ดัน6กลุ่มนำร่อง15ระเบียงศก.
รัฐ-เอกชนชูเครือข่ายพัฒนาเมือง
เปิดโพย 15 พื้นที่ที่มีศักย ภาพเป็นระเบียงเศรษฐกิจใหม่ เล็ง 6 กลุ่มนำร่องกระทรวงวิทย์ ดึงสมาคมอสังหาฯ-ผังเมือง และ 12 บริษัท พัฒนาย่านนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
นายฐาปนา บุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากการศึกษาของธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB และสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย สามารถออกแบบเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ ที่มีกิจกรรมการค้า การผลิต และการลงทุนทางธุรกิจได้ 15 กลุ่มระเบียง
โดยการออกแบบยึดตามเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth Principles) ความเป็นผู้นำการออกแบบด้านพลังงานและสภาพแวดล้อมระดับย่าน (LEED-ND) และกฎหมายผังเมือง โดยใช้ศักยภาพร่วมกันของบริษัทพัฒนาเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เพื่อยกระดับความสามารถทางเศรษฐกิจ เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การสร้างงาน และการเพิ่มขยายฐานภาษีให้กับภาครัฐในฐานะผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ทั้งนี้ มี 6 ระเบียงเศรษฐกิจที่มีศักยภาพ สามารถนำเสนอรัฐบาลเร่งผลักดัน เพื่อกระตุ้นการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวกระโดดได้ ประกอบด้วย 1. ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC (รัฐบาลอยู่ระหว่างการขับเคลื่อน) 2.ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำลังศึกษา 3.ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือตอนบน (ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย) 4.ระเบียงเศรษฐกิจภาคกลางตอนบน (สระบุรี- นครนายก-ปราจีนบุรี-สระแก้ว) 5.ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (พัทลุง- หาดใหญ่-สะเดา) และ 6.ระเบียงเศรษฐกิจเพื่อการท่องเที่ยวภาคใต้ (ภูเก็ต พังงา และกระบี่) ซึ่งล้วนมีบริษัทพัฒนาเมืองในพื้นที่ อยู่ระหว่างการวางแผนขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป
"การพัฒนาพื้นที่ทั้ง 15 เส้น ทางระเบียงเศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ซึ่งมีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งแต่ละบริเวณของไทย เพื่อสร้างโอกาสในการจ้างงาน และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่หัวเมืองสำคัญ"
สำนักงานสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ได้จัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่ง สนับสนุนการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเพื่อเป็นตัวแบบสำหรับแต่ละระเบียงเศรษฐกิจ โดยเป็นโครงการ 3 ปี ซึ่งปี 2561 นี้ออกแบบ 6 ย่าน หรือ 6 เมืองใน 6 ระเบียงเศรษฐกิจ ส่วนปี 2562 จะออกแบบเพิ่มอีก 6 ระเบียงเศรษฐกิจโดยที่แต่ละย่านจะร่วมกับบริษัทพัฒนาเมืองในพื้นที่
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2561 ที่ผ่านมาสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) หรือ NIA ได้เชิญสมาคม อสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมการผังเมืองไทย และ 12 บริษัทพัฒนาเมือง เข้าประชุมร่วมกับนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อรายงานความคืบหน้ากิจกรรมโครง การ Smart City และการขับเคลื่อน งาน ซึ่งเครือข่ายพัฒนาเมืองได้นำเสนอรูปแบบใหม่ (New Platform) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ 15 แห่งของไทย นอกจากนั้นยังได้หารือเรื่องการออกแบบพื้นที่เมือง ให้มีรูปแบบหรือพื้นที่ที่จะเป็นการพัฒนาให้เป็นย่านนวัตกรรม (Innovation Districts) อีกทั้งยังจะเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้นวัตกรรมไปพัฒนาเมืองรูปแบบต่างๆ ให้มากขึ้น โดยต้องการให้นำร่องครบทั้ง 12 บริษัทพัฒนาเมือง
15 เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจไทย ประกอบด้วย ภาคเหนือ 2 กลุ่มคือ 1.ระเบียงภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่-เชียงรายแม่สาย) 2.ระเบียงภาคเหนือตอนล่างหรือภาคตะวันตก หรือ EWEC (พิษณุโลก-สุโขทัย-ตาก) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 กลุ่มคือ 1.ระเบียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (อุดรธานี-หนองคาย) 2.ระเบียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (ขอนแก่นมหาสารคาม-กาฬสินธุ์-มุกดาหาร) และ3.ระเบียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (นครราชสีมา-บุรีรัมย์-ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี)
ภาคกลาง 5 กลุ่มมี 1. ระเบียงภาคกลางตอนบนด้านตะวันตก (พระนครศรีอยุธยาสุพรรณบุรี-ราชบุรี (บ้านโป่ง)กาญจนบุรี) 2.ระเบียงภาคกลางตอนบนด้านตะวันออก (สระบุรีนครนายก-ปราจีนบุรี-สระแก้ว) 3.ระเบียงภาคกลางตอนล่างด้านตะวันตก 1 (นครปฐม-ราชบุรีเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์) 4.ระเบียงภาคกลางตอนล่างด้านตะวันตก 2 (สมุทรปราการ-สมุทรสาครสมุทรสงคราม) และ5.ระเบียงภาค กลางตอนล่างด้านตะวันออก (ชลบุรี- ฉะเชิงเทรา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด)
ภาคใต้ 5 กลุ่ม มี 1.ระเบียงภาคใต้ตอนบน 1 (ชุมพร-ระนองสุราษฎร์ธานี) 2.ระเบียงภาคใต้ตอนบน 2 (พังงา-ภูเก็ต-กระบี่) 3.ระเบียงภาคใต้ตอนล่าง 1 (พัทลุง-สะเดาหาดใหญ่) 4. ระเบียงภาคใต้ตอนล่าง 2 (หาดใหญ่-ยะลา-เบตง) และ5.ระเบียงภาคใต้ตอนล่าง 3 (ปัตตานี-นราธิวาส-ตากใบ)