มธ.ดันอีอีซีเมดิคอลฮับดึงการลงทุน
วันที่ : 30 ตุลาคม 2561
นางเกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้หารือกับนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เพื่อเสนอแนวคิดจัดตั้งเขตส่งเสริมกิจการพิเศษในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี)
ธรรมศาสตร์ถก รมว.อุตสาหกรรม โชว์แผนตั้งเขตส่งเสริมการแพทย์ในอีอีซี
นางเกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้หารือกับนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เพื่อเสนอแนวคิดจัดตั้งเขตส่งเสริมกิจการพิเศษในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) ใช้ชื่อว่า เขตส่งเสริมกิจการพิเศษธรรมศาสตร์ อีอีซี โดยต้องการผลักดันให้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานภายในเดือน พ.ย.นี้
ทั้งนี้ ต้องการจัดตั้งเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ (เมดิคอลฮับ) เพื่อเชื่อมกับข้อมูลบิ๊กดาต้า ขยายไปสู่การเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมขั้นสูงอื่นๆ โดยใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ตั้งอยู่ที่ จ.ชลบุรี แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้ง และระยะที่ 2 จัดทำแผนแม่บทการดำเนินงานขับเคลื่อน ซึ่งจะแบ่งการลงทุนเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรกใช้เงินลงทุน 2,600 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อาคารของโรงพยาบาล เริ่มก่อสร้างปี 2562 และอาคารส่วนขยายของคณะแพทยศาสตร์ เริ่มก่อสร้างปี 2563 และการลงทุนช่วงที่ 2 คือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และครุภัณฑ์การศึกษาใช้เงินลงทุน 2,400 ล้านบาท
"เบื้องต้นรัฐจะลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยจะของบทางอีอีซี หากประสบความสำเร็จจะมีเอกชนมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท" นางเกศินี กล่าว
นางเกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้หารือกับนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เพื่อเสนอแนวคิดจัดตั้งเขตส่งเสริมกิจการพิเศษในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) ใช้ชื่อว่า เขตส่งเสริมกิจการพิเศษธรรมศาสตร์ อีอีซี โดยต้องการผลักดันให้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานภายในเดือน พ.ย.นี้
ทั้งนี้ ต้องการจัดตั้งเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ (เมดิคอลฮับ) เพื่อเชื่อมกับข้อมูลบิ๊กดาต้า ขยายไปสู่การเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมขั้นสูงอื่นๆ โดยใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ตั้งอยู่ที่ จ.ชลบุรี แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้ง และระยะที่ 2 จัดทำแผนแม่บทการดำเนินงานขับเคลื่อน ซึ่งจะแบ่งการลงทุนเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรกใช้เงินลงทุน 2,600 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อาคารของโรงพยาบาล เริ่มก่อสร้างปี 2562 และอาคารส่วนขยายของคณะแพทยศาสตร์ เริ่มก่อสร้างปี 2563 และการลงทุนช่วงที่ 2 คือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และครุภัณฑ์การศึกษาใช้เงินลงทุน 2,400 ล้านบาท
"เบื้องต้นรัฐจะลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยจะของบทางอีอีซี หากประสบความสำเร็จจะมีเอกชนมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท" นางเกศินี กล่าว
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ