เอกชนเมินเขตศก.พิเศษ รื้อแผนหนุนเอสเอ็มอีพื้นที่ รับนักธุรกิจลงทุนนอกแทน
Loading

เอกชนเมินเขตศก.พิเศษ รื้อแผนหนุนเอสเอ็มอีพื้นที่ รับนักธุรกิจลงทุนนอกแทน

วันที่ : 27 มิถุนายน 2560
เอกชนเมินเขตศก.พิเศษ รื้อแผนหนุนเอสเอ็มอีพื้นที่ รับนักธุรกิจลงทุนนอกแทน

นายอภิศักดิ์  ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนภาคเอกชนในประเทศ ว่า ยอมรับขณะนี้ภาคเอกชนไม่สนใจลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเท่าที่ควร จึงอาจต้องปรับแนวคิดการดึงดูดการลงทุนเข้าไปในเขตพัฒนาเศรษฐกิจใหม่โดยเน้นการสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีให้เข้าไปลงทุนแทน แผนเดิมที่เน้นการดึงนักลงทุนขนาดใหญ่ให้ย้ายฐานการผลิตไปอยู่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนเป็นหลัก

"เดิมการทำเขตเศรษฐกิจพิเศษจะเน้นการสร้างให้เป็นจุดการค้าชายแดนที่สำคัญโดยดึงดูดนักลงทุนให้ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ชายแดนเพื่อใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านและส่งออกค้าขายไปตามแนวชายแดน แต่นักลงทุนจำนวนมากเห็นว่าไม่คุ้ม ดังนั้นอาจต้องปรับเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้สนับสนุนกิจการเอส เอ็มอีเป็นการเฉพาะ  เพราะในต่างจังหวัดมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวนมาก แต่ยังเป็นแนวคิดจะปรับเปลี่ยนหรือไม่ต้องเสนอให้รัฐบาลพิจารณาเห็นชอบ"

ส่วนที่ภาคเอกชนที่ยังไม่ยอมลงทุนในประเทศตอนนี้เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ เพราะการลงทุนของภาคเอกชนต้องพิจารณาหลายปัจจัยเช่น ความจำเป็นการลงทุน ความคุ้มค่าจากการลงทุน ทำให้การลงทุนของภาคเอกชนยังน้อย แม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการทางภาษีหักลดหย่อนได้ 1.5 เท่า จากการทุนในปีนี้แต่กฎหมายก็ยังติดปัญหาอยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งทางกระทรวงการคลังได้เร่งให้กฎหมายนี้มีผลออกมาบังคับใช้

"ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา ภาคเอกชนลงทุนในประเทศไม่มาก แต่ก็มี การไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นซึ่งเป็นเรื่องที่ไปต่อว่าเอกชนไม่ได้ เพราะที่ ผ่านมาเศรษฐกิจต่างประเทศไม่ดีทำให้สินทรัพย์ในต่างประเทศ ลดลงมาก เช่น สินทรัพย์เคยราคา 100 บาท ลดลงเหลือ 50 บาท ทำให้นักลงทุนไปลงทุนในต่างประเทศจำนวนมากและหากพิจารณา การลงทุนเอกชนที่เป็นบริษัท อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะ เห็นได้ชัดว่ามีรายได้ขยาย ตัวถึง 20% มากกว่าการ ขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ อยู่ประมาณ 3% เป็นเพราะ มีรายได้จากการไปลงทุนต่างประเทศขยายตัวมาก"

อย่างไรก็ตามรัฐบาลพยายามเร่งให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้นโดยการส่งเสริมให้ลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรมในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งมีนักลงทุนต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนจำนวนมากและน่าจะดึงดูดให้นักลงทุนในประเทศลงทุนตามด้วย

ส่วนกรณีที่กระทรวงคมนาคมระบุว่าขณะนี้รถไฟความเร็วสูงไทย-จีนไม่สามารถเข้า ครม.ได้ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องการกู้เงินของกระทรวงการคลังนั้น ยืนยันว่า ไม่ได้ติดปัญหาที่คลังแน่นอน เพราะกระทรวงการคลังได้วางงบประมาณกู้เงินของปีงบประมาณ 61 ไว้เรียบร้อยแล้ว ตามวงเงินที่จะต้องใช้ทั้งหมด 1.7 แสนล้านบาท

แต่จะใช้ทั้งหมดหรือไม่นั้น อยู่ที่ข้อตกลงของกระทรวงคมนาคมนายสนั่น อังอุบลกุล รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ขณะนี้ภาพรวมกำลังซื้อของประชาชนไม่ได้แย่ลงและเริ่มเห็นสัญญาณการจับจ่ายใช้สอยฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา หลังจากราคาสินค้าเกษตรหลักกระเตื้องขึ้นขณะที่ภาคท่องเที่ยวก็ดีต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการส่งออก แต่ทั้งนี้ ยอมรับว่าการที่ภาคเอกชนยังชะลอการลงทุน และส่วนใหญ่มีกำลังผลิตเพียง 60% นั้น มีปัจจัยหลักมาจาก ต้องการรองบประมาณการลงทุนจากภาครัฐ รวมถึงนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่ยังไม่เกิดขึ้นได้ตามเป้าหมายที่รัฐกำหนดทำให้เอกชนรอดูความชัดเจน ทั้งโครงการลงทุนภาครัฐโครงการอีอีซีขนาดใหญ่จะเกิดขึ้น" นอกจากนั้นภาคเอกชนยังรอดูปัจจัยทั้งภายในและภายนอก จะรุนแรงไปกว่านี้หรือไม่ด้วย"  

ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

 

 

 

ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ