ชงครม.คลอดแผนพัฒนาเอสอีซี
วันที่ : 17 พฤศจิกายน 2561
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "จากอีอีซีสู่เศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศ" ว่า ภายในเดือน พ.ย.หรือไม่เกินต้นเดือน ธ.ค.จะสามารถนำรายละเอียดของโครงการพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้หรือเอสอีซี ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจังหวัดระนอง ให้ที่ประชุมครม.พิจารณาอีกครั้ง
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "จากอีอีซีสู่เศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศ" ว่า ภายในเดือน พ.ย.หรือไม่เกินต้นเดือน ธ.ค.จะสามารถนำรายละเอียดของโครงการพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้หรือเอสอีซี ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจังหวัดระนอง ให้ที่ประชุมครม.พิจารณาอีกครั้ง
ทั้งนี้มั่นใจว่าแม้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ยังได้รับการสานต่อ เพราะเป็นโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชน มีการใช้งบประมาณไม่มาก เนื่องจากเป็นการลงทุนที่ปรับปรุงมาจากของเดิม ขณะเดียวกันเชื่อว่าจะสามารถเริ่มได้ในกลางปี 62 เพราะต้องรอผลการศึกษาในด้านต่าง ๆ ให้ชัดเจนก่อน แต่รัฐบาลชุดนี้จะวางกรอบในการพัฒนาไว้ให้ ซึ่งจะมีทั้งการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลน ประมงชายฝั่ง อุตสาหกรรมยางพาราและปาล์มน้ำมัน การพัฒนาท่าเรือระนอง การสร้างรถไฟรางคู่ ชุมพร-ระนอง และยังเป็นการรองรับการส่งออกสินค้าไปฝั่งอันดามัน โดยใช้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท พัฒนาท่าเรือระนองที่มีอยู่เดิม และลงทุนโครงการรถไฟรางคู่อีก 10,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมจากจังหวัดชุมพร-ระนอง
ส่วนโครงการอีอีซี เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลที่เกิดขึ้นมา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดีย เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
"เราตื่นมาแล้วพบว่ารอบตัวเปลี่ยนแปลงไปมาก ยักษ์สองตัวคือจีนและอินเดียกำลังตื่น ขณะที่เราใกล้หมดบุญเก่า แล้วจะทำอย่างไรจากเดิมที่เศรษฐกิจเคยโตเกิน 10% แต่วันนี้ลงมาอยู่ที่ปีละ 2-3% โครงการนี้จะเป็นบุญใหม่ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวต่อไปได้อีก 30-40 ปี"
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซี กล่าวว่า หากไทยไม่มีโครงการนี้ เชื่อได้ว่าอีก 5 ปี การพัฒนาประเทศไทยจะล้าหลังกว่าประเทศอินโดนีเซียแน่นอน ดังนั้นการลงทุนในอีอีซี จึงไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเงินลงทุนเป็นสำคัญ แต่เน้นเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากกว่า ซึ่งเวลานี้ชื่อของไทยหรืออีอีซีได้ขึ้นไปอยู่บนแผนที่สำหรับนักลงทุนแล้ว หลังจากนี้ขึ้นอยู่ว่าจะผลักดันให้เดินหน้ากันอย่างไรต่อไป
ทั้งนี้มั่นใจว่าแม้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ยังได้รับการสานต่อ เพราะเป็นโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชน มีการใช้งบประมาณไม่มาก เนื่องจากเป็นการลงทุนที่ปรับปรุงมาจากของเดิม ขณะเดียวกันเชื่อว่าจะสามารถเริ่มได้ในกลางปี 62 เพราะต้องรอผลการศึกษาในด้านต่าง ๆ ให้ชัดเจนก่อน แต่รัฐบาลชุดนี้จะวางกรอบในการพัฒนาไว้ให้ ซึ่งจะมีทั้งการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลน ประมงชายฝั่ง อุตสาหกรรมยางพาราและปาล์มน้ำมัน การพัฒนาท่าเรือระนอง การสร้างรถไฟรางคู่ ชุมพร-ระนอง และยังเป็นการรองรับการส่งออกสินค้าไปฝั่งอันดามัน โดยใช้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท พัฒนาท่าเรือระนองที่มีอยู่เดิม และลงทุนโครงการรถไฟรางคู่อีก 10,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมจากจังหวัดชุมพร-ระนอง
ส่วนโครงการอีอีซี เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลที่เกิดขึ้นมา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดีย เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
"เราตื่นมาแล้วพบว่ารอบตัวเปลี่ยนแปลงไปมาก ยักษ์สองตัวคือจีนและอินเดียกำลังตื่น ขณะที่เราใกล้หมดบุญเก่า แล้วจะทำอย่างไรจากเดิมที่เศรษฐกิจเคยโตเกิน 10% แต่วันนี้ลงมาอยู่ที่ปีละ 2-3% โครงการนี้จะเป็นบุญใหม่ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวต่อไปได้อีก 30-40 ปี"
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซี กล่าวว่า หากไทยไม่มีโครงการนี้ เชื่อได้ว่าอีก 5 ปี การพัฒนาประเทศไทยจะล้าหลังกว่าประเทศอินโดนีเซียแน่นอน ดังนั้นการลงทุนในอีอีซี จึงไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเงินลงทุนเป็นสำคัญ แต่เน้นเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากกว่า ซึ่งเวลานี้ชื่อของไทยหรืออีอีซีได้ขึ้นไปอยู่บนแผนที่สำหรับนักลงทุนแล้ว หลังจากนี้ขึ้นอยู่ว่าจะผลักดันให้เดินหน้ากันอย่างไรต่อไป
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ