พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล อีอีซี
วันที่ : 9 ตุลาคม 2561
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานรับทราบข้อเสนอของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่จะจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานรับทราบข้อเสนอของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่จะจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล รองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค ทั้ง 8 แผนงาน 22 โครงการ ระยะ 5 ปี ใช้เงินลงทุนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจรวม 17,913 ล้านบาท โดย พล.อ.ประยุทธ์ สั่งการให้เร่งดำเนินโครงการเพราะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในอีอีซีกว่า 3 ล้านคน และรองรับการลงทุนในอนาคต
"ประชากร 3 ล้านคน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม จะได้รับประโยชน์ เช่น ค่าใช้บริการ IoT ลดลง 30% ค่าใช้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ลดลง 10% ความเร็วการสื่อสารรับส่งข้อมูลเร็วสูงสุด 20 Gbps หรือ 100+ เท่า 4 G รองรับอุปกรณ์ 1 ล้านชิ้นต่อตารางกิโลเมตร ส่วนภาครัฐมีต้นทุนการใช้บริการ cloud services, data center และการวิเคราะห์ข้อมูลของรัฐลดลง 5,000 บาท ต้นทุนโครงสร้างโทรคมนาคมลดลง 8,500-13,000 ล้านบาท อีกทั้งประชากร 3 ล้านคน มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นการศึกษาสูงขึ้นเกิดการจ้างงาน ดึงดูดคนเก่งดึงดูดการลงทุนเข้ามาในพื้นที่"
สำหรับทั้ง 8 แผนงาน เช่น แผนงานที่ 1 พัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล และสถาบัน IoT มี 2 โครงการ วงเงิน 1,809 ล้านบาท ได้รับงบประมาณแล้ว, แผนงานที่ 2 พัฒนา Advanced Big Data, Cloud and Data Center รัฐวิสาหกิจลงทุน 2,046 ล้านบาท, แผนงานที่ 3 พัฒนาศูนย์กระจายพัสดุภัณฑ์อัตโนมัติ รัฐวิสาหกิจลงทุน 3,550 ล้านบาทส่ วนแผนงานที่ 4 IoT SMART City ลงทุน 815 ล้านบาท เสนอของบปี 62-65 แล้ว 503 ล้านบาท เป็นต้น
"ประชากร 3 ล้านคน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม จะได้รับประโยชน์ เช่น ค่าใช้บริการ IoT ลดลง 30% ค่าใช้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ลดลง 10% ความเร็วการสื่อสารรับส่งข้อมูลเร็วสูงสุด 20 Gbps หรือ 100+ เท่า 4 G รองรับอุปกรณ์ 1 ล้านชิ้นต่อตารางกิโลเมตร ส่วนภาครัฐมีต้นทุนการใช้บริการ cloud services, data center และการวิเคราะห์ข้อมูลของรัฐลดลง 5,000 บาท ต้นทุนโครงสร้างโทรคมนาคมลดลง 8,500-13,000 ล้านบาท อีกทั้งประชากร 3 ล้านคน มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นการศึกษาสูงขึ้นเกิดการจ้างงาน ดึงดูดคนเก่งดึงดูดการลงทุนเข้ามาในพื้นที่"
สำหรับทั้ง 8 แผนงาน เช่น แผนงานที่ 1 พัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล และสถาบัน IoT มี 2 โครงการ วงเงิน 1,809 ล้านบาท ได้รับงบประมาณแล้ว, แผนงานที่ 2 พัฒนา Advanced Big Data, Cloud and Data Center รัฐวิสาหกิจลงทุน 2,046 ล้านบาท, แผนงานที่ 3 พัฒนาศูนย์กระจายพัสดุภัณฑ์อัตโนมัติ รัฐวิสาหกิจลงทุน 3,550 ล้านบาทส่ วนแผนงานที่ 4 IoT SMART City ลงทุน 815 ล้านบาท เสนอของบปี 62-65 แล้ว 503 ล้านบาท เป็นต้น
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ