เจ้าของที่ดิน1,000รายโวย ขอปรับผังเมืองนนท์ใหม่
วันที่ : 10 เมษายน 2562
เจ้าของที่ดิน-ดีเวลอปเปอร์ 1,000 ราย ยื่นคำร้องขอปรับใช้ที่ดิน ผังเมืองนนท์ใหม่ ล่าสุดขั้นตอนผ่านชั้นอนุกรรมการเอกชนดิ้นขอปรับผัง
เจ้าของที่ดิน-ดีเวลอปเปอร์ 1,000 ราย ยื่นคำร้องขอปรับใช้ที่ดิน ผังเมืองนนท์ใหม่ ล่าสุดขั้นตอนผ่านชั้นอนุกรรมการเอกชนดิ้นขอปรับผัง
การจัดทำร่างกฎกระทรวงผังเมืองรวมจังหวัดนนทบุรีฉบับใหม่ มีความคืบหน้าไปมาก ซึ่งมีทั้งกลุ่มเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและ ผังเมืองเปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เจ้าของที่ดินผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผังเมืองนนทบุรี ยื่นคำร้องคัดค้านกว่า 1,000 ราย ในจำนวนนี้ กรมได้นำมาจัดหมวดหมู่คำร้องใหม่เหลือ 600 ราย โดยส่วนใหญ่ต้องการ เพิ่มการใช้ประโยชน์ที่ดิน สร้างที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น ขณะอีกกลุ่มแม้จะปรับการใช้ประโยชน์เพิ่มแต่กลับต้องการให้คงพื้นที่เป็นเกษตรกรรม โดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการความวุ่นวาย
"โดยเฉพาะคนนนทบุรี เรียกร้องความสงบ ส่วนกลุ่มพัฒนาที่ดินต้องการผ่อนปรนสร้างที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะ คอนโดมิเนียมในซอย ซึ่งมีความกว้างเพียง 6-8 เมตร"
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ระบุว่า หากผู้ประกอบการต้องการพัฒนาคอนโดมิเนียมในซอยควรคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา หากเกิดเพลิงไหม้ รถดับเพลิง เข้าถึงจะลำบาก ทางออก ผู้ประกอบการควรจัดหาที่ดินแปลงใหญ่ ตัดถนนเข้าสู่แปลงที่ดินตนเอง ไม่ควรพัฒนาตามเขตทางของรัฐแก้ปัญหาจราจร เพื่อส่วนรวม เช่นตรอก ซอก ซอย
"ผมว่า หากต้องการทำโครงการริมถนน ควรจัดหาที่ดิน ของตนเอง ไม่ควรนำถนนของรัฐมาใช้ประโยชน์ บางรายร้อง ต้องการทำที่พักอาศัยแต่หากสาธารณูปโภครองรับไม่เพียงพอ ก็ทำไม่ได้"
อธิบดีกล่าวต่อว่าสาเหตุต้องปรับผังเมืองเนื่องจากเขตกรุงเทพฯและนนทบุรีมีความเชื่อมโยงกันจนแยกไม่ออกขณะคนในพื้นที่ ร้องเรียนว่าได้รับความเดือดร้อนต้องการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวโดยเฉพาะต้องการปรับพื้นที่พัฒนาบ้านจัดสรร เป็น ที่ดินประเภทอนุรักษ์ ชนบทและเกษตรกรรม หรือเขียวลาย เพื่ออนุรักษ์เป็นสวนทุเรียน โดยมีความเห็นตรงกันว่า
ต้องกำหนดโซนพื้นที่เกษตร เพื่อเป็นแหล่งอาหารใกล้เมือง และเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ หากจะปล่อยให้สวนทุเรียนนนท์กลายเป็นบ้านจัดสรรหมด เกรงว่าชาวบ้านและคนเมืองเองจะเดือดร้อนโดยเฉพาะตามเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีส้ม ถนนทางหลวงชนบท ฯลฯ ซึ่งผู้ประกอบการ
แหล่งข่าวจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า คณะอนุกรรมการผังเมือง กรมโยธาฯ พิจารณาร่างผังเมืองนนทบุรีแล้ว บางเรื่องอาจผ่อนปรนตามคำร้อง แต่หากข้อเสนออาจสร้างผลกระทบต่อส่วนรวม เช่น สร้างอาคารสูงบริเวณตรอกซอกซอย ต่ำกว่า 10 เมตร คงไม่สามารถยอมภาคเอกชนได้ เนื่องจากจังหวัดนนทบุรีต้องการยกระดับเป็นเมืองที่อยู่อาศัยชั้นดี คงพื้นที่สีเขียว แม้ปัจจุบัน รัฐลงทุนสาธารณูปโภคผ่านพื้นที่ ทั้งรถไฟฟ้า ถนน ทางด่วน ถนนวงแหวน แต่ใช่ว่าจะพัฒนาได้ทั้งหมด
แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์สะท้อนว่า ราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง ถนนสายหลัก แจ้งวัฒนะ ติวานนท์ กรุงเทพฯ-นนท์ ฯลฯ ราคาที่ดินค่อนข้างแพงเฉลี่ย 3 แสนบาทต่อตารางวา ทำให้พัฒนาได้เฉพาะ แนวสูง หากจะให้พัฒนาแนวราบตามผังเมืองกำหนด เชื่อว่า ราคาบ้านคงหลายสิบล้านบาท ขณะกำลังซื้อในพื้นที่ ยังต้องการ บ้านราคาถูก
การจัดทำร่างกฎกระทรวงผังเมืองรวมจังหวัดนนทบุรีฉบับใหม่ มีความคืบหน้าไปมาก ซึ่งมีทั้งกลุ่มเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและ ผังเมืองเปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เจ้าของที่ดินผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผังเมืองนนทบุรี ยื่นคำร้องคัดค้านกว่า 1,000 ราย ในจำนวนนี้ กรมได้นำมาจัดหมวดหมู่คำร้องใหม่เหลือ 600 ราย โดยส่วนใหญ่ต้องการ เพิ่มการใช้ประโยชน์ที่ดิน สร้างที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น ขณะอีกกลุ่มแม้จะปรับการใช้ประโยชน์เพิ่มแต่กลับต้องการให้คงพื้นที่เป็นเกษตรกรรม โดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการความวุ่นวาย
"โดยเฉพาะคนนนทบุรี เรียกร้องความสงบ ส่วนกลุ่มพัฒนาที่ดินต้องการผ่อนปรนสร้างที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะ คอนโดมิเนียมในซอย ซึ่งมีความกว้างเพียง 6-8 เมตร"
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ระบุว่า หากผู้ประกอบการต้องการพัฒนาคอนโดมิเนียมในซอยควรคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา หากเกิดเพลิงไหม้ รถดับเพลิง เข้าถึงจะลำบาก ทางออก ผู้ประกอบการควรจัดหาที่ดินแปลงใหญ่ ตัดถนนเข้าสู่แปลงที่ดินตนเอง ไม่ควรพัฒนาตามเขตทางของรัฐแก้ปัญหาจราจร เพื่อส่วนรวม เช่นตรอก ซอก ซอย
"ผมว่า หากต้องการทำโครงการริมถนน ควรจัดหาที่ดิน ของตนเอง ไม่ควรนำถนนของรัฐมาใช้ประโยชน์ บางรายร้อง ต้องการทำที่พักอาศัยแต่หากสาธารณูปโภครองรับไม่เพียงพอ ก็ทำไม่ได้"
อธิบดีกล่าวต่อว่าสาเหตุต้องปรับผังเมืองเนื่องจากเขตกรุงเทพฯและนนทบุรีมีความเชื่อมโยงกันจนแยกไม่ออกขณะคนในพื้นที่ ร้องเรียนว่าได้รับความเดือดร้อนต้องการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวโดยเฉพาะต้องการปรับพื้นที่พัฒนาบ้านจัดสรร เป็น ที่ดินประเภทอนุรักษ์ ชนบทและเกษตรกรรม หรือเขียวลาย เพื่ออนุรักษ์เป็นสวนทุเรียน โดยมีความเห็นตรงกันว่า
ต้องกำหนดโซนพื้นที่เกษตร เพื่อเป็นแหล่งอาหารใกล้เมือง และเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ หากจะปล่อยให้สวนทุเรียนนนท์กลายเป็นบ้านจัดสรรหมด เกรงว่าชาวบ้านและคนเมืองเองจะเดือดร้อนโดยเฉพาะตามเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีส้ม ถนนทางหลวงชนบท ฯลฯ ซึ่งผู้ประกอบการ
แหล่งข่าวจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า คณะอนุกรรมการผังเมือง กรมโยธาฯ พิจารณาร่างผังเมืองนนทบุรีแล้ว บางเรื่องอาจผ่อนปรนตามคำร้อง แต่หากข้อเสนออาจสร้างผลกระทบต่อส่วนรวม เช่น สร้างอาคารสูงบริเวณตรอกซอกซอย ต่ำกว่า 10 เมตร คงไม่สามารถยอมภาคเอกชนได้ เนื่องจากจังหวัดนนทบุรีต้องการยกระดับเป็นเมืองที่อยู่อาศัยชั้นดี คงพื้นที่สีเขียว แม้ปัจจุบัน รัฐลงทุนสาธารณูปโภคผ่านพื้นที่ ทั้งรถไฟฟ้า ถนน ทางด่วน ถนนวงแหวน แต่ใช่ว่าจะพัฒนาได้ทั้งหมด
แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์สะท้อนว่า ราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง ถนนสายหลัก แจ้งวัฒนะ ติวานนท์ กรุงเทพฯ-นนท์ ฯลฯ ราคาที่ดินค่อนข้างแพงเฉลี่ย 3 แสนบาทต่อตารางวา ทำให้พัฒนาได้เฉพาะ แนวสูง หากจะให้พัฒนาแนวราบตามผังเมืองกำหนด เชื่อว่า ราคาบ้านคงหลายสิบล้านบาท ขณะกำลังซื้อในพื้นที่ ยังต้องการ บ้านราคาถูก
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ