อสังหาฯขาหักคอนโดฯอ่วมในรอบมากกว่า 10 ปี
Loading

อสังหาฯขาหักคอนโดฯอ่วมในรอบมากกว่า 10 ปี

วันที่ : 25 กรกฎาคม 2564
ผลกระทบการระบาดของ โควิด-19 ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คอนโดอ่วม ในรอบ 10 ปี
          จากกรณีศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ แห่ปรับลดคาดการณ์ การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (GDP) ปี 2564 โดยล่าสุด วิจัยกรุงศรีฯ ปรับลดตัวเลข ลงอีก 0,8% ประเมิน GDP ไทยปีนี้ ขยายตัวได้แค่ 1.2% เท่านั้น ทั้งนี้ มาจากผลกระทบการระบาดของ โควิด-19 ที่รุนแรงและยาวนานกว่าดาด ท่ามกลางมาตรการช่วยเหลือประชาชน และกระตุ้นทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างจำกัด มีปัจจัยบวกจากเครื่องยนต์เดียว คือ ภาคการส่งออก ที่ฟื้นตัวเติบโตแข็งแกร่งเท่านั้น

          มาตรการล็อกดาวน์ ตลอดช่วงเดือนกรกฎาคมภายใต้สมมติฐานเลวร้าย ผู้ติดเชื้อรายใหม่ อาจเพิ่มขึ้นเป็น 15,000 รายต่อวันในระยะต่อไป, อัตราการฉีดวัคซีนโควิด ที่ทำได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ราว 2.5 แสนคนต่อวัน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ให้สูงขึ้น อาจมีความเป็นไปได้ ที่รัฐบาลจะยกระดับมาตรการควบคุมเข้มข้นไปอีกนาน 1-2 เดือน ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจ ทั้งระบบ น่าห่วงสุดในแง่ ตลาดแรงงานที่อ่อนแอ หนี้ภาคครัวเรือน ในระดับสูงและ คนมีรายได้ที่ลดลง

          อสังหาฯ ขาหัก

          สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ ในกลุ่มที่อยู่อาศัยนั้น นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อที่พุ่งขึ้นไม่หยุด และอาจได้เห็นภาพนิวไฮในระยะต่อไปเรื่อยๆ นั้น มีผลกระทบต่อภาคอสังหาฯอย่างชัดเจน ขณะนี้ ตลาดอยู่ในภาวะดล้ายคน "ขาหัก" เดินต่อไม่ได้ เพราะผู้ซื้อต้องอาศัยสินเชื่อจากภาคธนาคาร ขณะผู้ประกอบการ ก็ต้องอาศัยเงินกู้ตั้งแต่การซื้อที่ดิน - การพัฒนาโครงการ แต่พบตอนนี้ สถาบันการเงิน แทบไม่อนุมัติ สินเชื่อใหม่ ขณะวงเงินกู้ 4 แสนล้านบาท ที่ ธปท.เคยคลอดออกมา เพื่อให้เป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) พบดำเนินการได้ต่ำกว่าเป้า ราว 2 แสนล้านบาทเท่านั้นเพราะมีกังวลต่อความ เสี่ยงในธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ เงินสดขาดมือ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม ขณะลูกค้ารายเก่า พบมีการปล่อยกู้ให้ แต่ผ่านเงื่อนไขที่เพิ่มขึ้นมากมาย

          นายพรนริศ ฉายภาพต่อว่า ขณะนี้ แม้ผู้ประกอบการรายใหญ่บางราย ก็เริ่มหาหนทางเพิ่มแหล่งเงินทุนผ่านการทยอยออกหุ้นกู้ สะท้อนถึงความอ่อนแอทางการเงินเช่นกัน ส่วนในแง่กำลังซื้อผู้บริโภค จากปัญหาหนี้ครัวเรือน ประเมินว่าทั้งปีนี้ตลาดใหญ่ อย่างพื้นที่ กทม.- ปริมณฑล จะชะลอตัวอย่างรุนแรง จากยอดขายน้อย ขณะยอดโอนกรรมสิทธิ์ มีปัญหา หมุนกลับมาเป็นรายได้ให้ผู้ประกอบการได้ยาก เนื่องจากกู้ไม่ผ่าน แต่ตลาดต่างจังหวัด พบหัวเมืองใหญ่ ยังไปได้ในโครงการแนวราบ

          "อยากเรียกร้องให้ภาคการเงิน ผ่อนปรน ช่วยลดเพดานการอนุมัติสินเชื่อ ทั้งในฝั่งผู้ประกอบการ และสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อย เพื่อประคองตลาดในภาวะวิกฤติ ลดปัญหาการเกิดหนี้เสียที่จะทวีความรุนแรงขึ้น"

          คอนโดอ่วม โนรอบ 10 ปี

          ด้าน นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟินิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ จำกัด บริษัทวิจัย และที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า ยังไม่เห็นภาพฟื้นตัวของตลาดคอนโดมิเนียม ที่ได้รับผลกระทบมากสุด ในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ เพราะปัจจัยลบต่างๆ มีแนวโน้มรุนแรงในบางเรื่อง โดยเฉพาะการขาดแคลนวัดซีน แม้ว่าจะเริ่มมีการเปิดโอกาสให้มีการนำเข้าวัดซื่นทางเลือกมากขึ้น แต่คาดยังคงไม่ครอบคลุมประชากรทั้งประเทศได้ ภายในปีนี้แน่นอน ประเมินตลาดดอนโดฯ จะอยู่ในช่วงชะลอตัวรุนแรงในรอบ กว่า 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนคอน โดฯ เปิดขายใหม่ทั้งปี 2564 ดงอยู่ที่ราว 20,000 ยูนิตเท่านั้น

          "ผลสำรวจ ดัชนีการซื้อบ้านหลังใหม่ โดย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการด้าไทย ล่าสุด อยู่ที่ ประมาณ 19.9 ลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี เป็นดัชนีที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่ำในภาวะเศรษฐกิจระยะยาวของไทย

          นายสุรเชษฐ์ เผยอีกว่า อัตราการขายเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา อยู่ที่ 52% เท่านั้น แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของกำลังซื้อ ว่าอยู่ในภาวะถดถอยแบบชัดเจน ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ประกอบการบางราย เลือกประกาศขายที่ดิน หรือชะลอการพัฒนาบนที่ดิน ที่เคยมีแผนจะพัฒนา  ขณะโครงการราคาไม่แพง (ต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อตร.ม.) กลายเป็น 1 ช่องทาง ในการสร้างรายได้ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว โดยผู้ประกอบการไทยหลายราย เริ่มเปิดรับการร่วมทุนทั้งจากต่าง ประเทศและในประเทศไทยเพื่อลดการลงทุนด้วยตนเอง ลงเช่นกัน
 
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ