อุต-ดีอี เล็งผุดศูนย์สร้างสตาร์ตอัพ
วันที่ : 8 ตุลาคม 2561
อุตสาหกรรมจับมือกระทรวงวิทย์-ดิจิทัล ตั้งศูนย์อินโดสเปซ เป็นแหล่งบ่มเพาะสตาร์ตอัพและ เอสเอ็มอี ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและองค์ความรู้ คาด 2 เดือนเสร็จ ตั้งที่ จ.ระยอง ในเขตนวัตกรรม อีอีซี ก่อนขยายไปที่เชียงใหม่ พร้อมดึงฮ่องกงแหล่งสร้างสตาร์ตอัพ ดันตั้งไซเบอร์พอร์ตไทยแลนด์
ตั้งไซเบอร์พอร์ตไทยแลนด์เชื่อมโยงข้อมูลฮ่องกง
อุตสาหกรรมจับมือกระทรวงวิทย์-ดิจิทัล ตั้งศูนย์อินโดสเปซ เป็นแหล่งบ่มเพาะสตาร์ตอัพและ เอสเอ็มอี ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและองค์ความรู้ คาด 2 เดือนเสร็จ ตั้งที่ จ.ระยอง ในเขตนวัตกรรม อีอีซี ก่อนขยายไปที่เชียงใหม่ พร้อมดึงฮ่องกงแหล่งสร้างสตาร์ตอัพ ดันตั้งไซเบอร์พอร์ตไทยแลนด์
นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) จัดตั้งศูนย์อินโนสเปซ ซึ่งจะเป็นโคเวิร์กกิ้งสเปซ หรือพื้นที่ทำงาน สำหรับสตาร์ตอัพและเอสเอ็มอี และเป็นไซเบอร์พอร์ต ไทยแลนด์ หรือศูนย์บ่มเพาะธุรกิจสตาร์ตอัพด้านดิจิตอล โดยจะกำหนดให้มีรูปแบบเป็นสถาบัน หรือมูลนิธิเพื่อขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม
โดยกำหนดองค์ประกอบภายในครอบคลุมทุกด้าน เช่น พื้นที่ เตรียมความพร้อมด้านผู้เชี่ยวชาญ เตรียมพร้อมในการจัดตั้งองค์กร และเงินทุน เป็นต้น คาดว่าภายใน 2 เดือนจากนี้จะมีความชัดเจนด้านรูปแบบหน่วยงานมากขึ้น คาดว่าจะก่อตั้งในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ซึ่งอยู่ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซีไอ) และมีแผนขยายเพิ่มเติมไปยัง จ.เชียงใหม่
พร้อมเชื่อมโยงองค์ความรู้กับองค์การสภาการพัฒนาการค้าฮ่องกง (เอชเคทีดีซี) ที่ส่งเสริมสตาร์ตอัพของฮ่องกง เนื่องจากฮ่องกงเป็นประเทศที่มีความ สามารถในการสร้างสตาร์ตอัพ โดยประธานเอชเคทีดีซี มีกำหนดการหารือกับภาครัฐของไทยในเดือนพ.ย.นี้ ดังนั้น คาดว่าจะมีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือเพื่อขอความร่วมมือ ขอคำแนะนำ เพื่อยึดโยงข้อมูลร่วมกับไซเบอร์พอร์ต ฮ่องกง
"ถือเป็นงานเร่งด่วน ที่ต้องมีรูปแบบที่ชัดเจนเป็น รูปธรรมภายใน 2 เดือน เพื่อเปิดตัวและแนะนำอินโนสเปซ กับไซเบอร์พอร์ต ฮ่องกง นอกจากนี้สิ่งสำคัญยังมีเรื่องเงินทุน กองทุนต่างๆ ที่จะมาร่วม ซึ่งจะดึงเวนเจอร์แคปปิตอลในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมา ร่วมด้วย" นายอุตตมกล่าว
นายอุตตมกล่าวว่า ขณะเดียวกันยังมีแผนยกระดับโรงงานสถานประกอบการไทยให้สอดรับกับอุตสาหกรรม 4.0 (แฟ็กตอรี่ 4.0) ให้มียุทธศาสตร์ที่เดินหน้าไปได้อย่างชัดเจน เช่น โรงงานต้องมีเทคโนโลยี ภาครัฐจะช่วยยกระดับได้อย่างไร พัฒนาบุคลากรป้อนภาคอุตสาหกรรมให้สอดรับกับความต้องการ ช่วยสร้างอาชีพและสร้างรายได้ โดยจะยึดโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (เซอร์คิวลาร์ อีโคโนมี) อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ 12
อุตสาหกรรมจับมือกระทรวงวิทย์-ดิจิทัล ตั้งศูนย์อินโดสเปซ เป็นแหล่งบ่มเพาะสตาร์ตอัพและ เอสเอ็มอี ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและองค์ความรู้ คาด 2 เดือนเสร็จ ตั้งที่ จ.ระยอง ในเขตนวัตกรรม อีอีซี ก่อนขยายไปที่เชียงใหม่ พร้อมดึงฮ่องกงแหล่งสร้างสตาร์ตอัพ ดันตั้งไซเบอร์พอร์ตไทยแลนด์
นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) จัดตั้งศูนย์อินโนสเปซ ซึ่งจะเป็นโคเวิร์กกิ้งสเปซ หรือพื้นที่ทำงาน สำหรับสตาร์ตอัพและเอสเอ็มอี และเป็นไซเบอร์พอร์ต ไทยแลนด์ หรือศูนย์บ่มเพาะธุรกิจสตาร์ตอัพด้านดิจิตอล โดยจะกำหนดให้มีรูปแบบเป็นสถาบัน หรือมูลนิธิเพื่อขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม
โดยกำหนดองค์ประกอบภายในครอบคลุมทุกด้าน เช่น พื้นที่ เตรียมความพร้อมด้านผู้เชี่ยวชาญ เตรียมพร้อมในการจัดตั้งองค์กร และเงินทุน เป็นต้น คาดว่าภายใน 2 เดือนจากนี้จะมีความชัดเจนด้านรูปแบบหน่วยงานมากขึ้น คาดว่าจะก่อตั้งในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ซึ่งอยู่ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซีไอ) และมีแผนขยายเพิ่มเติมไปยัง จ.เชียงใหม่
พร้อมเชื่อมโยงองค์ความรู้กับองค์การสภาการพัฒนาการค้าฮ่องกง (เอชเคทีดีซี) ที่ส่งเสริมสตาร์ตอัพของฮ่องกง เนื่องจากฮ่องกงเป็นประเทศที่มีความ สามารถในการสร้างสตาร์ตอัพ โดยประธานเอชเคทีดีซี มีกำหนดการหารือกับภาครัฐของไทยในเดือนพ.ย.นี้ ดังนั้น คาดว่าจะมีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือเพื่อขอความร่วมมือ ขอคำแนะนำ เพื่อยึดโยงข้อมูลร่วมกับไซเบอร์พอร์ต ฮ่องกง
"ถือเป็นงานเร่งด่วน ที่ต้องมีรูปแบบที่ชัดเจนเป็น รูปธรรมภายใน 2 เดือน เพื่อเปิดตัวและแนะนำอินโนสเปซ กับไซเบอร์พอร์ต ฮ่องกง นอกจากนี้สิ่งสำคัญยังมีเรื่องเงินทุน กองทุนต่างๆ ที่จะมาร่วม ซึ่งจะดึงเวนเจอร์แคปปิตอลในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมา ร่วมด้วย" นายอุตตมกล่าว
นายอุตตมกล่าวว่า ขณะเดียวกันยังมีแผนยกระดับโรงงานสถานประกอบการไทยให้สอดรับกับอุตสาหกรรม 4.0 (แฟ็กตอรี่ 4.0) ให้มียุทธศาสตร์ที่เดินหน้าไปได้อย่างชัดเจน เช่น โรงงานต้องมีเทคโนโลยี ภาครัฐจะช่วยยกระดับได้อย่างไร พัฒนาบุคลากรป้อนภาคอุตสาหกรรมให้สอดรับกับความต้องการ ช่วยสร้างอาชีพและสร้างรายได้ โดยจะยึดโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (เซอร์คิวลาร์ อีโคโนมี) อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ 12
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ