ผู้รับเหมาหั่นราคาหนักหวังงานลูกค้า รับสร้างบ้านหมื่นล. ระอุ แบรนด์ดังชูดีไซน์-คุณภาพ-อัปตลาดไฮเอนด์
Loading

ผู้รับเหมาหั่นราคาหนักหวังงานลูกค้า รับสร้างบ้านหมื่นล. ระอุ แบรนด์ดังชูดีไซน์-คุณภาพ-อัปตลาดไฮเอนด์

วันที่ : 15 เมษายน 2564
 ตลาดรับสร้างบ้าน 3-7 ลบ.แข่งขันสูง  ผู้รับเหมาหนีตาย!  หั่นราคาหนัก แย่งสร้างบ้าน
          อสังหาริมทรัพย์

          ภาวะการแข่งขันในธุรกิจรับสร้างบ้าน นับวันจะทวีความดุเดือดและรุนแรง (Red Ocean) ไม่น้อยไปกว่าภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ด้วยลักษณะของธุรกิจรับสร้างบ้าน เป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือนิชมาร์เกตอย่างมาก และเป็นธุรกิจที่อยู่บน พื้นฐานของความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสาคัญ โดย ในปัจจุบัน ธุรกิจรับสร้างบ้านสามารถเข้าไปเฉือนเค้กกับตลาดรับเหมารายย่อยได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากรวมทั้ง 2 สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ได้แก่สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน และสมาคมไทยรับสร้างบ้าน สามารถขยับเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดรับสร้างบ้านจากกลุ่มผู้รับเหมารายย่อย โดยมีมูลค่าสูงถึง 20,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับมูลค่าของผู้รับเหมารายย่อยที่ 2 แสนล้านบาท

          ขณะที่ภาพรวมของธุรกิจรับสร้างบ้าน มี แนวโน้มที่ความต้องการปลูกสร้างบ้านจะเติบโตอย่างมาก เนื่องจากบริษัทรับสร้างบ้านได้เน้น ทำตลาดอย่างหนัก โดยเฉพาะในเรื่องของ "ส่วน ลดราคา" เพื่อเร่งตัดสินใจลูกค้าที่พร้อมจะ ปลูกสร้างบ้าน หลังจากที่อั้นมาในช่วงที่เกิดการ ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งปัจจุบัน "ดีมานด์" สร้างบ้านได้ไหลกลับเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ เรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบ้าน ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เจ้าของที่ดิน เริ่มหันมามองที่จะสร้างบ้านบนที่ดินตนเอง แทนที่จะปล่อยให้รกร้าง ขณะที่ธนาคารรายใหญ่ อย่างธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคาร ไทยพาณิชย์หันมาปล่อยสินเชื่อปลูกสร้างบ้าน มากขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงต่ำในเรื่องหนี้เสีย มีหลักประกันคุ้ม มูลหนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้ที่ปลูกสร้างบ้าน ใช้บริการเงินกู้กับสถาบันการเงินในสัดส่วนที่มากขึ้น 30-50% แทนที่จะใช้เงิน "ออม"ทั้งหมด เพื่อที่จะมี "สภาพคล่อง" ไว้รองรับการใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น หรือบางส่วนใช้สำหรับดำเนินธุรกิจ เป็นต้น

          'พีดีเฮ้าส์' ผู้นำ สร้างบ้าน  

           'อนุรักษ์พลังงาน'


          นางสาวถิรพร สุวรรณสุต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด (CMO) บริษัท พีดีเฮ้าส์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เจ้าของและผู้บริหารแบรนด์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ เผยว่า ภาพรวมการแข่งขันของธุรกิจรับสร้างบ้านปี 2564 นี้ จัดว่ารุนแรงในทุกเซกเมนต์ บริษัทฯ จึงต้องมีการปรับตัวอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งวางกลยุทธ์การแข่งขันให้มีความละเอียดและชัดเจนมากขึ้น เพื่อสามารถเจาะเข้าถึงความต้องการและพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายในยุค นิว นอร์มอล 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ 1. กลุ่มอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 2. กลุ่มดูแลและรักสุขภาพ และ 3. กลุ่มผู้สูงอายุ

          โดยที่ผ่านมา บริษัทฯ ชูกลยุทธ์สร้างบ้าน อนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาอย่างต่อเนื่อง อาจเรียกได้ว่า พีดีเฮ้าส์ คือ ผู้นำสร้างบ้านอนุรักษ์พลังงาน ยืนยันได้จาก 36 รางวัลที่ได้รับจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา

          สำหรับไตรมาส 2 ปีนี้บริษัทฯ จะหันมาเน้นกลยุทธ์การแข่งขันเพิ่มเติมคือ การสร้างบ้านสำหรับคนรักสุขภาพ และบ้านสำหรับผู้สูงอายุ โดยการสร้างบ้านทุกหลังจะทำการติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐาน PD Fresh Airflow เทคโนโลยีการผลิตจากประเทศสวีเดน เพื่อเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ภายในบ้าน ด้วยการทำงานของอุปกรณ์ที่จะดึงอากาศดีหรือออกซิเจน ผ่านระบบกรองอากาศเข้าสู่ภายในบ้าน และถ่ายเทอากาศเสียหรือคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ภายนอกช่วยลดสภาพอากาศชื้น ลดการเกิดเชื้อรา และป้องกันฝุ่น PM 2.5 โดยเฉพาะในหลายๆ จังหวัดของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่สภาพอากาศมีฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานและเป็นอันตรายต่อ สุขภาพ โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าเจาะกลุ่มผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ ผู้ที่ห่วงใยดูแลสุขภาพของ ตัวเองและครอบครัว นอกจากนี้ ยังเล็งเห็นว่าจากสัดส่วนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันและอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทฯ จึงได้ออกแบบบ้านใหม่ๆ โดยให้มีฟังก์ชันการ ใช้งานและอุปกรณ์มาตรฐานที่สะดวกต่อการใช้งานของผู้สูงวัยและผู้พิการ เริ่มตั้งแต่การออกแบบ ทางลาดสำหรับรถวีลแชร์ พื้นที่ห้องนอนชั้นล่าง ขนาดและช่องเปิดห้องน้ำ รวมทั้งสุขภัณฑ์และอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

          การปรับตัวและกลยุทธ์ที่ใช้แข่งขันคงไม่เพียงพอ หากทำได้แค่การดีไซน์แบบบ้าน และ เพิ่มคุณภาพวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้างบ้านเท่านั้น เพราะการสื่อสารและการเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้างทั่วประเทศ ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ปีนี้บริษัทฯ จึงยังคงใช้กลยุทธ์อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ควบคู่กันด้วยการเปิดสาขาในต่างจังหวัด ล่าสุดเตรียมเปิดสาขาใหม่ ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์สาขาภาคใต้เพิ่ม อีก 1 แห่ง ได้แก่ สาขาสุราษฎร์ธานี หลังจากที่เปิดศูนย์รับสร้างบ้านสาขาพิจิตรและสาขานครนายก ไปแล้วเมื่อไตรมาสแรกที่ผ่านมา

          ตลาดรับสร้างบ้าน 3-7 ลบ.แข่งขันสูง

          ผู้รับเหมาหนีตาย!

          หั่นราคาหนัก แย่งสร้างบ้าน


          นายปราโมทย์ ธีรกุล ประธานกรรมการบริหาร โฟร์พัฒนากรุ๊ป เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ช่วงไตรมาสแรกปี 64 ที่ผ่านมา เป็นช่วงที่เหมาะในการกระตุ้นตลาดรับสร้างบ้าน และเป็นเหตุผลที่บริษัทเข้า ร่วมงาน "รับสร้างบ้าน FOCUS 2021" เมื่อต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา และทางสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ยังมีการประเมินจะจัดช่วงไตรมาส 4 เพื่อรวมพลังในการส่งเสริมตลาดรับสร้างบ้าน หลังจากปี ที่ผ่านมา ประสบปัญหากับการระบาดของโควิด-19

          "คนจะสร้างบ้านกับเรา ต้องมีวินัย มีที่ดิน  มาก่อนแล้ว ประเภทมาหาซื้อที่ดินและปลูก  สร้างบ้านมีเหมือนกัน แต่สัดส่วนแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ส่วนหลังโควิด-19 พฤติกรรมของกลุ่มคนที่อยู่คอนโดมิเนียมหันมาซื้อที่ดินแล้วปลูกสร้างนั้น เราไม่มีสถิติมากเช่นนั้น ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้เซตข้อมูลเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์การปลูกสร้างบ้านมีเพียงข้อมูลจำนวนผู้ที่มาขอกับทางเขต เท่านั้น"

          สำหรับธุรกิจของโฟร์พัฒนาฯ เริ่มมาดูดีขึ้นช่วงปลายไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา หลังจากชะลอตัวตั้งแต่ต้นปี 63 และลูกค้าเริ่มกลับมาวางเงินมัดจำและโทร.เข้ามาสอบถามข้อมูลกับบริษัทฯอีกครั้งในเดือนสิงหาคมปี 63 เท่าที่ติดตาม ลูกค้าไม่ถึงขั้นยกเลิกสัญญา เพียงแต่ชะลอการปลูกสร้างบ้านเพื่อรอให้โควิด-19 ดีขึ้น อย่างเช่น เจ้าของบริษัททัวร์แห่งหนึ่ง กลับมาเจรจาและใกล้ปิดดีลแล้ว แต่ก็มีบางกลุ่มที่ต้องรอการฟืนตัว เช่น ลูกค้าอาชีพ สายการบิน ที่วางมัดจำไว้แล้ว แต่มาปีกว่าแล้วยังไม่กลับมาเดินหน้าต่อ และยังไม่เรียกเอาเงินคืน แต่โดยรวมแล้ว ของโฟร์พัฒนาฯไม่ถูกกระทบ มากนักเพราะโครงสร้างลูกค้าของโฟร์พัฒนาฯ จะอยู่ระดับบนเฉลี่ย 8-10 ล้านบาทขึ้นไป กลุ่มนี้ใช้เงินสดในการปลูกสร้างบ้านในสัดส่วนถึง 85% ที่เหลือเป็นเงินกู้กับสถาบันการเงินประมาณ 15% ส่วนบริษัทในเครือ อย่างเช่น บริษัทโฟร์ดีเวลลอปเฮ้าส์ จำกัดทำตลาดเฉลี่ย 3-7 ล้านบาทการแข่งขันสูง แข่งกับผู้รับเหมาด้วย ตอนนี้ผู้รับเหมาไม่มีงานก็ทุ่มราคาน่าดู เช่น ราคาต่อหลัง 3-4 ล้านบาท ผู้รับเหมา หั่นราคาลงมาแข่งกับธุรกิจรับสร้างบ้าน

          เจ้าของโรงสี-โรงเรียน-รง.น้ำแข็ง

          ควักเงิน 'สร้างบ้านหรู'


          นายอนันต์กร อมรวาที กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสเตอร์ แปลน 101 จำกัด รับสร้าง บ้านหรูครบวงจร เปิดเผยว่า ตลาดบ้านหรูไม่ได้ถูก กระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่กลับเป็นตัวเร่งการตัดสินใจลูกค้า โดยเฉพาะสร้างบ้านต่างจังหวัดจะมีมูลค่าสูงกว่าในพื้นที่กรุงเทพฯส่วนหนึ่งเศรษฐีในต่างจังหวัดให้การยอมรับและใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้าน ในการปลูกสร้างบ้านหลังใหญ่เพื่อให้สมฐานะของตนเอง ซึ่งผลงาน ของบริษัทในปี 2563 มียอดขายรวม 400 ล้านบาทแบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดสัดส่วน 50:50 ส่วนใหญ่ 60% จะเป็นบ้านที่มีมูลค่าสูง เฉลี่ยอยู่ที่ 50 ล้านบาท ส่วนในพื้นที่กรุงเทพฯเฉลี่ยมูลค่าสร้างบ้านอยู่ที่ 20-30 ล้านบาท

          นอกจากนี้ ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ลดต่ำลง ทำให้ผู้ที่จะปลูกสร้างบ้านหันมาใช้วงเงินสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์มากขึ้น โดยบางรายมีสัดส่วนใช้วงเงินกู้ถึง 50% ของมูลค่าบ้าน เนื่องจากจะได้มีเงินสดบางส่วนไปสร้างธุรกิจต่อ

          "กลยุทธ์ปีนี้ มาสเตอร์ แปลนฯ จะเน้นตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น และเมื่อสร้างเสร็จ ลูกค้าจะมีการบอกต่อ ทำให้บริษัทสามารถสร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้น ลูกค้ากลุ่มนี้จะมองเรื่องความคุ้มค่าต่าง กับโครงการบ้านจัดสรร ในปีนี้ จะขยายตลาดไปเจาะนักธุรกิจในพื้นที่ภาคตะวันออก (อีอีซี) จากเดิมลูกค้าอยู่ทางภาคอีสาน เช่น อุบลราชธานี,กำแพงเพชร, อุดรธานี, บุรีรัมย์ และโคราช เป็นต้นตอนนี้มีดีลลูกค้า 5-6 ราย ทำธุรกิจเจ้าของโรงสี โรงงานน้ำแข็ง เจ้าของโรงเรียน และทำธุรกิจแพกเกจจิ้ง วางเป้าหมายยอดขายปีนี้ 440-450 ล้านบาทเติบโตขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์" นายอนันต์กร กล่าว

          เจน 2 'แลนดี้โฮม' ท้าชิง!เจาะเศรษฐี

          สร้างบ้านหรู 15-50 ลบ.


          นางสาวพรรัตน์ มณีรัตนะพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท แลนดี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารรุ่น 2 ของบอสรุ่นใหญ่ "พิเชษฐ มณีรัตนะพร" กล่าวว่า บริษัทได้ลงทุน 20 ล้านบาท เปิดเซล แกลอรีใหม่ "แลนดี้แกรนด์" ซึ่งเป็นสาขาแฟล็กชิป สโตร์แห่งแรกที่บริษัทลงทุนและเปิดให้บริการ โดยสาขาต้นแบบนี้จะมุ่งให้ความสำคัญกับการทำตลาดที่เจาะกลุ่ม กำลังซื้อที่จะสร้างบ้านระดับบน ราคาตั้งแต่ 15-50 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มนิชมาร์เกตที่มีกำลังซื้อและความต้องการบ้านหรูในราคาคุ้มค่า ประกอบกับความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของบริษัท แลนดี้ โฮม ที่รับสร้างบ้านมานาน 33 ปี ถือเป็น ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้บริการของลูกค้าในการตัดสินใจเลือกบริษัทมากกว่าผู้รับเหมารายย่อย

          ปัจจุบันบริษัทสามารถรองรับการบริการรับสร้างบ้านในทุกระดับราคา ตั้งแต่บ้านหลังเล็ก ระดับราคา 2-5 ล้านบาทแบรนด์ เทรนดี้ โฮม, บ้านขนาดกลาง ราคา 5-15 ล้านบาท แบรนด์ แลนดี้ โฮมแลนด์ และ บ้านขนาดใหญ่ ราคา 15 ล้านบาทขึ้นไปแบรนด์ แลนดี้แกรนด์ คาดว่าบริษัทจะเติบโตในปีนี้ อยู่ที่ 15% หรือมีมูลค่า 2,400 ล้านบาท

          'ซีคอน' เปิดบริษัท 'Seacon ID'

          รุกตลาด'Blue Ocean'


          บริษัท ซีคอน จำกัด เป็นอีกหนึ่งบริษัทรับสร้างบ้านที่อยู่ในวงการมานาน และปี 2564 เข้าสู่การเฉลิมฉลองรอบ 60 ปีของการดำเนินธุรกิจ และเป็นปีที่มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของการขยายตลาดไปสู่ "น่านน้ำใหม่" หรือ "Blue Ocean" โดยนายมนู ตระกูลวัฒนะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัทซีคอน จำกัด กล่าวยอมรับว่า ผลจากโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ลูกค้าของบริษัทฯหายไปถึง 50% แต่ยังโชคดีที่ได้ลูกค้าในกลุ่มตลาดออนไลน์ระดับราคา 5-20 ล้านบาทเข้ามาเสริม แต่โดยรวมแล้ว ยอดขายในปีที่ผ่านมา เติบโตลดลง 10% จากเป้าหมายที่ วางไว้ 1,480 ล้านบาท อย่างไรก็ดีในปีนี้ ทางซีคอนฯมั่นใจจะสามารถพลิกมาทำยอดขายได้ระดับ 1,700 ล้านบาท ซึ่งยอดขายส่วนหนึ่งประมาณ 200 ล้านบาทมาจากธุริจใหม่ ภายใต้ชื่อบริษัท "Seacon ID"

          "ตลาดรับสร้างบ้าน แข่งขันรุนแรง เป็น ตลาด Red Ocean แม้จะมีปลาและสัตว์เยอะ แต่ก็มีปลาใหญ่มากินปลาเล็ก มีปลาฉลามเข้ามากิน แม้ ซีคอน จะเป็นปลาใหญ่ แต่เราก็ต้องมองหาธุรกิจใหม่ๆ มองหาตลาด Blue Ocean ซึ่งการตั้งบริษัทใหม่ เพื่อเข้าไปให้บริการออกแบบและสร้างบ้าน ฟรีสไตล์สำหรับลูกค้าที่อยากได้บ้านตามสไตล์ของตัวเอง ทำให้เราต้องขยายบริการไปรองรับ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบอย่างเดียว หรือสร้างบ้านจากแบบที่ลูกค้ามีอยู่ หรือทำให้ครบวงจร คือ ทั้งออกแบบและก่อสร้าง โดยมีลูกค้า 20 เปอร์เซ็นต์ มาคุยกับเราต้องการแบบบ้านของตัวเอง" นายมนูกล่าว

          CBRE คัดสรรที่ดินเสนอลูกค้า

          'สร้างบ้าน'


          ด้านบริษัท ซีบีอาร์อี ประเทศไทย บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก กับแผนการรุกเจาะกลุ่มลูกค้าที่จะซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างบ้านว่า บางคนเลือกที่จะสร้างบ้านของตัวเอง มากกว่าปรับปรุงบ้านเก่าหรือซื้อบ้านใหม่จากโครงการจัดสรร หากลูกค้าต้องการที่จะมีอิสระในการสร้างสรรค์ได้มากกว่า และมีข้อจำกัดน้อยกว่าการซื้อที่ดินเพื่อสร้างบ้านขึ้นมาใหม่นั้น มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ทั้งนี้ เราจะพบเห็นว่า ระหว่างปี 2546 ถึงปัจจุบัน ในแต่ละปีจะมีบ้านใหม่ที่สร้างเองโดยเฉลี่ยมากกว่า 18,000 หลังในกรุงเทพฯ ขณะที่บ้านใหม่ในโครงการจัดสรร โดยเฉลี่ยมาก กว่า 13,000 หลังเท่านั้น (แต่แนวโน้มอาจจะมากขึ้น เนื่องจากความกังวลเรื่องโควิด-19)

          อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่า ข้อแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่ง ระหว่างการซื้อบ้าน และการซื้อที่ดิน เพื่อสร้างบ้าน คือ การขอสินเชื่อ ดังนั้น เพื่อ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการใช้เงินมากเกินจำเป็น สิ่งที่สำคัญที่ควรทำ คือ งบประมาณในการซื้อที่ดิน ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนที่ดิน ค่าก่อสร้างและตกแต่งภายในค่าวิชาชีพ (สถาปนิก วิศวกร ฯลฯ) และค่าจิปาถะการเลือกซื้อที่ดินเพื่อสร้างบ้านในฝันเป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญ องค์ประกอบหลักที่ต้องพิจารณา คือ 1. ทำเล 2.ราคา 3. สภาพแวดล้อมในละแวก 4. รูปร่างที่ดิน และ 5. กฎระเบียบในการก่อสร้างอาคาร ขณะที่บริษัทฯมีบริการที่จะสามารถเสนอให้กับลูกค้า ทั้งในเรื่องของการตรวจสอบ การใช้ที่ดินเสนอขายที่ดิน ศึกษาเปรียบเทียบทำเลต่อรองราคา และจัดหาที่ดินตามความต้องการ
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ