EEC ดันลงทุนเพิ่มปีละ3แสนล.
วันที่ : 4 กุมภาพันธ์ 2562
อีอีซีดันลงทุนประเทศเพิ่มปีละ 3 แสนล้าน ตั้งแต่ปี 62-63 เชื่ออีอีซีเกิดเต็มตัวดันจีดีพีโต 5% แม้เปลี่ยนรัฐบาล ทุกโครงการเดินหน้าเจรจา-ประมูล เริ่มตอกเข็มแน่กลางปีนี้
อีอีซีดันลงทุนประเทศเพิ่มปีละ 3 แสนล้าน ตั้งแต่ปี'62-63 เชื่ออีอีซีเกิดเต็มตัวดันจีดีพีโต 5% แม้เปลี่ยนรัฐบาล ทุกโครงการเดินหน้าเจรจา-ประมูล เริ่มตอกเข็มแน่กลางปีนี้
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยระหว่างร่วมคณะโรดโชว์นักลงทุนที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ถามเรื่องความชัดเจนของโครงการหลังเลือกตั้ง และแผนการลงทุนในอีอีซี ซึ่งตนให้ความมั่นใจไปว่า อีอีซีจะลงทุนต่อเนื่องภายใต้พระราชบัญญัติอีอีซี โครงการใหญ่ต่าง ๆ ต้องเดินหน้า และกลางปีนี้จะตอกเสาเข็มหลายโครงการ ผลักดันให้ตัวเลขการลงทุนของประเทศปี 2562-2563 ขยายตัว 10% เพิ่มจาก 4.5% ในปีนี้ คาดว่าจะจบประมูลช่วง มี.ค.-เม.ย. 62
"จากนี้ไปการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม จะเพิ่มจากเดิมปีละ 3 แสนล้านบาท โดยมาจากรถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ สนามบิน ศูนย์ซ่อมและบำรุงอากาศยาน 1.5 แสนล้าน อุตสาหกรรมใหม่ 1 แสนล้าน และ 5 หมื่นล้านมาจากภาคการค้าการบริการ"
การลงทุนในอีอีซีจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวขึ้นอีก 2% จากฐานปัจจุบันสามารถผลักดันให้ขยายตัวเกินกว่า 5% เมื่อทุกโครงการเกิดเต็มตัว ภาพรวมถือว่าขยายตัวดี จีดีพีแตะ 4% ปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจขยายตัวคือ การลงทุนภาคเอกชน 4.4% การลงทุนภาครัฐ 6.6% การส่งออก 4.1%
"ถ้าขยายการลงทุนในอีอีซีได้ เศรษฐกิจจะขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาส่งออกอย่างเดียว รับแรงกระแทกจากสงครามการค้า รับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกได้ อย่างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินยังไงก็ต้องลงทุน"
กรณีท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ที่ต้องรีวิวเงื่อนไขทีโออาร์ใหม่ ขณะนี้มีนักลงทุน 3 ชาติสนใจประมูล เช่น ไชน่า ฮาร์เบอร์ จากจีน อิโตชู จากญี่ปุ่น และสิงคโปร์พอร์ต เชื่อว่ารัฐบาลใหม่เตรียมขยายโมเดลการพัฒนาเขตเศรษฐกิจลักษณะเดียวกับอีอีซี
ส่วนการพิจารณาขยายพื้นที่อีอีซี จะแล้วเสร็จกลางปีนี้ หากขยายก็ต้องออก พ.ร.บ.ฉบับใหม่เพิ่ม ขณะนี้ผังเมืองรวม 3 จังหวัดอีอีซีเสร็จหมดแล้ว อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น จะจบในเดือนนี้
นายคณิศกล่าวถึงนักลงทุนฝรั่งเศส เข้าหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีว่า กลุ่มนักลงทุนขอหารือรอบพิเศษกับทีมอีอีซี 3 ประเด็น คือ หากไทยจะทำเมืองอัจฉริยะ/เมืองใหม่ ฝรั่งเศสสนใจขอศึกษาด้วย ประเด็นที่สองคือความร่วมมือเรื่องดิจิทัล และกรณีแอร์บัสที่ลงทุนในศูนย์ซ่อม ฯลฯ
ส่วนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อยู่ระหว่างเจรจากับผู้ชนะการประมูล ถ้าเจรจาไม่สำเร็จก็อาจเรียกรายที่ 2 มาเจรจา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเจรจาต่อรองกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ถือเป็นครั้งแรกที่เปิด International bidding จึงมีหลายประเด็นสะดุดบ้าง แต่คงตามไทม์ไลน์เดิม ซึ่งข้อเสนอกลุ่ม ซี.พี.ลงลึกเป็น 100 ข้อ เช่น กรณีโอนที่ดินมักกะสัน หากรัฐโอนที่ให้ผู้รับสัมปทานแล้ว 50% จะต้องเริ่มโครงการทันที ซึ่ง ซี.พี.ตั้งประเด็นว่า หากรัฐโอนที่ดินบางจุด ไม่เชื่อมต่อกัน หรือโอนเป็นแปลง ๆ แม้จะครบ 50% ก็อาจดำเนินโครงการยาก
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยระหว่างร่วมคณะโรดโชว์นักลงทุนที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ถามเรื่องความชัดเจนของโครงการหลังเลือกตั้ง และแผนการลงทุนในอีอีซี ซึ่งตนให้ความมั่นใจไปว่า อีอีซีจะลงทุนต่อเนื่องภายใต้พระราชบัญญัติอีอีซี โครงการใหญ่ต่าง ๆ ต้องเดินหน้า และกลางปีนี้จะตอกเสาเข็มหลายโครงการ ผลักดันให้ตัวเลขการลงทุนของประเทศปี 2562-2563 ขยายตัว 10% เพิ่มจาก 4.5% ในปีนี้ คาดว่าจะจบประมูลช่วง มี.ค.-เม.ย. 62
"จากนี้ไปการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม จะเพิ่มจากเดิมปีละ 3 แสนล้านบาท โดยมาจากรถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ สนามบิน ศูนย์ซ่อมและบำรุงอากาศยาน 1.5 แสนล้าน อุตสาหกรรมใหม่ 1 แสนล้าน และ 5 หมื่นล้านมาจากภาคการค้าการบริการ"
การลงทุนในอีอีซีจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวขึ้นอีก 2% จากฐานปัจจุบันสามารถผลักดันให้ขยายตัวเกินกว่า 5% เมื่อทุกโครงการเกิดเต็มตัว ภาพรวมถือว่าขยายตัวดี จีดีพีแตะ 4% ปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจขยายตัวคือ การลงทุนภาคเอกชน 4.4% การลงทุนภาครัฐ 6.6% การส่งออก 4.1%
"ถ้าขยายการลงทุนในอีอีซีได้ เศรษฐกิจจะขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาส่งออกอย่างเดียว รับแรงกระแทกจากสงครามการค้า รับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกได้ อย่างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินยังไงก็ต้องลงทุน"
กรณีท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ที่ต้องรีวิวเงื่อนไขทีโออาร์ใหม่ ขณะนี้มีนักลงทุน 3 ชาติสนใจประมูล เช่น ไชน่า ฮาร์เบอร์ จากจีน อิโตชู จากญี่ปุ่น และสิงคโปร์พอร์ต เชื่อว่ารัฐบาลใหม่เตรียมขยายโมเดลการพัฒนาเขตเศรษฐกิจลักษณะเดียวกับอีอีซี
ส่วนการพิจารณาขยายพื้นที่อีอีซี จะแล้วเสร็จกลางปีนี้ หากขยายก็ต้องออก พ.ร.บ.ฉบับใหม่เพิ่ม ขณะนี้ผังเมืองรวม 3 จังหวัดอีอีซีเสร็จหมดแล้ว อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น จะจบในเดือนนี้
นายคณิศกล่าวถึงนักลงทุนฝรั่งเศส เข้าหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีว่า กลุ่มนักลงทุนขอหารือรอบพิเศษกับทีมอีอีซี 3 ประเด็น คือ หากไทยจะทำเมืองอัจฉริยะ/เมืองใหม่ ฝรั่งเศสสนใจขอศึกษาด้วย ประเด็นที่สองคือความร่วมมือเรื่องดิจิทัล และกรณีแอร์บัสที่ลงทุนในศูนย์ซ่อม ฯลฯ
ส่วนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อยู่ระหว่างเจรจากับผู้ชนะการประมูล ถ้าเจรจาไม่สำเร็จก็อาจเรียกรายที่ 2 มาเจรจา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเจรจาต่อรองกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ถือเป็นครั้งแรกที่เปิด International bidding จึงมีหลายประเด็นสะดุดบ้าง แต่คงตามไทม์ไลน์เดิม ซึ่งข้อเสนอกลุ่ม ซี.พี.ลงลึกเป็น 100 ข้อ เช่น กรณีโอนที่ดินมักกะสัน หากรัฐโอนที่ให้ผู้รับสัมปทานแล้ว 50% จะต้องเริ่มโครงการทันที ซึ่ง ซี.พี.ตั้งประเด็นว่า หากรัฐโอนที่ดินบางจุด ไม่เชื่อมต่อกัน หรือโอนเป็นแปลง ๆ แม้จะครบ 50% ก็อาจดำเนินโครงการยาก
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ