ธอส.เปิดตัว รีเวิร์สมอร์เกจ ปล่อยกู้ผู้สูงอายุดีเดย์มิ.ย.
วันที่ : 8 พฤษภาคม 2562
ธอส.จ่อเปิดตัวให้บริการสินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุ มิ.ย.นี้ ยันไม่เช็กประวัติผู้กู้จากเครดิตบูโร-ถก ธปท.แก้เกณฑ์ปลดล็อกทายาทไม่ต้องเซ็นยินยอม แจง "คิดดอกเบี้ย-ตีกรอบ LTV เหมาะสม- ลดค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันอัคคีภัย" หนุนผู้สูงอายุได้รับเงินงวดเพียงพอต่อการดำรงชีพ
ธอส.จ่อเปิดตัวให้บริการสินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุ มิ.ย.นี้ ยันไม่เช็กประวัติผู้กู้จากเครดิตบูโร-ถก ธปท.แก้เกณฑ์ปลดล็อกทายาทไม่ต้องเซ็นยินยอม แจง "คิดดอกเบี้ย-ตีกรอบ LTV เหมาะสม- ลดค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันอัคคีภัย" หนุนผู้สูงอายุได้รับเงินงวดเพียงพอต่อการดำรงชีพ
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ธอส.เตรียมจะเปิดตัวสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage : RM) ในเดือน มิ.ย.นี้ หลังจากธนาคารได้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้สามารถปล่อยสินเชื่อ RM ได้แล้ว จากเดิมที่ไม่ให้บริการไม่ได้ โดยปัจจุบันกฎหมายที่แก้ไขมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 17 เม.ย. 2562 ที่ผ่านมา
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง รายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อตอบข้อสังเกตของคณะกรรมการวิสามัญ (กมธ.) พิจารณาพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เกี่ยวกับ การให้สินเชื่อ RM ในหลายประเด็น อาทิ ความเห็นว่าไม่ควรนำประวัติการชำระหนี้ ของผู้สูงอายุจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NCB) มากำหนดเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาให้สินเชื่อ RM ซึ่ง ธอส.ได้ชี้แจงว่า จะไม่นำประวัติการชำระหนี้จากเครดิตบูโรมาประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ RM
เหตุผลเนื่องจากสินเชื่อ RM แตกต่าง จากสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั่วไป โดยผู้ขอ สินเชื่อ RM ไม่ต้องชำระหนี้ก่อนครบ สัญญา ขณะที่การให้สินเชื่อทางธนาคารจะพิจารณาจากมูลค่าของหลักประกัน เป็นหลัก และเมื่อครบสัญญาหากทายาทไม่ประสงค์จะไถ่ถอนหลักประกันคืน ทางแบงก์ก็สามารถนำหลักประกันไปขายได้ จึงไม่มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงในประเด็นเรื่องล้มละลาย แบงก์ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากแหล่งต่าง ๆ เช่น ศาล กรมบังคับคดี เป็นต้น
"กมธ.มองว่า RM เป็นการให้สินเชื่อ ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ RM ที่จะดูจากมูลค่าของที่อยู่อาศัยของผู้ขอสินเชื่อที่นำมาใช้เป็นหลักประกันเป็นหลัก ต่างจาก การให้สินเชื่อโดยทั่วไปที่จะพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ของ ผู้ขอสินเชื่อ รวมทั้งผู้ขอสินเชื่อ RM ไม่ต้องผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญา ตลอดจนผู้ขอสินเชื่อ ได้นำที่อยู่อาศัยมาใช้เป็นหลักประกัน ที่แน่นอน" แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า เรื่องการกำหนดอัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) ของสินเชื่อ RM มีข้อเสนอจาก กมธ. ที่เห็นว่า ธอส.ควรกำหนดให้เหมาะสมกับมูลค่าหลักประกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับเงินกู้รายเดือนที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ รวมถึงยังเห็นว่า ธอส.ควรกำหนดให้ใกล้เคียงกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่นที่ให้บริการสินเชื่อ ลักษณะเดียวกัน เพราะถ้าสูงไปจะเป็นภาระกับผู้สูงอายุ หรือทายาทในอนาคต ซึ่งทาง ธอส.ชี้แจงว่า การคำนวณ LTV ของ ธอส. แสดงเฉพาะส่วนเงินต้น ทำให้ดูต่ำ แต่หากรวมเงินต้นและดอกเบี้ยแล้ว LTV จะอยู่ที่ 90% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยก็ถือว่าใกล้เคียงกับแบงก์รัฐอื่น ๆ
ทั้งนี้ ยังมีการกำหนดอายุขั้นสูงของผู้สูงอายุที่ขอสินเชื่อ RM ที่ กมธ.เห็นว่าควรกำหนดให้เหมาะสม ทาง ธอส.ระบุว่า ไม่ได้ปิดกั้นไม่ให้ผู้มีอายุเกินกว่าอายุขั้นสูงของสินเชื่อ RM โดยการที่ต้องกำหนดอายุขั้นสูงไว้ อ้างอิงจาก ข้อเท็จจริงของอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยในปัจจุบัน ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถให้ สินเชื่อได้เกินอายุขั้นสูงเป็นรายกรณีอยู่แล้ว
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ทาง ธอส. จะพิจารณาลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้กู้ เช่น ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย เป็นต้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับวงเงินต่อเดือนเพียงพอต่อการดำรงชีพ ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการ ปรับเกณฑ์ที่เดิมกำหนดว่าการขอสินเชื่อ RM ผู้สูงอายุต้องได้รับความยินยอมจากทายาทก่อน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เป็นการลิดรอนสิทธิของผู้สูงอายุที่เป็นเจ้าของหลักประกันและต้องการสินเชื่อ RM
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ธอส.เตรียมจะเปิดตัวสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage : RM) ในเดือน มิ.ย.นี้ หลังจากธนาคารได้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้สามารถปล่อยสินเชื่อ RM ได้แล้ว จากเดิมที่ไม่ให้บริการไม่ได้ โดยปัจจุบันกฎหมายที่แก้ไขมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 17 เม.ย. 2562 ที่ผ่านมา
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง รายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อตอบข้อสังเกตของคณะกรรมการวิสามัญ (กมธ.) พิจารณาพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เกี่ยวกับ การให้สินเชื่อ RM ในหลายประเด็น อาทิ ความเห็นว่าไม่ควรนำประวัติการชำระหนี้ ของผู้สูงอายุจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NCB) มากำหนดเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาให้สินเชื่อ RM ซึ่ง ธอส.ได้ชี้แจงว่า จะไม่นำประวัติการชำระหนี้จากเครดิตบูโรมาประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ RM
เหตุผลเนื่องจากสินเชื่อ RM แตกต่าง จากสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั่วไป โดยผู้ขอ สินเชื่อ RM ไม่ต้องชำระหนี้ก่อนครบ สัญญา ขณะที่การให้สินเชื่อทางธนาคารจะพิจารณาจากมูลค่าของหลักประกัน เป็นหลัก และเมื่อครบสัญญาหากทายาทไม่ประสงค์จะไถ่ถอนหลักประกันคืน ทางแบงก์ก็สามารถนำหลักประกันไปขายได้ จึงไม่มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงในประเด็นเรื่องล้มละลาย แบงก์ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากแหล่งต่าง ๆ เช่น ศาล กรมบังคับคดี เป็นต้น
"กมธ.มองว่า RM เป็นการให้สินเชื่อ ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ RM ที่จะดูจากมูลค่าของที่อยู่อาศัยของผู้ขอสินเชื่อที่นำมาใช้เป็นหลักประกันเป็นหลัก ต่างจาก การให้สินเชื่อโดยทั่วไปที่จะพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ของ ผู้ขอสินเชื่อ รวมทั้งผู้ขอสินเชื่อ RM ไม่ต้องผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญา ตลอดจนผู้ขอสินเชื่อ ได้นำที่อยู่อาศัยมาใช้เป็นหลักประกัน ที่แน่นอน" แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า เรื่องการกำหนดอัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) ของสินเชื่อ RM มีข้อเสนอจาก กมธ. ที่เห็นว่า ธอส.ควรกำหนดให้เหมาะสมกับมูลค่าหลักประกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับเงินกู้รายเดือนที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ รวมถึงยังเห็นว่า ธอส.ควรกำหนดให้ใกล้เคียงกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่นที่ให้บริการสินเชื่อ ลักษณะเดียวกัน เพราะถ้าสูงไปจะเป็นภาระกับผู้สูงอายุ หรือทายาทในอนาคต ซึ่งทาง ธอส.ชี้แจงว่า การคำนวณ LTV ของ ธอส. แสดงเฉพาะส่วนเงินต้น ทำให้ดูต่ำ แต่หากรวมเงินต้นและดอกเบี้ยแล้ว LTV จะอยู่ที่ 90% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยก็ถือว่าใกล้เคียงกับแบงก์รัฐอื่น ๆ
ทั้งนี้ ยังมีการกำหนดอายุขั้นสูงของผู้สูงอายุที่ขอสินเชื่อ RM ที่ กมธ.เห็นว่าควรกำหนดให้เหมาะสม ทาง ธอส.ระบุว่า ไม่ได้ปิดกั้นไม่ให้ผู้มีอายุเกินกว่าอายุขั้นสูงของสินเชื่อ RM โดยการที่ต้องกำหนดอายุขั้นสูงไว้ อ้างอิงจาก ข้อเท็จจริงของอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยในปัจจุบัน ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถให้ สินเชื่อได้เกินอายุขั้นสูงเป็นรายกรณีอยู่แล้ว
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ทาง ธอส. จะพิจารณาลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้กู้ เช่น ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย เป็นต้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับวงเงินต่อเดือนเพียงพอต่อการดำรงชีพ ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการ ปรับเกณฑ์ที่เดิมกำหนดว่าการขอสินเชื่อ RM ผู้สูงอายุต้องได้รับความยินยอมจากทายาทก่อน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เป็นการลิดรอนสิทธิของผู้สูงอายุที่เป็นเจ้าของหลักประกันและต้องการสินเชื่อ RM
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ