คลังชี้ห้องชุด-คอนโด ปล่อยให้ผู้อื่นเช่าต่อ เสียภาษีเท่าที่อาศัย
วันที่ : 25 ธันวาคม 2562
ปลัดคลังแจงผู้ถือครอง ห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม จะเสียภาษีในอัตราเดียวกันกับที่อยู่อาศัย แม้ห้องชุด ดังกล่าวจะนำไปให้เช่าต่อก็ตาม โดยคลังจะแจ้งไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้ทราบแนวปฏิบัติดังกล่าว เตรียมเสนอระดับนโยบายพิจารณาโครงสร้างภาษีใหม่มกรา 63
ปลัดคลังแจงผู้ถือครอง ห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม จะเสียภาษีในอัตราเดียวกันกับที่อยู่อาศัย แม้ห้องชุด ดังกล่าวจะนำไปให้เช่าต่อก็ตาม โดยคลังจะแจ้งไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้ทราบแนวปฏิบัติดังกล่าว เตรียมเสนอระดับนโยบายพิจารณาโครงสร้างภาษีใหม่มกรา 63
นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำหนดให้ห้องชุด หรือคอนโดมิเนียมถือเป็นประเภทที่อยู่อาศัย ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ แม้ว่า ห้อง ชุดดังกล่าวจะนำไปให้เช่าต่อ โดยให้เสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย
ทั้งนี้ กรณีบ้านอยู่อาศัย กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยกเว้นมูลค่าบ้านและที่ดิน ที่ไม่เกิน50ล้านบาทในกรณีที่เป็นเจ้าของบ้านมากกว่า1หลัง บ้านหลังที่สองจะมีภาระภาษีตั้งแต่มูลค่าบ้านและที่ดินบาทแรก โดยอัตราภาษีคิดตามขั้นบันได มูลค่ามากเสียภาษีมาก โดยภาษีขั้นแรก อยู่ที่ 0.02% หรือล้านละ 200 บาท แต่หากคอนโดที่ให้เช่าถูกตีความว่าเป็นการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จะต้องจ่ายภาษีขั้นแรกที่ 0.3% หรือล้านละ 3 พันบาท
นายประสงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ มีความกังวลจากประชาชนต้องเสียภาษีที่ดิน โดยเฉพาะผู้ที่ถือครองคอนโดมิเนียม ซึ่งได้รับหนังสือแจ้งให้ไปเสียภาษี โดยระบุว่าต้องเสีย ภาษีในลักษณะที่ดินอื่นๆ หรือเชิงพาณิชย์ ถ้าไม่ต้องการเสียภาษีเชิงพาณิชย์ต้องไปแจ้งว่าเป็นบ้านที่พักอาศัย ทั้งนี้ หากถูกระบุว่าเป็นประเภทอื่นๆ ต้องเสียภาษีล้านละ 3,000 บาท แต่ถ้าเป็นบ้านพักอาศัยหลังแรกได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าเป็นหลังที่2เป็นต้นไปจะเสียภาษีล้านละ 200 บาท
"ในเรื่องนี้กระทรวงการคลังรับทราบความกังวลของประชาชนผู้เสียภาษีแล้ว และได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ไปหารือกับกทม.และกระทรวงมหาดไทย เพื่อหาทางออกดังกล่าว เพราะมองว่า คอนโดมิเนียมทุกห้องไม่ควรต้องเสียภาษีในลักษณะเชิงพาณิชย์ แม้จะมีการนำไปให้เช่าต่อเพื่ออยู่อาศัยก็ตาม"
ส่วนกรณีผู้ถือครองที่ดินจำนวนมาก เช่น เป็นหมื่นไร่ เป็นแสนไร่ มีการตีความว่าต้องเสียภาษีในเชิงพาณิชย์หากนำไปปล่อยเช่า โดยมองว่า กรณีดังกล่าวหากให้เช่าที่ดินเพื่อไปใช้ในทางเกษตร ควรคิดภาษีในอัตราของที่ดินเกษตร ไม่ใช่ที่ดินเพื่อพาณิชย์ ซึ่งในการเก็บภาษีอยากให้ดูการใช้ประโยชน์สุดท้ายของที่ดินมากกว่าว่า เป็นการใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย หรือเกษตร
สำหรับสิ่งปลูกสร้างให้ดูกฎหมายขออนุญาตสิ่งปลูกสร้างระบุถึงวัตถุประสงค์ในการขออนุญาตไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นที่พักอาศัย หรือเชิงพาณิชย์ ให้เช่า เช่น หอพัก อพาร์ตเมนต์ โรงแรม ดังนั้น หากพบคอนโดมิเนียมใช้ผิดประเภทนำไปทำโรงแรม นำไปทำหอพักให้เช่า ต้องให้แจ้งเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้ เพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง
เขาระบุว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนำมาใช้ คือ ต้องการเกิดการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ในที่ดิน และให้เกิดความสะดวก ง่าย ต้องไม่สร้างภาระกับผู้เสียและผู้เก็บภาษี ดังนั้น ในระหว่างที่เลื่อนการจัดเก็บภาษีจากเดือนเม.ย.2563เป็นเดือนส.ค.2563นั้น มอบให้กระทรวงการคลังไปทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
"แม้ว่ากทม.จะเปิดให้เจ้าของคอนโดมิเนียมไปแจ้งได้ว่าเป็นที่พักอาศัยเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีเชิงพาณิชย์แต่ ผมมองว่า ทำไมต้องไปเพิ่มขั้นตอนให้ยุ่งยากขนาดนั้น เพราะแม้ว่าคอนโดมิเนียมแม้จะปล่อยเช่าหากเป็นการเช่าเพื่อพักอาศัยต้องเสียในอัตราของที่อยู่อาศัย ยกเว้นนำไปใช้วัตถุประสงค์อื่นเช่นโรงแรม หอพักต้องแจ้งขอเปลี่ยนประเภท"
เขากล่าวอีกว่า ในกฎหมายคอนโดมิเนียมนั้น ไม่อนุญาตให้ดำเนินการเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ในการเก็บภาษีน่าจะชัดเจน ยกเว้นหากนำไปเป็นร้านอาหาร เป็นร้านสะดวกซื้อ ตรงนี้สามารถเก็บภาษีในเชิงพาณิชย์ได้ ขณะนี้ มีความสับสนในเรื่องการเก็บภาษีดังกล่าวพอสมควร ดังนั้นกระทรวง การคลังต้องเร่งชี้แจ้งเพื่อให้ ผู้เสียภาษี รวมทั้ง ผู้ที่ต้องทำหน้าที่เก็บภาษี คือ กทม.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน
สำหรับความคืบหน้าการปรับโครงสร้างภาษีเขากล่าวว่า คงยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เพราะข้อสรุปจากคณะทำงานจะต้องนำไปหารือกับนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในช่วงต้นปี 2563 เพื่อให้ตัดสินใจว่า จะเลือกแนวทางใด ทั้งในเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่พรรคพลังประชารัฐเคยหายเสียงไว้ว่าละลดให้10%นั้น ในการหาเสียงไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะลดอย่างไร ดังนั้น คณะทำงานต้องเสนอถึงแนวทางการปรับลดว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง ซึ่งแต่ละแนวทางกระทบต่อการจัดเก็บรายได้แตกต่างกัน
นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำหนดให้ห้องชุด หรือคอนโดมิเนียมถือเป็นประเภทที่อยู่อาศัย ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ แม้ว่า ห้อง ชุดดังกล่าวจะนำไปให้เช่าต่อ โดยให้เสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย
ทั้งนี้ กรณีบ้านอยู่อาศัย กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยกเว้นมูลค่าบ้านและที่ดิน ที่ไม่เกิน50ล้านบาทในกรณีที่เป็นเจ้าของบ้านมากกว่า1หลัง บ้านหลังที่สองจะมีภาระภาษีตั้งแต่มูลค่าบ้านและที่ดินบาทแรก โดยอัตราภาษีคิดตามขั้นบันได มูลค่ามากเสียภาษีมาก โดยภาษีขั้นแรก อยู่ที่ 0.02% หรือล้านละ 200 บาท แต่หากคอนโดที่ให้เช่าถูกตีความว่าเป็นการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จะต้องจ่ายภาษีขั้นแรกที่ 0.3% หรือล้านละ 3 พันบาท
นายประสงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ มีความกังวลจากประชาชนต้องเสียภาษีที่ดิน โดยเฉพาะผู้ที่ถือครองคอนโดมิเนียม ซึ่งได้รับหนังสือแจ้งให้ไปเสียภาษี โดยระบุว่าต้องเสีย ภาษีในลักษณะที่ดินอื่นๆ หรือเชิงพาณิชย์ ถ้าไม่ต้องการเสียภาษีเชิงพาณิชย์ต้องไปแจ้งว่าเป็นบ้านที่พักอาศัย ทั้งนี้ หากถูกระบุว่าเป็นประเภทอื่นๆ ต้องเสียภาษีล้านละ 3,000 บาท แต่ถ้าเป็นบ้านพักอาศัยหลังแรกได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าเป็นหลังที่2เป็นต้นไปจะเสียภาษีล้านละ 200 บาท
"ในเรื่องนี้กระทรวงการคลังรับทราบความกังวลของประชาชนผู้เสียภาษีแล้ว และได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ไปหารือกับกทม.และกระทรวงมหาดไทย เพื่อหาทางออกดังกล่าว เพราะมองว่า คอนโดมิเนียมทุกห้องไม่ควรต้องเสียภาษีในลักษณะเชิงพาณิชย์ แม้จะมีการนำไปให้เช่าต่อเพื่ออยู่อาศัยก็ตาม"
ส่วนกรณีผู้ถือครองที่ดินจำนวนมาก เช่น เป็นหมื่นไร่ เป็นแสนไร่ มีการตีความว่าต้องเสียภาษีในเชิงพาณิชย์หากนำไปปล่อยเช่า โดยมองว่า กรณีดังกล่าวหากให้เช่าที่ดินเพื่อไปใช้ในทางเกษตร ควรคิดภาษีในอัตราของที่ดินเกษตร ไม่ใช่ที่ดินเพื่อพาณิชย์ ซึ่งในการเก็บภาษีอยากให้ดูการใช้ประโยชน์สุดท้ายของที่ดินมากกว่าว่า เป็นการใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย หรือเกษตร
สำหรับสิ่งปลูกสร้างให้ดูกฎหมายขออนุญาตสิ่งปลูกสร้างระบุถึงวัตถุประสงค์ในการขออนุญาตไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นที่พักอาศัย หรือเชิงพาณิชย์ ให้เช่า เช่น หอพัก อพาร์ตเมนต์ โรงแรม ดังนั้น หากพบคอนโดมิเนียมใช้ผิดประเภทนำไปทำโรงแรม นำไปทำหอพักให้เช่า ต้องให้แจ้งเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้ เพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง
เขาระบุว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนำมาใช้ คือ ต้องการเกิดการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ในที่ดิน และให้เกิดความสะดวก ง่าย ต้องไม่สร้างภาระกับผู้เสียและผู้เก็บภาษี ดังนั้น ในระหว่างที่เลื่อนการจัดเก็บภาษีจากเดือนเม.ย.2563เป็นเดือนส.ค.2563นั้น มอบให้กระทรวงการคลังไปทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
"แม้ว่ากทม.จะเปิดให้เจ้าของคอนโดมิเนียมไปแจ้งได้ว่าเป็นที่พักอาศัยเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีเชิงพาณิชย์แต่ ผมมองว่า ทำไมต้องไปเพิ่มขั้นตอนให้ยุ่งยากขนาดนั้น เพราะแม้ว่าคอนโดมิเนียมแม้จะปล่อยเช่าหากเป็นการเช่าเพื่อพักอาศัยต้องเสียในอัตราของที่อยู่อาศัย ยกเว้นนำไปใช้วัตถุประสงค์อื่นเช่นโรงแรม หอพักต้องแจ้งขอเปลี่ยนประเภท"
เขากล่าวอีกว่า ในกฎหมายคอนโดมิเนียมนั้น ไม่อนุญาตให้ดำเนินการเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ในการเก็บภาษีน่าจะชัดเจน ยกเว้นหากนำไปเป็นร้านอาหาร เป็นร้านสะดวกซื้อ ตรงนี้สามารถเก็บภาษีในเชิงพาณิชย์ได้ ขณะนี้ มีความสับสนในเรื่องการเก็บภาษีดังกล่าวพอสมควร ดังนั้นกระทรวง การคลังต้องเร่งชี้แจ้งเพื่อให้ ผู้เสียภาษี รวมทั้ง ผู้ที่ต้องทำหน้าที่เก็บภาษี คือ กทม.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน
สำหรับความคืบหน้าการปรับโครงสร้างภาษีเขากล่าวว่า คงยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เพราะข้อสรุปจากคณะทำงานจะต้องนำไปหารือกับนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในช่วงต้นปี 2563 เพื่อให้ตัดสินใจว่า จะเลือกแนวทางใด ทั้งในเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่พรรคพลังประชารัฐเคยหายเสียงไว้ว่าละลดให้10%นั้น ในการหาเสียงไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะลดอย่างไร ดังนั้น คณะทำงานต้องเสนอถึงแนวทางการปรับลดว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง ซึ่งแต่ละแนวทางกระทบต่อการจัดเก็บรายได้แตกต่างกัน
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ