ปีทองรับเหมารายย่อย
วันที่ : 16 มกราคม 2562
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปี 2562 นี้ คาดว่าจะเป็นปีทองธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายย่อยของไทย หลังพบผู้บริโภคนิยมใช้บริการผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ประกอบการก่อสร้างรายย่อยของไทยจะเร่งพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการให้เป็นระบบและมีมาตรฐานรองรับความต้องการใช้บริการของลูกค้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งปิดจุดอ่อน-เพิ่มจุดแข็งให้แก่ธุรกิจในภาวะที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กรมพัฒน์ฯ ติดอาวุธผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อย เตรียมรับมือลูกค้าทุกรูปแบบ คาดมูลค่าก่อสร้างไทยขยายตัว 7-9%
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปี 2562 นี้ คาดว่าจะเป็นปีทองธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายย่อยของไทย หลังพบผู้บริโภคนิยมใช้บริการผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ประกอบการก่อสร้างรายย่อยของไทยจะเร่งพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการให้เป็นระบบและมีมาตรฐานรองรับความต้องการใช้บริการของลูกค้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งปิดจุดอ่อน-เพิ่มจุดแข็งให้แก่ธุรกิจในภาวะที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กรมได้ร่วมมือกับสมาคมไทยรับสร้างบ้านติดอาวุธด้านการบริหารจัดการธุรกิจแก่ผู้ประกอบการก่อสร้าง
รายย่อยของไทยให้ก้าวไปข้างหน้า โดยเน้นการให้ความรู้เชิงลึกแบบครบทุกมิติของธุรกิจก่อสร้าง เช่น การวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดธุรกิจก่อสร้างและ แนวโน้มในอนาคต การขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ การแก้ปัญหาความ ขัดแย้งในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง พร้อมการบริหารความขัดแย้งและวิธีการป้องกัน ปัญหางานก่อสร้างที่พบบ่อย/การแก้ไขเชิงลึก และเทคนิคการก่อสร้าง วิธีการจัดการต้นทุนไม่ให้บานปลายและข้อพึงระวัง
"จุดอ่อนของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายย่อยของไทย คือ การบริหารจัดการธุรกิจที่ไม่เป็นระบบ ขาดองค์ความรู้ที่จำเป็นในการบริหารธุรกิจ เช่น การคำนวณต้นทุนค่าก่อสร้าง การตลาด การบริหารงานบุคคล การเงินและบัญชี ระบบภาษี กฎหมายและสัญญารับจ้าง รวมทั้ง ต้องเผชิญกับภาวการณ์แข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ" นายวุฒิไกร กล่าว
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยารายงานว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามูลค่าการลงทุนในธุรกิจก่อสร้างของประเทศไทยมีสัดส่วนเฉลี่ย 8.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และคาดการณ์ว่ามูลค่าการลงทุนในธุรกิจก่อสร้างของไทยระหว่างปี 2561-2563 จะขยายตัวเฉลี่ย 7-9% ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และงานก่อสร้างของภาคเอกชนฟื้นตัว โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าใหม่ และโรงงานที่จะเติบโตในพื้นที่พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก รวมทั้งปริมาณงานก่อสร้างในประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการขยายการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นโอกาสให้ผู้รับเหมาก่อสร้างของไทยสามารถขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้เพิ่มมากขึ้น
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปี 2562 นี้ คาดว่าจะเป็นปีทองธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายย่อยของไทย หลังพบผู้บริโภคนิยมใช้บริการผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ประกอบการก่อสร้างรายย่อยของไทยจะเร่งพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการให้เป็นระบบและมีมาตรฐานรองรับความต้องการใช้บริการของลูกค้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งปิดจุดอ่อน-เพิ่มจุดแข็งให้แก่ธุรกิจในภาวะที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กรมได้ร่วมมือกับสมาคมไทยรับสร้างบ้านติดอาวุธด้านการบริหารจัดการธุรกิจแก่ผู้ประกอบการก่อสร้าง
รายย่อยของไทยให้ก้าวไปข้างหน้า โดยเน้นการให้ความรู้เชิงลึกแบบครบทุกมิติของธุรกิจก่อสร้าง เช่น การวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดธุรกิจก่อสร้างและ แนวโน้มในอนาคต การขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ การแก้ปัญหาความ ขัดแย้งในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง พร้อมการบริหารความขัดแย้งและวิธีการป้องกัน ปัญหางานก่อสร้างที่พบบ่อย/การแก้ไขเชิงลึก และเทคนิคการก่อสร้าง วิธีการจัดการต้นทุนไม่ให้บานปลายและข้อพึงระวัง
"จุดอ่อนของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายย่อยของไทย คือ การบริหารจัดการธุรกิจที่ไม่เป็นระบบ ขาดองค์ความรู้ที่จำเป็นในการบริหารธุรกิจ เช่น การคำนวณต้นทุนค่าก่อสร้าง การตลาด การบริหารงานบุคคล การเงินและบัญชี ระบบภาษี กฎหมายและสัญญารับจ้าง รวมทั้ง ต้องเผชิญกับภาวการณ์แข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ" นายวุฒิไกร กล่าว
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยารายงานว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามูลค่าการลงทุนในธุรกิจก่อสร้างของประเทศไทยมีสัดส่วนเฉลี่ย 8.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และคาดการณ์ว่ามูลค่าการลงทุนในธุรกิจก่อสร้างของไทยระหว่างปี 2561-2563 จะขยายตัวเฉลี่ย 7-9% ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และงานก่อสร้างของภาคเอกชนฟื้นตัว โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าใหม่ และโรงงานที่จะเติบโตในพื้นที่พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก รวมทั้งปริมาณงานก่อสร้างในประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการขยายการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นโอกาสให้ผู้รับเหมาก่อสร้างของไทยสามารถขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้เพิ่มมากขึ้น
ข่าววัสดุก่อสร้าง-เฟอร์นิเจอร์ อื่นๆ