อุตตม-อีอีซีลุ้น9พย.เคาะทุ่มงบฯ1แสนล.เร่งโรดโชว์จีน-ยุโรปธ.โลกลดอันดับไทย
วันที่ : 2 พฤศจิกายน 2561
บอร์ดอีอีซีลุ้น 9 พ.ย.เคาะทุ่ม 1 แสนล้าน เร่งโรดโชว์ดึงทุนจีน-ยุโรป เผยคำขอ 2 ปีแตะ 7.2 แสนล้าน ด้านธนาคารโลกลดอันดับไทย
บอร์ดอีอีซีลุ้น 9 พ.ย.เคาะทุ่ม 1 แสนล้าน เร่งโรดโชว์ดึงทุนจีน-ยุโรป เผยคำขอ 2 ปีแตะ 7.2 แสนล้าน ด้านธนาคารโลกลดอันดับไทย
ธนาคารโลกลดอันดับไทย
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน นายมารา วาร์วิค ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทย บรูไน มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า รายงานผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ของธนาคารโลกในปี 2561 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจอยู่ในกลุ่ม 30 อันดับแรกของโลก (ท็อป 30) โดยอันดับที่ 27 จาก 190 ประเทศทั่วโลก จากการได้คะแนนรวมทุกด้าน 78.45 คะแนน สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนลดลง เนื่องจากการนำอัตราค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนธุรกิจแบบอัตราคงที่มาใช้ ด้านการขอใช้ไฟฟ้า มีความสะดวกมากขึ้น เนื่องจากมีการปรับลดขั้นตอนการดำเนินการขอเชื่อมไฟฟ้า และการเพิ่มความโปร่งใสในการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมไฟฟ้า ด้านการชำระภาษี มีการปรับปรุงระบบการคำนวณ และยื่นแบบภาษีรายได้นิติบุคคลทางระบบออนไลน์ และด้านการค้าระหว่างประเทศ มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-แมตชิ่ง ซิสเต็ม) มาใช้ในการควบคุมตู้สินค้า ซึ่งส่งผลในการลดระยะเวลาในการขนถ่ายสินค้าข้ามแดน
"ในปีนี้ประเทศไทย ได้ทำการปฏิรูปด้านกฎระเบียบสูงสุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2546 โดยการปฏิรูปที่ประสบความสำเร็จทั้ง 4 ด้านข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงบรรยากาศในการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการเอกชน ช่วยให้คนไทยมีงานที่ดีขึ้นและนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม ธนาคารโลกจะยังให้การสนับสนุนในการนำแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเด็นที่ประเทศไทยยังคงสามารถพัฒนาต่อไปได้อีก" นายมารากล่าว
นางจอร์เจีย วาเลน รักษาการผู้จัดการธนาคารโลก กล่าวว่า การจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจเป็นเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น ในการวัดขีดความสามารถของประเทศ ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ที่ช่วยให้รัฐบาลนำไปปรับปรุงแนวทางหรือปฏิรูปส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยจะเห็นว่าประเทศไทยมีการปรับแพลตฟอร์มการจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์ การฟ้องคดีออนไลน์ เป็นต้น ตามแนวทางด้านดิจิทัลและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคหรือผู้มีส่วนได้เสียเข้าสู่ขั้นตอนต่างๆ ได้รวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เปิดเผยว่า ไทยมีผลคะแนนรายด้านดีขึ้นถึง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ ด้านการขอใช้ไฟฟ้า ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย ด้านการชำระภาษี ด้านการค้าระหว่างประเทศ และด้านการแก้ปัญหาการล้มละลาย โดยการขอใช้ไฟฟ้าเป็นด้านที่พัฒนาได้โดดเด่นที่สุด จนติดอันดับที่ 6 ของโลก สะท้อนความพยายามอย่างต่อเนื่องในการปฏิรูปบริการภาครัฐ และการผลักดันของรัฐบาลในการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ และการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตาม นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจที่ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำของโลก
นายปกรณ์กล่าวว่า เมื่อคำนวณเทียบกับประเทศที่มีผลการดำเนินดีที่สุด จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ในด้านการขอใช้ไฟฟ้ามีคะแนนสูงสุดที่ 98.57 คะแนน รองลงมาคือ การขอเริ่มต้นธุรกิจ 92.72 คะแนน การค้าระหว่างประเทศ 84.65 คะแนน การชำระภาษี 77.72 คะแนน การแก้ปัญหาล้มละลาย 76.64 คะแนน การคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย 75 คะแนน การขออนุญาตก่อสร้าง 71.86 คะแนน การได้รับสินเชื่อ 70 คะแนน การจดทะเบียนทรัพย์สิน 69.47 คะแนน และการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา 67.91 คะแนน อย่างไรก็ตาม การประเมินในครั้งนี้ ธนาคารโลกได้เปลี่ยนหลักเกณฑ์การจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจใหม่ จากเดิมที่ใช้ระยะห่างจากเป้าหมายที่กำหนด (Distance to Frontier) มาเป็นการวัดแบบ Ease of Doing Business Score เพื่อให้การคำนวณสะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด โดยวิธีนี้ประเทศที่ทำได้ดีที่สุดในแต่ละตัวชี้วัด จะได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน ประเทศที่ทำได้ไม่ดีที่สุดในตัวชี้วัดนั้น จะได้คะแนน 0 คะแนน ส่วนประเทศอื่นจะได้คะแนนตามผลงานที่ทำได้เมื่อเทียบเบนช์มาร์กดังกล่าว
Doing Business ร่วง1อันดับ
"สำหรับด้านที่คะแนนลดลงมากที่สุด คือ ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง และด้านการได้รับสินเชื่อ ซึ่งมีการพิจารณาข้อมูลด้านเครดิตและเครดิตบูโร โดยปี 2562 ทาง ก.พ.ร.ตั้งเป้าลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการประกอบธุรกิจที่จะต้องติดภาครัฐลง 50% ขณะเดียวกันอยู่ระหว่างการจัดทำแพลตฟอร์มกลางสำหรับการเชื่อมฐานข้อมูล ซึ่งขั้นตอนอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยคาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ในปี 2562 ทั้งนี้ มีความกังวลเล็กน้อยในเรื่องการเลือกตั้ง อาจจะมีผลกับคะแนนของดัชนีในด้านต่างๆ เนื่องจากดัชนีชี้วัดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินงานภาครัฐ แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นปัจจัยเสี่ยงแต่อย่างใด" นายปกรณ์กล่าว
นายปกรณ์กล่าวว่า อันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจไทย ลดอันดับลงจากอันดับ 26 ในปี 2560 มาอยู่ที่อันดับ 27 ในปี 2561 ก็จริง แต่ถ้าสังเกตประเทศอื่นๆ จะเห็นว่าสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ไม่ได้ปรับขึ้น ขณะที่มาเลเซียอยู่ในกลุ่มประเทศที่อันดับปรับเพิ่มขึ้น แต่มีหนี้สูงมาก เพราะฉะนั้นอันดับไม่ใช่ตัววัดสำคัญ แต่ต้องดูคะแนนในแต่ละด้านว่าปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร เพราะหากคะแนนปรับเพิ่มขึ้น ย่อมสะท้อนถึงการพัฒนาและการทำงานของรัฐบาล ทั้งนี้ สิงคโปร์ครองอันดับ 2 จากการสำรวจประเทศทั่วโลก ไม่เปลี่ยนแปลงอันดับจากปีที่แล้ว มาเลเซียอยู่ที่อันดับ 15 เพิ่มขึ้น 9 อันดับ ไทยอยู่ที่อันดับ 27 ลดลง 1 อันดับ อินโดนีเซียอยู่ที่อันดับ 73 ลดลง 1 อันดับ เป็นต้น หากเทียบประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยครองอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย
เอกชนมองไม่น่ากังวล
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีธนาคารโลกจัดให้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (ดูอิ้ง บิซิเนส 2019) อยู่อันดับที่ 27 จาก 190 ประเทศทั่วโลก และลดลง 1 อันดับจากปีก่อนอยู่ที่อันดับ 26 นั้น ไม่น่ากังวลอะไร ถือเป็นเรื่องดีที่ยังสามารถคงอันดับที่ใกล้เคียง กับปีก่อน เพราะที่ผ่านมาไทยขยับอันดับขึ้นมามากจากอันดับที่ 30 ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อันดับของไทยขยับลงเล็กน้อย มาจากข้อกังวลเรื่องใบอนุญาตก่อสร้างที่ล่าช้า ซึ่งอาจรวมถึงปัญหาผังเมืองที่ยังไม่เรียบร้อยในบางพื้นที่
"ภาพรวมถือว่าประเทศไทยยังคงอันดับได้ดี แม้จะลดลงเล็กน้อย ประเด็นนี้ต้องดูว่าจากสาเหตุอะไร ไทยต้องปรับจุดไหน หากติดเรื่องใบอนุญาตก่อสร้าง ก็ควรเข้าไปแก้ไข อำนวยความสะดวกให้กับการลงทุนส่วนนี้" นายกานต์กล่าว
เงินเฟ้อต.ค.สูงอีก1.23%
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อ) ทั่วไป เดือนตุลาคม 2561 เท่ากับ 102.63 สูงขึ้น 0.06% จากเดือนกันยายน 2561 และสูงขึ้น 1.23% เทียบเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้น 16 เดือนติดต่อกัน สาเหตุจากราคาพลังงานเพิ่มขึ้น 8.11% และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 23 และการปรับเพิ่มของราคาอาหารสำเร็จรูปในบางพื้นที่ อาทิ กรุงเทพฯและปริมณฑล การสูงขึ้นของดัชนีเคหสถาน อาทิ ค่าเช่าบ้าน หอพัก เพิ่มขึ้นจากเจ้าของปรับราคาขึ้น เพื่อทดแทนการที่รัฐบาลให้เก็บค่าน้ำค่าไฟตามจริง ขณะที่หมวดอาหารสดลดลง 1.48% เพราะจากผลผลิตเพิ่มขึ้น รวมถึงการชะลอตัวของราคาสินค้ายาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลังปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตมาระยะหนึ่ง ทั้งนี้ เงินเฟ้อพื้นฐาน (หักกลุ่มอาหารและพลังงาน) สูงขึ้น 0.75% ทำให้เฉลี่ย 10 เดือนแรกปี 2561 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 1.15% และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้น 0.72%
น.ส.พิมพ์ชนกกล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อยังขยายตัวต่อ และคาดการณ์เงินเฟ้อไตรมาส 4 ปี 2561 สูงขึ้น 1.28-1.50% เทียบไตรมาส 4/2560 โดยกระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2561 ในกรอบ 0.8-1.6% และมีโอกาสมากสุดสูงขึ้น 1.25% บนสมมุติฐานเศรษฐกิจขยายตัว 4.2-4.7% น้ำมันดิบดูไบ 68-73 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 32-34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ สินค้าเกษตรราคาลดลง 6.5-7.5% การบริโภคภาคเอกชนเพิ่ม 4.1% และการส่งออกโตเกิน 8% ซึ่งแม้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง แต่ดัชนีความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของประชาชนดีขึ้น และกล้าใช้จ่ายในระยะสั้นมากขึ้น ส่วนระยะยาวยังค่อนข้างทรงตัวต่อเนื่อง
"อัตราเงินเฟ้อปีนี้ มีแนวโน้มขยายตัวตามอิทธิพลจากราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และยังผันผวนต่อเนื่อง รวมถึงค่าเงินบาทที่มีโอกาสอ่อนค่า ตามแนวโน้มค่าเงินในภูมิภาค และการปรับอัตราดอกเบี้ยของประเทศสำคัญๆ ซึ่งส่งผลต่อดุลการชำระเงินต่างๆ อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ โดยคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปีเกิน 1% แน่นอน" น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว
ชี้กม.ภาษีที่ดินปชช.รับเต็มๆ
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยถึงกรณีกระทรวงการคลังเตรียมเสนอร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ค้างในคณะกรรมการธิการวิสามัญเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระ 2 และ 3 ในกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ก่อนจะบังคับใช้กฎหมายในวันที่ 1 มกราคม 2563 เลื่อนออกไปจากเดิม 1 ปี ว่าการนำร่างกฎหมายภาษีที่ดินเข้าสู่ที่ประชุม สนช.รอบใหม่นี้ทำให้มีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น แต่ประเด็นสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือมีผลกระทบกับประชาชนทุกคน จึงต้องพิจารณาเรื่องผลกระทบค่อนข้างมาก แต่ไม่ทราบว่าทางกระทรวงการคลังได้พิจารณาเรื่องนี้ไปมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องรอการประกาศใช้กฎหมาย
"ทางคณะกรรมาธิการไม่ได้เรียกหรือให้ทางผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ในร่างกฎหมายที่กำลังจะนำเข้าสู่ สนช.มีการปรับเรื่องอัตราเท่านั้นเอง ซึ่งที่ผ่านมาได้เสนอข้อปรับปรุงไปแล้ว หนังสืออยู่ที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ก็ตามนั้น รอทาง สนช.พิจารณาและประกาศใช้ เนื่องจากพูดเรื่องนี้มาหลายรอบแล้ว อย่างไรก็ตาม ย้ำว่า ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้รับผล กระทบโดยตรง แต่จะอยู่ในต้นทุนของประชาชนผู้บริโภคแทน" นายอธิปกล่าว
กกร.ค้านเลื่อนใช้กม.ไปปี'63
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวกรณีกระทรวงการคลังเตรียมเสนอร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ค้างในคณะกรรมมาธิการวิสามัญเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระ 2 และ 3 ในกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ก่อนจะบังคับใช้กฎหมายในวันที่ 1 มกราคม 2563 เลื่อนออกไปจากเดิม 1 ปีว่า ที่ผ่านมา ส.อ.ท.ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้เคยหารือถึงประเด็นนี้และแสดงความเห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาลในการจัดทำกฎหมายฉบับนี้ เพราะจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้กับประเทศไทยที่กำลังประสบปัญหาอยู่ ดังนั้น จุดยืนของ ส.อ.ท.และ กกร.ยังอยากเห็นกฎหมายนี้มีกำหนดใช้โดยเร็ว ไม่ควรเลื่อนออกไปเป็นปี 2563
"ที่ผ่านมาสังคมไทยมีปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะกลุ่มชาวนา เกษตรกร ที่เวลามีหนี้ก็จะตัดสินใจเอาที่นาไปจำนำกับนายทุน เกิดวงจรที่ชาวนาต้องเช่านาที่เคยเป็นของตัวเอง ขณะที่นายทุนบางกลุ่มเมื่อมีที่นา ไร่ สวน จำนวนมากก็ปล่อยทิ้งร้างไม่ใช้ประโยชน์ หากมีกฎหมายที่กำหนดอัตราการจัดเก็บตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน อาทิ ทำนา ทำสวน จะเสียภาษีน้อยกว่าปล่อยร้าง ซึ่งเรื่องนี้จะเกิดประโยชน์กับประเทศ" นายเกรียงไกรกล่าว
แหล่งข่าวจากภาคเอกชนกล่าวว่า รู้สึกผิดหวังกับรัฐบาลที่เตรียมบังคับใช้กฎหมายในวันที่ 1 มกราคม 2563 ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นการยื้อเวลา เมื่อถึงปี 2563 รัฐบาลอาจไม่ใช่ชุดนี้ และเมื่อเป็นเช่นนั้นกฎหมายนี้อาจถูกตีตกได้ ทั้งนี้ อยากตั้งคำถามถึงความจริงใจของรัฐบาล ที่ช่วงแรกในการเข้าบริหารเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมามีท่าทีจริงจัง เอกชนสนับสนุนเพื่อแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำของประเทศ ต่อมากฎหมายนี้ก็เงียบลง จนล่าสุดมาโหมกระแสว่าจะเลื่อนบังคับใช้ มันสมควรหรือไม่
ลุ้นบอร์ดอีอีซี 9 พ.ย.เคาะทุ่ม1แสนล.
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ในฐานะประธานการประชุมว่าได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เกี่ยวกับความคืบหน้าการดำเนินงาน โดยขณะนี้ได้โฟกัสแผนงานไปที่การเร่งรัดการลงทุนของภาคเอกชน ก่อนจะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเห็นชอบในวันที่ 9 พฤศจิกายนนี้
นายอุตตมกล่าวว่า สำหรับแนวทางการดำเนินงานที่รับทราบในที่ประชุมคือ ความคืบหน้าโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการหลักในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ความคืบหน้าแผนการดำเนินงานของ สกพอ.ที่จะต้องดึงการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้ได้อย่างน้อย 1 แสนล้านบาทต่อปี โดยเริ่มต้นในปี 2562 ขณะเดียวกันยังได้เห็นชอบการยกร่างแผนผังการใช้พื้นที่ในอีอีซี ซึ่งจะดำเนินการในเดือนธันวาคมนี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และการจัดตั้งกองทุนอีอีซีที่เป็นไปตาม พ.ร.บ.อีอีซี เพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่ โดยระยะแรกกำหนดไว้ 100 ล้านบาท รวมถึงการเตรียมแผนรองรับการขยายพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเพิ่มเติมในอีก 3 จังหวัด เบื้องต้นคือ ตราด จันทบุรี สระแก้ว
เร่งโรดโชว์ดึงทุนจีน-ยุโรป
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ สกพอ. กล่าวว่า การลงทุนในอีอีซีจะมีส่วนในการขยายตัวของจีดีพีประเทศอย่างน้อยปีละ 2% เพิ่มจากปัจจุบันที่ขยายตัว 3% ซึ่งจะส่งผลให้จีดีพีประเทศขยายตัวได้ปีละประมาณ 5% โดยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะมาจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างละครึ่ง ส่วนการลงทุนของเอกชนที่จะเพิ่มขึ้นอีกปีละ 1 แสนล้านบาท จากการชักจูงการลงทุนของ สกพอ.นั้น จะแบ่งเป็นการลงทุนจากนิวเอสเคิร์ฟและเฟิร์สต์เอสเคิร์ฟอย่างละ 50% โดยในส่วนของนิวเอสเคิร์ฟ คาดว่าจะมีการลงทุนมาจากอุตสาหกรรมชีวภาพ 25% ดิจิทัล 25% ออโตเมชั่น 20% การบินและโลจิสติกส์ 20% และการแพทย์และสุขภาพครบวงจร 10%
"บอร์ดมีความเห็นว่าอุตสาหกรรมใหม่จะดึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา ดังนั้น 5 ปี ลงทุน 5 แสนล้านบาท ก็จะแบ่งสัดส่วนการลงทุนอุตสาหกรรมเดิมและอุตสาหกรรมใหม่อย่างละ 2.5 แสนล้านบาท จะเน้นทำโรดโชว์ที่จะโฟกัส 2-3 เรื่อง คือ การโรดโชว์อุตสาหกรรมการบินที่ต่อเนื่องจากแอร์บัส จะโฟกัสไปที่ฝรั่งเศสและอังกฤษ ขณะที่ญี่ปุ่นจะมองไปที่หุ่นยนต์ การบิน ดิจิทัล จีนกำลังจะไปโรดโชว์ที่เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว ทางด้านรถยนต์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนที่หางโจวที่ทางอาลีบาบาอยู่เป็นนักลงทุนอิเล็กทรอนิกส์ 4 หมื่นราย เรากำลังจะดึงกลุ่มนี้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อเร็วๆ นี้ จีนและญี่ปุ่นได้หารือความร่วมมือการลงทุนในประเทศที่ 3 ทั้งสองประเทศมองในเรื่องของสมาร์ทซิตี้และรถไฟความเร็วสูงในไทยค่อนข้างมาก" นายคณิศกล่าว
เผยคำขอ2ปีแตะ7.2แสนล.
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า บีโอไอจะทำงานร่วมกับ สกพอ.อย่างใกล้ชิด เพื่อชักจูงการลงทุนตามเป้าหมาย โดยตั้งแต่มีนโยบายอีอีซีปี 2559 ถึงกันยายน 2561 พบว่ามีคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในอีอีซีมูลค่า 7.2 แสนล้านบาท เมื่อแยกเฉพาะการขอรับส่งเสริมปี 2561 ช่วงเดือนมกราคม-กันยายน มูลค่า 2.3 แสนล้านบาท คาดว่าทั้งปี 2561 จะได้ตามเป้าหมาย 3 แสนล้านบาท โดยคำขอส่วนใหญ่ 80% จะเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยการประชุมบอร์ดบีโอไอวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ จะเสนอแพคเกจการส่งเสริมการลงทุนเมืองอัจฉริยะ ซึ่งขณะนี้มีเอกชนสนใจดำเนินการทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่อีอีซีจำนวนมาก
ค่าแท็กซี่โอเคเห็นแน่พ.ย.นี้
ที่กรมการขนส่งทางบกเขตจตุจักร นายพีระพล ถาวรศุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการพิจารณาการโครงสร้างอัตราค่าโดยสารแท็กซี่ส่วนบุคคล (แท็กซี่โอเค) ที่เหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนและค่าครองชีพของกรม กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาผลจากศึกษาโครงสร้างต้นทุนการประกอบการและอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน หลังจากได้รับผลการศึกษาจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ศึกษาแล้วเสร็จ คาดว่าภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ จะชัดเจนว่าโครงสร้างจะเป็นอย่างไร ขณะนี้ตัวเลขยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการปรับอย่างไร เพราะจะต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย หลังจากที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วเสร็จจะเสนอรายงานขึ้นมาให้อธิบดีพิจารณา หากไม่ติดขัดจะจัดทำสรุปนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาต่อไป
"คณะกรรมการอยู่ระหว่างการการพิจารณาก่อนจะสรุปผล เพื่อให้ผมพิจารณาอีกครั้ง โดยปัจจุบันการปรับขึ้นค่าโดยสารของรถสาธารณะขนาดเล็ก ตาม พ.ร.บ.รถยนต์เป็นอำนาจของรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมที่มีอำนาจในการสามารถอนุมัติได้ ซึ่งการปรับขึ้นค่าโดยสารจะต้องพิจารณาถึงคุณภาพการให้บริการที่ผู้โดยสารจะได้รับด้วย เพราะหากจ่ายแพงแต่คุณภาพไม่ดี ผู้โดยสารก็ไม่ยินดีจ่าย ปัจจุบันแท็กซี่โอเคมีอยู่ 13,000 คน จากแท็กซี่ในระบบ 80,000 ในระบบทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แท็กซี่หากครบกำหนดการใช้งานต่อไปจะต้องเปลี่ยนเป็นแท็กซี่โอเคทั้งหมด" นายพีระพลกล่าว
เข้มจรรยาบรรณแท็กซี่
นายพีระพลกล่าวถึงกรณีการเสนอแนวคิดเรื่องการคิดค่าบริการแบบระบบเหมาจ่ายรายเดือนของสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ ว่า ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รถยนต์ พ.ศ.2522 แท็กซี่มิเตอร์ต้องกดมิเตอร์และเก็บค่าโดยสารตามที่ปรากฏ หากดำเนินการถือว่าผิดกฎหมาย แต่หากเป็นความพอใจของสองฝ่าย ทั้งคนขับแท็กซี่และผู้โดยสารที่ตกลงกันโดยที่กรมไม่ทราบและไม่มีการร้องเรียนเข้ามา กรมไม่สามารถที่จะไปตามจับหรือดำเนินการใดได้ ส่วนกรณีหากผู้โดยสารพบและมีการร้องเรียนเข้ามาว่าแท็กซี่มิเตอร์ไม่กดแท็กซี่จะมีโทษสูงสุดตามกฎหมายปรับไม่เกิน 1,000 บาท อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีการกระทำซ้ำอาจจะถูกพักใบอนุญาตชั่วคราว และหากทำซ้ำหลายครั้งอาจจะมีการเพิกถอนใบอนุญาตได้
นายพีระพลกล่าวว่า กรมมีนโยบายที่จะยกระดับคุณภาพการให้บริการรถสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และได้มาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้โดยสารที่ใช้บริการ ทั้งความปลอดภัยของรถ คนขับที่มีคุณภาพ และการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการ อาทิ การพัฒนาระบบโดยสารประจำทางในกรุงเทพฯและปริมณฑล เน้นการสร้างระบบขนส่งเสริม (ฟีดเดอร์) การกำหนดนโยบายใช้รถโดยสารขนาดเล็กที่มีความเหมาะสมและปลอดภัยแทนรถตู้ประจำทาง โครงการแท็กซี่โอเค และแท็กซี่วีไอพี เพื่อยกระดับการให้บริการแท็กซี่ทั้งระบบโดยนำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่มาให้บริการ การติดตั้งระบบจีพีเอสเพื่อติดตามตำแหน่งรถ ระบบยืนยันตัวผู้ขับ กล้องบันทึกภาพในรถ ปุ่มฉุกเฉิน และการใช้รถโดยสารเช่าเหมาอย่างปลอดภัยได้มาตรฐาน
นายพีระพลกล่าวว่า กรมส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถสาธารณะอย่างปลอดภัยและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้รถสาธารณะเพิ่มมากขึ้นได้ จึงเปิดตัวมาริโอ เมาเร่อ เป็นพรีเซ็นเตอร์รณรงค์ประชาสัมพันธ์ความปลอดภัยการเดินทางด้วยรถสาธารณะ รวมทั้งเปิดตัวมิวสิกวิดีโอเพลงแท็กซี่โอเค แต่งโดยแอ๊ด คาราบาว คาดหวังว่าการใช้รถสาธารณะที่เพิ่มขึ้นจะลดการเกิดอุบัติเหตุ ลดการจราจรที่ติดขัด ลดเวลาการเดินทางเฉลี่ยของประชาชน และเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ธนาคารโลกลดอันดับไทย
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน นายมารา วาร์วิค ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทย บรูไน มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า รายงานผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ของธนาคารโลกในปี 2561 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจอยู่ในกลุ่ม 30 อันดับแรกของโลก (ท็อป 30) โดยอันดับที่ 27 จาก 190 ประเทศทั่วโลก จากการได้คะแนนรวมทุกด้าน 78.45 คะแนน สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนลดลง เนื่องจากการนำอัตราค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนธุรกิจแบบอัตราคงที่มาใช้ ด้านการขอใช้ไฟฟ้า มีความสะดวกมากขึ้น เนื่องจากมีการปรับลดขั้นตอนการดำเนินการขอเชื่อมไฟฟ้า และการเพิ่มความโปร่งใสในการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมไฟฟ้า ด้านการชำระภาษี มีการปรับปรุงระบบการคำนวณ และยื่นแบบภาษีรายได้นิติบุคคลทางระบบออนไลน์ และด้านการค้าระหว่างประเทศ มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-แมตชิ่ง ซิสเต็ม) มาใช้ในการควบคุมตู้สินค้า ซึ่งส่งผลในการลดระยะเวลาในการขนถ่ายสินค้าข้ามแดน
"ในปีนี้ประเทศไทย ได้ทำการปฏิรูปด้านกฎระเบียบสูงสุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2546 โดยการปฏิรูปที่ประสบความสำเร็จทั้ง 4 ด้านข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงบรรยากาศในการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการเอกชน ช่วยให้คนไทยมีงานที่ดีขึ้นและนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม ธนาคารโลกจะยังให้การสนับสนุนในการนำแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเด็นที่ประเทศไทยยังคงสามารถพัฒนาต่อไปได้อีก" นายมารากล่าว
นางจอร์เจีย วาเลน รักษาการผู้จัดการธนาคารโลก กล่าวว่า การจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจเป็นเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น ในการวัดขีดความสามารถของประเทศ ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ที่ช่วยให้รัฐบาลนำไปปรับปรุงแนวทางหรือปฏิรูปส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยจะเห็นว่าประเทศไทยมีการปรับแพลตฟอร์มการจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์ การฟ้องคดีออนไลน์ เป็นต้น ตามแนวทางด้านดิจิทัลและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคหรือผู้มีส่วนได้เสียเข้าสู่ขั้นตอนต่างๆ ได้รวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เปิดเผยว่า ไทยมีผลคะแนนรายด้านดีขึ้นถึง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ ด้านการขอใช้ไฟฟ้า ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย ด้านการชำระภาษี ด้านการค้าระหว่างประเทศ และด้านการแก้ปัญหาการล้มละลาย โดยการขอใช้ไฟฟ้าเป็นด้านที่พัฒนาได้โดดเด่นที่สุด จนติดอันดับที่ 6 ของโลก สะท้อนความพยายามอย่างต่อเนื่องในการปฏิรูปบริการภาครัฐ และการผลักดันของรัฐบาลในการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ และการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตาม นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจที่ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำของโลก
นายปกรณ์กล่าวว่า เมื่อคำนวณเทียบกับประเทศที่มีผลการดำเนินดีที่สุด จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ในด้านการขอใช้ไฟฟ้ามีคะแนนสูงสุดที่ 98.57 คะแนน รองลงมาคือ การขอเริ่มต้นธุรกิจ 92.72 คะแนน การค้าระหว่างประเทศ 84.65 คะแนน การชำระภาษี 77.72 คะแนน การแก้ปัญหาล้มละลาย 76.64 คะแนน การคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย 75 คะแนน การขออนุญาตก่อสร้าง 71.86 คะแนน การได้รับสินเชื่อ 70 คะแนน การจดทะเบียนทรัพย์สิน 69.47 คะแนน และการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา 67.91 คะแนน อย่างไรก็ตาม การประเมินในครั้งนี้ ธนาคารโลกได้เปลี่ยนหลักเกณฑ์การจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจใหม่ จากเดิมที่ใช้ระยะห่างจากเป้าหมายที่กำหนด (Distance to Frontier) มาเป็นการวัดแบบ Ease of Doing Business Score เพื่อให้การคำนวณสะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด โดยวิธีนี้ประเทศที่ทำได้ดีที่สุดในแต่ละตัวชี้วัด จะได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน ประเทศที่ทำได้ไม่ดีที่สุดในตัวชี้วัดนั้น จะได้คะแนน 0 คะแนน ส่วนประเทศอื่นจะได้คะแนนตามผลงานที่ทำได้เมื่อเทียบเบนช์มาร์กดังกล่าว
Doing Business ร่วง1อันดับ
"สำหรับด้านที่คะแนนลดลงมากที่สุด คือ ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง และด้านการได้รับสินเชื่อ ซึ่งมีการพิจารณาข้อมูลด้านเครดิตและเครดิตบูโร โดยปี 2562 ทาง ก.พ.ร.ตั้งเป้าลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการประกอบธุรกิจที่จะต้องติดภาครัฐลง 50% ขณะเดียวกันอยู่ระหว่างการจัดทำแพลตฟอร์มกลางสำหรับการเชื่อมฐานข้อมูล ซึ่งขั้นตอนอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยคาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ในปี 2562 ทั้งนี้ มีความกังวลเล็กน้อยในเรื่องการเลือกตั้ง อาจจะมีผลกับคะแนนของดัชนีในด้านต่างๆ เนื่องจากดัชนีชี้วัดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินงานภาครัฐ แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นปัจจัยเสี่ยงแต่อย่างใด" นายปกรณ์กล่าว
นายปกรณ์กล่าวว่า อันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจไทย ลดอันดับลงจากอันดับ 26 ในปี 2560 มาอยู่ที่อันดับ 27 ในปี 2561 ก็จริง แต่ถ้าสังเกตประเทศอื่นๆ จะเห็นว่าสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ไม่ได้ปรับขึ้น ขณะที่มาเลเซียอยู่ในกลุ่มประเทศที่อันดับปรับเพิ่มขึ้น แต่มีหนี้สูงมาก เพราะฉะนั้นอันดับไม่ใช่ตัววัดสำคัญ แต่ต้องดูคะแนนในแต่ละด้านว่าปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร เพราะหากคะแนนปรับเพิ่มขึ้น ย่อมสะท้อนถึงการพัฒนาและการทำงานของรัฐบาล ทั้งนี้ สิงคโปร์ครองอันดับ 2 จากการสำรวจประเทศทั่วโลก ไม่เปลี่ยนแปลงอันดับจากปีที่แล้ว มาเลเซียอยู่ที่อันดับ 15 เพิ่มขึ้น 9 อันดับ ไทยอยู่ที่อันดับ 27 ลดลง 1 อันดับ อินโดนีเซียอยู่ที่อันดับ 73 ลดลง 1 อันดับ เป็นต้น หากเทียบประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยครองอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย
เอกชนมองไม่น่ากังวล
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีธนาคารโลกจัดให้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (ดูอิ้ง บิซิเนส 2019) อยู่อันดับที่ 27 จาก 190 ประเทศทั่วโลก และลดลง 1 อันดับจากปีก่อนอยู่ที่อันดับ 26 นั้น ไม่น่ากังวลอะไร ถือเป็นเรื่องดีที่ยังสามารถคงอันดับที่ใกล้เคียง กับปีก่อน เพราะที่ผ่านมาไทยขยับอันดับขึ้นมามากจากอันดับที่ 30 ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อันดับของไทยขยับลงเล็กน้อย มาจากข้อกังวลเรื่องใบอนุญาตก่อสร้างที่ล่าช้า ซึ่งอาจรวมถึงปัญหาผังเมืองที่ยังไม่เรียบร้อยในบางพื้นที่
"ภาพรวมถือว่าประเทศไทยยังคงอันดับได้ดี แม้จะลดลงเล็กน้อย ประเด็นนี้ต้องดูว่าจากสาเหตุอะไร ไทยต้องปรับจุดไหน หากติดเรื่องใบอนุญาตก่อสร้าง ก็ควรเข้าไปแก้ไข อำนวยความสะดวกให้กับการลงทุนส่วนนี้" นายกานต์กล่าว
เงินเฟ้อต.ค.สูงอีก1.23%
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อ) ทั่วไป เดือนตุลาคม 2561 เท่ากับ 102.63 สูงขึ้น 0.06% จากเดือนกันยายน 2561 และสูงขึ้น 1.23% เทียบเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้น 16 เดือนติดต่อกัน สาเหตุจากราคาพลังงานเพิ่มขึ้น 8.11% และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 23 และการปรับเพิ่มของราคาอาหารสำเร็จรูปในบางพื้นที่ อาทิ กรุงเทพฯและปริมณฑล การสูงขึ้นของดัชนีเคหสถาน อาทิ ค่าเช่าบ้าน หอพัก เพิ่มขึ้นจากเจ้าของปรับราคาขึ้น เพื่อทดแทนการที่รัฐบาลให้เก็บค่าน้ำค่าไฟตามจริง ขณะที่หมวดอาหารสดลดลง 1.48% เพราะจากผลผลิตเพิ่มขึ้น รวมถึงการชะลอตัวของราคาสินค้ายาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลังปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตมาระยะหนึ่ง ทั้งนี้ เงินเฟ้อพื้นฐาน (หักกลุ่มอาหารและพลังงาน) สูงขึ้น 0.75% ทำให้เฉลี่ย 10 เดือนแรกปี 2561 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 1.15% และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้น 0.72%
น.ส.พิมพ์ชนกกล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อยังขยายตัวต่อ และคาดการณ์เงินเฟ้อไตรมาส 4 ปี 2561 สูงขึ้น 1.28-1.50% เทียบไตรมาส 4/2560 โดยกระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2561 ในกรอบ 0.8-1.6% และมีโอกาสมากสุดสูงขึ้น 1.25% บนสมมุติฐานเศรษฐกิจขยายตัว 4.2-4.7% น้ำมันดิบดูไบ 68-73 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 32-34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ สินค้าเกษตรราคาลดลง 6.5-7.5% การบริโภคภาคเอกชนเพิ่ม 4.1% และการส่งออกโตเกิน 8% ซึ่งแม้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง แต่ดัชนีความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของประชาชนดีขึ้น และกล้าใช้จ่ายในระยะสั้นมากขึ้น ส่วนระยะยาวยังค่อนข้างทรงตัวต่อเนื่อง
"อัตราเงินเฟ้อปีนี้ มีแนวโน้มขยายตัวตามอิทธิพลจากราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และยังผันผวนต่อเนื่อง รวมถึงค่าเงินบาทที่มีโอกาสอ่อนค่า ตามแนวโน้มค่าเงินในภูมิภาค และการปรับอัตราดอกเบี้ยของประเทศสำคัญๆ ซึ่งส่งผลต่อดุลการชำระเงินต่างๆ อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ โดยคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปีเกิน 1% แน่นอน" น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว
ชี้กม.ภาษีที่ดินปชช.รับเต็มๆ
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยถึงกรณีกระทรวงการคลังเตรียมเสนอร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ค้างในคณะกรรมการธิการวิสามัญเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระ 2 และ 3 ในกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ก่อนจะบังคับใช้กฎหมายในวันที่ 1 มกราคม 2563 เลื่อนออกไปจากเดิม 1 ปี ว่าการนำร่างกฎหมายภาษีที่ดินเข้าสู่ที่ประชุม สนช.รอบใหม่นี้ทำให้มีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น แต่ประเด็นสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือมีผลกระทบกับประชาชนทุกคน จึงต้องพิจารณาเรื่องผลกระทบค่อนข้างมาก แต่ไม่ทราบว่าทางกระทรวงการคลังได้พิจารณาเรื่องนี้ไปมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องรอการประกาศใช้กฎหมาย
"ทางคณะกรรมาธิการไม่ได้เรียกหรือให้ทางผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ในร่างกฎหมายที่กำลังจะนำเข้าสู่ สนช.มีการปรับเรื่องอัตราเท่านั้นเอง ซึ่งที่ผ่านมาได้เสนอข้อปรับปรุงไปแล้ว หนังสืออยู่ที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ก็ตามนั้น รอทาง สนช.พิจารณาและประกาศใช้ เนื่องจากพูดเรื่องนี้มาหลายรอบแล้ว อย่างไรก็ตาม ย้ำว่า ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้รับผล กระทบโดยตรง แต่จะอยู่ในต้นทุนของประชาชนผู้บริโภคแทน" นายอธิปกล่าว
กกร.ค้านเลื่อนใช้กม.ไปปี'63
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวกรณีกระทรวงการคลังเตรียมเสนอร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ค้างในคณะกรรมมาธิการวิสามัญเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระ 2 และ 3 ในกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ก่อนจะบังคับใช้กฎหมายในวันที่ 1 มกราคม 2563 เลื่อนออกไปจากเดิม 1 ปีว่า ที่ผ่านมา ส.อ.ท.ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้เคยหารือถึงประเด็นนี้และแสดงความเห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาลในการจัดทำกฎหมายฉบับนี้ เพราะจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้กับประเทศไทยที่กำลังประสบปัญหาอยู่ ดังนั้น จุดยืนของ ส.อ.ท.และ กกร.ยังอยากเห็นกฎหมายนี้มีกำหนดใช้โดยเร็ว ไม่ควรเลื่อนออกไปเป็นปี 2563
"ที่ผ่านมาสังคมไทยมีปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะกลุ่มชาวนา เกษตรกร ที่เวลามีหนี้ก็จะตัดสินใจเอาที่นาไปจำนำกับนายทุน เกิดวงจรที่ชาวนาต้องเช่านาที่เคยเป็นของตัวเอง ขณะที่นายทุนบางกลุ่มเมื่อมีที่นา ไร่ สวน จำนวนมากก็ปล่อยทิ้งร้างไม่ใช้ประโยชน์ หากมีกฎหมายที่กำหนดอัตราการจัดเก็บตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน อาทิ ทำนา ทำสวน จะเสียภาษีน้อยกว่าปล่อยร้าง ซึ่งเรื่องนี้จะเกิดประโยชน์กับประเทศ" นายเกรียงไกรกล่าว
แหล่งข่าวจากภาคเอกชนกล่าวว่า รู้สึกผิดหวังกับรัฐบาลที่เตรียมบังคับใช้กฎหมายในวันที่ 1 มกราคม 2563 ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นการยื้อเวลา เมื่อถึงปี 2563 รัฐบาลอาจไม่ใช่ชุดนี้ และเมื่อเป็นเช่นนั้นกฎหมายนี้อาจถูกตีตกได้ ทั้งนี้ อยากตั้งคำถามถึงความจริงใจของรัฐบาล ที่ช่วงแรกในการเข้าบริหารเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมามีท่าทีจริงจัง เอกชนสนับสนุนเพื่อแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำของประเทศ ต่อมากฎหมายนี้ก็เงียบลง จนล่าสุดมาโหมกระแสว่าจะเลื่อนบังคับใช้ มันสมควรหรือไม่
ลุ้นบอร์ดอีอีซี 9 พ.ย.เคาะทุ่ม1แสนล.
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ในฐานะประธานการประชุมว่าได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เกี่ยวกับความคืบหน้าการดำเนินงาน โดยขณะนี้ได้โฟกัสแผนงานไปที่การเร่งรัดการลงทุนของภาคเอกชน ก่อนจะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเห็นชอบในวันที่ 9 พฤศจิกายนนี้
นายอุตตมกล่าวว่า สำหรับแนวทางการดำเนินงานที่รับทราบในที่ประชุมคือ ความคืบหน้าโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการหลักในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ความคืบหน้าแผนการดำเนินงานของ สกพอ.ที่จะต้องดึงการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้ได้อย่างน้อย 1 แสนล้านบาทต่อปี โดยเริ่มต้นในปี 2562 ขณะเดียวกันยังได้เห็นชอบการยกร่างแผนผังการใช้พื้นที่ในอีอีซี ซึ่งจะดำเนินการในเดือนธันวาคมนี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และการจัดตั้งกองทุนอีอีซีที่เป็นไปตาม พ.ร.บ.อีอีซี เพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่ โดยระยะแรกกำหนดไว้ 100 ล้านบาท รวมถึงการเตรียมแผนรองรับการขยายพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเพิ่มเติมในอีก 3 จังหวัด เบื้องต้นคือ ตราด จันทบุรี สระแก้ว
เร่งโรดโชว์ดึงทุนจีน-ยุโรป
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ สกพอ. กล่าวว่า การลงทุนในอีอีซีจะมีส่วนในการขยายตัวของจีดีพีประเทศอย่างน้อยปีละ 2% เพิ่มจากปัจจุบันที่ขยายตัว 3% ซึ่งจะส่งผลให้จีดีพีประเทศขยายตัวได้ปีละประมาณ 5% โดยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะมาจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างละครึ่ง ส่วนการลงทุนของเอกชนที่จะเพิ่มขึ้นอีกปีละ 1 แสนล้านบาท จากการชักจูงการลงทุนของ สกพอ.นั้น จะแบ่งเป็นการลงทุนจากนิวเอสเคิร์ฟและเฟิร์สต์เอสเคิร์ฟอย่างละ 50% โดยในส่วนของนิวเอสเคิร์ฟ คาดว่าจะมีการลงทุนมาจากอุตสาหกรรมชีวภาพ 25% ดิจิทัล 25% ออโตเมชั่น 20% การบินและโลจิสติกส์ 20% และการแพทย์และสุขภาพครบวงจร 10%
"บอร์ดมีความเห็นว่าอุตสาหกรรมใหม่จะดึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา ดังนั้น 5 ปี ลงทุน 5 แสนล้านบาท ก็จะแบ่งสัดส่วนการลงทุนอุตสาหกรรมเดิมและอุตสาหกรรมใหม่อย่างละ 2.5 แสนล้านบาท จะเน้นทำโรดโชว์ที่จะโฟกัส 2-3 เรื่อง คือ การโรดโชว์อุตสาหกรรมการบินที่ต่อเนื่องจากแอร์บัส จะโฟกัสไปที่ฝรั่งเศสและอังกฤษ ขณะที่ญี่ปุ่นจะมองไปที่หุ่นยนต์ การบิน ดิจิทัล จีนกำลังจะไปโรดโชว์ที่เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว ทางด้านรถยนต์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนที่หางโจวที่ทางอาลีบาบาอยู่เป็นนักลงทุนอิเล็กทรอนิกส์ 4 หมื่นราย เรากำลังจะดึงกลุ่มนี้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อเร็วๆ นี้ จีนและญี่ปุ่นได้หารือความร่วมมือการลงทุนในประเทศที่ 3 ทั้งสองประเทศมองในเรื่องของสมาร์ทซิตี้และรถไฟความเร็วสูงในไทยค่อนข้างมาก" นายคณิศกล่าว
เผยคำขอ2ปีแตะ7.2แสนล.
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า บีโอไอจะทำงานร่วมกับ สกพอ.อย่างใกล้ชิด เพื่อชักจูงการลงทุนตามเป้าหมาย โดยตั้งแต่มีนโยบายอีอีซีปี 2559 ถึงกันยายน 2561 พบว่ามีคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในอีอีซีมูลค่า 7.2 แสนล้านบาท เมื่อแยกเฉพาะการขอรับส่งเสริมปี 2561 ช่วงเดือนมกราคม-กันยายน มูลค่า 2.3 แสนล้านบาท คาดว่าทั้งปี 2561 จะได้ตามเป้าหมาย 3 แสนล้านบาท โดยคำขอส่วนใหญ่ 80% จะเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยการประชุมบอร์ดบีโอไอวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ จะเสนอแพคเกจการส่งเสริมการลงทุนเมืองอัจฉริยะ ซึ่งขณะนี้มีเอกชนสนใจดำเนินการทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่อีอีซีจำนวนมาก
ค่าแท็กซี่โอเคเห็นแน่พ.ย.นี้
ที่กรมการขนส่งทางบกเขตจตุจักร นายพีระพล ถาวรศุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการพิจารณาการโครงสร้างอัตราค่าโดยสารแท็กซี่ส่วนบุคคล (แท็กซี่โอเค) ที่เหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนและค่าครองชีพของกรม กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาผลจากศึกษาโครงสร้างต้นทุนการประกอบการและอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน หลังจากได้รับผลการศึกษาจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ศึกษาแล้วเสร็จ คาดว่าภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ จะชัดเจนว่าโครงสร้างจะเป็นอย่างไร ขณะนี้ตัวเลขยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการปรับอย่างไร เพราะจะต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย หลังจากที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วเสร็จจะเสนอรายงานขึ้นมาให้อธิบดีพิจารณา หากไม่ติดขัดจะจัดทำสรุปนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาต่อไป
"คณะกรรมการอยู่ระหว่างการการพิจารณาก่อนจะสรุปผล เพื่อให้ผมพิจารณาอีกครั้ง โดยปัจจุบันการปรับขึ้นค่าโดยสารของรถสาธารณะขนาดเล็ก ตาม พ.ร.บ.รถยนต์เป็นอำนาจของรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมที่มีอำนาจในการสามารถอนุมัติได้ ซึ่งการปรับขึ้นค่าโดยสารจะต้องพิจารณาถึงคุณภาพการให้บริการที่ผู้โดยสารจะได้รับด้วย เพราะหากจ่ายแพงแต่คุณภาพไม่ดี ผู้โดยสารก็ไม่ยินดีจ่าย ปัจจุบันแท็กซี่โอเคมีอยู่ 13,000 คน จากแท็กซี่ในระบบ 80,000 ในระบบทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แท็กซี่หากครบกำหนดการใช้งานต่อไปจะต้องเปลี่ยนเป็นแท็กซี่โอเคทั้งหมด" นายพีระพลกล่าว
เข้มจรรยาบรรณแท็กซี่
นายพีระพลกล่าวถึงกรณีการเสนอแนวคิดเรื่องการคิดค่าบริการแบบระบบเหมาจ่ายรายเดือนของสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ ว่า ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รถยนต์ พ.ศ.2522 แท็กซี่มิเตอร์ต้องกดมิเตอร์และเก็บค่าโดยสารตามที่ปรากฏ หากดำเนินการถือว่าผิดกฎหมาย แต่หากเป็นความพอใจของสองฝ่าย ทั้งคนขับแท็กซี่และผู้โดยสารที่ตกลงกันโดยที่กรมไม่ทราบและไม่มีการร้องเรียนเข้ามา กรมไม่สามารถที่จะไปตามจับหรือดำเนินการใดได้ ส่วนกรณีหากผู้โดยสารพบและมีการร้องเรียนเข้ามาว่าแท็กซี่มิเตอร์ไม่กดแท็กซี่จะมีโทษสูงสุดตามกฎหมายปรับไม่เกิน 1,000 บาท อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีการกระทำซ้ำอาจจะถูกพักใบอนุญาตชั่วคราว และหากทำซ้ำหลายครั้งอาจจะมีการเพิกถอนใบอนุญาตได้
นายพีระพลกล่าวว่า กรมมีนโยบายที่จะยกระดับคุณภาพการให้บริการรถสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และได้มาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้โดยสารที่ใช้บริการ ทั้งความปลอดภัยของรถ คนขับที่มีคุณภาพ และการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการ อาทิ การพัฒนาระบบโดยสารประจำทางในกรุงเทพฯและปริมณฑล เน้นการสร้างระบบขนส่งเสริม (ฟีดเดอร์) การกำหนดนโยบายใช้รถโดยสารขนาดเล็กที่มีความเหมาะสมและปลอดภัยแทนรถตู้ประจำทาง โครงการแท็กซี่โอเค และแท็กซี่วีไอพี เพื่อยกระดับการให้บริการแท็กซี่ทั้งระบบโดยนำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่มาให้บริการ การติดตั้งระบบจีพีเอสเพื่อติดตามตำแหน่งรถ ระบบยืนยันตัวผู้ขับ กล้องบันทึกภาพในรถ ปุ่มฉุกเฉิน และการใช้รถโดยสารเช่าเหมาอย่างปลอดภัยได้มาตรฐาน
นายพีระพลกล่าวว่า กรมส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถสาธารณะอย่างปลอดภัยและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้รถสาธารณะเพิ่มมากขึ้นได้ จึงเปิดตัวมาริโอ เมาเร่อ เป็นพรีเซ็นเตอร์รณรงค์ประชาสัมพันธ์ความปลอดภัยการเดินทางด้วยรถสาธารณะ รวมทั้งเปิดตัวมิวสิกวิดีโอเพลงแท็กซี่โอเค แต่งโดยแอ๊ด คาราบาว คาดหวังว่าการใช้รถสาธารณะที่เพิ่มขึ้นจะลดการเกิดอุบัติเหตุ ลดการจราจรที่ติดขัด ลดเวลาการเดินทางเฉลี่ยของประชาชน และเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ