อีอีซี ดันลงทุนปี61ทะลุ9แสนล. ค่ายรถแห่ผลิตรับพลังงานไฟฟ้า
วันที่ : 12 มกราคม 2562
ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 61 พุ่ง 1.6 พันโครงการ มูลค่ากว่า 9 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 25 เป็นคำขอลงทุนในพื้นที่อีอีซีกว่า 6.8 แสนล้าน ค่ายรถยนต์แห่ยื่นขอลงทุนผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 61 พุ่ง 1.6 พันโครงการ มูลค่ากว่า 9 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 25 เป็นคำขอลงทุนในพื้นที่อีอีซีกว่า 6.8 แสนล้าน ค่ายรถยนต์แห่ยื่นขอลงทุนผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการทำงานและการส่งเสริมการลงทุนในปี 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า บีโอไอได้รายงานสถานการณ์การลงทุนในปี 2561 ที่ผ่านมา มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 1,626 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 901,770 ล้านบาท สูงกว่าปี 2560 โดยจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 43
ทั้งนี้ ยอดคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในปี 2561 มีมูลค่าสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่มูลค่า 720,000 ล้านบาท ร้อยละ 25 โดยภาพรวมของโครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนในปี 2561 พบว่าอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 84 หรือมูลค่าเงินลงทุนกว่า 758,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-curve) ได้แก่ ดิจิทัล การแพทย์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และอากาศยาน เงินลงทุนรวม 539,000 ล้านบาท และ 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม (First S-Curve) ได้แก่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ท่องเที่ยว และแปรรูปอาหาร เงินลงทุนรวม 219,000 ล้านบาท
"ในช่วงไตรมาสสุดท้ายมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกลุ่มยานยนต์หลายรายมายื่นขอรับส่งเสริมในกิจการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี ซึ่งมาตรการส่งเสริมจะสิ้นสุดในปี 2561 จึงทำให้มูลค่าคำขอในปีที่ผ่านมาสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงร้อยละ 25" นายสมคิด กล่าว
สำหรับการขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี พบว่า มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 422 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน รวม 683,910 ล้านบาท เป็นคำขอลงทุนในพื้นที่จังหวัดชลบุรีมากที่สุดจำนวน 193 โครงการ เงินลงทุนรวม 576,910 ล้านบาท ตามด้วยจังหวัดระยอง 156 โครงการ เงินลงทุนรวม 58,700 ล้านบาท และจังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน 73 โครงการ เงินลงทุนรวม 48,300 ล้านบาท
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า สำหรับปี 2562 บีโอไอจะเดินหน้ามุ่งเน้นชักจูงส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายต่อไป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ
สำหรับแผนชักจูงการลงทุนของระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2562 ประกอบด้วยการจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุนในประเทศเป้าหมาย เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สหรัฐอเมริกา และกลุ่มยุโรป โดยจะใช้กลยุทธ์เจาะลึกให้รายละเอียดและข้อมูลเป็นรายบริษัท เพื่อสร้างความเข้าใจในนโยบายส่งเสริมการลงทุน แบบเชิงลึกมากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในพื้นที่อีอีซีที่เป็นจุดแข็ง ของประเทศไทยเพื่อพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการทำงานและการส่งเสริมการลงทุนในปี 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า บีโอไอได้รายงานสถานการณ์การลงทุนในปี 2561 ที่ผ่านมา มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 1,626 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 901,770 ล้านบาท สูงกว่าปี 2560 โดยจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 43
ทั้งนี้ ยอดคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในปี 2561 มีมูลค่าสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่มูลค่า 720,000 ล้านบาท ร้อยละ 25 โดยภาพรวมของโครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนในปี 2561 พบว่าอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 84 หรือมูลค่าเงินลงทุนกว่า 758,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-curve) ได้แก่ ดิจิทัล การแพทย์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และอากาศยาน เงินลงทุนรวม 539,000 ล้านบาท และ 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม (First S-Curve) ได้แก่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ท่องเที่ยว และแปรรูปอาหาร เงินลงทุนรวม 219,000 ล้านบาท
"ในช่วงไตรมาสสุดท้ายมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกลุ่มยานยนต์หลายรายมายื่นขอรับส่งเสริมในกิจการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี ซึ่งมาตรการส่งเสริมจะสิ้นสุดในปี 2561 จึงทำให้มูลค่าคำขอในปีที่ผ่านมาสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงร้อยละ 25" นายสมคิด กล่าว
สำหรับการขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี พบว่า มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 422 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน รวม 683,910 ล้านบาท เป็นคำขอลงทุนในพื้นที่จังหวัดชลบุรีมากที่สุดจำนวน 193 โครงการ เงินลงทุนรวม 576,910 ล้านบาท ตามด้วยจังหวัดระยอง 156 โครงการ เงินลงทุนรวม 58,700 ล้านบาท และจังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน 73 โครงการ เงินลงทุนรวม 48,300 ล้านบาท
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า สำหรับปี 2562 บีโอไอจะเดินหน้ามุ่งเน้นชักจูงส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายต่อไป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ
สำหรับแผนชักจูงการลงทุนของระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2562 ประกอบด้วยการจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุนในประเทศเป้าหมาย เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สหรัฐอเมริกา และกลุ่มยุโรป โดยจะใช้กลยุทธ์เจาะลึกให้รายละเอียดและข้อมูลเป็นรายบริษัท เพื่อสร้างความเข้าใจในนโยบายส่งเสริมการลงทุน แบบเชิงลึกมากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในพื้นที่อีอีซีที่เป็นจุดแข็ง ของประเทศไทยเพื่อพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ