ตั้งเป้าดันการค้าทะลุ2.5แสนล้านดอลลาร์
วันที่ : 5 พฤศจิกายน 2561
เผย 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง หนุนไทยปั้น "เชียงของ" เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วม นำร่องแห่งแรกแห่งเดียวของไทย วางเป้าดันยอดการค้า "ไทย ลาว เมียนมา จีน กัมพูชา และเวียดนาม" ปี 63 เพิ่มเป็น 2.5 แสนล้านดอลลาร์/ปี
ปท.ลุ่มน้ำ โขงหนุนไทยปั้น "เชียงของ" ผุดเขตเศรษฐกิจร่วม
เผย 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง หนุนไทยปั้น "เชียงของ" เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วม นำร่องแห่งแรกแห่งเดียวของไทย วางเป้าดันยอดการค้า "ไทย ลาว เมียนมา จีน กัมพูชา และเวียดนาม" ปี 63 เพิ่มเป็น 2.5 แสนล้านดอลลาร์/ปี
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงโครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษข้ามพรม แดนหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วม ระหว่างลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลและภูมิศาสตร์ของชายแดน-รับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงเครือข่ายภาคประชาชน เช่น กลุ่มรักษ์เชียงของ ฯลฯ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เมื่อเร็วๆ นี้
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า โครงการนี้เป็นไปตามข้อเสนอของกองทุนพิเศษโดยกลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้าง คือไทย สปป.ลาว เมียนมา จีน กัมพูชา และเวียดนาม ที่มีเป้าหมายจะเพิ่มมูลค่าการค้าลงทุนในกลุ่ม 6 ประเทศ จากเดิมปีละประมาณ 220,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563
เมื่อดูจากแผนที่ระหว่างประเทศไทยกับเพื่อนบ้านแล้ว จะพบว่า อ.เชียงของ มีความเหมาะสมมากที่สุด เพราะติดต่อกับ สปป.ลาว และยังเชื่อมไปถึงจีนตอนใต้ที่เป็นตลาดขนาดใหญ่และมีความสำคัญในภูมิภาคนี้ด้วยระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก สามารถเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันได้ รวมทั้งในประเทศเพื่อนบ้านต่างมีเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมระหว่างกันหมดแล้ว เหลือแต่ประเทศไทยที่ยังไม่มีมาก่อน
หลังจากได้ข้อมูลแล้ว ทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในฐานะผู้แทนของประเทศ ไทยในเวทีเจรจากับกลุ่มประเทศต่างๆ ก็จะนำเสนอเพื่อผลักดันการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมที่ อ.เชียงของ ให้มีความต่อเนื่อง และจากการที่ประเทศไทยเราได้รับทุนให้ทำการศึกษาเรื่องนี้ ก็อาจจะมีการเสนอให้จัดการประชุมร่วมกลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้าง รอบพิเศษขึ้นมาตามความจำเป็น จากเดิมที่จัดขึ้นปีละครั้งเท่านั้น และอาจจะมีการตั้งเป็นคณะทำงาน 3 ประเทศคือไทย สปป.ลาว และจีน ขึ้นมาด้วย
"เชียงของ จะเป็นพื้นที่นำร่อง เป็นจุดแรกและจุดเดียวของประเทศไทย ที่จะพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจร่วมกับประเทศอื่น ส่วนรูปแบบก็คงต้องหารือกัน ซึ่งก็คงเน้นเรื่องสิทธิประโยชน์การลงทุน เช่น การลดอัตราภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่มที่อาจยกเว้น การส่งสินค้าที่สะดวกขึ้น เป็นต้น"
ด้านนายพรเทพ อินทะชัย ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวว่าปัจจุบันจีนขยายการลงทุนเข้าประเทศเพื่อนบ้านต่อเนื่อง แม้แต่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ตรงกันข้าม อ.เชียงของ ก็เติบโต บ้านเรือนและอาคารต่างๆ หนาแน่นมากขึ้น ซึ่งล้วนมาจากอิทธิพลของการขยายเศรษฐกิจจีน
"ที่จริงโครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมของไทยกับเพื่อนบ้าน ก็ยังตามหลังการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง และเป็นไปได้ที่จะทำ แต่สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาหารือกับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน เพราะคู่ค้าใหญ่ในพื้นที่ยังคงเป็นไทย-จีนตอนใต้ ขณะที่ สปป.ลาว ก็ต้องให้เขารู้สึกว่าได้รับผลประโยชน์ด้วย"
อนึ่ง อ.เชียงของ ถูกประกาศเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จ.เชียงราย ร่วมกับ อ.แม่สาย และ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นประตูการค้าชายแดนกับจีน สปป.ลาว และเมียนมา มาต่อเนื่องยาวนาน ปี 2560 มีการนำเข้าสินค้า 6,329.07 ล้านบาท และส่งออก 15,418.42 ล้านบาท และตั้งแต่เดือน ต.ค.2560-มิ.ย.2561 นี้ มีการนำเข้า 3,702.30 ล้านบาท และส่งออก 12,637.022 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการค้ากับจีน
ขณะที่ปี 2560 ที่ผ่านมา มีรถยนต์เดินทางจาก สปป.ลาว เข้ามายัง อ.เชียงของ 38,956 คัน และปี 2561 จนถึงเดือน ก.ย. 29,250 คัน
เผย 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง หนุนไทยปั้น "เชียงของ" เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วม นำร่องแห่งแรกแห่งเดียวของไทย วางเป้าดันยอดการค้า "ไทย ลาว เมียนมา จีน กัมพูชา และเวียดนาม" ปี 63 เพิ่มเป็น 2.5 แสนล้านดอลลาร์/ปี
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงโครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษข้ามพรม แดนหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วม ระหว่างลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลและภูมิศาสตร์ของชายแดน-รับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงเครือข่ายภาคประชาชน เช่น กลุ่มรักษ์เชียงของ ฯลฯ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เมื่อเร็วๆ นี้
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า โครงการนี้เป็นไปตามข้อเสนอของกองทุนพิเศษโดยกลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้าง คือไทย สปป.ลาว เมียนมา จีน กัมพูชา และเวียดนาม ที่มีเป้าหมายจะเพิ่มมูลค่าการค้าลงทุนในกลุ่ม 6 ประเทศ จากเดิมปีละประมาณ 220,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563
เมื่อดูจากแผนที่ระหว่างประเทศไทยกับเพื่อนบ้านแล้ว จะพบว่า อ.เชียงของ มีความเหมาะสมมากที่สุด เพราะติดต่อกับ สปป.ลาว และยังเชื่อมไปถึงจีนตอนใต้ที่เป็นตลาดขนาดใหญ่และมีความสำคัญในภูมิภาคนี้ด้วยระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก สามารถเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันได้ รวมทั้งในประเทศเพื่อนบ้านต่างมีเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมระหว่างกันหมดแล้ว เหลือแต่ประเทศไทยที่ยังไม่มีมาก่อน
หลังจากได้ข้อมูลแล้ว ทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในฐานะผู้แทนของประเทศ ไทยในเวทีเจรจากับกลุ่มประเทศต่างๆ ก็จะนำเสนอเพื่อผลักดันการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมที่ อ.เชียงของ ให้มีความต่อเนื่อง และจากการที่ประเทศไทยเราได้รับทุนให้ทำการศึกษาเรื่องนี้ ก็อาจจะมีการเสนอให้จัดการประชุมร่วมกลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้าง รอบพิเศษขึ้นมาตามความจำเป็น จากเดิมที่จัดขึ้นปีละครั้งเท่านั้น และอาจจะมีการตั้งเป็นคณะทำงาน 3 ประเทศคือไทย สปป.ลาว และจีน ขึ้นมาด้วย
"เชียงของ จะเป็นพื้นที่นำร่อง เป็นจุดแรกและจุดเดียวของประเทศไทย ที่จะพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจร่วมกับประเทศอื่น ส่วนรูปแบบก็คงต้องหารือกัน ซึ่งก็คงเน้นเรื่องสิทธิประโยชน์การลงทุน เช่น การลดอัตราภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่มที่อาจยกเว้น การส่งสินค้าที่สะดวกขึ้น เป็นต้น"
ด้านนายพรเทพ อินทะชัย ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวว่าปัจจุบันจีนขยายการลงทุนเข้าประเทศเพื่อนบ้านต่อเนื่อง แม้แต่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ตรงกันข้าม อ.เชียงของ ก็เติบโต บ้านเรือนและอาคารต่างๆ หนาแน่นมากขึ้น ซึ่งล้วนมาจากอิทธิพลของการขยายเศรษฐกิจจีน
"ที่จริงโครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมของไทยกับเพื่อนบ้าน ก็ยังตามหลังการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง และเป็นไปได้ที่จะทำ แต่สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาหารือกับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน เพราะคู่ค้าใหญ่ในพื้นที่ยังคงเป็นไทย-จีนตอนใต้ ขณะที่ สปป.ลาว ก็ต้องให้เขารู้สึกว่าได้รับผลประโยชน์ด้วย"
อนึ่ง อ.เชียงของ ถูกประกาศเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จ.เชียงราย ร่วมกับ อ.แม่สาย และ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นประตูการค้าชายแดนกับจีน สปป.ลาว และเมียนมา มาต่อเนื่องยาวนาน ปี 2560 มีการนำเข้าสินค้า 6,329.07 ล้านบาท และส่งออก 15,418.42 ล้านบาท และตั้งแต่เดือน ต.ค.2560-มิ.ย.2561 นี้ มีการนำเข้า 3,702.30 ล้านบาท และส่งออก 12,637.022 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการค้ากับจีน
ขณะที่ปี 2560 ที่ผ่านมา มีรถยนต์เดินทางจาก สปป.ลาว เข้ามายัง อ.เชียงของ 38,956 คัน และปี 2561 จนถึงเดือน ก.ย. 29,250 คัน
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ