เปิดพิมพ์เขียวผังอีอีซี ตีกรอบเมืองใหม่1.5หมื่นไร่
วันที่ : 11 กุมภาพันธ์ 2562
เปิดพิมพ์เขียวผังเมืองอีอีซี 8.3 ล้านไร่ กรมโยธาฯคลอด ส.ค.นี้ ปรับลดพื้นที่เกษตรกรรม 4 แสนไร่ เพิ่มพื้นที่ชุมชน อุตสาหกรรม รับเขตส่งเสริมพิเศษ เมืองใหม่ ศูนย์ธุรกิจ 15,500 ไร่ นำร่องฉะเชิงเทรา ระยอง บูม 2 ฝั่งสุขุมวิท แนวไฮสปีด รัศมี 2 กม. รอบสถานี เผยยื่นประมูลเมืองการบินอู่ตะเภา 3 แสนล้าน
เปิดพิมพ์เขียวผังเมืองอีอีซี 8.3 ล้านไร่ กรมโยธาฯคลอด ส.ค.นี้ ปรับลดพื้นที่เกษตรกรรม 4 แสนไร่ เพิ่มพื้นที่ชุมชน อุตสาหกรรม รับเขตส่งเสริมพิเศษ เมืองใหม่ ศูนย์ธุรกิจ 15,500 ไร่ นำร่องฉะเชิงเทรา ระยอง บูม 2 ฝั่งสุขุมวิท แนวไฮสปีด รัศมี 2 กม. รอบสถานี เผยยื่นประมูลเมืองการบินอู่ตะเภา 3 แสนล้าน
เอกชนขอเลื่อนยื่นซอง 30 เม.ย.นี้
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จัดทำร่างแผนผังการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคเสร็จแล้ว กำลังรับฟังความคิดเห็นใน 3 จังหวัด คือ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จะแล้วเสร็จเดือน มี.ค.-เม.ย. บังคับใช้ 9 ส.ค.นี้
รวบที่ดิน 3 จังหวัด
"ร่างผังเมืองอีอีซีจะรวบการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3 จังหวัด เป็นพื้นที่เดียวกัน ซึ่งบอร์ดอีอีซีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโอเคแล้ว หากไม่มีการคัดค้าน จะเร่งประกาศใช้เดือน ส.ค."
เมื่อผังเมืองอีอีซีบังคับใช้แล้ว จะยกเลิกผังเมืองรวม 3 จังหวัด ซึ่งผังที่ร่างขึ้นจะสอดรับนโยบาย เช่น เขตส่งเสริม อุตสาหกรรมเป้าหมาย 21 เขต พื้นที่ 86,755 ไร่ เขตส่งเสริมกิจการพิเศษ 4 แห่ง 18,484 ไร่ พื้นที่เมืองใหม่ พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจอย่างน้อย 15,500 ไร่ โมเดลเมืองใหม่ 12,500 ไร่ ศูนย์การเงิน 500 ไร่ มหานครการบินตะวันออก 2,500 ไร่
"คนในพื้นที่กังวลเรื่องขยะ น้ำ การจราจร เพราะประชากรในอีอีซีจะเพิ่มเป็น 6.29 ล้านคน มีนักท่องเที่ยว 51.3 ล้านคน"
นายมณฑลกล่าวว่า ผังเมืองอีอีซีมีพื้นที่รวม 8.29 ล้านไร่ หรือ 13,266 ตร.กม. แยกเป็น จ.ฉะเชิงเทรา 5,331 ตร.กม. หรือ 3.34 ล้านไร่ ชลบุรี 4,363 ตร.กม. หรือ 2.726 ล้านไร่ และระยอง 3,552 ตร.กม. หรือ 2.22 ล้านไร่ ซึ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินจะมองเป็นภาพรวม 20 ปี ถึงปี 2580
"การใช้ที่ดินจะเน้นพัฒนาไปด้าน ตะวันออก หรือขวามือของรถไฟความเร็วสูงเป็นหลัก ซึ่งพื้นที่ติดชายทะเลพัฒนาเต็มแล้ว"
ประกอบด้วย 1.พื้นที่พัฒนาเมือง พื้นที่ส่งเสริมพิเศษ สนับสนุนเมืองใหม่และเมืองเดิมที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ ขนานชายฝั่งทะเล ตลอดสองฝั่งถนนสุขุมวิท และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
กำหนดที่ดิน 4 ประเภท 1.สีแดง ศูนย์กลางพาณิชยกรรม เป็นย่านธุรกิจ การค้า บริการ ได้แก่ พัทยา ชลบุรี ศรีราชา อู่ตะเภา ระยอง 2.สีส้ม ชุมชนเมือง เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหลักและแหล่งงาน เป็นเมืองเดิม จะพัฒนาเมืองในอนาคต 3.สีเหลือง รองรับการพัฒนาเมือง และ 4.สีน้ำตาล เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษสำหรับกิจการพิเศษ 4 แห่ง คือ เขตอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เช่น แหลมฉบัง เขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) เขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) และเขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (EECh) เช่น ฉะเชิงเทรา
คุมที่เกษตรกรรม
2.พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม เป็นพื้นที่สีเขียวและสีเหลืองอ่อน หรือที่ดินเกษตรกรรมและชนบท รักษาแหล่งผลิตอาหาร ผลไม้เมือง เช่น บางส่วนของฉะเชิงเทรา ต่อเนื่องมาด้านตะวันออกของชลบุรี และลงมาด้านชายฝั่งทะเลของระยอง
3.พื้นที่อุตสาหกรรม สีม่วง ที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม และบริเวณที่มีศักยภาพเหมาะสมกระจายตัวบริเวณชลบุรี และระยองตอนล่าง ได้แก่ อ.ศรีราชา บ้านบึง ปลวกแดง บ้านค่าย และ 4 พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นที่สีเขียวลายจะสงวนไว้ มีพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แหล่งน้ำและชายฝั่งทะเล
ลดเกษตร-เพิ่มอุตฯ-ชุมชน
"ทั้ง 3 จังหวัดเพิ่มพื้นที่ชุมชนเมือง 438,268 ไร่ จาก 916,183 ไร่ เป็น 1,354,451 ไร่ พื้นที่อุตสาหกรรม 3.42% หรือ 122,931 ไร่ จาก 283,561 ไร่ เป็น 406,492ไร่ ปรับลดพื้นที่เกษตรกรรม 5% หรือ 408,479 ไร่ จาก 5,619,633 ไร่ เหลือ 5,211,154 ไร่ คงอนุรักษ์ไว้ 838,245 ไร่ ที่ปรับลดพื้นที่เกษตร เพราะพื้นที่มีผลผลิตไม่คุ้มค่า ในผังเมืองอีอีซีกำหนดให้เป็นพื้นที่เพื่อกิจกรรมอื่นแทน เช่น เพื่ออยู่อาศัย หรืออุตสาหกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ"
อีกทั้งกำหนดให้พัฒนาเป็นเมืองโดยรอบศูนย์กลาง คือ สนามบินอู่ตะเภา รัศมี 10-60 กม. เป็นเมืองใหม่และศูนย์กลางการบิน เชื่อมท่าเรือจุกเสม็ด เป็นเกตเวย์อีอีซีกับตลาดโลก, เขต อุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นปิโตรเคมี ต้นน้ำ ป้อนวัตถุดิบในการผลิตต่อเนื่อง เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม, พัทยาเมือง ท่องเที่ยวระดับโลก, เมืองศรีราชา เป็นพื้นที่ TOD เศรษฐกิจดิจิทัล, เมืองชลบุรี พื้นที่การค้า บริการ, เมือง ฉะเชิงเทรา เมืองใหม่ เป็นย่านที่อยู่อาศัยชั้นดี แหล่งอุตสาหกรรม, เมืองระยอง เมืองใหม่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ชั้นดีของแรงงาน และ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง เป็น EECi แหล่งผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลก
"มีบางพื้นที่ยังมีข้อห้ามควบคุมไว้ เช่น รอบสนามบินอู่ตะเภา อาจสร้างตึกสูงมากไม่ได้ หรือพื้นที่ไกลเขตเมืองมาก คงไม่ส่งเสริมตึกสูง"
นายมณฑลกล่าวว่า เมืองใหม่ทาง อีอีซีจะกำหนดพื้นที่หรือเป็นพื้นที่ที่เอกชนเสนอ โดยนำร่องที่ฉะเชิงเทรา ระยอง แนวคิดสมาร์ทซิตี้ ส่วนเมืองใหม่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่ในรัศมีไม่เกิน 2 กม. และพัฒนารอบสถานี หรือ TOD การพัฒนาโครงการถึงจะสำเร็จเหมือนต่างประเทศ
เอกชนเลื่อนยื่นซองอู่ตะเภา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 8 ก.พ. กองทัพเรือจัดชี้แจงครั้งที่ 2 การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภาและเมืองการบินตะวันออก พื้นที่ 6,500 ไร่ มูลค่า 290,000 ล้านบาท มีเอกชนเข้าร่วม 31 ราย จากซื้อซอง 42 ราย โดยตั้งคำถามหลากหลาย
เช่น ขอให้เลื่อนยื่นซองประมูลออกไปจาก 28 ก.พ. เป็น 30 เม.ย. โดยที่ปรึกษา รับข้อเสนอไว้หารือกับคณะกรรมการคัดเลือกให้ความเห็นชอบต่อไป แต่เบื้องต้น ขอให้ยึดวันที่ 28 ก.พ.ไปก่อน ยังมีขอใช้ประสบการณ์ผู้รับจ้าง การให้รัฐอุดหนุนเพิ่มเติมนอกเหนือจากทีโออาร์ เช่น มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ขอความ ชัดเจนปรับบทบาทอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1-2 ซึ่งเอกชนกังวลว่า หากยังเปิดใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะกระทบกับอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ที่เอกชนจะต้องลงทุนเป็นเงินจำนวนมาก และยังสอบ ถามการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นหลังเซ็นสัญญา นอกจาก บมจ.ท่าอากาศยาน ไทย (ทอท.) แล้ว เอกชนนำรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ มาร่วมด้วยได้หรือไม่ ทางที่ปรึกษาระบุให้เฉพาะ ทอท.เท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชาพิจารณ์ ผังเมืองอีอีซีที่จังหวัดฉะเชิงเทราเมื่อ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา มีประชาชน ตัวแทนหน่วยงานท้องถิ่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าเข้าร่วมรับฟัง โดยบางส่วน คัดค้านและยื่นขอแก้ไขร่างผังเมือง ที่ทางการจัดทำ เพราะได้รับความเดือดร้อน จากที่ผังเมืองอีอีซีห้ามขยายโรงงานในพื้นที่ดิน และเกรงได้รับผลกระทบจากปัญหาจราจร ขาดแคลนน้ำ ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
เอกชนขอเลื่อนยื่นซอง 30 เม.ย.นี้
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จัดทำร่างแผนผังการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคเสร็จแล้ว กำลังรับฟังความคิดเห็นใน 3 จังหวัด คือ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จะแล้วเสร็จเดือน มี.ค.-เม.ย. บังคับใช้ 9 ส.ค.นี้
รวบที่ดิน 3 จังหวัด
"ร่างผังเมืองอีอีซีจะรวบการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3 จังหวัด เป็นพื้นที่เดียวกัน ซึ่งบอร์ดอีอีซีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโอเคแล้ว หากไม่มีการคัดค้าน จะเร่งประกาศใช้เดือน ส.ค."
เมื่อผังเมืองอีอีซีบังคับใช้แล้ว จะยกเลิกผังเมืองรวม 3 จังหวัด ซึ่งผังที่ร่างขึ้นจะสอดรับนโยบาย เช่น เขตส่งเสริม อุตสาหกรรมเป้าหมาย 21 เขต พื้นที่ 86,755 ไร่ เขตส่งเสริมกิจการพิเศษ 4 แห่ง 18,484 ไร่ พื้นที่เมืองใหม่ พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจอย่างน้อย 15,500 ไร่ โมเดลเมืองใหม่ 12,500 ไร่ ศูนย์การเงิน 500 ไร่ มหานครการบินตะวันออก 2,500 ไร่
"คนในพื้นที่กังวลเรื่องขยะ น้ำ การจราจร เพราะประชากรในอีอีซีจะเพิ่มเป็น 6.29 ล้านคน มีนักท่องเที่ยว 51.3 ล้านคน"
นายมณฑลกล่าวว่า ผังเมืองอีอีซีมีพื้นที่รวม 8.29 ล้านไร่ หรือ 13,266 ตร.กม. แยกเป็น จ.ฉะเชิงเทรา 5,331 ตร.กม. หรือ 3.34 ล้านไร่ ชลบุรี 4,363 ตร.กม. หรือ 2.726 ล้านไร่ และระยอง 3,552 ตร.กม. หรือ 2.22 ล้านไร่ ซึ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินจะมองเป็นภาพรวม 20 ปี ถึงปี 2580
"การใช้ที่ดินจะเน้นพัฒนาไปด้าน ตะวันออก หรือขวามือของรถไฟความเร็วสูงเป็นหลัก ซึ่งพื้นที่ติดชายทะเลพัฒนาเต็มแล้ว"
ประกอบด้วย 1.พื้นที่พัฒนาเมือง พื้นที่ส่งเสริมพิเศษ สนับสนุนเมืองใหม่และเมืองเดิมที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ ขนานชายฝั่งทะเล ตลอดสองฝั่งถนนสุขุมวิท และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
กำหนดที่ดิน 4 ประเภท 1.สีแดง ศูนย์กลางพาณิชยกรรม เป็นย่านธุรกิจ การค้า บริการ ได้แก่ พัทยา ชลบุรี ศรีราชา อู่ตะเภา ระยอง 2.สีส้ม ชุมชนเมือง เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหลักและแหล่งงาน เป็นเมืองเดิม จะพัฒนาเมืองในอนาคต 3.สีเหลือง รองรับการพัฒนาเมือง และ 4.สีน้ำตาล เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษสำหรับกิจการพิเศษ 4 แห่ง คือ เขตอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เช่น แหลมฉบัง เขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) เขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) และเขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (EECh) เช่น ฉะเชิงเทรา
คุมที่เกษตรกรรม
2.พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม เป็นพื้นที่สีเขียวและสีเหลืองอ่อน หรือที่ดินเกษตรกรรมและชนบท รักษาแหล่งผลิตอาหาร ผลไม้เมือง เช่น บางส่วนของฉะเชิงเทรา ต่อเนื่องมาด้านตะวันออกของชลบุรี และลงมาด้านชายฝั่งทะเลของระยอง
3.พื้นที่อุตสาหกรรม สีม่วง ที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม และบริเวณที่มีศักยภาพเหมาะสมกระจายตัวบริเวณชลบุรี และระยองตอนล่าง ได้แก่ อ.ศรีราชา บ้านบึง ปลวกแดง บ้านค่าย และ 4 พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นที่สีเขียวลายจะสงวนไว้ มีพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แหล่งน้ำและชายฝั่งทะเล
ลดเกษตร-เพิ่มอุตฯ-ชุมชน
"ทั้ง 3 จังหวัดเพิ่มพื้นที่ชุมชนเมือง 438,268 ไร่ จาก 916,183 ไร่ เป็น 1,354,451 ไร่ พื้นที่อุตสาหกรรม 3.42% หรือ 122,931 ไร่ จาก 283,561 ไร่ เป็น 406,492ไร่ ปรับลดพื้นที่เกษตรกรรม 5% หรือ 408,479 ไร่ จาก 5,619,633 ไร่ เหลือ 5,211,154 ไร่ คงอนุรักษ์ไว้ 838,245 ไร่ ที่ปรับลดพื้นที่เกษตร เพราะพื้นที่มีผลผลิตไม่คุ้มค่า ในผังเมืองอีอีซีกำหนดให้เป็นพื้นที่เพื่อกิจกรรมอื่นแทน เช่น เพื่ออยู่อาศัย หรืออุตสาหกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ"
อีกทั้งกำหนดให้พัฒนาเป็นเมืองโดยรอบศูนย์กลาง คือ สนามบินอู่ตะเภา รัศมี 10-60 กม. เป็นเมืองใหม่และศูนย์กลางการบิน เชื่อมท่าเรือจุกเสม็ด เป็นเกตเวย์อีอีซีกับตลาดโลก, เขต อุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นปิโตรเคมี ต้นน้ำ ป้อนวัตถุดิบในการผลิตต่อเนื่อง เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม, พัทยาเมือง ท่องเที่ยวระดับโลก, เมืองศรีราชา เป็นพื้นที่ TOD เศรษฐกิจดิจิทัล, เมืองชลบุรี พื้นที่การค้า บริการ, เมือง ฉะเชิงเทรา เมืองใหม่ เป็นย่านที่อยู่อาศัยชั้นดี แหล่งอุตสาหกรรม, เมืองระยอง เมืองใหม่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ชั้นดีของแรงงาน และ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง เป็น EECi แหล่งผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลก
"มีบางพื้นที่ยังมีข้อห้ามควบคุมไว้ เช่น รอบสนามบินอู่ตะเภา อาจสร้างตึกสูงมากไม่ได้ หรือพื้นที่ไกลเขตเมืองมาก คงไม่ส่งเสริมตึกสูง"
นายมณฑลกล่าวว่า เมืองใหม่ทาง อีอีซีจะกำหนดพื้นที่หรือเป็นพื้นที่ที่เอกชนเสนอ โดยนำร่องที่ฉะเชิงเทรา ระยอง แนวคิดสมาร์ทซิตี้ ส่วนเมืองใหม่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่ในรัศมีไม่เกิน 2 กม. และพัฒนารอบสถานี หรือ TOD การพัฒนาโครงการถึงจะสำเร็จเหมือนต่างประเทศ
เอกชนเลื่อนยื่นซองอู่ตะเภา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 8 ก.พ. กองทัพเรือจัดชี้แจงครั้งที่ 2 การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภาและเมืองการบินตะวันออก พื้นที่ 6,500 ไร่ มูลค่า 290,000 ล้านบาท มีเอกชนเข้าร่วม 31 ราย จากซื้อซอง 42 ราย โดยตั้งคำถามหลากหลาย
เช่น ขอให้เลื่อนยื่นซองประมูลออกไปจาก 28 ก.พ. เป็น 30 เม.ย. โดยที่ปรึกษา รับข้อเสนอไว้หารือกับคณะกรรมการคัดเลือกให้ความเห็นชอบต่อไป แต่เบื้องต้น ขอให้ยึดวันที่ 28 ก.พ.ไปก่อน ยังมีขอใช้ประสบการณ์ผู้รับจ้าง การให้รัฐอุดหนุนเพิ่มเติมนอกเหนือจากทีโออาร์ เช่น มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ขอความ ชัดเจนปรับบทบาทอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1-2 ซึ่งเอกชนกังวลว่า หากยังเปิดใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะกระทบกับอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ที่เอกชนจะต้องลงทุนเป็นเงินจำนวนมาก และยังสอบ ถามการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นหลังเซ็นสัญญา นอกจาก บมจ.ท่าอากาศยาน ไทย (ทอท.) แล้ว เอกชนนำรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ มาร่วมด้วยได้หรือไม่ ทางที่ปรึกษาระบุให้เฉพาะ ทอท.เท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชาพิจารณ์ ผังเมืองอีอีซีที่จังหวัดฉะเชิงเทราเมื่อ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา มีประชาชน ตัวแทนหน่วยงานท้องถิ่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าเข้าร่วมรับฟัง โดยบางส่วน คัดค้านและยื่นขอแก้ไขร่างผังเมือง ที่ทางการจัดทำ เพราะได้รับความเดือดร้อน จากที่ผังเมืองอีอีซีห้ามขยายโรงงานในพื้นที่ดิน และเกรงได้รับผลกระทบจากปัญหาจราจร ขาดแคลนน้ำ ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ