กสิกร คาดสินเชื่อรายย่อยพุ่ง บ้าน-เช่าซื้อ คึกคักไตรมาส 4
วันที่ : 27 ตุลาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกร คาดแนวโน้มสินเชื่อรายย่อยไตรมาส 4 เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน จากการเร่งโอนกรรมสิทธิ์ช่วงสิ้นปี ก่อนเกณฑ์คุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธปท.จะบังคับใช้ ขณะที่กลุ่มเช่าซื้อและพีโลนโตสูง
ศูนย์วิจัยกสิกร คาดแนวโน้มสินเชื่อรายย่อยไตรมาส 4 เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน จากการเร่งโอนกรรมสิทธิ์ช่วงสิ้นปี ก่อนเกณฑ์คุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธปท.จะบังคับใช้ ขณะที่กลุ่มเช่าซื้อและพีโลนโตสูง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมสินเชื่อสุทธิของธนาคาร พาณิชย์ในเดือน ก.ย.ปี2561 เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อน 3.76 พันล้านบาท หรือ 0.03% เป็น 11.34 ล้านล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยฤดูกาลที่ ความต้องการสินเชื่อในไตรมาสที่ 3 มักชะลอตัว แต่จากสินเชื่อรายย่อย ที่ขยายตัวได้ดีทุกประเภท จึงทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อสุทธิรวมในเดือนนี้ ยังปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนและไตรมาสก่อน รวมทั้งขยายตัวได้ถึง 5.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แม้ว่าสินเชื่อเอสเอ็มอีจะปรับขึ้นเล็กน้อย แต่ยอดคงค้างของสินเชื่อ ธุรกิจในภาพรวมปรับลดลงเมื่อ เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจาก มีการชำระคืนสินเชื่อ ประกอบกับธุรกิจบางส่วนอาจมีทางเลือกใน การระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ เพื่อล็อกต้นทุนทางการเงินก่อนที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศจะมีโอกาสปรับ เพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ด้านภาพรวมเงินฝากเพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อน 3.93 พันล้านบาท หรือ 0.03% จากเดือนก่อนหน้า เป็น 12.27 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีก่อนและสิ้นปีก่อน เงินฝาก ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 4.91% และ 1.47% ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มสินเชื่อในไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 แม้จะมีปัจจัยสนับสนุนหลายทาง โดยเฉพาะ ปัจจัยฤดูกาลที่คงมีผลบวกต่อ สินเชื่อทุกประเภท แต่ในส่วนของ สินเชื่อธุรกิจและเอสเอ็มอี ยังต้องจับตาผลกระทบจากภาคต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกและการท่องเที่ยว หลังมีสัญญาณชะลอตัวในช่วง ปลายไตรมาส 3 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ในส่วนของสินเชื่อ รายย่อยนั้น คาดว่าปีนี้คงมีปัจจัยเฉพาะที่ช่วยหนุนการเติบโตของ สินเชื่อได้ในทุกประเภท ได้แก่ 1.สินเชื่อเพี่อที่อยู่อาศัย จากการ เร่งโอนกรรมสิทธิ์ให้เสร็จสิ้นก่อน สิ้นปี 2561 ในช่วงก่อนที่แนวนโยบายการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ของ ธปท. จะเริ่มมีผลบังคับใช้ ในปีหน้า 2.สินเชื่อเพื่อเช่าซื้อรถ จากความต้องการซื้อรถใหม่ที่แข็งแกร่งในปีนี้ 3.สินเชื่อบุคคลไม่มีหลักประกัน (บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับฯ) จาก การแข่งขันทั้งเรื่องราคา และช่องทาง การตลาดใหม่ผ่านดิจิทัลเลนดิ้ง
สำหรับแนวโน้มเงินฝากในช่วงที่เหลือของปี ธนาคารคงมุ่งบริหาร จัดการต้นทุนการเงินและการ ใช้ประโยชน์จากสภาพคล่องให้เกิด สมดุล ซึ่งคงเผชิญความท้าทายมากขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์การออมอื่นๆ เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่คงเข้มข้นขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมสินเชื่อสุทธิของธนาคาร พาณิชย์ในเดือน ก.ย.ปี2561 เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อน 3.76 พันล้านบาท หรือ 0.03% เป็น 11.34 ล้านล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยฤดูกาลที่ ความต้องการสินเชื่อในไตรมาสที่ 3 มักชะลอตัว แต่จากสินเชื่อรายย่อย ที่ขยายตัวได้ดีทุกประเภท จึงทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อสุทธิรวมในเดือนนี้ ยังปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนและไตรมาสก่อน รวมทั้งขยายตัวได้ถึง 5.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แม้ว่าสินเชื่อเอสเอ็มอีจะปรับขึ้นเล็กน้อย แต่ยอดคงค้างของสินเชื่อ ธุรกิจในภาพรวมปรับลดลงเมื่อ เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจาก มีการชำระคืนสินเชื่อ ประกอบกับธุรกิจบางส่วนอาจมีทางเลือกใน การระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ เพื่อล็อกต้นทุนทางการเงินก่อนที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศจะมีโอกาสปรับ เพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ด้านภาพรวมเงินฝากเพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อน 3.93 พันล้านบาท หรือ 0.03% จากเดือนก่อนหน้า เป็น 12.27 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีก่อนและสิ้นปีก่อน เงินฝาก ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 4.91% และ 1.47% ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มสินเชื่อในไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 แม้จะมีปัจจัยสนับสนุนหลายทาง โดยเฉพาะ ปัจจัยฤดูกาลที่คงมีผลบวกต่อ สินเชื่อทุกประเภท แต่ในส่วนของ สินเชื่อธุรกิจและเอสเอ็มอี ยังต้องจับตาผลกระทบจากภาคต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกและการท่องเที่ยว หลังมีสัญญาณชะลอตัวในช่วง ปลายไตรมาส 3 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ในส่วนของสินเชื่อ รายย่อยนั้น คาดว่าปีนี้คงมีปัจจัยเฉพาะที่ช่วยหนุนการเติบโตของ สินเชื่อได้ในทุกประเภท ได้แก่ 1.สินเชื่อเพี่อที่อยู่อาศัย จากการ เร่งโอนกรรมสิทธิ์ให้เสร็จสิ้นก่อน สิ้นปี 2561 ในช่วงก่อนที่แนวนโยบายการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ของ ธปท. จะเริ่มมีผลบังคับใช้ ในปีหน้า 2.สินเชื่อเพื่อเช่าซื้อรถ จากความต้องการซื้อรถใหม่ที่แข็งแกร่งในปีนี้ 3.สินเชื่อบุคคลไม่มีหลักประกัน (บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับฯ) จาก การแข่งขันทั้งเรื่องราคา และช่องทาง การตลาดใหม่ผ่านดิจิทัลเลนดิ้ง
สำหรับแนวโน้มเงินฝากในช่วงที่เหลือของปี ธนาคารคงมุ่งบริหาร จัดการต้นทุนการเงินและการ ใช้ประโยชน์จากสภาพคล่องให้เกิด สมดุล ซึ่งคงเผชิญความท้าทายมากขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์การออมอื่นๆ เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่คงเข้มข้นขึ้น
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ