เปิดแผนพัฒนาสถานีรถเมล์ไฟฟ้าอุดรฯ
วันที่ : 14 พฤษภาคม 2562
รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เตรียมจัดประชุมสัมมนาโครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอุดรธานี ครั้งสุดท้าย ที่ จ.อุดรธานี เพื่อสรุปผลการศึกษานำเสนอเวทีเสวนาจากนั้นจะนำความคิดเห็นมาปรับปรุงรายงานให้สมบูรณ์มากขึ้นก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม เดือน ก.ย. 62 และเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ต่อไป
นำร่อง2สายย่านชุมชนเมืองใหม่-เก่า
รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เตรียมจัดประชุมสัมมนาโครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอุดรธานี ครั้งสุดท้าย ที่ จ.อุดรธานี เพื่อสรุปผลการศึกษานำเสนอเวทีเสวนาจากนั้นจะนำความคิดเห็นมาปรับปรุงรายงานให้สมบูรณ์มากขึ้นก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม เดือน ก.ย. 62 และเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ต่อไป
รายงานผลการศึกษาเบื้องต้นขณะนี้พบว่าเส้นทางที่จะนำร่องใช้รถโดยสาร (รถเมล์) ไฟฟ้าที่มีความเหมาะสมมี 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.สายสีแดงยูดีทาวน์-สนามบินอุดรธานี ระยะทาง 10.80 กม. และ 2.สายสีส้ม สถานีรถไฟอุดรธานี-สถานีรถไฟอุดรธานี 9.80 กม. นอกจากนี้ได้เสนอแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (TOD) ขนส่งสาธารณะทั้ง 2 สาย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ย่านเมืองใหม่หรือเศรษฐกิจใหม่ อาทิ ย่านยูดีทาวน์, ย่านสถานีรถไฟอุดรธานีและย่านเซ็นทรัลพลาซาอุดรธานี
กลุ่มที่ 2 ย่านชุมชนเก่าแก่และมีการค้าขายมานาน อาทิ แยกวุ่นวาย ย่านวงเวียนหอนาฬิกา, สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 4 และย่านทุ่งศรีเมือง โดยแบ่งสัดส่วนการส่งเสริมให้ใช้พื้นที่ในรูปแบบผสมผสาน (มิกซ์ยูส) เช่น ยูดีทาวน์และ เซ็นทรัลพลาซาอุดรธานี มี 13 ไร่ 21,000 ตารางเมตร สร้างอาคารตึกสูง 10 ชั้น ประกอบด้วย ที่พักอาศัย 50% อาคารสำนักงาน 20% อาคารพาณิชย์ 20% และ พื้นที่สาธารณะ 10% ขณะที่พื้นที่สถานีรถไฟอุดรธานี 10 ไร่ 16,500 ตารางเมตร เป็นตึกแนวสูง 3-5 ชั้น ได้แก่ ที่พักอาศัย 50% อาคารสำนักงาน 10% อาคารพาณิชย์ 30% และพื้นที่สาธารณะ 10%
ย่านวงเวียนหอนาฬิกา และ ย่านทุ่งศรีเมือง พื้นที่ 24 ไร่ 38,000 ตารางเมตร เป็นตึกแนวสูง 5-6 ชั้นโดยต้องให้กลมกลืนกับบริเวณโดยรอบพื้นที่ ประกอบด้วย ที่พักอาศัย 40% อาคารสำนักงาน 20% อาคารพาณิชย์ 30% และพื้นที่สาธารณะ 10% นอกจากนี้พัฒนาพื้นที่ TOD ที่มีศักยภาพควรออกแบบให้ส่งเสริมการเดินเท้าและการใช้จักรยาน การจัดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สีเขียวด้วย ทั้งนี้จะมีพื้นที่พัฒนารอบสถานีขนส่งสาธารณะและจุดจอดแล้วจรที่จะคัดเลือกพื้นที่เหมาะสมในการพัฒนาและเชื่อมต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะได้สะดวก คือ จุดจอดแล้วจรที่ 1 บริเวณเซ็นทรัลพลาซาอุดรธานี และ จุดจอดแล้วจรจุดที่ 2 บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2
สำหรับรถเมล์ไฟฟ้าสายสีแดงยูดีทาวน์-สนามบินอุดรธานี มี 18 สถานี ได้แก่ 1.ยูดีทาวน์ 2.สถานีรถไฟอุดรธานี 3.เซ็นทรัลพลาซา 4.แยกวุ่นวาย 5.แยกหอนาฬิกา 6.สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 4 7.ศาลหลักเมืองอุดรธานี 8.ศูนย์ราชการ 9.ทุ่งศรีเมือง 10.พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี 11.วัดโพธิสมภรณ์ 12.ตลาดโพศรี 13.แยกบ้านเลื่อม 14.สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 15.วิทยาลัยพละ 16.โรงแรมอุดรแอร์พอร์ท 17.โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา และ 18.สนามบินอุดรธานี
ส่วนสายสีส้มสถานีรถไฟอุดรธานี-สถานีรถไฟอุดรธานี 21 สถานี ได้แก่ 1.สถานีรถไฟอุดรธานี 2.โรงพยาบาลกรุงเทพอุดรธานี 3.วัฒนานุวงศ์ 4.เดอะเบสคอนโด 5.โครงการชลประทาน 6.วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี 7.โรงเรียนเทศบาล 8.โรงพยาบาลนอร์ทอีสเทอร์นวัฒนา 9.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด 10.หนองประจักษ์ 11.โรงพยาบาลอุดรธานี 12.วัดโพธิสมภรณ์ 13.โรงเรียนเทศบาล 5 14.ศรีชมชื่น 15.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 16.ซอยนเรศวร 17.ถนนอำเภอ 18.โรงเรียนหมากแข้ง 19.ห้าแยกหลวงประจักษ์ศิลปาคม 20.โรงแรมเจริญโฮเต็ลและ 21.เซ็นทรัลพลาซา
รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เตรียมจัดประชุมสัมมนาโครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอุดรธานี ครั้งสุดท้าย ที่ จ.อุดรธานี เพื่อสรุปผลการศึกษานำเสนอเวทีเสวนาจากนั้นจะนำความคิดเห็นมาปรับปรุงรายงานให้สมบูรณ์มากขึ้นก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม เดือน ก.ย. 62 และเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ต่อไป
รายงานผลการศึกษาเบื้องต้นขณะนี้พบว่าเส้นทางที่จะนำร่องใช้รถโดยสาร (รถเมล์) ไฟฟ้าที่มีความเหมาะสมมี 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.สายสีแดงยูดีทาวน์-สนามบินอุดรธานี ระยะทาง 10.80 กม. และ 2.สายสีส้ม สถานีรถไฟอุดรธานี-สถานีรถไฟอุดรธานี 9.80 กม. นอกจากนี้ได้เสนอแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (TOD) ขนส่งสาธารณะทั้ง 2 สาย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ย่านเมืองใหม่หรือเศรษฐกิจใหม่ อาทิ ย่านยูดีทาวน์, ย่านสถานีรถไฟอุดรธานีและย่านเซ็นทรัลพลาซาอุดรธานี
กลุ่มที่ 2 ย่านชุมชนเก่าแก่และมีการค้าขายมานาน อาทิ แยกวุ่นวาย ย่านวงเวียนหอนาฬิกา, สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 4 และย่านทุ่งศรีเมือง โดยแบ่งสัดส่วนการส่งเสริมให้ใช้พื้นที่ในรูปแบบผสมผสาน (มิกซ์ยูส) เช่น ยูดีทาวน์และ เซ็นทรัลพลาซาอุดรธานี มี 13 ไร่ 21,000 ตารางเมตร สร้างอาคารตึกสูง 10 ชั้น ประกอบด้วย ที่พักอาศัย 50% อาคารสำนักงาน 20% อาคารพาณิชย์ 20% และ พื้นที่สาธารณะ 10% ขณะที่พื้นที่สถานีรถไฟอุดรธานี 10 ไร่ 16,500 ตารางเมตร เป็นตึกแนวสูง 3-5 ชั้น ได้แก่ ที่พักอาศัย 50% อาคารสำนักงาน 10% อาคารพาณิชย์ 30% และพื้นที่สาธารณะ 10%
ย่านวงเวียนหอนาฬิกา และ ย่านทุ่งศรีเมือง พื้นที่ 24 ไร่ 38,000 ตารางเมตร เป็นตึกแนวสูง 5-6 ชั้นโดยต้องให้กลมกลืนกับบริเวณโดยรอบพื้นที่ ประกอบด้วย ที่พักอาศัย 40% อาคารสำนักงาน 20% อาคารพาณิชย์ 30% และพื้นที่สาธารณะ 10% นอกจากนี้พัฒนาพื้นที่ TOD ที่มีศักยภาพควรออกแบบให้ส่งเสริมการเดินเท้าและการใช้จักรยาน การจัดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สีเขียวด้วย ทั้งนี้จะมีพื้นที่พัฒนารอบสถานีขนส่งสาธารณะและจุดจอดแล้วจรที่จะคัดเลือกพื้นที่เหมาะสมในการพัฒนาและเชื่อมต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะได้สะดวก คือ จุดจอดแล้วจรที่ 1 บริเวณเซ็นทรัลพลาซาอุดรธานี และ จุดจอดแล้วจรจุดที่ 2 บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2
สำหรับรถเมล์ไฟฟ้าสายสีแดงยูดีทาวน์-สนามบินอุดรธานี มี 18 สถานี ได้แก่ 1.ยูดีทาวน์ 2.สถานีรถไฟอุดรธานี 3.เซ็นทรัลพลาซา 4.แยกวุ่นวาย 5.แยกหอนาฬิกา 6.สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 4 7.ศาลหลักเมืองอุดรธานี 8.ศูนย์ราชการ 9.ทุ่งศรีเมือง 10.พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี 11.วัดโพธิสมภรณ์ 12.ตลาดโพศรี 13.แยกบ้านเลื่อม 14.สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 15.วิทยาลัยพละ 16.โรงแรมอุดรแอร์พอร์ท 17.โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา และ 18.สนามบินอุดรธานี
ส่วนสายสีส้มสถานีรถไฟอุดรธานี-สถานีรถไฟอุดรธานี 21 สถานี ได้แก่ 1.สถานีรถไฟอุดรธานี 2.โรงพยาบาลกรุงเทพอุดรธานี 3.วัฒนานุวงศ์ 4.เดอะเบสคอนโด 5.โครงการชลประทาน 6.วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี 7.โรงเรียนเทศบาล 8.โรงพยาบาลนอร์ทอีสเทอร์นวัฒนา 9.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด 10.หนองประจักษ์ 11.โรงพยาบาลอุดรธานี 12.วัดโพธิสมภรณ์ 13.โรงเรียนเทศบาล 5 14.ศรีชมชื่น 15.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 16.ซอยนเรศวร 17.ถนนอำเภอ 18.โรงเรียนหมากแข้ง 19.ห้าแยกหลวงประจักษ์ศิลปาคม 20.โรงแรมเจริญโฮเต็ลและ 21.เซ็นทรัลพลาซา
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ