ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 3 ปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ -9.6
Loading

ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 3 ปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ -9.6

วันที่ : 10 ตุลาคม 2566
หมวดราคาวัสดุก่อสร้างที่ลดลงมี 4 รายการ ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สุขภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตและอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลงมากที่สุดถึงประมาณร้อยละ -9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี (YoY)
ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 3 ปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีค่าดัชนีเท่ากับ 134.2 ปัจจัยที่สำคัญมาจากค่าตอบแทนในหมวดงานออกแบบก่อสร้างและงานระบบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ขณะที่เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กราคาลดลงร้อยละ -9.6  

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 3 ปี 2566 มีค่าดัชนีเท่ากับ 134.2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2566 (QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นนั้นมาจากค่าตอบแทนในหมวดงานออกแบบก่อสร้างและงานระบบ ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในหมวดงานสถาปัตยกรรมร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่หมวดงานวิศวกรรมโครงสร้าง ลดลงร้อยละ -2.6 และ หมวดงานระบบสุขาภิบาล ลดลงร้อยละ -1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY)  

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า หมวดราคาวัสดุก่อสร้างที่ลดลงมี 4 รายการ ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สุขภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตและอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลงมากที่สุดถึงประมาณร้อยละ -9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี (YoY) โดยเป็นผลมาจากราคาตลาดโลกที่เริ่มมีการปรับตัวลดลงตามอุปสงค์และอุปทานของเหล็ก เนื่องจากมีปริมาณเหล็กส่วนเกินจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ในจีนที่ส่งผลให้อุปสงค์ของเหล็กภายในประเทศจีนลดลง ทำให้มีอุปทานเหล็กส่วนเกินจากจีนบางส่วนมีการระบายสต๊อกมาที่ประเทศไทยมากขึ้น และราคาน้ำมันดีเซลต่ำลง ซึ่งมีผลต่อต้นทุนการผลิตและราคาวัสดุก่อสร้างหมวดต่าง ๆ จึงส่งผลให้ราคาเหล็กในประเทศไทยลดลง ขณะที่ดัชนีราคาหมวดกระเบื้อง ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้  และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้าวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นทั้งจาก ราคาวัตถุดิบและค่าดำเนินการที่สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ส่วนหมวดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ดูแผนภูมิที่ 1 - 2) เมื่อพิจารณาจำแนกต้นทุนของงานก่อสร้างในแต่ละหมวด พบว่า...
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่