สถานการณ์ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่ช่วงของการฟื้นตัวคาดการณ์หน่วยขายได้ใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1
วันที่ : 14 มีนาคม 2567
รายงานสถานการณ์ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ระหว่างขายในช่วงครึ่งหลังปี 2566 ของจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี และมหาสารคาม พบว่า จำนวนหน่วยเหลือขายในช่วงครึ่งหลังปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ขณะที่อัตราดูดซับของภาพรวมตลาดอยู่ที่ร้อยละ 2.7 ต่ำลงเล็กน้อยจากปี 2565
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานสถานการณ์ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ระหว่างขายในช่วงครึ่งหลังปี 2566 ของจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี และมหาสารคาม พบว่า จำนวนหน่วยเหลือขายในช่วงครึ่งหลังปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ขณะที่อัตราดูดซับของภาพรวมตลาดอยู่ที่ร้อยละ 2.7 ต่ำลงเล็กน้อยจากปี 2565 REIC คาดการณ์ ปี 2567 จะมีที่อยู่อาศัยเข้ามาในตลาดจำนวน 4,860 หน่วย มูลค่า 20,402 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยขายได้ใหม่ 5,094 หน่วย มูลค่า 19,262 ล้านบาท มีหน่วยเหลือขาย 11,419 หน่วย มูลค่า 41,932 ล้านบาท โดยภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่สำรวจเข้าสู่ช่วงของการฟื้นตัว โดยคาดการณ์หน่วยขายได้ใหม่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 อัตราดูดซับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะในกลุ่มโครงการอาคารชุด
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า การสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ครึ่งหลังปี 2566 พบว่า จำนวนอุปทานพร้อมขายจำนวนประมาณ 13,866 หน่วย มูลค่า 51,714 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นโครงการอาคารชุด 2,782 หน่วย มูลค่า 8,856 ล้านบาท เป็นโครงการบ้านจัดสรร 11,084 หน่วย มูลค่า 42,858 ล้านบาท มีโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด 1,794 หน่วย มูลค่า 9,858 ล้านบาท มีโครงการขายได้ใหม่จำนวน 2,213 หน่วย มูลค่า 8,104 ล้านบาท ส่งผลให้มีหน่วยเหลือขาย 11,653 หน่วย มูลค่า 43,611 ล้านบาท
“เมื่อเปรียบเทียบระหว่างตลาดที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขายของ 5 จังหวัดนี้ พบว่า จังหวัดนครราชสีมา และ ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีขนาดตลาดเป็นลำดับ 1 และ 2 ในทุกด้าน ดังจะเห็นได้จากจำนวนและสัดส่วนที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่มีการเสนอขายถึง 6,157 หน่วย (ร้อยละ 44.4) มูลค่า 26,340 ล้านบาท (ร้อยละ 50.9) และ 4,694 หน่วย (ร้อยละ 33.9) มูลค่า 14,872 ล้านบาท (ร้อยละ 28.8) ของหน่วยที่เสนอขายทั้งหมด ตามลำดับ แต่จังหวัดขอนแก่นมีการเปิดตัวโครงการใหม่มากที่สุด โดยเป็นบ้านจัดสรรและอาคารชุดรวม 736 หน่วย (ร้อยละ 41.0) มูลค่า 2,195 ล้านบาท (ร้อยละ 22.3) ทั้งนี้เป็นหน่วยบ้านจัดสรร 193 หน่วย (ร้อยละ 17.7) มูลค่า 1,154 ล้านบาท (ร้อยละ 24.0) และอาคารชุด 543 หน่วย (ร้อยละ 77.2) มูลค่า 1,040 ล้านบาท (ร้อยละ 20.6) โดยคิดเป็นร้อยละของจำนวนหน่วยและมูลค่าแยกตามประเภทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แต่จังหวัดขอนแก่นมีจำนวนหน่วยขายได้ใหม่สูงสุด 959 หน่วย (ร้อยละ 43.3) มูลค่า 2,469 ล้านบาท (ร้อยละ 30.5) โดยมีอัตราการดูดซับที่ร้อยละ 3.4 ต่อเดือน รองลงมาเป็นจังหวัดนครราชสีมา 841 หน่วย (ร้อยละ 38.0) มูลค่า 4,163 ล้านบาท (ร้อยละ 51.4) โดยมีอัตราการดูดซับที่ร้อยละ 2.3 ต่อเดือน ทั้งนี้ จังหวัดอุบลราชธานีมีอัตราดูดซับบ้านจัดสรรสูงสุดร้อยละ 2.6 และขอนแก่นมีอัตราดูดซับอาคารชุดสูงสุดร้อยละ 5.1”
อุปทานโดยรวม ในช่วงครึ่งหลังปี 2566 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั้งหมด จำนวน 13,866 หน่วย มูลค่า 51,714 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ร้อยละ 5.1 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ตามลำดับ โดยเป็น โครงการใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวนเพียง 1,794 หน่วย ลดลงร้อยละ -24.7 แต่มีมูลค่า 9,858 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่ที่อยู่อาศัยเหลือขาย ณ ครึ่งหลังปี 2566 จำนวน 11,653 หน่วย มูลค่า 43,611 ล้านบาท จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)
โดย 5 ทำเล ที่มีจำนวนหน่วยเหลือขายมากที่สุดใน 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ อันดับ 1 ทำเลจอหอ จำนวน 1,406 หน่วย มูลค่า 4,490 ล้านบาท อันดับ 2 ทำเลในเมืองนครราชสีมา จำนวน 1,034 หน่วย มูลค่า 4,451 ล้านบาท อันดับ 3 ทำเล ม.ขอนแก่น จำนวน 1,023 หน่วย มูลค่า 1,934 ล้านบาท อันดับ 4 ทำเลบ้านใหม่-โคกกรวด จำนวน 980 หน่วย มูลค่า 2,888 ล้านบาท อันดับ 5 ทำเลบ้านเป็ด จำนวน 835 หน่วย มูลค่า 4,097 ล้านบาท โดยระดับราคาที่มีหน่วยเหลือขายมากที่สุดคือ 2.01-3.00 ล้านบาท มีจำนวนถึง 3,591 หน่วย มูลค่า 9,413 ล้านบาท
อุปสงค์โดยรวม พบว่าในช่วงครึ่งหลังปี 2566 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ 2,213 หน่วย มูลค่า 8,104 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,553 หน่วย มูลค่า 5,917 ล้านบาท และอาคารชุดเพียง 660 หน่วย มูลค่า 2,187 ล้านบาท ซึ่งทำเลที่มีหน่วยขายได้สูงสุด 5 อันดับแรกคือ อันดับ 1 ม.ขอนแก่น จำนวน 525 หน่วย มูลค่า 860.3 ล้านบาท อันดับ 2 จอหอ จำนวน 208 หน่วย มูลค่า 706 ล้านบาท อันดับ 3 หัวทะเล จำนวน 160 หน่วย มูลค่า 421.5 ล้านบาท อันดับ 4 บ้านเป็ด จำนวน 140 หน่วย มูลค่า 643.4 ล้านบาท และอันดับ 5 นิคมลำตะคอง จำนวน 136 หน่วย มูลค่า 781.4 ล้านบาท...
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า การสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ครึ่งหลังปี 2566 พบว่า จำนวนอุปทานพร้อมขายจำนวนประมาณ 13,866 หน่วย มูลค่า 51,714 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นโครงการอาคารชุด 2,782 หน่วย มูลค่า 8,856 ล้านบาท เป็นโครงการบ้านจัดสรร 11,084 หน่วย มูลค่า 42,858 ล้านบาท มีโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด 1,794 หน่วย มูลค่า 9,858 ล้านบาท มีโครงการขายได้ใหม่จำนวน 2,213 หน่วย มูลค่า 8,104 ล้านบาท ส่งผลให้มีหน่วยเหลือขาย 11,653 หน่วย มูลค่า 43,611 ล้านบาท
“เมื่อเปรียบเทียบระหว่างตลาดที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขายของ 5 จังหวัดนี้ พบว่า จังหวัดนครราชสีมา และ ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีขนาดตลาดเป็นลำดับ 1 และ 2 ในทุกด้าน ดังจะเห็นได้จากจำนวนและสัดส่วนที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่มีการเสนอขายถึง 6,157 หน่วย (ร้อยละ 44.4) มูลค่า 26,340 ล้านบาท (ร้อยละ 50.9) และ 4,694 หน่วย (ร้อยละ 33.9) มูลค่า 14,872 ล้านบาท (ร้อยละ 28.8) ของหน่วยที่เสนอขายทั้งหมด ตามลำดับ แต่จังหวัดขอนแก่นมีการเปิดตัวโครงการใหม่มากที่สุด โดยเป็นบ้านจัดสรรและอาคารชุดรวม 736 หน่วย (ร้อยละ 41.0) มูลค่า 2,195 ล้านบาท (ร้อยละ 22.3) ทั้งนี้เป็นหน่วยบ้านจัดสรร 193 หน่วย (ร้อยละ 17.7) มูลค่า 1,154 ล้านบาท (ร้อยละ 24.0) และอาคารชุด 543 หน่วย (ร้อยละ 77.2) มูลค่า 1,040 ล้านบาท (ร้อยละ 20.6) โดยคิดเป็นร้อยละของจำนวนหน่วยและมูลค่าแยกตามประเภทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แต่จังหวัดขอนแก่นมีจำนวนหน่วยขายได้ใหม่สูงสุด 959 หน่วย (ร้อยละ 43.3) มูลค่า 2,469 ล้านบาท (ร้อยละ 30.5) โดยมีอัตราการดูดซับที่ร้อยละ 3.4 ต่อเดือน รองลงมาเป็นจังหวัดนครราชสีมา 841 หน่วย (ร้อยละ 38.0) มูลค่า 4,163 ล้านบาท (ร้อยละ 51.4) โดยมีอัตราการดูดซับที่ร้อยละ 2.3 ต่อเดือน ทั้งนี้ จังหวัดอุบลราชธานีมีอัตราดูดซับบ้านจัดสรรสูงสุดร้อยละ 2.6 และขอนแก่นมีอัตราดูดซับอาคารชุดสูงสุดร้อยละ 5.1”
อุปทานโดยรวม ในช่วงครึ่งหลังปี 2566 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั้งหมด จำนวน 13,866 หน่วย มูลค่า 51,714 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ร้อยละ 5.1 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ตามลำดับ โดยเป็น โครงการใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวนเพียง 1,794 หน่วย ลดลงร้อยละ -24.7 แต่มีมูลค่า 9,858 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่ที่อยู่อาศัยเหลือขาย ณ ครึ่งหลังปี 2566 จำนวน 11,653 หน่วย มูลค่า 43,611 ล้านบาท จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)
โดย 5 ทำเล ที่มีจำนวนหน่วยเหลือขายมากที่สุดใน 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ อันดับ 1 ทำเลจอหอ จำนวน 1,406 หน่วย มูลค่า 4,490 ล้านบาท อันดับ 2 ทำเลในเมืองนครราชสีมา จำนวน 1,034 หน่วย มูลค่า 4,451 ล้านบาท อันดับ 3 ทำเล ม.ขอนแก่น จำนวน 1,023 หน่วย มูลค่า 1,934 ล้านบาท อันดับ 4 ทำเลบ้านใหม่-โคกกรวด จำนวน 980 หน่วย มูลค่า 2,888 ล้านบาท อันดับ 5 ทำเลบ้านเป็ด จำนวน 835 หน่วย มูลค่า 4,097 ล้านบาท โดยระดับราคาที่มีหน่วยเหลือขายมากที่สุดคือ 2.01-3.00 ล้านบาท มีจำนวนถึง 3,591 หน่วย มูลค่า 9,413 ล้านบาท
อุปสงค์โดยรวม พบว่าในช่วงครึ่งหลังปี 2566 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ 2,213 หน่วย มูลค่า 8,104 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,553 หน่วย มูลค่า 5,917 ล้านบาท และอาคารชุดเพียง 660 หน่วย มูลค่า 2,187 ล้านบาท ซึ่งทำเลที่มีหน่วยขายได้สูงสุด 5 อันดับแรกคือ อันดับ 1 ม.ขอนแก่น จำนวน 525 หน่วย มูลค่า 860.3 ล้านบาท อันดับ 2 จอหอ จำนวน 208 หน่วย มูลค่า 706 ล้านบาท อันดับ 3 หัวทะเล จำนวน 160 หน่วย มูลค่า 421.5 ล้านบาท อันดับ 4 บ้านเป็ด จำนวน 140 หน่วย มูลค่า 643.4 ล้านบาท และอันดับ 5 นิคมลำตะคอง จำนวน 136 หน่วย มูลค่า 781.4 ล้านบาท...
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
PRESS RELEASE อื่นๆ