ครึ่งหลังปี63ภูเก็ตหดตัวแรงสุดติดลบ50% พบโครงการเปิดใหม่400หน่วยจากปกติ4พัน 
Loading

ครึ่งหลังปี63ภูเก็ตหดตัวแรงสุดติดลบ50% พบโครงการเปิดใหม่400หน่วยจากปกติ4พัน 

วันที่ : 11 มิถุนายน 2564
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ชี้ ตลาดรวมอสังหาฯภาคใต้ ชะลอตัว หน่วยเหลือขายกว่า 1.6 หมื่นหน่วย
           ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯเผยผลสำรวจที่อยู่อาศัยภาคใต้ครึ่งหลังปี 63 ภูเก็ตหดตัวแรงสุด หลังรับผลกระทบโควิด-19 โครงการเปิดใหม่เพียง 400 หน่วย จากปกติเปิดตัว 3,000-4,000 หน่วย ด้านยอดขายติดลบมากสุดกว่า 50% แย้ม ยอดขออนุญาตก่อสร้างปรับตัวเพิ่มหวังหลังภูเก็ตเปิดรับนักท่องเที่ยวผู้ประกอบการทยอยขึ้นโครงการใหม่ ขณะสถานการณ์ตลาดภาคตะวันตกคอนโดยังน่าห่วงซัปพลายเหลือขายสะสมมากสุด 53% จากหน่วยเหลือขายสะสมรวม 4,700 หน่วย

          ดร.วิชัยวิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวถึง สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคตะวันตกและภาคใต้ว่า จากการสำรวจข้อมูลโครงการที่อยู่อาศัยใน ภาคใต้จาก 4 จังหวัด ประกอบด้วย ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช พบว่ามีการเปิดตัว โครงการใหม่ 2,104 หน่วยคิดเป็น 4.1% ของประเทศ และมียอดขายเป็น 5% และมีซัปพลายเหลือขายคิดเป็น 5% ของซัปพลายทั้งหมดของประเทศ

          สำหรับจังหวัดภูเก็ตในช่วงครึ่งหลังของปี 63 มีการเปิดตัวโครงการใหม่ 400 หน่วย ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอย่างมาก จากปกติ 6 เดือนจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ 3,000-4,000 หน่วย เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก การระบาดของโควิด-19 ทำให้จำนวนการเปิดตัวโตครงการใหม่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี 63 เนื่องจากผู้ประกอบการไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ การระบาดของโควิด-19 ว่าจะสามารถควบคุมได้ในระยะสั้น โดยโครงการแนวราบ  171 หน่วยหรือกว่า 41% เป็นบ้านแฝด ส่วนที่เหลือเป็นคอนโดฯ 250 หน่วยหรือ 69% โดยเปิดตัวอยู่ใน 2 ทำเลหลักคือหากนายทอน และทำเลย่านเทพกระษัตรีศรีสุนทร

          "ซัปพลายรวมในภูเก็ตมีจำนวน 9,000 หน่วย โดยเป็นคอนโดฯ 5,660 หน่วย คิดเป็น 62% บ้านแนวราบ 3,384 หน่วย คิดเป็น 38% โดยในจำนวนนี้มีทาวน์เฮาส์อยู่กว่า 15% แม้ว่าในโครงการที่เปิดใหม่ จะไม่มีทาวน์เฮาส์เลยก็ตาม"

          ทั้งนี้ ในด้านยอดขายรวมของภูเก็ตถือว่าอยู่ในระดับต่ำมาก โดยหน่วยขายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงปกติ ซึ่งมียอดขาย 3,000-4,000 หน่วย แต่หลังการระบาดของโควิด-19 ยอดขายทยอยลดลงต่อเนื่อง โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 63 มียอดขายอยู่ที่ 400 หน่วย สะท้อนให้เห็นว่าผลกระทบจากโควิด-19 มีความรุนแรงมากต่อตลาดอสังหาฯในภูเก็ต ซึ่งเป็นจังหวัดท่องเที่ยว โดยเมื่อเทียบการหดตัวของยอดขายครึ่งปีแรก และครึ่งปีหลังมีการติดลบสูงถึง 40-50%

          ดร.วิชัย กล่าวสรุปแนวโน้ม ตลาดที่อยู่อาศัยทางภาคใต้ จ.ภูเก็ต ในปี 64 คาดการณ์ว่า จำนวนหน่วยการออกใบอนุญาตก่อสร้างประมาณ 10,373 หน่วย หน่วยเปิดใหม่ 3,005 หน่วย มูลค่าประมาณ 17,045 ล้านบาท หน่วยขายได้ใหม่ 1,246 หน่วยมูลค่า 5,402 ล้านบาท ขณะที่อัตราดูดซับต่อเดือนทั้งของบ้านจัดสรรและอาคารชุดยังทรงตัวอยู่เทรนด์ขาลง ส่งผลให้หน่วยเหลือขายในภูเก็ต ยังคงอยู่ระดับสูง ณ สินปี 64 ประมาณ 8,468 หน่วย มูลค่าสูงขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ 47,775 ล้านบาท และ คาดทั้งปีจะมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6,374 หน่วย แต่ยังต่ำกว่าปี 62 มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 21,161 ล้านบาท เพิมขึ้นจากปีที่ผ่านมา แต่มูลค่ายัง ต่ำกว่าปี 62 ที่มีมูลค่าการโอน กรรมสิทธิ์ประมาณ 24,297 ล้านบาท

          อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึง การขออนุญาตก่อสร้างแล้วพบว่ามี ยอดการขออนุญาตก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหากทิศทางการระบาดของโควิด-19 สามารถควบคุมได้ดี คาดว่าจะการก่อสร้างโครงการใหม่ จะทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรัฐได้มีนโยบายส่งเสริมให้ภูเก็ตเป็น พื้นที่แรกที่เปิดรับนักท่องเที่ยวทำให้ ในขณะนี้ท้องถิ่นมีการเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครอบคลุมประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งหากสามารถใช้ภูเก็ตเป็นจังหวัด นำร่องในการเปิดรับนักท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟู การท่องเที่ยวของประเทศให้ฟื้นตัวกลับมาจะทำให้การฟื้นตัวของภาคอสังหาฯ ในจังหวัดภูเก็ตกลับมาอีกครั้ง

          สำหรับสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ ภาคตะวันตกนั้น ซัปพลายเปิดใหม่ปรับตัวลดลงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นคอนโดหรือบ้านจัดสรร ส่วนด้านยอดขาย พบว่าลดลงเหลือเพียง 393 หน่วยในช่วงครึ่งหลังปี 63 ลดลงอย่างมากจากปกติที่มียอดขายอยู่ที่ 1,500 หน่วย โดยเป็นคอนโดฯ ขายได้ 153 หน่วย ส่วนโครงการแนวราบที่เปิดใหม่เป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบ 243 หน่วยโดยมากอยู่ในโซนชะอำ และเขาหินเหล็กไฟเขาตะเกียบและปราณบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการเปิดการขายใหม่ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีการขายที่ดี ขณะที่หน่วยเหลือขายทยอยลดลง โดยเฉพาะบ้านจัดสรรที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่คอนโดฯ กลับมีจำนวนลดลงน้อยมาก โดยซัปพลายเหลือขายรวมในพื้นที่มีจำนวน 4,700 หน่วยกว่า 53%เป็นคอนโดมิเนียม และอีก 46% เป็นโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งหลักๆ ยังคงเป็นบ้านเดียว 30% มีบ้านแฝดเพียง 3% บ้านแฝด 7% เท่านั้น

          อสังหาฯ อีสาน หน่วยเหลือขายกว่า 4.3 หมื่น ลบ.

          ดร.วิชัย กล่าวถึงการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี และมหาสารคาม) ว่า โดยภาพรวมของตลาดที่อยู่อาศัยใน 5 จังหวัดในปี 2564 อยู่ในภาวะซบเซา ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื่อไวรัสโควิด - 19 ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดอุบลราชธานี  อุดรธานี และ มหาสารคาม แต่พบว่าในครึ่งหลังของปี 2563 จังหวัดขอนแก่น มีความโดดเด่น การขายที่ดูดี แต่ในส่วนของตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดนครราชสีมา ที่เคยนำมาเป็นอันดับ 1 ก็เริ่มตามจังหวัดขอนแก่น

          ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในปีที่ผ่านมามีซัปพลายใหม่เข้ามาคิดเป็นสัดส่วน 2.5% หรือประมาณ 1,000 กว่าหน่วยมีส่วนที่ขายได้คิดเป็น 2.2% ของ 27 จังหวัด และมีหน่วยเหลือขายประมาณ 4% ดังนั้น ภาคอสังหาฯในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) จึงมีความสำคัญ โดยแต่ละจังหวัดล้วนแต่มีความสำคัญ

          โดยในช่วงครึ่งหลังปี 2563 ผลสำรวจพบ จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขายใน 5 จังหวัด มีทั้งหมด 297 โครงการ จำนวน 13,500 หน่วย มูลค่ารวม 47,535 ล้านบาท พบว่าโครงการบ้านจัดสรรเป็นตลาดที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมีจำนวนสูงถึง 250 โครงการ 10,620 หน่วย มูลค่า 40,361 ล้านบาท และโครงการอาคารชุด 47 โครงการ 2,880 หน่วย มูลค่า 7,174 ล้านบาท

          ในจำนวนดังกล่าว มีหน่วยเหลือขายจำนวน 12,365 หน่วยรวม มูลค่าเหลือขาย 43,350 ล้านบาท และในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ 1,135 หน่วย รวมมูลค่า 3,585 ล้านบาท.