ทะลวงที่กลางกรุงลุยไฮสปีด สามเสน-พญาไทตร.ว.ละ2ล้าน
วันที่ : 13 มิถุนายน 2562
รฟท.ทะลวงที่กลางใจเมืองรอบสถานีรถไฟสามเสน-พญาไท จบธันวาคมนี้ ก่อนส่งมอบซีพี ลุยไฮสปีด 3 สนามบิน ทำเลรอบสถานีรถไฟสามเสน ทางหลวง-กรมธนารักษ์บ้านราชวิถี1-โรงเรียนสัตย์สงวน-สันติราษฎร์อำนวยศิลป์ บ้านเรือนประชาชนถูกกวาดเรียบ ขณะราคาที่ดินพุ่งปรี๊ด เฉียด 2 ล้านบาทต่อตารางวา ค่ายเอพีซื้อแพงทำสถิติใหม่-กลุ่มบีทีเอสเข็นที่ทำมิกซ์ยูส
รฟท.ทะลวงที่กลางใจเมืองรอบสถานีรถไฟสามเสน-พญาไท จบธันวาคมนี้ ก่อนส่งมอบซีพี ลุยไฮสปีด 3 สนามบิน ทำเลรอบสถานีรถไฟสามเสน ทางหลวง-กรมธนารักษ์บ้านราชวิถี1-โรงเรียนสัตย์สงวน-สันติราษฎร์อำนวยศิลป์ บ้านเรือนประชาชนถูกกวาดเรียบ ขณะราคาที่ดินพุ่งปรี๊ด เฉียด 2 ล้านบาทต่อตารางวา ค่ายเอพีซื้อแพงทำสถิติใหม่-กลุ่มบีทีเอสเข็นที่ทำมิกซ์ยูส
ภายหลังโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิอู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร มีมติเห็นชอบให้ผ่านรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ อีไอเอจากคณะกรรมการชำนาญการ (คชก.) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2562 และ เตรียมส่งเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในวันที่ 24 มิถุนายนคาดว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สามารถลงนามในสัญญากับกลุ่มซีพีผู้ชนะประมูลได้ราวต้นเดือนกรกฎาคมนี้
สำหรับความคืบหน้าการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ ทุบทิ้ง อาคาร สิ่งปลูกสร้าง จ่ายค่าชดเชยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงแอร์พอร์ตลิงค์ (ดอนเมือง-พญาไท) เดิม มีแผนลงทุน เชื่อมการเดินทางระหว่าง2 สนามบิน ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ โดยออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฏ.) เวนคืน ไปเมื่อ 4 ปีก่อนและจะหมดอายุลงในวันที่ 23 ธันวาคม 2562 นี้ เมื่อรัฐบาลชุดคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าบริหารประเทศ จึงรวบแอร์พอร์ตลิงค์ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ตามโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี มีผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืน 25 แปลง เนื้อที่ 7 ไร่ ขณะช่วงที่ 2 จะเวนคืนตั้งแต่ ลาดกระบังยาวไปถึงสนามบินอู่ตะเภา ปัจจุบันอยู่ระหว่างออกพ.ร.ฏ.เวนคืน 850 ไร่ ที่ดิน 1,262 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 250 แปลง ส่วน แอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงดอนเมือง-พญาไท ที่ดิน 25 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 21 แปลง
แหล่งข่าวจาก รฟท. ให้สัมภาษณ์ว่า ต้องเร่งเวนคืนช่วงแรกให้แล้วเสร็จพร้อมส่งมอบพื้นที่ให้ซีพีก่อนพ.ร.ฏ.หมดอายุ ไม่เช่นนั้นต้องตราพ.ร.ฏ.ขึ้นใหม่ โดยเฉพาะรอบสถานีรถไฟสามเสน ท้องที่เขตพญาไท จะเชื่อมต่อกับ สถานีพญาไทแอร์พอร์ตลิงค์ตัดกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว และสถานีมักกะสัน ส่วนที่ดินมักกะสัน ไม่มีปัญหาสามารถทยอยส่งมอบให้เอกชนตามกำหนดซึ่งที่ผ่านมาได้เคลียร์กับชุมชนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งกลุ่มซีพี ต้องการที่ดินแปลงนี้ เพื่อพัฒนา เป็นเมืองมิกซ์ยูส เช่า 50 ปี 50,000 ล้านบาท
สำหรับแนวเส้นทางแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงแรก เริ่มจากสนามบินดอนเมืองเชื่อมสถานีกลางบางซื่อ มุ่งหน้าสู่บริเวณสถานีสามเสน เขตพญาไท วิ่งชนสถานสงเคราะห์เด็กบ้านราชวิถี ,อาคารเก่าแก่ของกรมทางหลวง ,ตึกแถวเก่าของประชาชนยาวไปถึงโค้งยมราช แนวสายทางส่วนที่ 2 วิ่งตามเส้นทางรถไฟสายตะวันออกทะลุลาดกระบัง จุดเชื่อมแอร์พอร์ตลิงค์ บริเวณสถานีลาดกระบัง เฉือนมอเตอร์เวย์ ของกรมทางหลวงสาย 7 กรุงเทพฯชลบุรี ตัดเข้าสู่ทางเข้าสุวรรณภูมิขาออกเลี้ยวขวาบริเวณคู่ขนานแอร์พอร์ตลิงค์เดิม มุ่งหน้าไปฉะเชิงเทรา (เลี้ยวซ้ายไปพญาไท) เฉือนที่นาแปลงใหญของชาวบ้านก่อนเข้า สู่จังหวัดฉะเชิงเทรา 2 กิโลเมตร จากนั้นเบี่ยงซ้ายกวาดที่นาทำสถานีฉะเชิงเทราใหม่ ศูนย์ซ่อมบำรุง ครอบคลุมตำบลต่างๆ ได้แก่ ตำบลบางเตย, ตำบลวังตะเคียน ตำบลท่าไข่ ตำบลบางขวัญ และตำบลบางไผ่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ห่างจากสถานีเดิม 1 กิโลเมตร เพื่อลดการเวนคืนในลักษณะผ่าเมือง ยกระดับ ข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปสถานีชลบุรี ขยายเขตทางเวนคืนทำลานจอดรถ ปาดที่นาชาวบ้านบริเวณโค้งตำบลห้วยกะปิอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ให้เป็นมุมโค้งกว้าง 300 เมตร จากเดิมเขตทางแคบ ฝั่ง 20 และ 30 เมตรตามลำดับ แนวเส้นทางยังวิ่งต่อไปบริเวณตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ขยายโค้ง 270 เมตร เฉียดวัดและโรงเรียนวัดวังหิน กระทบหนักบ้านเรือนประชาชน จากนั้นมุ่งหน้ายาวไปยังสถานีพัทยา ขีดเขตทางเพิ่ม 180 เมตร ขยายโค้งบริเวณ ตำบลนาจอม เทียนสัตหีบ บริเวณบ้านนาจอมเทียนซอยนาจอมเทียน 7 กระทบบ้านเรือนประชาชน
อย่างไรก็ตาม ไฮสปีดเทรนยังคงวิ่งต่อไป ยังอ่างเก็บน้ำห้วยตู้ 2 ตำบลบางเสร่ตัดผ่านที่ดินของกรมชลประทาน พุ่งชนเขาชีจรรย์ พื้นที่ป่าสงวนของกรมป่าไม้ ใกล้สถานีรถไฟเขาชีจรรย์ ตำบลบางเสร่และตำบลพลูตาหลวง เจาะภูเขาทะลวงทำอุโมงค์ทางลอดระยะทาง 400 เมตร เนื่องจากทางลาดชันไม่สามารถทำความเร็ว เชื่อมเข้าอู่ตะเภา ที่ทหารกองทัพเรือ ซึ่งเป็นที่ดินที่ราชพัสดุ มุดใต้ดินยาว 7 กิโลเมตร โผล่เข้าสู่ใจกลางสนามบินอู่ตะเภารูปแบบเดียวกับสุวรรณภูมิ
นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทโมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนส์ จำกัด กล่าวว่า ราคาที่ดินบริเวณสามเสน 3 แสนบาทต่อตารางวา พญาไท 1 ล้านบาทต่อตารางวา และมักกะสัน 6 แสนบาทต่อตารางวา ขณะที่บมจ.เอพี(ไทยแลนด์) ซื้อทำเลพญาไท ราคา 1.8 ล้านบาทต่อตารางวาขณะที่กลุ่มบีทีเอสกรุ๊ป มีสะสมที่ดินพัฒนา โรงแรม มิกซ์ยูส เชื่อว่าหากรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ก่อสร้าง ทำเลย่านนี้จะบูมมาก ทั้งสามเสน พญาไท และมักกะสัน
"เชื่อว่าหากรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ก่อสร้างทำเลย่านนี้จะบูมมาก ทั้งสามเสน พญาไท และมักกะสัน"
ภายหลังโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิอู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร มีมติเห็นชอบให้ผ่านรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ อีไอเอจากคณะกรรมการชำนาญการ (คชก.) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2562 และ เตรียมส่งเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในวันที่ 24 มิถุนายนคาดว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สามารถลงนามในสัญญากับกลุ่มซีพีผู้ชนะประมูลได้ราวต้นเดือนกรกฎาคมนี้
สำหรับความคืบหน้าการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ ทุบทิ้ง อาคาร สิ่งปลูกสร้าง จ่ายค่าชดเชยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงแอร์พอร์ตลิงค์ (ดอนเมือง-พญาไท) เดิม มีแผนลงทุน เชื่อมการเดินทางระหว่าง2 สนามบิน ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ โดยออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฏ.) เวนคืน ไปเมื่อ 4 ปีก่อนและจะหมดอายุลงในวันที่ 23 ธันวาคม 2562 นี้ เมื่อรัฐบาลชุดคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าบริหารประเทศ จึงรวบแอร์พอร์ตลิงค์ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ตามโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี มีผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืน 25 แปลง เนื้อที่ 7 ไร่ ขณะช่วงที่ 2 จะเวนคืนตั้งแต่ ลาดกระบังยาวไปถึงสนามบินอู่ตะเภา ปัจจุบันอยู่ระหว่างออกพ.ร.ฏ.เวนคืน 850 ไร่ ที่ดิน 1,262 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 250 แปลง ส่วน แอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงดอนเมือง-พญาไท ที่ดิน 25 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 21 แปลง
แหล่งข่าวจาก รฟท. ให้สัมภาษณ์ว่า ต้องเร่งเวนคืนช่วงแรกให้แล้วเสร็จพร้อมส่งมอบพื้นที่ให้ซีพีก่อนพ.ร.ฏ.หมดอายุ ไม่เช่นนั้นต้องตราพ.ร.ฏ.ขึ้นใหม่ โดยเฉพาะรอบสถานีรถไฟสามเสน ท้องที่เขตพญาไท จะเชื่อมต่อกับ สถานีพญาไทแอร์พอร์ตลิงค์ตัดกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว และสถานีมักกะสัน ส่วนที่ดินมักกะสัน ไม่มีปัญหาสามารถทยอยส่งมอบให้เอกชนตามกำหนดซึ่งที่ผ่านมาได้เคลียร์กับชุมชนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งกลุ่มซีพี ต้องการที่ดินแปลงนี้ เพื่อพัฒนา เป็นเมืองมิกซ์ยูส เช่า 50 ปี 50,000 ล้านบาท
สำหรับแนวเส้นทางแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงแรก เริ่มจากสนามบินดอนเมืองเชื่อมสถานีกลางบางซื่อ มุ่งหน้าสู่บริเวณสถานีสามเสน เขตพญาไท วิ่งชนสถานสงเคราะห์เด็กบ้านราชวิถี ,อาคารเก่าแก่ของกรมทางหลวง ,ตึกแถวเก่าของประชาชนยาวไปถึงโค้งยมราช แนวสายทางส่วนที่ 2 วิ่งตามเส้นทางรถไฟสายตะวันออกทะลุลาดกระบัง จุดเชื่อมแอร์พอร์ตลิงค์ บริเวณสถานีลาดกระบัง เฉือนมอเตอร์เวย์ ของกรมทางหลวงสาย 7 กรุงเทพฯชลบุรี ตัดเข้าสู่ทางเข้าสุวรรณภูมิขาออกเลี้ยวขวาบริเวณคู่ขนานแอร์พอร์ตลิงค์เดิม มุ่งหน้าไปฉะเชิงเทรา (เลี้ยวซ้ายไปพญาไท) เฉือนที่นาแปลงใหญของชาวบ้านก่อนเข้า สู่จังหวัดฉะเชิงเทรา 2 กิโลเมตร จากนั้นเบี่ยงซ้ายกวาดที่นาทำสถานีฉะเชิงเทราใหม่ ศูนย์ซ่อมบำรุง ครอบคลุมตำบลต่างๆ ได้แก่ ตำบลบางเตย, ตำบลวังตะเคียน ตำบลท่าไข่ ตำบลบางขวัญ และตำบลบางไผ่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ห่างจากสถานีเดิม 1 กิโลเมตร เพื่อลดการเวนคืนในลักษณะผ่าเมือง ยกระดับ ข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปสถานีชลบุรี ขยายเขตทางเวนคืนทำลานจอดรถ ปาดที่นาชาวบ้านบริเวณโค้งตำบลห้วยกะปิอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ให้เป็นมุมโค้งกว้าง 300 เมตร จากเดิมเขตทางแคบ ฝั่ง 20 และ 30 เมตรตามลำดับ แนวเส้นทางยังวิ่งต่อไปบริเวณตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ขยายโค้ง 270 เมตร เฉียดวัดและโรงเรียนวัดวังหิน กระทบหนักบ้านเรือนประชาชน จากนั้นมุ่งหน้ายาวไปยังสถานีพัทยา ขีดเขตทางเพิ่ม 180 เมตร ขยายโค้งบริเวณ ตำบลนาจอม เทียนสัตหีบ บริเวณบ้านนาจอมเทียนซอยนาจอมเทียน 7 กระทบบ้านเรือนประชาชน
อย่างไรก็ตาม ไฮสปีดเทรนยังคงวิ่งต่อไป ยังอ่างเก็บน้ำห้วยตู้ 2 ตำบลบางเสร่ตัดผ่านที่ดินของกรมชลประทาน พุ่งชนเขาชีจรรย์ พื้นที่ป่าสงวนของกรมป่าไม้ ใกล้สถานีรถไฟเขาชีจรรย์ ตำบลบางเสร่และตำบลพลูตาหลวง เจาะภูเขาทะลวงทำอุโมงค์ทางลอดระยะทาง 400 เมตร เนื่องจากทางลาดชันไม่สามารถทำความเร็ว เชื่อมเข้าอู่ตะเภา ที่ทหารกองทัพเรือ ซึ่งเป็นที่ดินที่ราชพัสดุ มุดใต้ดินยาว 7 กิโลเมตร โผล่เข้าสู่ใจกลางสนามบินอู่ตะเภารูปแบบเดียวกับสุวรรณภูมิ
นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทโมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนส์ จำกัด กล่าวว่า ราคาที่ดินบริเวณสามเสน 3 แสนบาทต่อตารางวา พญาไท 1 ล้านบาทต่อตารางวา และมักกะสัน 6 แสนบาทต่อตารางวา ขณะที่บมจ.เอพี(ไทยแลนด์) ซื้อทำเลพญาไท ราคา 1.8 ล้านบาทต่อตารางวาขณะที่กลุ่มบีทีเอสกรุ๊ป มีสะสมที่ดินพัฒนา โรงแรม มิกซ์ยูส เชื่อว่าหากรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ก่อสร้าง ทำเลย่านนี้จะบูมมาก ทั้งสามเสน พญาไท และมักกะสัน
"เชื่อว่าหากรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ก่อสร้างทำเลย่านนี้จะบูมมาก ทั้งสามเสน พญาไท และมักกะสัน"
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ