อนุมัติพัฒนาระเบียงศก.ใต้
วันที่ : 23 มกราคม 2562
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบกรอบการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี) มีโครงการรวม 116 โครงการ ภายใต้กรอบวงเงินปี 62-65 รวม 106,790 ล้านบาท โดยมอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งดำเนินโครงการ และขอรับการจัดสรรงบประมาณตามกรอบการพัฒนาต่อไป ซึ่งในการประชุม ครม.ครั้งนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สสช.)
116โครงการกว่าแสนล้าน
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบกรอบการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี) มีโครงการรวม 116 โครงการ ภายใต้กรอบวงเงินปี 62-65 รวม 106,790 ล้านบาท โดยมอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งดำเนินโครงการ และขอรับการจัดสรรงบประมาณตามกรอบการพัฒนาต่อไป ซึ่งในการประชุม ครม.ครั้งนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สสช.) ไปศึกษาความเหมาะสมรายละเอียดของการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชุมพร-ระนอง และพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช พร้อมทั้งยังได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายปี 62 งบกลาง ไปทำโครงการเร่งด่วน และมีความพร้อมก่อน 5 โครงการ วงเงินรวม 448.69 ล้านบาทด้วย ทั้งนี้ในการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ทั้ง 2 จุดนั้น จะเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบ 4 ด้าน รวม 116 โครงการ คือ ด้านการพัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก มีโครงการที่ต้องดำเนินการรวม 11 โครงการ วงเงิน 50,268 ล้านบาท มีโครงการสำคัญ เช่น การปรับปรุงท่าอากาศยานในพื้นที่ให้มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 10 ล้านคนต่อปี พร้อมกับพัฒนาโครงการท่าเรือระยอง เชื่อมต่อจากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ด้านการพัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทยและอันดามันมีทั้งหมด 33 โครงการ วงเงิน 39,555 ล้านบาท มีโครงการสำคัญ คือ โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะพยาม โครงการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวบริเวณแหล่งน้ำแร่ โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานชุมพรเพื่อการท่องเที่ยว และโครงการพัฒนาถนนเลียบชายฝั่งทะเลช่วงสมุทรสงครามเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และระนอง
ขณะที่การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง 33โครงการ วงเงินรวม 7,357 ล้านบาท มีโครงการสำคัญ คือ โครงการสนับสนุนศูนย์แปรรูปสมุนไพรครบวงจร โครงการศึกษาการจัดตั้งศูนย์ความเชี่ยวชาญการวิจัยเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (เอสอีซีอาร์) สุดท้ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติการส่งเสริมวัฒนธรรมและการพัฒนาเมืองน่าอยู่ 39 โครงการ วงเงินรวม 9,609 ล้านบาท มีโครงการที่สำคัญ คือ โครงการจัดทำระบบการจัดการโลจิสติกส์อัจฉริยะ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในปี 62 ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติงบกลางฯ 5 โครงการ วงเงินรวม 448 ล้านบาท คือ โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะพยาม วงเงิน 132.8 ล้านบาท โครงการป่าชายเลนระนองสู่มรดกโลก วงเงิน 85.5 ล้านบาท โครงการสนับสนุนการแปรรูปสมุนไพรแบบครบวงจร วงเงิน 194.6 ล้านบาท โครงการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินเพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างความเข้มแข็งด้านการบริการดูแลผู้สูงอายุสู่ประเทศไทย4.0 เทศบาลเมืองชุมพร วงเงิน 12.64 ล้านบาท และโครงการศึกษาการจัดตั้งศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ วงเงิน 20 ล้านบาท
นายณัฐพรกล่าวอีกว่า สำหรับโครงการเอสอีซี จะครอบคลุม 4 จังหวัด คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มีพื้นที่พัฒนา 3 แสนตารางเมตร โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนาโครงการ เช่น เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจในช่วง 10 ปีแรกของการพัฒนาโครงการ (62-72) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของพื้นที่เอสอีซีขยายตัวเฉลี่ย 5% ต่อปี จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคนต่อปี การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยภาคอุตสาหกรรมจะยกระดับเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบกรอบการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี) มีโครงการรวม 116 โครงการ ภายใต้กรอบวงเงินปี 62-65 รวม 106,790 ล้านบาท โดยมอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งดำเนินโครงการ และขอรับการจัดสรรงบประมาณตามกรอบการพัฒนาต่อไป ซึ่งในการประชุม ครม.ครั้งนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สสช.) ไปศึกษาความเหมาะสมรายละเอียดของการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชุมพร-ระนอง และพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช พร้อมทั้งยังได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายปี 62 งบกลาง ไปทำโครงการเร่งด่วน และมีความพร้อมก่อน 5 โครงการ วงเงินรวม 448.69 ล้านบาทด้วย ทั้งนี้ในการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ทั้ง 2 จุดนั้น จะเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบ 4 ด้าน รวม 116 โครงการ คือ ด้านการพัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก มีโครงการที่ต้องดำเนินการรวม 11 โครงการ วงเงิน 50,268 ล้านบาท มีโครงการสำคัญ เช่น การปรับปรุงท่าอากาศยานในพื้นที่ให้มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 10 ล้านคนต่อปี พร้อมกับพัฒนาโครงการท่าเรือระยอง เชื่อมต่อจากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ด้านการพัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทยและอันดามันมีทั้งหมด 33 โครงการ วงเงิน 39,555 ล้านบาท มีโครงการสำคัญ คือ โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะพยาม โครงการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวบริเวณแหล่งน้ำแร่ โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานชุมพรเพื่อการท่องเที่ยว และโครงการพัฒนาถนนเลียบชายฝั่งทะเลช่วงสมุทรสงครามเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และระนอง
ขณะที่การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง 33โครงการ วงเงินรวม 7,357 ล้านบาท มีโครงการสำคัญ คือ โครงการสนับสนุนศูนย์แปรรูปสมุนไพรครบวงจร โครงการศึกษาการจัดตั้งศูนย์ความเชี่ยวชาญการวิจัยเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (เอสอีซีอาร์) สุดท้ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติการส่งเสริมวัฒนธรรมและการพัฒนาเมืองน่าอยู่ 39 โครงการ วงเงินรวม 9,609 ล้านบาท มีโครงการที่สำคัญ คือ โครงการจัดทำระบบการจัดการโลจิสติกส์อัจฉริยะ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในปี 62 ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติงบกลางฯ 5 โครงการ วงเงินรวม 448 ล้านบาท คือ โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะพยาม วงเงิน 132.8 ล้านบาท โครงการป่าชายเลนระนองสู่มรดกโลก วงเงิน 85.5 ล้านบาท โครงการสนับสนุนการแปรรูปสมุนไพรแบบครบวงจร วงเงิน 194.6 ล้านบาท โครงการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินเพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างความเข้มแข็งด้านการบริการดูแลผู้สูงอายุสู่ประเทศไทย4.0 เทศบาลเมืองชุมพร วงเงิน 12.64 ล้านบาท และโครงการศึกษาการจัดตั้งศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ วงเงิน 20 ล้านบาท
นายณัฐพรกล่าวอีกว่า สำหรับโครงการเอสอีซี จะครอบคลุม 4 จังหวัด คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มีพื้นที่พัฒนา 3 แสนตารางเมตร โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนาโครงการ เช่น เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจในช่วง 10 ปีแรกของการพัฒนาโครงการ (62-72) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของพื้นที่เอสอีซีขยายตัวเฉลี่ย 5% ต่อปี จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคนต่อปี การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยภาคอุตสาหกรรมจะยกระดับเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ