แหวกด่านดันใช้ก.ม.ที่ดินฯ ฉีกคำครหาเกรงใจเอกชน
วันที่ : 5 พฤศจิกายน 2561
ทำท่าจอดไม่ต้องแจว...ไปแล้ว แต่อยู่ ๆ กระทรวงการคลังก็ฮึดช่วงโค้งสุดท้าย!!! ดันร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฝ่าด่านอรหันต์ในชั้นคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ จนสำเร็จ ซึ่งถือว่าเป็นด่านโหดด่านหินที่สุด เพราะในชั้นนี้มีตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียมากมายทั้งภาครัฐ ภาคสังคม นายทุน ที่ส่งตัวแทนเข้ามายื้อยุดฉุดกระชาก แก้ไขเนื้อหาเพื่อรักษาประโยชน์ให้กับกลุ่มก๊วนตัวเองกันสุดฤทธิ์ หากไม่พลิกโผขั้นสุดท้าย...เท่ากับว่าประเทศไทยจะได้ฤกษ์ใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯฉบับใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 เป็นต้นไป
ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ทำท่าจอดไม่ต้องแจว...ไปแล้ว แต่อยู่ ๆ กระทรวงการคลังก็ฮึดช่วงโค้งสุดท้าย!!! ดันร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฝ่าด่านอรหันต์ในชั้นคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ จนสำเร็จ ซึ่งถือว่าเป็นด่านโหดด่านหินที่สุด เพราะในชั้นนี้มีตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียมากมายทั้งภาครัฐ ภาคสังคม นายทุน ที่ส่งตัวแทนเข้ามายื้อยุดฉุดกระชาก แก้ไขเนื้อหาเพื่อรักษาประโยชน์ให้กับกลุ่มก๊วนตัวเองกันสุดฤทธิ์ หากไม่พลิกโผขั้นสุดท้าย...เท่ากับว่าประเทศไทยจะได้ฤกษ์ใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯฉบับใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 เป็นต้นไป
ปฏิวัติการเก็บภาษี
อย่างไรก็ดีกว่าจะผ่านมาถึงวันนี้!! ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเนื้อในของกฎหมาย ได้เข้ามาปฏิวัติวิธีการจัดเก็บภาษีแบบเดิม ๆ อย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เก็บผ่านรูปแบบภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งวิธีนี้มีช่องโหว่ให้เกิดการทุจริตได้ง่าย แต่กฎหมายใหม่...จะยกเลิกภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ทั้งหมด และให้ อปท.ไปคำนวณเก็บภาษีตามประเภทการใช้ประโยชน์ของที่ดินซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ที่ดินเพื่อการเกษตร ที่ดินเพื่อเชิงพาณิชย์ และที่ดินรกร้างว่างเปล่า กับราคาและขนาดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กรมธนารักษ์ประเมินไว้แทน
กฎหมายฉบับนี้ จึงเข้ามาช่วยปิดช่องโหว่การทุจริตคอร์รัปชั่น เพราะมีมาตรฐานการคิดภาษีแบบตรงไปตรงมา ลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการทุจริตเรียกเงินใต้โต๊ะ และสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำให้สังคม เพราะหลักการระบุไว้ชัด หากใครมีที่ดินเยอะ มีที่ดินราคาแพง ต้องเสียภาษีมาก ทำให้กลุ่มนายทุนที่สะสมที่ดินไว้เก็งกำไร รวมถึงกลุ่มผู้ดีศักดินาเก่า ที่มีสมบัติที่ดินเหลือจำนวนมาก ต้องมีภาระจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น
เฉือนเนื้อคลอด ก.ม.
"มีการประเมินกันว่าหากนำ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ใหม่มาใช้ ทำให้ อปท.เก็บภาษี 4 หมื่นล้านบาท มากกว่าวิธีปัจจุบันที่ เก็บผ่านภาษีโรงเรือนฯ และภาษีบำรุงท้องที่ได้เพียงปีละ 3 หมื่นล้านบาท โดยภาษีที่ได้เพิ่มขึ้น เป็นการเรียกเก็บจากคนรวยที่มีที่ดินเยอะ และการเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยจากลดการทุจริต"
ต่อมาดูในรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ที่เพิ่งผ่านชั้นกรรมาธิการฯ ไปนั้น ต้องยอมรับว่า รัฐบาลยอมเฉือนเนื้อตัวเองไปไม่น้อย เพื่อแลกกับการผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านไปได้ โดยในชั้นพิจารณาของกรรมาธิการได้มีการปรับลดเพดานภาษีลง 40% จากร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินที่ผ่านการพิจารณาของ ครม. รวมถึงมีการออกมาตรการบรรเทาผลกระทบอีกมากมายทำให้คาดว่าภาครัฐ สามารถเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นเพียงครึ่งเดียว หรือแค่ 1 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่คาดว่า มากกว่าปีละ 2 หมื่นล้านบาท
ส่งผลให้เพดานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการฯ เป็นดังนี้ ที่ดินเกษตรกรรม ลดเพดานจาก 0.2% เหลือ 0.15% ที่ดินที่อยู่อาศัย ลดเพดานจาก 0.5% เหลือ 0.3% ที่ดินพาณิชยกรรม ลดเพดานจาก 2% เหลือ 1.2% และที่ดินว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์ ลดเพดานจาก 2% ให้เหลือ 1.2% และลดส่วนบวกเพิ่มจาก 0.5% ทุก 3 ปี เหลือ 0.3% ทุก 3 ปี ทำให้เพดานสูงสุดจะลดจากไม่เกิน 5% เหลือเป็นไม่เกิน 3% เท่านั้น
ขอลดแรงเสียดทาน
ที่สำคัญ...เมื่อดูอัตราการจัดเก็บภาษีจริง ยังพบว่า ต่ำกว่าเพดานภาษีที่กำหนดไว้ เพื่อลดแรงเสียดทานจากผู้ได้รับผลกระทบ โดยพื้นที่เกษตรกรรม แบ่งเป็น 2 กรณี กรณีแรก...มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา มูลค่า 0-50 ล้านบาท จะไม่เสียภาษี หากมีมูลค่า 50-100 ล้านบาท จัดเก็บจริงเพียง 0.01% ขณะที่มูลค่า 100-200 ล้านบาท เก็บจริง 0.03% กรณีที่ 2...ที่ดินเกษตรกรรมที่มีนิติบุคคลเป็นเจ้าของ มูลค่า 0-75 ล้านบาท เก็บจริง 0.01% ถ้ามีมูลค่า 75-100 ล้านบาท จัดเก็บจริง 0.03% หากมีมูลค่า 100-500 ล้านบาท เก็บจริง 0.05% และถ้ามูลค่า 500-1,000 ล้านบาท เก็บจริง 0.07% สุดท้ายหากมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท เก็บจริง 0.1%
ขณะที่การจัดเก็บภาษีจริงของที่อยู่อาศัยมูลค่า 0-50 ล้านบาท เก็บจริง 0.02% มูลค่า 50-75 ล้านบาท เก็บจริง 0.03% มูลค่า 75-100 ล้านบาท เก็บจริง 0.05% มูลค่าเกิน 100 ล้านบาท เก็บจริง 0.1% แต่ในกฎหมายมีข้อยกเว้นให้กรณีที่เป็นบ้านหลังหลักที่มีเจ้าของบ้านและที่ดินมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้รับการยกเว้นภาษีใน 50 ล้านบาทแรก แต่ถ้าเป็นเจ้าของเฉพาะบ้านแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินได้รับการยกเว้นแค่ 10 ล้านบาท ส่วนที่อยู่อาศัยหลังอื่น ๆ จะไม่ได้รับยกเว้นและถูกเก็บเต็มอัตราที่กำหนดไว้
ส่วนที่ดินสำหรับพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม กำหนดอัตราเก็บภาษีจริง มูลค่า 0-50 ล้านบาท เก็บ 0.3% มูลค่า 50-200 ล้านบาท เก็บ 0.4% มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.5% มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท เก็บ 0.6% และมูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป เก็บ 0.7% และประเภทสุดท้ายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ จะเก็บเท่ากับที่ดินเชิงพาณิชย์ โดยมูลค่า 0-50 ล้านบาท เก็บ 0.3% มูลค่า 50-200 ล้านบาท เก็บ 0.4% มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.5% มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท เก็บ 0.6% และมูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท เก็บ 0.7% แต่ในอนาคตจะมีการปรับเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ 0.3% ทุก 3 ปี จนใช้เวลา 27 ปี ถึงเต็มเพดาน 3%
จ่าย 3 ปี-ทยอยผ่อนได้
ไม่ใช่แค่เพียงกันลดเพดานภาษี หรือกำหนดอัตราจัดเก็บจริงที่ต่ำเท่านั้น ในชั้นกรรมาธิการยังพิจารณาให้ออกมาตรการบรรเทาผลกระทบให้กับผู้เสียภาษีเพิ่มเติม โดยยกเว้นเก็บภาษีให้ที่ดินเกษตรกรรมที่มีเกษตรกรเป็นเจ้าของใน 3 ปีแรก รวมถึงเพิ่มเติมบทเฉพาะกาล บรรเทาภาระให้กับผู้ที่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นจากกฎหมายใหม่ โดยให้เสียเพิ่มแบบขั้นบันได 25-100% ภายใน 4 ปี
ปีแรกจะเรียกเก็บภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้นเพียง 25% เท่านั้น เช่น กฎหมายเดิมเคยเสียภาษี 1,000 บาท แต่กฎหมายใหม่ต้องเสียภาษีเพิ่มเป็น 2,000 บาท ทำให้มีภาระส่วนเพิ่มขึ้น 1,000 บาท ดังนั้นตามมาตรการบรรเทาภาษีที่ออก รัฐจะเก็บภาษีเพิ่มได้แค่ 25%ของส่วนเพิ่มหรือ 250 บาท ทำให้ปีแรกจะเสียภาษีเก่า 1,000 บวกภาษีใหม่ 250 บาท รวมเป็น 1,250 บาทเท่านั้น ส่วนปีที่สองใช้หลักการเดียวกัน แต่จะเก็บส่วนเพิ่มของภาษีใหม่เป็น 50% ปีที่สามบวกส่วนเพิ่มของภาษีใหม่ 75% และปีที่สี่ถึงค่อยจ่ายเต็มจำนวน ตลอดจนยังอนุญาตให้มีการผ่อนชำระภาษีได้ 3-6 เดือนอีกด้วย
ยกเว้น-ลดหย่อนพิเศษ
นอกจากนี้มาตรการบรรเทายังยกเว้นเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท เช่น ที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ ทรัพย์ส่วนกลาง ศาสนสมบัติ องค์กรระหว่างประเทศ เช่น เขื่อน สถานที่ราชการ วัด สถานทูตรวมถึงทรัพย์ของเอกชนที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ตลอดจนลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 90% ให้กับสถานศึกษาเอกชน กิจการสาธารณะ เช่น โรงเรียนนานาชาติ สนามกีฬา พิพิธภัณฑ์ สนามกอล์ฟ รวมถึงบ้านที่เป็นมรดก ได้รับการลดหย่อนด้วย
ต้องเรียกว่า.รัฐบาล 'บิ๊กตู่" ยอมทุ่มจัดโปรโมชั่นสุดตัว ผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้ให้ได้ แม้เหตุผล!! เพื่อต้องการลดความเหลื่อมล้ำ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้ารัฐบาลใช้ความพิเศษของรัฐบาลผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ นั่นเท่ากับว่า. เป็นการลบคำปรามาสจากทุกฝ่ายโดยสิ้นเชิงในรอบ 25 ปี 12 รัฐบาล ว่าไม่ได้ก้มหัวให้ใคร แต่!!! ยังต้องรอการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวาระ 2 และ 3 ให้ชัดเจนก่อน.
พร้อมหาทางบรรเทา
"วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ" รมช.คลัง และประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยืนยันว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณารายละเอียดของกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะเสนอให้ สนช.พิจารณาวาระที่ 2 และ 3 ในช่วงกลางเดือน พ.ย. นี้ โดยกฎหมายมีผลบังคับเก็บภาษีจริงในวันที่ 1 ม.ค. 63 โดยยืนยันว่ากฎหมายจะมีการบรรเทาค่าภาษีให้กับผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงผู้ประกอบการบางประเภท เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สนามกีฬาของเอกชน จะผ่อนผันเว้นเก็บภาษีมากสุดถึง 90% ของภาษีที่ต้องเสีย
"เพราะเจตนารมณ์กฎหมายฉบับนี้ต้องการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และลดปัญหาการทุจริตโดยลดการใช้ดุลพินิจจากเจ้าพนักงาน อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ภาครัฐจะออกกฎหมายลูกตามมาช่วยบรรเทาแก่ผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องเสียภาษี เช่น การคิดภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได 4 ปี รวมถึงผ่อนผันภาษีการใช้ที่ดินบางประเภทเป็นกรณีพิเศษ อย่างโรงเรียนเอกชน เพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่กรณีสนามกอล์ฟก็ต้องดูละเอียดว่าเป็นพื้นที่สำหรับเล่นกีฬา หรือเป็นคลับเฮาส์เพื่อเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะคิดภาษีต่างกัน"
ยิ่งซ้ำเติมอสังหาฯ
"ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท
พรีเมียม บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ประเมินว่า ทุกวันนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายในและภายนอกมากมายอยู่แล้ว ทั้งเกณฑ์กำกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ความเปราะบางจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน รวมไปถึงเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากสารพัดปัญหา ภาครัฐจึงไม่ควรมีมาตรการใหม่ ๆ เข้ามากระทบอีก เพราะจะทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แย่ลง
"ที่ผ่านมาภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในระดับชะลอตัวอยู่แล้ว เนื่องจากปัจจุบันสถาบัน การเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ แม้เกณฑ์สินเชื่อใหม่ของ ธปท. จะยังไม่ประกาศใช้ แต่ตลาดและผู้เกี่ยวข้องก็กังวลไปแล้ว ประกอบกับสงครามการค้าที่ยังไม่มีวี่แววที่จะยุติ ก็ทำให้นักลงทุนระมัดระวังเพิ่มขึ้น สะท้อนได้จากตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมาลดลงอย่างมาก ซึ่งส่วนตัวมองว่าไม่ควรที่จะมีมาตรการอะไรมาในช่วงเวลานี้ เพราะจะทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์แย่หนักไปกว่าเดิม"
แก้คอร์รัปชั่นไม่ขาด
"อธิป พีชานนท์" นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ระบุถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดิน
และสิ่งปลูกสร้าง บอกว่า เบื้องต้นทราบเพียงว่าแก้ไขเรื่องปรับอัตราเท่านั้น แต่ประเด็นที่กังวลใจที่ไม่รู้ว่าได้รับการแก้ไขหรือไม่ คือปัญหาการแบ่งประเภทจัดเก็บภาษีที่มีความหลากหลายถึง 4 ชนิด และอัตราที่แตกต่างและการจัดเก็บแบบขั้นบันไดซึ่งถือเป็นเรื่องยุ่งยาก เนื่องจากปัจจุบันราคาประเมินก็มีความแตกต่างกันอยู่แล้ว โดยส่วนตัวมองว่าควรจัดเก็บที่อัตราเดียว เหมือนกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จะชัดเจนและไม่ทำให้ผู้เสียภาษีสับสน
"ส่วนตัวมองว่าการเก็บภาษีที่มีความหลากหลายอาจเกิดการทุจริตตามมาได้ เนื่องจากผู้ที่เข้าประเมินราคากับเจ้าของที่อยู่อาศัยหรือที่ดิน อาจใช้ประโยชน์ของประเภทการจัดเก็บภาษีนำไปใช้เจรจา ต่อรอง และอาจเกิดปัญหาทำให้เกิดการตีความแตกต่างกัน รวมถึงกังวลในความพร้อมของ อปท.ที่จะเข้าไปประเมินทรัพย์สิน ทั้งอุปกรณ์สำรวจหรือการจัดเก็บข้อมูล และกำลังคนที่จะเข้าไปประเมินราคามีเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งความเข้าใจจากประชาชน ซึ่งถึงวันนี้ภาครัฐมีการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนที่เป็นผู้เสียภาษีแล้วหรือยัง"
ไม่กระทบคนจน
"กิตติศักดิ์ เต้งเฉี้ยง" เกษตรกรในจังหวัดตรัง บอกว่า การปรับภาษีที่ดินใหม่ครั้งนี้ถือเป็นเรื่องดี เพราะไม่กระทบกับชาวบ้าน พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกรทั่วไปที่มีที่ดินไม่กี่ไร่ แต่เป็นการเก็บเงินเฉพาะคนรวยที่มีที่ดินทรัพย์สินมูลค่าสูง ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำจากเดิมที่เรียกเก็บภาษีตามฐานรายได้ของทรัพย์สินเท่านั้น ทำให้ พ.ร.บ.ใหม่ครั้งนี้รัฐบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อนำเงินมาใช้ประโยชน์พัฒนาท้องถิ่นด้านต่าง ๆ เช่น ถนนหนทาง บริการสาธารณะ ให้เกิดประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกันยังกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ปัจจุบันคนรวยส่วนใหญ่มักซื้อที่ดินกักตุนแล้วเก็บไว้เฉย ๆ ปล่อยให้รกร้าง และบางคนซื้อเก็งกำไรแต่จ่ายภาษีน้อยมากหรือแทบจะไม่เสียภาษีใด ๆ ให้รัฐเลย ก็เป็นผลให้ที่ดินผืนที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ต้องเสียภาษีเพิ่มมากขึ้น และท้ายที่สุดเจ้าของที่ดินก็ต้องนำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจกระทบกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อที่ดินมารอการพัฒนาบ้างบางส่วน แต่รัฐบาลควรให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บภาษีและการถือครองที่ดินแก่ประชาชนให้ชัดเจนเพื่อลดความสับสน รวมทั้งอาจนำรายได้จากการเก็บภาษีมาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในภาคประชาชน
ทำท่าจอดไม่ต้องแจว...ไปแล้ว แต่อยู่ ๆ กระทรวงการคลังก็ฮึดช่วงโค้งสุดท้าย!!! ดันร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฝ่าด่านอรหันต์ในชั้นคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ จนสำเร็จ ซึ่งถือว่าเป็นด่านโหดด่านหินที่สุด เพราะในชั้นนี้มีตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียมากมายทั้งภาครัฐ ภาคสังคม นายทุน ที่ส่งตัวแทนเข้ามายื้อยุดฉุดกระชาก แก้ไขเนื้อหาเพื่อรักษาประโยชน์ให้กับกลุ่มก๊วนตัวเองกันสุดฤทธิ์ หากไม่พลิกโผขั้นสุดท้าย...เท่ากับว่าประเทศไทยจะได้ฤกษ์ใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯฉบับใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 เป็นต้นไป
ปฏิวัติการเก็บภาษี
อย่างไรก็ดีกว่าจะผ่านมาถึงวันนี้!! ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเนื้อในของกฎหมาย ได้เข้ามาปฏิวัติวิธีการจัดเก็บภาษีแบบเดิม ๆ อย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เก็บผ่านรูปแบบภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งวิธีนี้มีช่องโหว่ให้เกิดการทุจริตได้ง่าย แต่กฎหมายใหม่...จะยกเลิกภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ทั้งหมด และให้ อปท.ไปคำนวณเก็บภาษีตามประเภทการใช้ประโยชน์ของที่ดินซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ที่ดินเพื่อการเกษตร ที่ดินเพื่อเชิงพาณิชย์ และที่ดินรกร้างว่างเปล่า กับราคาและขนาดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กรมธนารักษ์ประเมินไว้แทน
กฎหมายฉบับนี้ จึงเข้ามาช่วยปิดช่องโหว่การทุจริตคอร์รัปชั่น เพราะมีมาตรฐานการคิดภาษีแบบตรงไปตรงมา ลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการทุจริตเรียกเงินใต้โต๊ะ และสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำให้สังคม เพราะหลักการระบุไว้ชัด หากใครมีที่ดินเยอะ มีที่ดินราคาแพง ต้องเสียภาษีมาก ทำให้กลุ่มนายทุนที่สะสมที่ดินไว้เก็งกำไร รวมถึงกลุ่มผู้ดีศักดินาเก่า ที่มีสมบัติที่ดินเหลือจำนวนมาก ต้องมีภาระจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น
เฉือนเนื้อคลอด ก.ม.
"มีการประเมินกันว่าหากนำ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ใหม่มาใช้ ทำให้ อปท.เก็บภาษี 4 หมื่นล้านบาท มากกว่าวิธีปัจจุบันที่ เก็บผ่านภาษีโรงเรือนฯ และภาษีบำรุงท้องที่ได้เพียงปีละ 3 หมื่นล้านบาท โดยภาษีที่ได้เพิ่มขึ้น เป็นการเรียกเก็บจากคนรวยที่มีที่ดินเยอะ และการเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยจากลดการทุจริต"
ต่อมาดูในรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ที่เพิ่งผ่านชั้นกรรมาธิการฯ ไปนั้น ต้องยอมรับว่า รัฐบาลยอมเฉือนเนื้อตัวเองไปไม่น้อย เพื่อแลกกับการผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านไปได้ โดยในชั้นพิจารณาของกรรมาธิการได้มีการปรับลดเพดานภาษีลง 40% จากร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินที่ผ่านการพิจารณาของ ครม. รวมถึงมีการออกมาตรการบรรเทาผลกระทบอีกมากมายทำให้คาดว่าภาครัฐ สามารถเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นเพียงครึ่งเดียว หรือแค่ 1 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่คาดว่า มากกว่าปีละ 2 หมื่นล้านบาท
ส่งผลให้เพดานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการฯ เป็นดังนี้ ที่ดินเกษตรกรรม ลดเพดานจาก 0.2% เหลือ 0.15% ที่ดินที่อยู่อาศัย ลดเพดานจาก 0.5% เหลือ 0.3% ที่ดินพาณิชยกรรม ลดเพดานจาก 2% เหลือ 1.2% และที่ดินว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์ ลดเพดานจาก 2% ให้เหลือ 1.2% และลดส่วนบวกเพิ่มจาก 0.5% ทุก 3 ปี เหลือ 0.3% ทุก 3 ปี ทำให้เพดานสูงสุดจะลดจากไม่เกิน 5% เหลือเป็นไม่เกิน 3% เท่านั้น
ขอลดแรงเสียดทาน
ที่สำคัญ...เมื่อดูอัตราการจัดเก็บภาษีจริง ยังพบว่า ต่ำกว่าเพดานภาษีที่กำหนดไว้ เพื่อลดแรงเสียดทานจากผู้ได้รับผลกระทบ โดยพื้นที่เกษตรกรรม แบ่งเป็น 2 กรณี กรณีแรก...มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา มูลค่า 0-50 ล้านบาท จะไม่เสียภาษี หากมีมูลค่า 50-100 ล้านบาท จัดเก็บจริงเพียง 0.01% ขณะที่มูลค่า 100-200 ล้านบาท เก็บจริง 0.03% กรณีที่ 2...ที่ดินเกษตรกรรมที่มีนิติบุคคลเป็นเจ้าของ มูลค่า 0-75 ล้านบาท เก็บจริง 0.01% ถ้ามีมูลค่า 75-100 ล้านบาท จัดเก็บจริง 0.03% หากมีมูลค่า 100-500 ล้านบาท เก็บจริง 0.05% และถ้ามูลค่า 500-1,000 ล้านบาท เก็บจริง 0.07% สุดท้ายหากมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท เก็บจริง 0.1%
ขณะที่การจัดเก็บภาษีจริงของที่อยู่อาศัยมูลค่า 0-50 ล้านบาท เก็บจริง 0.02% มูลค่า 50-75 ล้านบาท เก็บจริง 0.03% มูลค่า 75-100 ล้านบาท เก็บจริง 0.05% มูลค่าเกิน 100 ล้านบาท เก็บจริง 0.1% แต่ในกฎหมายมีข้อยกเว้นให้กรณีที่เป็นบ้านหลังหลักที่มีเจ้าของบ้านและที่ดินมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้รับการยกเว้นภาษีใน 50 ล้านบาทแรก แต่ถ้าเป็นเจ้าของเฉพาะบ้านแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินได้รับการยกเว้นแค่ 10 ล้านบาท ส่วนที่อยู่อาศัยหลังอื่น ๆ จะไม่ได้รับยกเว้นและถูกเก็บเต็มอัตราที่กำหนดไว้
ส่วนที่ดินสำหรับพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม กำหนดอัตราเก็บภาษีจริง มูลค่า 0-50 ล้านบาท เก็บ 0.3% มูลค่า 50-200 ล้านบาท เก็บ 0.4% มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.5% มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท เก็บ 0.6% และมูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป เก็บ 0.7% และประเภทสุดท้ายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ จะเก็บเท่ากับที่ดินเชิงพาณิชย์ โดยมูลค่า 0-50 ล้านบาท เก็บ 0.3% มูลค่า 50-200 ล้านบาท เก็บ 0.4% มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.5% มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท เก็บ 0.6% และมูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท เก็บ 0.7% แต่ในอนาคตจะมีการปรับเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ 0.3% ทุก 3 ปี จนใช้เวลา 27 ปี ถึงเต็มเพดาน 3%
จ่าย 3 ปี-ทยอยผ่อนได้
ไม่ใช่แค่เพียงกันลดเพดานภาษี หรือกำหนดอัตราจัดเก็บจริงที่ต่ำเท่านั้น ในชั้นกรรมาธิการยังพิจารณาให้ออกมาตรการบรรเทาผลกระทบให้กับผู้เสียภาษีเพิ่มเติม โดยยกเว้นเก็บภาษีให้ที่ดินเกษตรกรรมที่มีเกษตรกรเป็นเจ้าของใน 3 ปีแรก รวมถึงเพิ่มเติมบทเฉพาะกาล บรรเทาภาระให้กับผู้ที่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นจากกฎหมายใหม่ โดยให้เสียเพิ่มแบบขั้นบันได 25-100% ภายใน 4 ปี
ปีแรกจะเรียกเก็บภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้นเพียง 25% เท่านั้น เช่น กฎหมายเดิมเคยเสียภาษี 1,000 บาท แต่กฎหมายใหม่ต้องเสียภาษีเพิ่มเป็น 2,000 บาท ทำให้มีภาระส่วนเพิ่มขึ้น 1,000 บาท ดังนั้นตามมาตรการบรรเทาภาษีที่ออก รัฐจะเก็บภาษีเพิ่มได้แค่ 25%ของส่วนเพิ่มหรือ 250 บาท ทำให้ปีแรกจะเสียภาษีเก่า 1,000 บวกภาษีใหม่ 250 บาท รวมเป็น 1,250 บาทเท่านั้น ส่วนปีที่สองใช้หลักการเดียวกัน แต่จะเก็บส่วนเพิ่มของภาษีใหม่เป็น 50% ปีที่สามบวกส่วนเพิ่มของภาษีใหม่ 75% และปีที่สี่ถึงค่อยจ่ายเต็มจำนวน ตลอดจนยังอนุญาตให้มีการผ่อนชำระภาษีได้ 3-6 เดือนอีกด้วย
ยกเว้น-ลดหย่อนพิเศษ
นอกจากนี้มาตรการบรรเทายังยกเว้นเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท เช่น ที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ ทรัพย์ส่วนกลาง ศาสนสมบัติ องค์กรระหว่างประเทศ เช่น เขื่อน สถานที่ราชการ วัด สถานทูตรวมถึงทรัพย์ของเอกชนที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ตลอดจนลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 90% ให้กับสถานศึกษาเอกชน กิจการสาธารณะ เช่น โรงเรียนนานาชาติ สนามกีฬา พิพิธภัณฑ์ สนามกอล์ฟ รวมถึงบ้านที่เป็นมรดก ได้รับการลดหย่อนด้วย
ต้องเรียกว่า.รัฐบาล 'บิ๊กตู่" ยอมทุ่มจัดโปรโมชั่นสุดตัว ผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้ให้ได้ แม้เหตุผล!! เพื่อต้องการลดความเหลื่อมล้ำ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้ารัฐบาลใช้ความพิเศษของรัฐบาลผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ นั่นเท่ากับว่า. เป็นการลบคำปรามาสจากทุกฝ่ายโดยสิ้นเชิงในรอบ 25 ปี 12 รัฐบาล ว่าไม่ได้ก้มหัวให้ใคร แต่!!! ยังต้องรอการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวาระ 2 และ 3 ให้ชัดเจนก่อน.
พร้อมหาทางบรรเทา
"วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ" รมช.คลัง และประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยืนยันว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณารายละเอียดของกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะเสนอให้ สนช.พิจารณาวาระที่ 2 และ 3 ในช่วงกลางเดือน พ.ย. นี้ โดยกฎหมายมีผลบังคับเก็บภาษีจริงในวันที่ 1 ม.ค. 63 โดยยืนยันว่ากฎหมายจะมีการบรรเทาค่าภาษีให้กับผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงผู้ประกอบการบางประเภท เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สนามกีฬาของเอกชน จะผ่อนผันเว้นเก็บภาษีมากสุดถึง 90% ของภาษีที่ต้องเสีย
"เพราะเจตนารมณ์กฎหมายฉบับนี้ต้องการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และลดปัญหาการทุจริตโดยลดการใช้ดุลพินิจจากเจ้าพนักงาน อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ภาครัฐจะออกกฎหมายลูกตามมาช่วยบรรเทาแก่ผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องเสียภาษี เช่น การคิดภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได 4 ปี รวมถึงผ่อนผันภาษีการใช้ที่ดินบางประเภทเป็นกรณีพิเศษ อย่างโรงเรียนเอกชน เพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่กรณีสนามกอล์ฟก็ต้องดูละเอียดว่าเป็นพื้นที่สำหรับเล่นกีฬา หรือเป็นคลับเฮาส์เพื่อเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะคิดภาษีต่างกัน"
ยิ่งซ้ำเติมอสังหาฯ
"ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท
พรีเมียม บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ประเมินว่า ทุกวันนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายในและภายนอกมากมายอยู่แล้ว ทั้งเกณฑ์กำกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ความเปราะบางจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน รวมไปถึงเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากสารพัดปัญหา ภาครัฐจึงไม่ควรมีมาตรการใหม่ ๆ เข้ามากระทบอีก เพราะจะทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แย่ลง
"ที่ผ่านมาภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในระดับชะลอตัวอยู่แล้ว เนื่องจากปัจจุบันสถาบัน การเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ แม้เกณฑ์สินเชื่อใหม่ของ ธปท. จะยังไม่ประกาศใช้ แต่ตลาดและผู้เกี่ยวข้องก็กังวลไปแล้ว ประกอบกับสงครามการค้าที่ยังไม่มีวี่แววที่จะยุติ ก็ทำให้นักลงทุนระมัดระวังเพิ่มขึ้น สะท้อนได้จากตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมาลดลงอย่างมาก ซึ่งส่วนตัวมองว่าไม่ควรที่จะมีมาตรการอะไรมาในช่วงเวลานี้ เพราะจะทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์แย่หนักไปกว่าเดิม"
แก้คอร์รัปชั่นไม่ขาด
"อธิป พีชานนท์" นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ระบุถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดิน
และสิ่งปลูกสร้าง บอกว่า เบื้องต้นทราบเพียงว่าแก้ไขเรื่องปรับอัตราเท่านั้น แต่ประเด็นที่กังวลใจที่ไม่รู้ว่าได้รับการแก้ไขหรือไม่ คือปัญหาการแบ่งประเภทจัดเก็บภาษีที่มีความหลากหลายถึง 4 ชนิด และอัตราที่แตกต่างและการจัดเก็บแบบขั้นบันไดซึ่งถือเป็นเรื่องยุ่งยาก เนื่องจากปัจจุบันราคาประเมินก็มีความแตกต่างกันอยู่แล้ว โดยส่วนตัวมองว่าควรจัดเก็บที่อัตราเดียว เหมือนกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จะชัดเจนและไม่ทำให้ผู้เสียภาษีสับสน
"ส่วนตัวมองว่าการเก็บภาษีที่มีความหลากหลายอาจเกิดการทุจริตตามมาได้ เนื่องจากผู้ที่เข้าประเมินราคากับเจ้าของที่อยู่อาศัยหรือที่ดิน อาจใช้ประโยชน์ของประเภทการจัดเก็บภาษีนำไปใช้เจรจา ต่อรอง และอาจเกิดปัญหาทำให้เกิดการตีความแตกต่างกัน รวมถึงกังวลในความพร้อมของ อปท.ที่จะเข้าไปประเมินทรัพย์สิน ทั้งอุปกรณ์สำรวจหรือการจัดเก็บข้อมูล และกำลังคนที่จะเข้าไปประเมินราคามีเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งความเข้าใจจากประชาชน ซึ่งถึงวันนี้ภาครัฐมีการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนที่เป็นผู้เสียภาษีแล้วหรือยัง"
ไม่กระทบคนจน
"กิตติศักดิ์ เต้งเฉี้ยง" เกษตรกรในจังหวัดตรัง บอกว่า การปรับภาษีที่ดินใหม่ครั้งนี้ถือเป็นเรื่องดี เพราะไม่กระทบกับชาวบ้าน พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกรทั่วไปที่มีที่ดินไม่กี่ไร่ แต่เป็นการเก็บเงินเฉพาะคนรวยที่มีที่ดินทรัพย์สินมูลค่าสูง ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำจากเดิมที่เรียกเก็บภาษีตามฐานรายได้ของทรัพย์สินเท่านั้น ทำให้ พ.ร.บ.ใหม่ครั้งนี้รัฐบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อนำเงินมาใช้ประโยชน์พัฒนาท้องถิ่นด้านต่าง ๆ เช่น ถนนหนทาง บริการสาธารณะ ให้เกิดประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกันยังกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ปัจจุบันคนรวยส่วนใหญ่มักซื้อที่ดินกักตุนแล้วเก็บไว้เฉย ๆ ปล่อยให้รกร้าง และบางคนซื้อเก็งกำไรแต่จ่ายภาษีน้อยมากหรือแทบจะไม่เสียภาษีใด ๆ ให้รัฐเลย ก็เป็นผลให้ที่ดินผืนที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ต้องเสียภาษีเพิ่มมากขึ้น และท้ายที่สุดเจ้าของที่ดินก็ต้องนำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจกระทบกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อที่ดินมารอการพัฒนาบ้างบางส่วน แต่รัฐบาลควรให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บภาษีและการถือครองที่ดินแก่ประชาชนให้ชัดเจนเพื่อลดความสับสน รวมทั้งอาจนำรายได้จากการเก็บภาษีมาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในภาคประชาชน
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ