แบงก์รัฐแห่ขายNPA ธพว.-ธอส.ขนประมูลก้อนโต
วันที่ : 16 กรกฎาคม 2561
แบงก์รัฐเร่งระบายเอ็นพีเอ "ธพว." ตั้งธงประมูลขายกว่า 1 พันล้านบาท พร้อมเร่งบังคับขายทอดตลาดทรัพย์ที่กรมบังคับคดีอีก 5.2 พันล้านบาท ขณะที่ "ธอส." ตั้งเป้าระบาย 3.9 พันล้านบาทปีนี้ ล่าสุดจัดประมูลขายในงานบ้าน ธอส.เอ็กซ์โป @ กรุงเทพฯกว่า 400 รายการ
นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เปิดเผยว่า ธนาคารมีแผนเร่งระบายทรัพย์สิน รอการขาย (NPA) ออกจากพอร์ต เนื่องจาก หากเก็บไว้จะเป็นภาระตั้งสำรองที่ค่อนข้าง มาก โดยปัจจุบันธนาคารมี NPA อยู่ราว 160 รายการ (แปลง) คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2561 นี้จะพยายามระบายออกไปให้ได้ทั้งหมด
ทั้งนี้ NPA ของ ธพว. ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดิน และโรงงาน ส่วนพวกบ้านที่อยู่อาศัยจะมีน้อย โดยมูลค่าสูงสุดจะอยู่ที่ 30-40 ล้านบาทในบางแปลง และจะกระจายทุกภูมิภาค โดยมีการเปิดประมูลขายอย่างต่อเนื่อง ทั้งส่วนภูมิภาคและที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งในการขายครั้งแรก ธนาคารก็จะขายไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน และจะมีส่วนลดเล็กน้อยตามอายุการถือครอง NPA
นายมงคลกล่าวด้วยว่า สิ่งที่ ธพว.ต้องทำมากในปีนี้ก็คือ การบังคับขายทอดตลาด โดยทรัพย์ส่วนดังกล่าวมีมูลค่ารวมกว่า 7,000-8,000 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้ตั้งเป้าหมายจะขายให้ได้ 5,200 ล้านบาท โดยจะขายในช่วงครึ่งปีหลังนี้
"พวก NPA นี่ เราต้องรีบขาย เพราะถ้า ปล่อยไว้ ตลาดวาย ราคาลดลง แถมด้อยค่า ลงไปอีก แล้วลูกหนี้ที่เป็นตะกรัน หรือค้างอยู่เกิน 15 ปีแล้ว ต้องเข้าสู่กระบวนการขายทอดตลาด เพราะถ้ามีคำพิพากษาแล้วต้องจัดการในไม่เกิน 10 ปี เพราะถ้าเกินจะหมดอายุความ จะทำให้ไปบังคับคดี สืบทรัพย์ไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้ดำรู้แดงกันไปเลย ถ้าไม่ได้ก็ต้องฟ้องล้มละลาย ซึ่งตอนนี้ฟ้องล้มละลายไป 1,400 ล้านบาทแล้ว" นายมงคลกล่าว
นายมงคลกล่าวด้วยว่า แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อครึ่งปีหลังน่าจะดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดีขึ้น รวมถึง แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นที่คนจะเริ่มกู้เงิน เพื่อล็อกอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำไว้ โดยช่วง ครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ธนาคารสามารถปล่อย สินเชื่อใหม่ได้แล้วที่ราว 20,000 ล้านบาท จากเป้าหมายปล่อยสินเชื่อใหม่ทั้งปีที่ 32,500 ล้านบาท ทั้งนี้ ธพว.จะพยายามตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระดับปัจจุบันจนถึงสิ้นปีนี้ตามนโยบายของ รมว.คลัง
ด้านนายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า กระทรวงการคลังมี นโยบายให้เร่งระบาย NPA เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเก็บไว้ก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยในปี 2561 ธอส.ตั้งเป้าขาย NPA ออกไป 3,900 ล้านบาท จากปีก่อนที่ขายได้ราว 3,500 ล้านบาท
นายคนึง ครุธาโรจน์ รองกรรมการ ผู้จัดการ กลุ่มงานบริหารหนี้และปฏิบัติการ ธอส. กล่าวว่า ปัจจุบัน ธอส.มี NPA เหลือ อยู่ในพอร์ตกว่า 8,000 ล้านบาท โดยปี 2561 นี้ตั้งเป้าหมายขาย NPA ให้ได้ 3,900 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ประมูลไปรอบหนึ่งแล้วในเดือน เม.ย. โดยขายได้เกือบ 2,000 ล้านบาท ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังมีแผนประมูลขาย NPA รวม 2 ครั้ง คือในเดือน ก.ค.ที่จัดงาน "บ้าน ธอส. เอ็กซ์โป @ กรุงเทพฯ" ประจำปี 2561
ซึ่งในงานดังกล่าว ธอส.คัดทรัพย์ NPA คุณภาพดี ทำเลเด่น หลากหลายประเภท อาทิ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ห้องชุด และอาคารพาณิชย์ ที่ตั้งอยู่ใน พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ออกประมูล กว่า 400 รายการ โดยให้ส่วนลดสูงสุดถึง 60% จากราคาปกติ และผู้ชนะการประมูลได้รับสิทธิ์ใช้มาตรการผ่อนดาวน์ดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 60 เดือน ส่วนการประมูลอีกครั้งจะเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค.
"สำหรับราคาขาย NPA เราจะต้องดู ระยะเวลาในการถือครองทรัพย์ อย่างถ้าเป็นทรัพย์ใหม่ก็จะตั้งไว้ที่ 100% ของราคาประเมิน ซึ่งจะประเมินตามสภาพปัจจุบัน ถ้าขายหลายครั้ง ผ่านการประมูลไปแล้ว ก็อาจจะมีการลดราคาเริ่มต้น" นายคะนึงกล่าว
ด้านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ได้ประกาศเชิญชวนประมูล NPL ในวันที่ 11 ก.ค.นี้ โดยทรัพย์ที่นำออกประมูล ประกอบ ด้วย ที่ดินว่างเปล่า จำนวน 3 แปลง (อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ, อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี และ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี) ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จำนวน 1 แปลง และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักร 37 เครื่อง ที่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เปิดเผยว่า ธนาคารมีแผนเร่งระบายทรัพย์สิน รอการขาย (NPA) ออกจากพอร์ต เนื่องจาก หากเก็บไว้จะเป็นภาระตั้งสำรองที่ค่อนข้าง มาก โดยปัจจุบันธนาคารมี NPA อยู่ราว 160 รายการ (แปลง) คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2561 นี้จะพยายามระบายออกไปให้ได้ทั้งหมด
ทั้งนี้ NPA ของ ธพว. ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดิน และโรงงาน ส่วนพวกบ้านที่อยู่อาศัยจะมีน้อย โดยมูลค่าสูงสุดจะอยู่ที่ 30-40 ล้านบาทในบางแปลง และจะกระจายทุกภูมิภาค โดยมีการเปิดประมูลขายอย่างต่อเนื่อง ทั้งส่วนภูมิภาคและที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งในการขายครั้งแรก ธนาคารก็จะขายไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน และจะมีส่วนลดเล็กน้อยตามอายุการถือครอง NPA
นายมงคลกล่าวด้วยว่า สิ่งที่ ธพว.ต้องทำมากในปีนี้ก็คือ การบังคับขายทอดตลาด โดยทรัพย์ส่วนดังกล่าวมีมูลค่ารวมกว่า 7,000-8,000 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้ตั้งเป้าหมายจะขายให้ได้ 5,200 ล้านบาท โดยจะขายในช่วงครึ่งปีหลังนี้
"พวก NPA นี่ เราต้องรีบขาย เพราะถ้า ปล่อยไว้ ตลาดวาย ราคาลดลง แถมด้อยค่า ลงไปอีก แล้วลูกหนี้ที่เป็นตะกรัน หรือค้างอยู่เกิน 15 ปีแล้ว ต้องเข้าสู่กระบวนการขายทอดตลาด เพราะถ้ามีคำพิพากษาแล้วต้องจัดการในไม่เกิน 10 ปี เพราะถ้าเกินจะหมดอายุความ จะทำให้ไปบังคับคดี สืบทรัพย์ไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้ดำรู้แดงกันไปเลย ถ้าไม่ได้ก็ต้องฟ้องล้มละลาย ซึ่งตอนนี้ฟ้องล้มละลายไป 1,400 ล้านบาทแล้ว" นายมงคลกล่าว
นายมงคลกล่าวด้วยว่า แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อครึ่งปีหลังน่าจะดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดีขึ้น รวมถึง แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นที่คนจะเริ่มกู้เงิน เพื่อล็อกอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำไว้ โดยช่วง ครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ธนาคารสามารถปล่อย สินเชื่อใหม่ได้แล้วที่ราว 20,000 ล้านบาท จากเป้าหมายปล่อยสินเชื่อใหม่ทั้งปีที่ 32,500 ล้านบาท ทั้งนี้ ธพว.จะพยายามตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระดับปัจจุบันจนถึงสิ้นปีนี้ตามนโยบายของ รมว.คลัง
ด้านนายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า กระทรวงการคลังมี นโยบายให้เร่งระบาย NPA เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเก็บไว้ก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยในปี 2561 ธอส.ตั้งเป้าขาย NPA ออกไป 3,900 ล้านบาท จากปีก่อนที่ขายได้ราว 3,500 ล้านบาท
นายคนึง ครุธาโรจน์ รองกรรมการ ผู้จัดการ กลุ่มงานบริหารหนี้และปฏิบัติการ ธอส. กล่าวว่า ปัจจุบัน ธอส.มี NPA เหลือ อยู่ในพอร์ตกว่า 8,000 ล้านบาท โดยปี 2561 นี้ตั้งเป้าหมายขาย NPA ให้ได้ 3,900 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ประมูลไปรอบหนึ่งแล้วในเดือน เม.ย. โดยขายได้เกือบ 2,000 ล้านบาท ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังมีแผนประมูลขาย NPA รวม 2 ครั้ง คือในเดือน ก.ค.ที่จัดงาน "บ้าน ธอส. เอ็กซ์โป @ กรุงเทพฯ" ประจำปี 2561
ซึ่งในงานดังกล่าว ธอส.คัดทรัพย์ NPA คุณภาพดี ทำเลเด่น หลากหลายประเภท อาทิ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ห้องชุด และอาคารพาณิชย์ ที่ตั้งอยู่ใน พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ออกประมูล กว่า 400 รายการ โดยให้ส่วนลดสูงสุดถึง 60% จากราคาปกติ และผู้ชนะการประมูลได้รับสิทธิ์ใช้มาตรการผ่อนดาวน์ดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 60 เดือน ส่วนการประมูลอีกครั้งจะเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค.
"สำหรับราคาขาย NPA เราจะต้องดู ระยะเวลาในการถือครองทรัพย์ อย่างถ้าเป็นทรัพย์ใหม่ก็จะตั้งไว้ที่ 100% ของราคาประเมิน ซึ่งจะประเมินตามสภาพปัจจุบัน ถ้าขายหลายครั้ง ผ่านการประมูลไปแล้ว ก็อาจจะมีการลดราคาเริ่มต้น" นายคะนึงกล่าว
ด้านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ได้ประกาศเชิญชวนประมูล NPL ในวันที่ 11 ก.ค.นี้ โดยทรัพย์ที่นำออกประมูล ประกอบ ด้วย ที่ดินว่างเปล่า จำนวน 3 แปลง (อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ, อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี และ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี) ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จำนวน 1 แปลง และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักร 37 เครื่อง ที่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
ข่าวบ้านมือสอง อื่นๆ