บอร์ดอีอีซีลุยพัฒนาคนผุดหลักสูตรเฉพาะ พร้อมดึงเทคโนโลยีสร้างอาชีพบุคลากรในพื้นที่
Loading

บอร์ดอีอีซีลุยพัฒนาคนผุดหลักสูตรเฉพาะ พร้อมดึงเทคโนโลยีสร้างอาชีพบุคลากรในพื้นที่

วันที่ : 21 กรกฎาคม 2560
บอร์ดอีอีซีลุยพัฒนาคนผุดหลักสูตรเฉพาะ พร้อมดึงเทคโนโลยีสร้างอาชีพบุคลากรในพื้นที่

บอร์ดอีอีซีลุยพัฒนาคน

บอร์ดอีอีซีเร่งเครื่องพัฒนา ทรัพยากรบุคคล ยกระดับเด็กอาชีวะ รับลงทุนเชื่อมภูมิภาค เปิดประตูเศรษฐกิจเอเชีย

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนเพื่อสนับสนุนพื้นที่อีอีซี ปี 2560-2564 โดยจะมีการพัฒนาและปรับหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสมกับพื้นที่อีอีซีโดยเฉพาะ มุ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมสนับสนุนกลุ่มอาชีวศึกษา เพื่อสร้างงานและสร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่

ทั้งนี้ หลักสูตรอบรมระยะสั้นให้ กับบุคลากรให้สามารถทำงานได้ทันที เป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยชั้นนำ จัดทำหลักสูตรการศึกษาในพื้นที่อีอีซีหลักสูตรแรก คาดแล้วเสร็จเดือนก.ย.นี้

"หัวใจหลักของการพัฒนาพื้นที่ อีอีซี คือ การสร้างอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยด้วยมิติด้าน ดิจิทัล เน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีและถ่ายโอนความรู้ เน้นพัฒนาบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน ดึงดูดการค้าและการลงทุน และพัฒนาภาคการขนส่ง" นายคณิศ กล่าว

นอกจากนี้ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ เช่น จีนมีนโยบายจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ หลังเข้าร่วมกับองค์การการค้าโลก (WTO) ทำให้ปัจจุบัน รายได้ 50% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จีนมาจากพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ มาเลเซียมีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษกว่า 5 แห่ง เป็นต้น

นายคณิศ กล่าวว่า ขณะที่ในภาพรวมของประเทศไทยเราได้ผลักดันพื้นที่อีอีซี เป็นประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับภูมิภาคเอเชีย พื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจสำคัญของโลก ซึ่ง 32% ของจีดีพีโลกมาจากพื้นที่ จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน โดยการเชื่อมโยง 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท ล่าสุดมีโครงการได้รับอนุมัติแล้วกว่า  7 หมื่นล้านบาท

สำหรับเวทีการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ปี 2560 เป็นการแลกเปลี่ยนและระดมความคิดใหม่ในการพัฒนาเอเชีย โดยมองว่าการเสวนาและแลกเปลี่ยนความรู้ระดับภูมิภาค เน้นสร้างมิติด้านการค้าและการลงทุนเป็นหลัก ซึ่งต้องการให้เน้นด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันมากขึ้น ในภาวะกระแสโลกาภิวัตน์แบบตีกลับ

 
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ