อัพเดตความก้าวหน้าอีอีซี 5เขตส่งเสริม-8แผนพัฒนา
Loading

อัพเดตความก้าวหน้าอีอีซี 5เขตส่งเสริม-8แผนพัฒนา

วันที่ : 18 ตุลาคม 2561
การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซีในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้มีการประกาศเขตส่งเสริม ใน 5 พื้นที่
         สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

         การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซีในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้มีการประกาศเขตส่งเสริม ใน 5 พื้นที่ ประกอบด้วย 1.เขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก :  เมืองการบินภาคตะวันออก  ตั้งอยู่บนพื้นที่ 6,500 ไร่ บริเวณสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาเพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นศูนย์กลางการบิน เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารในอีก 5 ปีข้างหน้า ที่คาดว่าจะมีมากถึง 15 ล้านคนต่อปี และจะเพิ่มความสามารถในการรองรับเป็น 35 ล้านคนต่อปีในอีก 10ปี และ 60 ล้านคนต่อปีในอีก 15 ปีข้างหน้า

          2.เขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ตั้งอยู่ในบริเวณวังจันทร์วัลเล่ย์ จ.ระยอง พื้นที่ 3,000ไร่ และบริเวณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 120 ไร่ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมและชุมชนด้วยการพัฒนาวิจัยและนวัตกรรม

          3.เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ตั้งอยู่ที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี บนพื้นที่ 709 ไร่ เพื่อขยายและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ด้านดิจิทัลรองรับการเป็นศูนย์กลางข้อมูล (Data Hub) ของอาเซียน 4.นิคมอุตสาหกรรม Smart Park  อยู่ที่จ.ระยอง ครอบคลุมพื้นที่ 1,466ไร่ 5.นิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด 4  อยู่ที่ จ.ระยอง ครอบคลุมพื้นที่ 1,900 ไร่

          นอกจากนี้ยังได้อนุมัติโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาระบบราง (รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ส่วนปัจจุบันและส่วนต่อขยาย และรถไฟฟ้าสายสีแดง) เพื่อเชื่อมโยง 3 สนามบิน ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา และการพัฒนา ท่าเรือน้ำลึกหลัก 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 และท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ทั้งยังมีการการพัฒนาโครงข่ายรถไฟเชื่อมโยง 3 ท่าเรือ และพัฒนาระบบการจัดการขนส่งแบบบูรณาการทั้งรถไฟ และท่าเรือแบบไร้รอยต่อ (Seamless Operation) ซึ่งเป็นโครงการหลัก ของอีอีซี ที่ต้องการยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์การทางเศรษฐกิจระดับโลก

          ทั้งนี้ ยังได้ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการในการ ร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ.2560 (EEC Track) เพื่อให้การลงทุนในอีอีซีสามารถทำงานได้คล่องตัวขึ้น โดยเริ่มนำร่อง ใน 6 โครงการสำคัญ ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ภาคตะวันออก (Aerotropolis) 2.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา) 3. โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด (เฟส 3) 4.โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (เฟส 3) 5. โครงการ ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา 6.เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)

          ขณะเดียวกันได้เห็นชอบกรอบการพัฒนาพื้นที่อีอีซีอีก 8 แผนงานย่อย ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่การพัฒนาศูนย์กลางการเงินการพัฒนา บุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยีการพัฒนาเมืองใหม่ ฉะเชิงเทรา-พัทยา-ระยอง การประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจกับ ประชาชนในพื้นที่แผนปฏิบัติการการเกษตร ชลประทานและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อีอีซี
          รวมทั้งยังมีการเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัยและเทคโนโลยี (พ.ศ.2560-2564) และอนุมัติงบประมาณ จากงบกลางปี 2561 สำหรับโครงการเร่งด่วนที่มีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรฯ ในกรอบวงเงิน 861.02 ล้านบาท
 
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ