ผุดโรจนะ2ดึงลงทุนอีอีซี
Loading

ผุดโรจนะ2ดึงลงทุนอีอีซี

วันที่ : 11 กรกฎาคม 2562
กนอ.ไฟเขียวผุดนิคมฯ โรจนะชลบุรี 2 รองรับลงทุน อีอีซี ฟุ้งไทย-เทศสนใจเพียบ คาดดูดเงินลงทุน 6,000 ล้านบาท เพิ่มการจ้างงานในพื้นที่ได้มากกว่า 10,000 อัตรา มั่นใจเปิดให้บริการได้ปี 64 ฟุ้งยอดลงทุนรวมใน 55 นิคมฯ ทะลุ 3.8 ล้านล้านบาท
          กนอ.ไฟเขียวผุดนิคมฯ โรจนะชลบุรี 2 รองรับลงทุน อีอีซี ฟุ้งไทย-เทศสนใจเพียบ คาดดูดเงินลงทุน 6,000 ล้านบาท เพิ่มการจ้างงานในพื้นที่ได้มากกว่า 10,000 อัตรา มั่นใจเปิดให้บริการได้ปี 64 ฟุ้งยอดลงทุนรวมใน 55 นิคมฯ ทะลุ 3.8 ล้านล้านบาท

          นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ได้ลงนามในสัญญาร่วมดำเนินงานจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโรจนะชลบุรี 2 (เขาคันทรง) ตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี บนพื้นที่กว่า 900 ไร่ มูลค่า การลงทุนรวม 2,100 ล้านบาท รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน อุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมการแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบครบวงจร อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร และอุตสาหกรรมเบา เป็นต้น

          ทั้งนี้ มีนักธุรกิจทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนอาทิ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านทำเลที่ตั้ง และความพร้อมด้านโลจิสติกส์ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นโครงข่ายทางด่วนมอเตอร์เวย์ ทางด่วนบางนาชลบุรี ท่าเรือแหลมฉบัง สนามบินแห่งชาติสุวรรณภูมิ สามารถกระจายสินค้าเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ทั้งยังเป็นพื้นที่เป้าหมายของรัฐบาลที่สามารถยื่นขอเป็นเขตส่งเสริมในพื้นที่อีอีซี เพิ่มการจ้างงานในพื้นที่ได้มากกว่า 10,000 อัตรา และดึงดูดการลงทุนเข้าไทยได้มากกว่า 6,000 ล้านบาท

          "นิคมอุตสาหกรรมโรจนะชลบุรี 2 (เขาคันทรง) ถือเป็นนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานที่เป็นพื้นที่การลงทุนใหม่ในภาคตะวันออกที่ได้ยื่นขอเป็นเขตส่งเสริมตามโครงการอีอีซีแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวด ล้อม หรือ EIA และเมื่อรายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้ว คาด ว่าจะใช้ระยะเวลาในการพัฒนาพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1 ปี โดยจะพร้อมเปิดรับนักลงทุนที่สนใจเข้าใช้พื้นที่ประกอบกิจการได้ในเชิงพาณิชย์ในราวปี 2564" นางสาวสมจิณณ์กล่าว

          นางสาวสมจิณณ์กล่าวว่า รูปแบบการจัดตั้งนิคมฯ จะให้ ความสำคัญในการพัฒนารอบ พื้นที่ทั้งหมดของโครงการตาม แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาห กรรมเชิงนิเวศ ประกอบด้วย พื้นที่สีเขียว พื้นที่แนวกันชนแบบเชิงนิเวศ หรือ Eco-Belt รวมถึงการออกแบบให้มีการบริหารจัดการด้านการบำบัดน้ำเสียให้สามารถนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วมาปรับปรุงคุณภาพ และนำไปใช้ประ โยชน์ภายในโครงการใหม่อีกครั้ง (Recycle) เพื่อลดอัตราการระบายน้ำทิ้งออกนอกพื้นที่ด้วย

          อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในไทย ขณะนี้มีการจัดตั้งนิคมฯ รวม 55 แห่งใน 16 จังหวัด มีพื้นที่ขาย/เช่าทั้งสิ้น 110,564 ไร่ มียอดขาย/เช่าแล้ว 89,149 ไร่ มีพื้นที่คงเหลือ 21,415 ไร่ เงินลงทุนสะสมปัจจุบันรวม 3.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2561 ที่มียอดรวมประมาณ 3 ล้านล้านบาท โดยเป็นพื้นที่  กนอ.ดำเนินการเอง 14 แห่ง เป็นนิคมฯ ร่วมดำเนินงาน 41 แห่ง มีผู้ประกอบการ 4,896 ราย อัตราการจ้างงาน 4.79 แสนคน
 

 

ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ