ลงทุนอีอีซีทะลุ 6.8แสนล้าน
Loading

ลงทุนอีอีซีทะลุ 6.8แสนล้าน

วันที่ : 10 มกราคม 2562
"สมคิด" เผยคำขอรับส่งเสริมลงทุนปี 2561 ทะลุ 9 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้า 7.2 แสนล้านบาท เฉพาะอีอีซี 6.8 แสนล้าน ตั้งเป้าปีนี้ 7.5 แสนล้านบาท สั่ง "บีโอไอ" ออกแพ็คเกจส่งเสริม เขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ เหนือ อีสาน หวังลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
          "สมคิด" เผยคำขอรับส่งเสริมลงทุนปี 2561 ทะลุ 9 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้า 7.2 แสนล้านบาท เฉพาะอีอีซี 6.8 แสนล้าน ตั้งเป้าปีนี้ 7.5 แสนล้านบาท สั่ง "บีโอไอ" ออกแพ็คเกจส่งเสริม เขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ เหนือ อีสาน หวังลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

          นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการทำงานและการส่งเสริมการลงทุนใน ปี 2562 ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (บีโอไอ) ว่า การลงทุนในปี 2561 ที่ผ่านมา มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน จำนวน 1,626 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 901,770 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7.2 แสนล้านบาท หรือสูงกว่าเป้า 25%  โดยเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่ 84% หรือ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 7.58 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ได้แก่ ดิจิทัล การแพทย์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และอากาศยาน เงินลงทุนรวม 5.39 แสนล้านบาท และ 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม ได้แก่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ท่องเที่ยว และแปรรูปอาหาร เงินลงทุนรวม 2.19 แสนล้านบาท "ในช่วงไตรมาสสุดท้ายมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกลุ่มยานยนต์หลายรายมายื่นขอรับส่งเสริม ในกิจการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (อีวี) ซึ่งมาตรการสิ้นสุดในปี 2561 จึงทำให้มูลค่าคำขอในปีที่ผ่านมาสูงกว่าเป้าหมายถึง 25%" ชลบุรีแชมป์ลงทุนอีอีซี สำหรับการขอรับส่งเสริมการลงทุน ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 422 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 683,910 ล้านบาท เป็นคำขอลงทุนใน จ.ชลบุรีมากที่สุด จำนวน 193 โครงการ เงินลงทุนรวม 576,910 ล้านบาท ตามด้วย จ.ระยอง 156 โครงการ เงินลงทุนรวม 58,700 ล้านบาท และ จ.ฉะเชิงเทรา 73 โครงการ เงินลงทุนรวม 48,300 ล้านบาท

          ส่วนในปี 2562 บีโอไอได้ตั้งเป้าหมายยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนไว้ที่ 7.5 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายในปีนี้ที่ตั้งไว้ 7.2 แสนล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากประเมินว่าในปีนี้มีปัจจัยลบหลายเรื่อง เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังไม่แน่นอน

          โดยเฉพาะเรื่องสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ แต่จะเน้นนักลงทุนที่มีคุณภาพ เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ส่วนการลงทุนในพื้นที่อีอีซีคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า3 แสนล้านบาท

          ทั้งนี้ ปัจจัยบวกจะเป็นเรื่องนโยบายที่ประเทศจีนและญี่ปุ่นจะร่วมมือไปลงทุนในประเทศที่ 3 โดยได้เลือกประเทศไทยเป็น เป้าหมายหลักที่จะเข้ามาลงทุน โดยในช่วงเดือนมี.ค. 2562 คณะนักลงทุนทั้ง 2 ประเทศ จะเดินทางมาร่วมประชุมกับนักธุรกิจไทย ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันครั้งแรกที่ประเทศไทย ซึ่งบีโอไอกำลังเตรียมประชุมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์กับประเทศไทยเต็มที่ บีโอไอจัดสัมมนาใหญ่ มี.ค.นี้ รวมทั้งจะมีการจัดสัมมนาใหญ่ของ บีโอไอประจำปี ในช่วงเดือน มี.ค. ซึ่งจะดึง นักลงทุนไทยและต่างประเทศมาร่วมงาน โดยได้สรุปธีมการจัดงานไว้แล้ว และให้บีโอไอ ไปสรุปรายละเอียดเพื่อสื่อให้นักลงทุนต่างชาติ ได้เห็นจุดเด่นในการมาลงทุนในประเทศไทย

          นอกจากนี้ ผลจากสงครามการค้า ยังส่งผลบวกต่อการลงทุนไทย ซึ่งจากการพูดคุย กับผู้ประกอบการในหลายประเทศ ต่างมองหา ลู่ทางที่จะย้ายฐานการลงทุนจากประเทศอื่น มาไทย เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของสงครามการค้า ซึ่งได้ให้ บีโอไอ จัดตั้งทีมงาน เพื่อโฟกัสการดึงดูดผู้ประกอบการเหล่านี้ให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย สั่งออกแพ็คเก็จ "เอสอีซี"

          นายสมคิด กล่าวว่า มอบให้บีโอไอออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนในภูมิภาค เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างการพัฒนาในท้องถิ่นให้มากขึ้น ซึ่งหลังจากที่อีอีซี เดินหน้าไปแล้ว ในปี 2562 มอบหมายให้ บีโอไอ ไปจัดหามาตรการและเครื่องมือดึงดูดการลงทุนไปลงในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี) ใน 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี เพื่อให้เกิดการลงทุนจริง  "ภายในปีนี้จะผลักดันนโยบายเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เอ็นอีอีซี)

          ซึ่งจะเน้นในอุตสาหกรรมชีวภาพ จะเห็นกรอบ มาตรการส่งเสริมที่ชัดเจน ว่าบีโอไอจะให้ การส่งเสริมอย่างไร และเขตพัฒนาพิเศษภาคเหนือ (เอ็นอีซี) ที่จะเจาะจงส่งเสริม ธุรกิจสตาร์ทอัพ เชื่อมโยงกับเทียนสิน ที่เป็น แหล่งสตาร์ทอัพของจีน"

          ทั้งนี้ นอกจากในเขตพัฒนาพิเศษดังกล่าว บีโอไอต้องเพิ่มสิทธิประโยชน์กับธุรกิจที่สร้างความเจริญพัฒนาในท้องถิ่น เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร การลงทุนด้านโลจิสติกส์เชื่อมโยงเมืองรอง การลงทุน ในธุรกิจท่องเที่ยวเมืองรอง ซึ่งควรจะได้ สิทธิประโยชน์มากกว่าการลงทุนในเมืองหลัก รวมไปถึงการลงทุนธุรกิจการศึกษา ซึ่งธุรกิจ เหล่านี้จะต้องการจายออกไปในภูมิภาคท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน มากขึ้น

          เล็งส่งเสริมลงทุนท่องเที่ยว

          นายสมคิด กล่าวว่า มอบหมายให้บีโอไอ ออกมาตรการสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากการท่องเที่ยวด้วย เช่น ธุรกิจการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว  อุตสาหกรรมกำจัดน้ำเสีย และขยะมูลฝอย รองรับจำนวนขยะที่เกิดจากการท่องเที่ยว รวมไปถึงเกษตรชุมชน และธุรกิจอื่นๆ ที่ช่วย ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะธุรกิจท่องเที่ยว จะช่วยกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึง

          นอกจากนี้ จะให้ บีโอไอ ออกมาตรการสนับสนุนธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย เหมือน ในอดีตที่มีโครงการบ้าน บีโอไอ เนื่องจาก ที่ผ่านมาโครงการบ้านล้านหลัง ได้รับความสนใจ จากประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งการที่บีโอไอออกมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล จะทำให้ผู้ประกอบการขายบ้านในราคาที่ ต่ำลง ทำให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถมีบ้านของตนเองได้ อย่างไรก็ตามมาตรการที่จะออกมา จะต้องมีเงื่อนไขการควบคุมคุณภาพบ้าน ออกมาด้วย
 
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ