ผุดศูนย์ศก.ร่มเกล้าหมื่นล้าน กคช.ดึงเอกชนร่วมพัฒนาเชื่อมต่อสุวรรณภูมิ
Loading

ผุดศูนย์ศก.ร่มเกล้าหมื่นล้าน กคช.ดึงเอกชนร่วมพัฒนาเชื่อมต่อสุวรรณภูมิ

วันที่ : 28 กันยายน 2560
ผุดศูนย์ศก.ร่มเกล้าหมื่นล้าน กคช.ดึงเอกชนร่วมพัฒนาเชื่อมต่อสุวรรณภูมิ

กคช.ผนึก 9 บริษัทพัฒนาเมือง สมาคมอสังหาริม ทรัพย์ไทย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหนุนรัฐบาลเร่งผลักดัน ศูนย์เศรษฐกิจร่มเกล้า และการพัฒนาพื้นที่รอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสที่อยู่อาศัยระดับราคาที่ผู้มีรายได้ปานกลาง-ต่ำเป็นเจ้าของได้  คาดใช้งบกว่าหมื่นล้านบาท

นายฐาปนา บุณยประวิตร  อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย และผู้จัดการโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง การเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ได้ร่วมกับ การเคหะแห่งชาติ สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย บริษัท กรุงเทพพัฒนาเมือง และเครือข่ายบริษัทพัฒนาเมืองอีก 8 จังหวัด พร้อมทั้งสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยจัดประชุมเพื่อผลักดันศูนย์เศรษฐกิจร่มเกล้า  (LEED-ND Project) ของการเคหะแห่งชาติ และการพัฒนาพื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเตรียมนาเสนอรัฐบาลเร่งผลักดันเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่กรุงเทพฯโซนตะวันออก

ปัจจุบันพื้นที่โครงการชุมชนร่มเกล้าอยู่ห่างจากสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิประมาณ 8 กิโลเมตรจัดได้ว่าเป็นพื้นที่ที่พร้อมรองรับการพัฒนารูปแบบ Airport-Oriented Development โดยมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรถไฟฟ้าลาดกระบังเป็นพื้นที่ใจกลาง เพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจของท่าอากาศยานซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการมากกว่า 45 ล้านคนต่อปี โดยในปี 2562 ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิจะเปิดให้บริการเฟสที่ 2 คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการเพิ่มเป็น 90 ล้านคน

ประการสำคัญโหมดการเดินทางที่สถานีลาดกระบังจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงสุวรรณภูมิที่ถือว่าจุดดังกล่าวเป็นต้นทางไปสู่การเชื่อมโยงพื้นที่พัฒนาอีอีซีซึ่งหากผนวกทุกปัจจัยการพัฒนาเข้าด้วยกันก็จะเกิดการพัฒนาเมืองที่จะรวมเอาประเภทการเดินทางสาคัญเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่โหมดที่ใช้เชื่อมโยง

การเดินทางระหว่างประเทศคือท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ กับโหมดการเดินทางระหว่างภาคคือ รถไฟความเร็วสูงที่จะเชื่อมได้ทั้ง 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง  สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา และ 3 ท่าเรือสาคัญของไทยได้แก่ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือจุกสะเม็ด และท่าเรือมาบตาพุด

นอกจากนั้น พื้นที่ร่มเกล้ายังพร้อมที่จะก่อสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติที่รองรับการประชุมได้มากกว่า 5,000 ที่นั่งเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวกลุ่ม MICS และกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องที่เดินทางมาใช้บริการพื้นที่รอบสนามบิน โดยก่อสร้างอยู่บนพื้นที่กว่า 1.8 แสนตารางเมตรซึ่งใหญ่กว่าศูนย์ประชุมเมืองทองธานี อีกทั้งยังมีพื้นที่ค้าปลีกราว 3 แสนตารางเมตร โรงแรมระดับ 5 ดาวจานวน 3,000 ห้อง พร้อมอาคารสานักงานอีก 5 หมื่นตารางเมตร และที่อยู่อาศัยระดับราคาที่ผู้มีรายได้น้อย-ปานกลางเป็นเจ้าของได้ (affordable housing) มากกว่า 5 พันยูนิต โดย กคช.อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบที่เหมาะสม ในการนาพื้นที่โซนร่มเกล้า จานวน 630 ไร่มาพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ คาดใช้งบกว่าหมื่นล้านบาท

ปัจจุบันรูปแบบการเดินทางจากในเมืองไปสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิประกอบด้วย การเดินทางผ่านถนนมอเตอร์เวย์ ถนนบางนา-ตราด และถนนสายรองอีกจานวนหนึ่ง ส่วนระบบรางมีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์เพียงเส้นทางเดียว ซึ่งปัจจุบันความจุถนนที่เป็นโครงข่ายเชื่อมต่อกับสนามบินมีปริมาณเกินกว่ามาตรฐานหรือมากกว่าความสามารถในการรองรับ  โดยเส้นทางเชื่อมโยงจากกรุงเทพฯโซนเหนือยังไม่มีให้บริการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงข่ายรถไฟฟ้าเชื่อมไปจากสถานีมีนบุรีที่เป็นจุดเชื่อมโครงข่ายสายสีส้มและสายสีชมพูอีกทั้งยังจะมีสายสีน้าตาลจากย่านเกษตรไปในพื้นที่ดังกล่าวอีก

ด้วย หากสามารถขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มไปยังท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิได้โดยใช้เส้นทางตามแนวถนนร่มเกล้า ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จะทาให้เพิ่มทางเลือกในการเดินทางเข้าถึงสนามบินมากขึ้น ทั้งนี้ผู้ดาเนินการเชื่อมต่อทางรางอาจรับผิดชอบโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หรือบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จากัด (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์)  โดยรถไฟฟ้าสายดังกล่าวจะผ่านที่ตั้งของโครงการศูนย์เศรษฐกิจร่มเกล้าซึ่งในอนาคตจะมีผู้ทางานและอยู่อาศัยมากกว่า 3 แสนคน

ดังนั้นพื้นที่ร่มเกล้าจึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นพื้นที่สนับสนุนด้านการลงทุนของกรุงเทพโซนตะวันออก เนื่องจากแวดล้อมไปด้วยแหล่งธุรกิจด้านโลจิสติกส์และศูนย์รวมการเดินทางอย่างครบครัน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งและเครือข่ายธุรกิจสนับสนุนอีกมากที่เพิ่มศักยภาพแก่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งในอนาคตอันใกล้จะมีการพัฒนาเมืองรอบข้างให้มีความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ จากการประมาณการ หากพื้นที่ดังกล่าวมีการเติบโตของธุรกิจ คาดว่าจะมีบุคลากรในท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิไม่น้อยกว่า 1 ล้านคนที่มีความจาเป็นต้องอาศัยอยู่โดยรอบสนามบิน ซึ่งโครงการศูนย์เศรษฐกิจเมืองร่มเกล้าสามารถรองรับความต้องการของประชากรกลุ่มเหล่านี้ได้

 
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ