มาตรการรัฐดันธุรกิจอสังหาฯคึก HBA มั่นใจกำลังซื้อ-ยอดสั่งสร้างบ้านฟื้นตัว
Loading

มาตรการรัฐดันธุรกิจอสังหาฯคึก HBA มั่นใจกำลังซื้อ-ยอดสั่งสร้างบ้านฟื้นตัว

วันที่ : 17 เมษายน 2567
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ระบุว่า มาตรการที่ออกมาครอบคลุมทั้งด้านการขยายกรอบลดค่าโอนและค่าจดจำนองให้เหลือ 0.01% ที่ครอบคลุมไปถึงบ้านไม่เกิน 7 ล้านบาท และการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในทุกด้านให้ผู้ประกอบการได้มากขึ้นในไตรมาสที่เหลืออีก 3 ไตรมาสนี้
         ตลาดที่อยู่อาศัยเป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ความเคลื่อนไหวของการซื้อขายตลาดที่อยู่อาศัยจึงมีผลต่อการหมุนเวียนของเงินในระบบเป็นสัดส่วนกว่า 10% ของ GDP การเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 นับเป็นการส่งสัญญาณในทางบวกให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น วัสดุก่อสร้าง ไปจนถึงผู้บริโภคได้มีบ้านเป็นของตัวเองง่ายขึ้น

          ซึ่ง วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC ระบุว่า มาตรการที่ออกมาครอบคลุมทั้งด้านการขยายกรอบลดค่าโอนและค่าจดจำนองให้เหลือ 0.01% ที่ครอบคลุมไปถึงบ้านไม่เกิน 7 ล้านบาท และการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในทุกด้านให้ผู้ประกอบการได้มากขึ้นในไตรมาสที่เหลืออีก 3 ไตรมาสนี้ ทั้งการลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ ยอดขาย และผลประกอบการโดยรวมอย่างแน่นอน

          ขณะที่ อภิชาติ เกษมกุลศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) มองว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ไม่ใช่การช่วยผู้ประกอบการอสังหาฯ แต่เป็นการสร้างฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศให้เติบโต โดยประมาณการว่าทุกๆ 1% ของการเติบโตภาคอสังหาฯ จะมีผลต่อการเติบโตของ GDP ไม่น้อยกว่า 0.06%

         "ผมเชื่อว่ามาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ที่ออกมาจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะมาตรการด้านสินเชื่อและมาตรการลดหย่อนภาษีให้กับผู้ประกอบการ สำหรับบ้านบีโอไอ ทำให้คนไทยมีบ้านที่มีคุณภาพได้มากขึ้น ซึ่ง LPN พร้อมสนับสนุนมาตรการของรัฐบาล โดยเฉพาะการสร้างบ้านบีโอไอ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งให้คนไทยมีบ้าน" อภิชาติกล่าว

           เช่นเดียวกับ พีระพงศ์ จรูญเอก นายกสมาคมอาคารชุดไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ระบุว่า มาตรการที่ ครม.มีมติเห็นชอบออกมานั้นจะช่วยเพิ่มมูลค่าการซื้อขายอสังหาฯ ได้ประมาณ 8 แสนล้านบาท และมีการลงทุนในอสังหาฯ อีก 4-5 แสนล้านบาท อีกทั้งยังมีผลต่อการกระตุ้น การใช้จ่าย 1.2 แสนล้านบาท จากมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน

           และยังช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อีกประมาณ 1.7-1.8% โดยมาตรการที่จะเห็นผลได้อย่างชัดเจนคือ การเพิ่มเพดานราคาที่อยู่อาศัยจาก 3 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 7 ล้านบาท และการลดค่าจดทะเบียนการโอน-การจดจำนอง เนื่องจากที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 7 ล้านบาทมีสัดส่วนเกินกว่า 85% ของการซื้อขายที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ ทั้งที่อยู่อาศัยมือหนึ่งและมือสอง ส่งผลต่อการเร่งตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในสภาวะตลาดทรงตัวเช่นนี้ ตลอดจนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของตนเองได้ง่ายขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลดีกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก

           ด้านตลาดรับสร้างบ้าน ภาวะยอดขายชะลอตัวไปในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโดยรวม อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูง และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ส่งผลให้ตลาดรับสร้างบ้านไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ในสภาวะค่อนข้างซึม แม้ที่ผ่านมานั้นจะมีการกระตุ้นการรับรู้และสร้างยอดขาย โดยในงานรับสร้างบ้านและวัสดุ Focus 2024 ที่จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 17-25 กุมภาพันธ์ 2567 พบว่ายังมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ชะลอการตัดสินใจออกไปก่อน เนื่องจากรอสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เป้าหมายยอดสั่งสร้างบ้านภายในงานไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้

           ตลาดรับสร้างบ้าน Q2 ฟื้นตัว

           แต่หลังจากมีมาตรการกระตุ้นตลาดจากภาครัฐ วรวุฒิ กาญจนกูล กรรมการกิตติมศักดิ์ มาตรการรัฐดันธุรกิจอสังหาฯคึก HBAมั่นใจกำลังซื้อ-ยอดสั่งสร้างบ้านฟื้นตัว

            นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกของตลาดรับสร้างบ้านที่ได้รับมาตรการลดหย่อนภาษีปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง โดยมาตรการ "สร้างบ้านลดหย่อนภาษี ล้านละหมื่น" เป็นการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่ปลูกสร้างบ้านขึ้นใหม่ไม่เกิน 1 หลัง ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้านที่บริษัทรับสร้างบ้านได้เสียอากรแสตมป์ โดยวิธีการชำระอากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Online) ไว้กับสรรพากร โดยต้องเซ็นสัญญาและเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ค่าก่อสร้างตามสัญญาจะเป็นเท่าไรก็ได้ แต่ผู้บริโภคจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ล้านละ 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ตามที่จ่ายจริง ดูจากใบกำกับภาษีที่ได้รับจากบริษัทรับสร้างบ้าน โดยผู้บริโภคจะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีในปีภาษีถัดไปจากปีที่ก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จ

          "มาตรการดังกล่าวส่งผลดีกับผู้บริโภคที่วางแผนปลูกสร้างบ้านบนที่ดินตัวเอง จะสามารถลดภาระลง โดยสามารถนำเงินที่ว่าจ้างก่อสร้างมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจะช่วยให้ตัดสินใจเร็วขึ้น จากเดิมที่มีบางส่วนชะลอการตัดสินใจไปเนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงร้านค้า บริษัทวัสดุก่อสร้างที่มียอดขายเพิ่มขึ้น และส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐจาก VAT 7% ทั้งในรูปแบบของการซื้อวัสดุก่อสร้างต่างๆ และผู้รับจ้างสร้างบ้าน เป็นต้น" วรวุฒิ กล่าว

           เร่งกลยุทธ์ตลาดเสริมทัพ

            วรวุฒิ กล่าวว่า ช่วงระยะเวลาของมาตรการภาครัฐนั้นจะเริ่มมีผล 9 เมษายน 2567 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้นจึงเป็นตัวเร่งให้ตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 2 ขยายตัวมากขึ้น ผู้ประกอบการต้องเร่งวางกลยุทธ์ทางการตลาดรองรับ นอกจากนี้การพัฒนาแคมเปญการตลาดและโปรโมชั่นส่งเสริมการขายที่ดึงดูดจะสร้างการรับรู้ในกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น รวมถึงการวางแผนใช้สื่อในช่องทางที่หลากหลาย ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงผู้บริโภค และการพิจารณาสถานที่จัดงานที่เหมาะสมและง่ายต่อการเดินทางไปร่วมงาน

           "สมาคมได้สนับสนุนงบประมาณให้กับสมาชิกรายกลางและรายเล็กที่อาจจะไม่มีทุนมากพอได้มีช่องทางการออกบูธให้มากขึ้น เป็นการกระตุ้นที่เกิดประโยชน์ ทั้งภาพรวมของงานที่มีสีสันและดึงความสนใจของผู้เข้าชมงานได้ ขณะที่ผู้บริโภคที่วางแผนสร้างบ้านจะมีทางเลือกที่หลากหลายทั้งแบบบ้านและระดับราคา" วรวุฒิ กล่าว

            รีโนเวท ตลาดใหม่มีแววรุ่ง

             นายวรวุฒิ กล่าวว่า ธุรกิจรับสร้างบ้านนอกจากรับสร้างบ้านใหม่บนที่ดินตัวเองให้กับลูกค้าแล้ว อีกแนวทางที่น่าสนใจอย่างมากก็คือ ตลาดรีโนเวท ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และกระจายอยู่ในหลายทำเล ทั้งกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ซึ่งข้อดีของการรับงานรีโนเวทอยู่ที่ไม่ใช้งบลงทุนเยอะ ทำเสร็จเร็ว เก็บเงินได้เร็ว ช่วยหารายได้เข้าบริษัทได้อีกทางหนึ่ง และมีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมากตามดีมานด์ของตลาดบ้านมือสอง

             คุมต้นทุนก่อสร้างบ้าน

            นอกจากกลยุทธ์ทางการตลาดแล้ว อีกปัจจัยสำคัญของธุรกิจรับสร้างบ้านก็คือ ต้นทุน ที่ควรดำเนินการอย่างรัดกุม โดยเฉพาะคอนกรีตและเหล็กที่ปรับราคาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับแรงงานที่วันนี้มีเพียงพอต่อการรับยอดสั่งสร้างบ้านที่เพิ่มขึ้น

           "ราคาน้ำมันสูงขึ้น วัสดุเหล็กเส้นปรับราคา ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ธุรกิจต้องรับมือให้ได้ โดยเฉพาะต้นทุนวัสดุก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้น เหล็กขึ้นราคาไปแล้ว 5-10% ซึ่งบริษัทรับสร้างบ้านพยายามรักษาระดับราคาเดิมเอาไว้ ไม่ปรับขึ้น แม้จะมีปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนสร้างบ้านเพิ่มขึ้นก็ตาม" วรวุฒิ กล่าว

ดังนั้น มาตรการภาครัฐที่ออกมากระตุ้นช่วยให้เศรษฐกิจ ธุรกิจเอกชน และผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นเมื่อดำเนินการไปพร้อมกันกับการเสริมกลยุทธ์การตลาดและส่งเสริมการขายของสมาคม นับเป็น 2 ตัวเร่งที่ส่งผลให้ภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านในไตรมาส 2 รวมถึงอีก 2 ไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 ขยายตัวเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้.

         "มาตรการดังกล่าวส่งผลดีกับผู้ บริโภคที่วางแผนปลูกสร้างบ้านบนที่ดินตัวเอง จะสามารถลดภาระลง โดยสามารถนำเงินที่ว่าจ้างก่อสร้างมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจะช่วยให้ตัดสินใจเร็วขึ้น จากเดิมที่มีบางส่วนชะลอการตัดสินใจไปเนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงร้านค้า บริษัทวัสดุก่อสร้างที่มียอดขายเพิ่มขึ้น และส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐจาก VAT 7% ทั้งในรูปแบบของการซื้อวัสดุก่อสร้างต่างๆ และผู้รับจ้างสร้างบ้าน เป็นต้น"
 
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ