูกปิดเพราะเรื่องนี้ก็จะได้ไม่คุ้มเสีย และหน่วยงานราชการ ก็เข้ามาควบคุมเข้มงวด รวมทั้งประชาชนใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ถ่ายรูปเผยแพร่ ได้ทันที
"เยอรมนีใช้การขนส่งทางแม่น้ำขนสินค้า จากโรงงานริมน้ำมาส่งให้กับเรือใหญ่ที่ส่งออก ไปต่างประเทศ ทำให้ลดต้นทุนขนส่งได้มาก ส่วนน้ำเสียจากโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรก็ต่อท่อแจกจ่ายไปพื้นที่เกษตรโดยรอบ ทำให้ลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้มาก ไม่มีน้ำทิ้งลงสูงแหล่งน้ำสาธารณะ ขณะที่ไทยผังเมืองห้ามสร้างโรงงานติดแม่น้ำ ทำให้ธุรกิจริมแม่น้ำ ไม่เกิด โดยแนวทางแก้ไขไม่ยาก เพียงแต่แก้ไข ประกาศแนบท้ายผังเมืองอนุญาตให้ตั้งกิจการเพิ่มเติมแต่ห้ามตั้งอุตสาหกรรมหนัก 16 ประเภท จะช่วยให้นำที่ดินริมฝั่งแม่น้ำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น"
แนะสร้างโอกาสธุรกิจเอสเอ็มอี
นายบุญรักษ์ กล่าวว่า นโยบายส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ส่วนใหญ่จะเอื้อประโยชน์ ต่อนักลงทุนรายใหญ่มากกว่าเอสเอ็มอี ในพื้นที่ โดยเอื้อประโยชน์ทั้งการปรับผังเมืองเพื่อให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนซื้อพื้นที่ได้อย่างสะดวก การให้ สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนในทุกรูปแบบ ทั้งการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การอำนวยความสะดวกต่างๆ
ในขณะที่เอสเอ็มอีในพื้นที่ อีอีซี กลับไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย โดยเฉพาะ เอสเอ็มอีแปรรูปสินค้าเกษตรที่เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของคนไทย ดังนั้นรัฐบาลควรจะปรับปรุงนโยบายส่งเสริม อีอีซี ให้ครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีในพื้นที่ด้วย
โดยเฉพาะการปรับปรุงผังเมืออนุญาตให้โรงงานแปรรูปสินค้าการเกษตรสามารถเข้าไปตั้ง หรือขยายกิจการในพื้นที่สีเขียวที่ใช้ทำการเกษตรได้ เพื่อให้เกษตรกร ส่งผลิตผลการเกษตรเข้าสู่โรงงานแปรรูปได้โดยตรง ลดต้นทุนการขนส่ง เกิดความ ร่วมมือระหว่างโรงงานกับเกษตรกร อย่างใกล้ชิด
"ในปัจจุบันที่ดิน จ.ฉะเชิงเทราเป็น พื้นที่สีเขียวถึง 95% ซึ่งโรงงานเอสเอ็มอีส่วนใหญ่มาตั้งฐานการผลิตตั้งแต่ก่อนออกกฎหมายผังเมือง แต่ภายหลังผังเมืองกลับกำหนดพื้นที่โรงงานส่วนมากเป็นสีเขียว ทำให้โรงงานเหล่านี้ขยายโรงงาน หรือปรับปรุง กิจการได้ยาก หากไม่ปลดล็อกตรงนี้ ก็จะทำให้โรงงานเอสเอ็มอีไม่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาอีอีซี"
ภาคประชาชน แนะ พัฒนาบางปะกง เป็นเส้นทางขนส่งหลักรับอีอีซี ขยายตัว "เอกชน" เสนอแก้ผังเมืองใช้ที่ดินริมฝั่ง ตั้งโรงงานแปรรูปเกษตร คลังสินค้า โรงแรม เพิ่มการใช้ประโยชน์แม่น้ำบางปะกง ต่อท่อจากอ่างเก็บน้ำสียัด รับความต้องการใช้น้ำตัวเมืองฉะเชิงเทรา
การร่างผังเมืองรวมเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) อยู่ในขั้นตอนการรับฟัง ความเห็น โดยมีข้อเสนอจากผู้มีส่วนได้เสีย
นายศักดา ทองประสิทธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลุ่มน้ำบางปะกง และคณะที่ปรึกษาผังเมืองรวมจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า ปัจจุบันการขนส่งสินค้าใน จ.ฉะเชิงเทรา จะใช้เส้นทางหลัก 3 สาย ได้แก่ ถนนสุขุมวิท ถนนมอเตอร์เวย์ และถนนสาย 331 ซึ่งทำให้ถนนทั้ง 3 เส้นแออัดและติดขัดมาก ดังนั้นจึงเห็นว่ารัฐบาลควรจะปรับปรุงถนนสาย 3245 ที่เชื่อมกับถนนสาย 4012 และสาย 331 ให้เป็นถนน 4 เลน จะช่วยลดภาระถนน 3 เส้นหลักได้มาก
นายศักดา กล่าวว่า เส้นทาง 3245 มีขนาดเล็ก 2 เลน ใช้สำหรับขนส่งสินค้าเกษตรเป็นหลัก แต่ถ้าขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจร รวมทั้งตัดถนนเพิ่มอีก 10 กิโลเมตร จากถนน 4012 ช่วงถนนแปลงยาง-เขาหินซ้อน จะช่วยให้การขนส่งในฉะเชิงเทราและอีอีซีสะดวก ซึ่งจะช่วย ลดงบประมาณสร้างถนนใหม่และยังใช้พื้นที่ 2 ฝั่งถนนขยายอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร และธุรกิจท่องเที่ยวได้ โดยได้เสนอนำเรื่องนี้ กับกรมโยธาธิการและผังเมืองแล้วและ เห็นด้วยกับแนวทางนี้
จี้พัฒนาแหล่งน้ำรับเมืองใหม่
นอกจากนี้ แผนพัฒนาอีอีซีกำหนดให้ฉะเชิงเทราเป็นพื้นที่รองรับการขยายเมืองจากกรุงเทพฯ และการสร้างเมืองใหม่ เพื่อเป็น ที่พักรองรับบุคลากรที่ทำงานในอีอีซี ดังนั้น จะต้องมีโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่สมบูรณ์ แต่ยังมีปัญหาน้ำประปาไม่มีคุณภาพ เพราะแหล่งน้ำที่ได้จากคลองพระองค์เจ้าไชยญานุชิตมีคุณภาพน้ำไม่ดี
ดังนั้น ภาครัฐควรพัฒนาอ่างเก็บน้ำสียัด ที่อยู่ในต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา มีความจุกว่า 425 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้เป็น แหล่งน้ำดิบในการทำน้ำประปา โดยจะต้อง สร้างท่อลำเลียงน้ำประมาณ 70-80 กิโลเมตร เข้าโรงงานผลิตน้ำประปา เพื่อใช้ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งแม้ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนพอสมควร แต่ก็คุ้มค่าในการจัดหาน้ำประปาเพื่อรองรับการขยายตัวเมืองฉะเชิงเทรา
"ในอนาคตตัวเมืองจะขยายอีกมาก จะมีโรงแรม โรงพยาบาลเข้ามาตั้ง ทำให้ต้องการน้ำประปาคุณภาพสูง ซึ่งหากน้ำประปา ยังขาดแคลนและไม่มีคุณภาพพอก็จะดึงคน เข้ามาในฉะเชิงเทราได้ยาก"
หนุนบางปะกงขนส่งทางน้ำ
นายบุญรักษ์ พัฒนยินดี เจ้าของโรงงานเส้นหมี่ตราพระอาทิตย์ กล่าวว่าภายหลังการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนใน จ.ฉะเชิงเทรา เรื่องจัดทำผังเมืองในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า แนวทางการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมในอีอีซี ส่วนใหญ่จะเน้นระบบรางและถนน แต่ไม่ให้ความสำคัญการขนส่งทางน้ำ โดยเฉพาะเส้นทาง แม่น้ำบางปะกงที่ยังไม่มีแผนการพัฒนา
โดยมองว่าการขนส่งทางน้ำสามารถลดการขนส่งโดยรถบรรทุกทางถนนได้มากที่สุด โดยเรือขนส่ง 1 ลำ รองรับสินค้าได้ 3,000 ตัน หากนำมาพ่วงต่อกัน 7 ลำ จะขนส่งได้ 20,000 ตัน เท่ากับการใช้รถบรรทุก 2,000 เที่ยว ซึ่งขนส่งสินค้าจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ถึงท่าเรือศรีราชาได้สะดวก ซึ่งโครงการอีอีซียังไม่พูดถึงการขนส่งทางแม่น้ำเลย
ทั้งนี้ การขนส่งผ่านแม่น้ำบางปะกงในพื้นที่ อีอีซี ใช้เงินลงทุนไม่มาก ปัจจุบันยังติดปัญหาที่เขื่อนทดน้ำแม่น้ำบางปะกง ที่เรือ ไม่สามารถผ่านได้ หากปรับปรุงเขื่อนให้สามารถทดน้ำเป็นช่วงๆ ให้เรือผ่านได้ ซึ่งควรจะทำแบบนี้ทุกแม่น้ำก็จะทำให้ การขนส่งทางแม่น้ำมีความสะดวกลดต้นทุน การขนส่งได้มาก รวมทั้งยังช่วยลดงบประมาณ ในการซ่อมแซมถนน และลดอุบัติเหตุ และจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี
เสนอแก้สีผังเมืองริมบางปะกง
นอกจากนี้ ควรจะปรับปรุงกฎหมายผังเมือง ที่กำหนดให้พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเป็น สีเขียวทะแยงขาว ห้ามสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ทุกชนิด รวมไปถึงธุรกิจโรงแรม คลังสินค้า ทำให้ที่ดินริมฝั่งแม่น้ำใช้ประโยชน์ไม่ได้ เต็มที่ และส่งผลไม่ให้ขยายการใช้ประโยชน์การขนส่งผ่านแม่น้ำ
ส่วนข้อกังวลว่าโรงงานจะปล่อยน้ำเสีย ลงสู่แม่น้ำนั้น ในขณะนี้ทุกโรงงานระวัง ในเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ เพราะลงทุนโรงงานหลายร้อยล้านบาทหากถูกปิดเพราะเรื่องนี้ก็จะได้ไม่คุ้มเสีย และหน่วยงานราชการ ก็เข้ามาควบคุมเข้มงวด รวมทั้งประชาชนใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ถ่ายรูปเผยแพร่ ได้ทันที
"เยอรมนีใช้การขนส่งทางแม่น้ำขนสินค้า จากโรงงานริมน้ำมาส่งให้กับเรือใหญ่ที่ส่งออก ไปต่างประเทศ ทำให้ลดต้นทุนขนส่งได้มาก ส่วนน้ำเสียจากโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรก็ต่อท่อแจกจ่ายไปพื้นที่เกษตรโดยรอบ ทำให้ลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้มาก ไม่มีน้ำทิ้งลงสูงแหล่งน้ำสาธารณะ ขณะที่ไทยผังเมืองห้ามสร้างโรงงานติดแม่น้ำ ทำให้ธุรกิจริมแม่น้ำ ไม่เกิด โดยแนวทางแก้ไขไม่ยาก เพียงแต่แก้ไข ประกาศแนบท้ายผังเมืองอนุญาตให้ตั้งกิจการเพิ่มเติมแต่ห้ามตั้งอุตสาหกรรมหนัก 16 ประเภท จะช่วยให้นำที่ดินริมฝั่งแม่น้ำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น"
แนะสร้างโอกาสธุรกิจเอสเอ็มอี
นายบุญรักษ์ กล่าวว่า นโยบายส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ส่วนใหญ่จะเอื้อประโยชน์ ต่อนักลงทุนรายใหญ่มากกว่าเอสเอ็มอี ในพื้นที่ โดยเอื้อประโยชน์ทั้งการปรับผังเมืองเพื่อให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนซื้อพื้นที่ได้อย่างสะดวก การให้ สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนในทุกรูปแบบ ทั้งการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การอำนวยความสะดวกต่างๆ
ในขณะที่เอสเอ็มอีในพื้นที่ อีอีซี กลับไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย โดยเฉพาะ เอสเอ็มอีแปรรูปสินค้าเกษตรที่เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของคนไทย ดังนั้นรัฐบาลควรจะปรับปรุงนโยบายส่งเสริม อีอีซี ให้ครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีในพื้นที่ด้วย
โดยเฉพาะการปรับปรุงผังเมืออนุญาตให้โรงงานแปรรูปสินค้าการเกษตรสามารถเข้าไปตั้ง หรือขยายกิจการในพื้นที่สีเขียวที่ใช้ทำการเกษตรได้ เพื่อให้เกษตรกร ส่งผลิตผลการเกษตรเข้าสู่โรงงานแปรรูปได้โดยตรง ลดต้นทุนการขนส่ง เกิดความ ร่วมมือระหว่างโรงงานกับเกษตรกร อย่างใกล้ชิด
"ในปัจจุบันที่ดิน จ.ฉะเชิงเทราเป็น พื้นที่สีเขียวถึง 95% ซึ่งโรงงานเอสเอ็มอีส่วนใหญ่มาตั้งฐานการผลิตตั้งแต่ก่อนออกกฎหมายผังเมือง แต่ภายหลังผังเมืองกลับกำหนดพื้นที่โรงงานส่วนมากเป็นสีเขียว ทำให้โรงงานเหล่านี้ขยายโรงงาน หรือปรับปรุง กิจการได้ยาก หากไม่ปลดล็อกตรงนี้ ก็จะทำให้โรงงานเอสเอ็มอีไม่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาอีอีซี"
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ