เร่งสร้างบิ๊กดาต้าต่อยอดภูเก็ตสมาร์ทซิตี
Loading

เร่งสร้างบิ๊กดาต้าต่อยอดภูเก็ตสมาร์ทซิตี

วันที่ : 13 กุมภาพันธ์ 2562
การเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาล หรือบิ๊กดาต้า เป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจหลายภาคส่วนต่างให้ความสำคัญ เนื่องจากข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นสามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาเครื่องมือทางการตลาดที่สร้างมูลค่าให้กับธุรกิจได้อย่างมาก เช่นเดียวกับ บริษัท ซิตี้ เดต้า อนาไลติกส์ฯ หรือ CDA ในเครือของ บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด ที่มีเป้าหมายในการผลักดันซิตี ดาต้า แพลตฟอร์ม ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในแพลตฟอร์มที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ หรือข้อมูลเปิด (Open Data) เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาสมาร์ทซิตี ที่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น
          การเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาล หรือบิ๊กดาต้า เป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจหลายภาคส่วนต่างให้ความสำคัญ เนื่องจากข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นสามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาเครื่องมือทางการตลาดที่สร้างมูลค่าให้กับธุรกิจได้อย่างมาก เช่นเดียวกับ บริษัท ซิตี้ เดต้า อนาไลติกส์ฯ หรือ CDA ในเครือของ บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด ที่มีเป้าหมายในการผลักดันซิตี ดาต้า แพลตฟอร์ม ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในแพลตฟอร์มที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ หรือข้อมูลเปิด (Open Data) เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาสมาร์ทซิตี ที่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

          นายธนูศักดิ์ พึ่งเดช ประธาน กรรมการ บริษัท ซิตี้ เดต้า อนา ไลติกส์ จำกัด กล่าวว่า CDA (City Data Analytics) หรือการวิเคราะห์ข้อมูลเมือง ด้วยการนำบิ๊กดาต้าและเทคโนโลยีในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาและแก้ปัญหาต่างๆ ของจังหวัดภูเก็ต โดยได้รับงบประมาณขอส่งเสริมและสนับสนุนผ่านการร่วมวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (DEPA Research fund)

          ขณะที่ในช่วงปีแรกนั้นมีการเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวจากโรงแรมต่างๆ รวมถึงข้อมูลการให้บริการ Wi-Fi และฐานข้อมูลท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต เพื่อนำมาวิเคราะห์ความหนาแน่นในเชิงพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวเดินทางไป โดยสามารถแยกเพศ สัญชาติของนักท่องเที่ยวได้ ทั้งนี้ข้อมูลจากการวิเคราะห์จะนำมาใช้เพื่อวางแผนพัฒนาด้านการท่องเที่ยวทั้งธุรกิจในกลุ่มโรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งทำให้สามารถนำมาวิเคราะห์แนวโน้มหรือเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปได้ ทั้งในเรื่องผลกระทบจากภัยพิบัติหรือการเกิดอุบัติเหตุจากนักท่องเที่ยว หรือความตื่นตัวต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจรองรับสถานการณ์ได้ทันที

          ทั้งนี้ ภูเก็ตมีผลการดำเนินการเพื่อเป็นสมาร์ทซิตีใน 7 ด้านประกอบด้วย 1.Smart Economy มีการจัดตั้ง ภูเก็ต สมาร์ทซิตีอินโนเวชัน พาร์กเพื่อเป็นศูนย์กลางการบ่มเพาะ สตาร์ตอัพ พร้อมมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลรายใหม่ที่ต้องการประกอบธุรกิจจากดีป้า 2.Smart Tourism มีไว-ไฟสาธารณะตามแหล่งท่อง เที่ยว ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลการท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ ที่มีการใช้งานไว-ไฟได้ว่านักท่องเที่ยวมีการใช้งานอยู่ที่สถานที่ท่องเที่ยวใด รวมถึงมีการพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว 3.Smart Safety มีการติดตั้งกล้องซีซีทีวีเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว 4.Smart Environment นำระบบไอโอที มาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมถึงระบบบริหารจัดการ น้ำการควบคุมน้ำท่วมด้วยการติดเซ็นเซอร์ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำโดยมีการทำงานร่วมกับเทศบาลนครภูเก็ต 5.Smart Education ให้ความรู้ และอบรมด้านดิจิทัล 6.Smart Government มีการติดตั้งศูนย์กลางการบัญชาการเชื่อมต่อระบบเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถสั่งการแบบเรียลไทม์เชื่อมต่อระบบกล้องซีซีทีวี เข้ากับศูนย์บัญชาการกลางจากสถานีตำรวจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 7.Smart Healthcare ระบบรถพยาบาลฉุกเฉินสำหรับปฏิบัติการด้านการแพทย์ ที่สามารถเชื่อมต่อระบบข้อมูล นอกจากนี้ด้านการลงทุน นักลงทุนสามารถใช้ในการตรวจสอบเพื่อหาความหนาแน่นเชิงพื้นที่ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการลงทุนในจังหวัดภูเก็ต และข้อมูลด้านแผนที่ภาษี ที่ใช้ในการวางผังเมืองและการตัดสินใจลงทุน

          ด้านนายประชา อัศวธีระ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคใต้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เปิดเผยว่า สำหรับ ซิตี ดาต้า แพลตฟอร์มนั้นจะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่เห็นได้ชัดคือทางภาคการลงทุนทั้งผังเมืองหรือเมืองหลักที่จะมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อใช้ในการตัดสินใจด้านการลงทุน ขณะที่ทางภาคเอกชนก็จะช่วยในเรื่องของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยการใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการท่องเที่ยวมาใช้ในการวางแผนการตลาด นอกจากนี้แนวที่วางไว้คือการต่อยอดธุรกิจสตาร์ตอัพ โดยการใช้ข้อมูลเมืองที่เก็บรวบรวมเพื่อต่อยอดในการสร้างธุรกิจใหม่ ซึ่งตอนนี้อาจยังบอกไม่ได้ว่าโมเดลธุรกิจจะอยู่ในรูปแบบใด แต่ในหลายๆ ประเทศนั้นจะเห็นว่าเมืองมีหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและมีโอเพนดาต้าระหว่างกัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาก่อให้เกิดรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ๆ

          "ทุกวันนี้ประเทศไทยอยู่ในจุดของการเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูล แต่เรามองภาพในเรื่องการลงทุนของสตาร์ตอัพ ที่สามารถนำข้อมูลเมืองไปใช้ในการพัฒนาต่อยอดสมาร์ท ซิตี ซึ่งเป็นอีกระบบเศรษฐกิจหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต"

          ด้านนายพรชัย หอมชื่น ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ส่วนงานบริหารสำนักงาน) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของโมเดล City Data Analytics นั้นสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เพื่อให้โรงแรมในพื้นที่จัดทำแพ็กเกจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งหากมีการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวเพียงแค่ 1% ก็สามารถก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งผลตอบรับที่ได้กลับมาอาจจะมากกว่า 10-15 เท่า
 
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ