มั่นใจทุกรัฐบาลพร้อมดันอีอีซี
วันที่ : 18 มกราคม 2562
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยภายในงานสัมมนาหัวข้อ "เศรษฐกิจไทยกับการเลือกตั้ง" จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจว่า ไทยกำลังเข้าสู่การเลือกตั้ง ที่อยู่ระหว่างรอประกาศอย่างเป็นทางการ โดยมองว่า ไม่กระทบต่อการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี และเมื่อเลือกตั้งแล้วเสร็จไม่ว่าใครจะเข้ามาบริหารประเทศการพัฒนาอีอีซี เชื่อว่ายังคงเดินหน้าต่อ เนื่องจากเป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ขยายตัวจากฐานอีก 2% ทำให้ 5 ปีจากนี้เศรษฐกิจไทยจะโตมากกว่า 5% ประกอบกับอีอีซีมี พระราชบัญญัติรองรับไม่ใช่นโยบายที่ประกาศขึ้นลอย ๆ
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยภายในงานสัมมนาหัวข้อ "เศรษฐกิจไทยกับการเลือกตั้ง" จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจว่า ไทยกำลังเข้าสู่การเลือกตั้ง ที่อยู่ระหว่างรอประกาศอย่างเป็นทางการ โดยมองว่า ไม่กระทบต่อการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี และเมื่อเลือกตั้งแล้วเสร็จไม่ว่าใครจะเข้ามาบริหารประเทศการพัฒนาอีอีซี เชื่อว่ายังคงเดินหน้าต่อ เนื่องจากเป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ขยายตัวจากฐานอีก 2% ทำให้ 5 ปีจากนี้เศรษฐกิจไทยจะโตมากกว่า 5% ประกอบกับอีอีซีมี พระราชบัญญัติรองรับไม่ใช่นโยบายที่ประกาศขึ้นลอย ๆ
"อยากให้คนที่เข้ามาทำงานในรัฐบาลคิดว่า อีอีซีเป็นโครงการของประเทศ ไม่ได้เป็นของรัฐบาลชุดใดชุดหนึ่ง ถ้ามีการสานต่อก็จะยืนยันได้ว่าเป็นเครื่องมือที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศแน่นอนไป 5-10 ปีเบื้องต้น สิ่งที่เราหวัง ก็คือ การเข้ามาแล้วไม่ทะเลาะกันก็จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างจริงจัง เพราะผ่านมาหลายสมัยประเทศตั้งใจจะทำเมกะโปรเจคท์มาหลายครั้ง ก็ไม่สำเร็จ เพราะการเมืองในประเทศไม่มีความมั่นคงพอ แต่อีอีซีต่างกัน เนื่องจากมีกฎหมายของตัวเอง ถือว่าเป็นโครงการภายใต้ความมั่นคง และปีนี้จะเห็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น คาดว่าไตรมาส 2 ของปีนี้ จะเห็นความเคลื่อนไหวที่ชัดเจน"
ทั้งนี้ปีนี้มั่นใจว่า จะเห็นการลงทุนจริงในพื้นที่อีอีซี ประเมินอยู่ที่ 534,481 ล้านบาท เนื่องจากคำขอรับส่งเสริมการลงทุนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในอีอีซีปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 683,910 ล้านบาท และยังมีตัวเลขคำขอของปี 60 อยู่ที่ 310,337 ล้านบาท ซึ่งปีที่ผ่านมามีการลงทุนจริงในอีอีซีแล้ว 265,933 ล้านบาท และปีนี้คาดว่าจะมีคำขอลงทุนไม่ต่ำกว่า 300,000 ล้านบาทแน่นอน ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ ที่จะประมูลเสร็จภายในต้นปีนี้ และเริ่มลงทุนช่วงปลายปีนี้ และอีอีซีจะมีการออกไปชักจูงการลงทุน หรือโรดโชว์ โดยวันที่ 31 ม.ค. นี้ จะเดินทางไปญี่ปุ่นร่วมกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และจะหารือกับนักลงทุนฝรั่งเศส อาทิ แอร์บัส เพื่อหารือความคืบหน้าการตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (เอ็มอาร์โอ)
อย่างไรก็ตามการผลักดันนโยบายอีอีซีนอกจากจะกระตุ้นการลงทุน จีดีพียังจะส่งผลให้คนไทยมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น หลุดพ้นจากรายได้ปานกลาง โดยเมื่อปี 60 คนไทยมีรายได้ 2.1 แสนล้านบาทต่อคนต่อปี แต่ปี 69 คนไทยจะมีรายได้ 400,000 บาทต่อคนต่อปี
"อยากให้คนที่เข้ามาทำงานในรัฐบาลคิดว่า อีอีซีเป็นโครงการของประเทศ ไม่ได้เป็นของรัฐบาลชุดใดชุดหนึ่ง ถ้ามีการสานต่อก็จะยืนยันได้ว่าเป็นเครื่องมือที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศแน่นอนไป 5-10 ปีเบื้องต้น สิ่งที่เราหวัง ก็คือ การเข้ามาแล้วไม่ทะเลาะกันก็จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างจริงจัง เพราะผ่านมาหลายสมัยประเทศตั้งใจจะทำเมกะโปรเจคท์มาหลายครั้ง ก็ไม่สำเร็จ เพราะการเมืองในประเทศไม่มีความมั่นคงพอ แต่อีอีซีต่างกัน เนื่องจากมีกฎหมายของตัวเอง ถือว่าเป็นโครงการภายใต้ความมั่นคง และปีนี้จะเห็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น คาดว่าไตรมาส 2 ของปีนี้ จะเห็นความเคลื่อนไหวที่ชัดเจน"
ทั้งนี้ปีนี้มั่นใจว่า จะเห็นการลงทุนจริงในพื้นที่อีอีซี ประเมินอยู่ที่ 534,481 ล้านบาท เนื่องจากคำขอรับส่งเสริมการลงทุนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในอีอีซีปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 683,910 ล้านบาท และยังมีตัวเลขคำขอของปี 60 อยู่ที่ 310,337 ล้านบาท ซึ่งปีที่ผ่านมามีการลงทุนจริงในอีอีซีแล้ว 265,933 ล้านบาท และปีนี้คาดว่าจะมีคำขอลงทุนไม่ต่ำกว่า 300,000 ล้านบาทแน่นอน ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ ที่จะประมูลเสร็จภายในต้นปีนี้ และเริ่มลงทุนช่วงปลายปีนี้ และอีอีซีจะมีการออกไปชักจูงการลงทุน หรือโรดโชว์ โดยวันที่ 31 ม.ค. นี้ จะเดินทางไปญี่ปุ่นร่วมกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และจะหารือกับนักลงทุนฝรั่งเศส อาทิ แอร์บัส เพื่อหารือความคืบหน้าการตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (เอ็มอาร์โอ)
อย่างไรก็ตามการผลักดันนโยบายอีอีซีนอกจากจะกระตุ้นการลงทุน จีดีพียังจะส่งผลให้คนไทยมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น หลุดพ้นจากรายได้ปานกลาง โดยเมื่อปี 60 คนไทยมีรายได้ 2.1 แสนล้านบาทต่อคนต่อปี แต่ปี 69 คนไทยจะมีรายได้ 400,000 บาทต่อคนต่อปี
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ