อาคม ลุยเจรจากำ4.5พันล.ดันทวาย
วันที่ : 4 กุมภาพันธ์ 2564
รัฐบาล ส่ง อาคม เดืนหน้า เจรจาโปรเจ็กต์ยักษ์เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และท่าเรือน้ำลึกทวาย มูลค่ากว่า 3แสนล้านบาท
ITD ลุ้นถก 5 ก.พ.
รัฐบาลทหาร ยึดอำนาจ ซูจี ลุ้นโปรเจ็กต์ทวายส่อพลิก เนด้าเดินหน้าลงทุนตัดถนน 2 เลน 4,500 ล้านดอกเบี้ย 0.1% เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษ-ท่าเรือน้ำลึกทวาย หลังนายกประยุทธ์ ตั้ง"อาคม" นั่งหัวโต๊ะเจรจารัฐบาลเมียนมาช่วยเอกชนถูกเลิกสัญญา
โปรเจ็กต์ยักษ์เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และท่าเรือน้ำลึกทวาย มูลค่ากว่า 3แสนล้านบาท บนเนื้อที่ 250 ตารางกิโลเมตร ได้เงียบหายไป หลังเปลี่ยนขั้วทางการเมือง จากรัฐบาลทหาร มาเป็น รัฐบาลประชาธิปไตย ภายใต้การนำ ของนางอองซานซูจี พรรคเอ็นแอลดี
แม้หลายฝ่าย ทำนายกันตั้งแต่ต้นว่า ในที่สุดแล้วโครงการดังกล่าวอาจถูกยกเลิกไป เพราะนอกจากเป็นพรรคฝั่งตรงกันข้ามแล้ว ประชาชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มน้อย ที่อยู่ในความดูแลของนางซูจี ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนครั้งมโหฬาร ขณะเดียวกันยังประเมินอีกว่า เมียนมาอาจได้ประโยชน์ไม่มาก หากเทียบกับเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่น
เรื่องมาปรากฎชัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 บริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล็อปเม้นต์ จำกัด(มหาชน) หรือ ITD แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ได้ถูกบอกเลิกสัญญาสัมปทาน จากคณะกรรมการบริหารงานพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (DSEZ MC) ซึ่งเป็นโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเฟสแรกเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 เพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ 27 ตารางกิโลเมตร ภายใต้ชื่อบริษัท เมียนทวาย อินดัสเทรียล เอสเตท จำกัด (MIE) ในเครือ ITD แม้ จะลงทุนไปแล้วกว่า 8,000 ล้านบาท ก็ตาม แต่ฝั่งเมียนมาอ้างว่า เอกชนไทย ไม่ยินยอมชำระเงินส่วนที่เหลืออีก 300 ล้านบาทตามเงื่อนไขสัญญา ขณะ ITD ชี้แจงว่า ทางเมียนมาเองไม่ยินยอมส่งมอบพื้นที่ ทำให้นักลงทุนรายย่อยไม่มั่นใจ ทั้งที่เซ็นบันทึกข้อตกลง ( MOU) ร่วมกันตั้งแต่ปี 2551
ขณะรัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยืนยันจะให้ความช่วยเหลือและเดินหน้าโครงการทวายต่อเนื่องเพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่สามารถขนส่งสินค้าไทยไปยังมหาสมุทรอินเดีย ส่งต่อไปยังประเทศในแถบยุโรปได้ อย่างไรก็ตาม การเมืองเมียนมาเกิดพลิกผัน อีกครั้งเมื่อรัฐบาลทหารเข้ายึดอำนาจรัฐบาล นางซูจี ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 หรือที่เรียกกันว่า "ปฏิบัติการก่อนฟ้าสาง" ที่สร้างความมั่นใจให้กับรัฐบาลไทยและภาคเอกชนไทยอีกครั้ง ที่อาจมีโอกาสเจรจาเดินหน้าโครงการทวายต่อไปหลัง มีการประชุมที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเอกชนไปแล้ว เมื่อไม่นานมานี้
ตั้ง "อาคม" เจรจาทวาย
ล่าสุด พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ถึงผลกระทบกรณีการลงทุน เขตเศรษฐกิจพิเศษในทวาย ประเทศเมียนมาว่า ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่มี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในการพูดคุยเจรจาเพื่อแก้ปัญหาและช่วยเหลือนักลงทุนของไทย ขณะ รมว.คลัง ได้ออกมาระบุว่า กรณี ITD ถูกยกเลิกสัญญาลงทุน ทวาย เฟสแรก นั้น และยืนยันว่า ยังไม่ได้คุยกับเอกชน เนื่องจากยังมีหลายประเด็นที่ต้องเข้าไปพิจารณา แต่หลังจากนั้นจะมีการนัดคุยกับ ITD อีกครั้ง ขณะกรณีนายพลมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ยึดอำนาจและเข้ารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหภาพเมียนมานั้น ยังไม่ขอออกความคิดเห็น ทั้งนี้ขอรอดูพัฒนาการของทางเมียนมาก่อน แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามมองว่าโครงการลงทุนต่างๆ ในเมียนมาจะยังเดินหน้าต่อ
เนด้า ยันลุยต่อ "ทวาย"
นายพีรเมศร์ วุฒิธรเนติรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. (NEDA) เปิดเผยว่า เนด้ายืนยัน เดินหน้าลงทุนต่อ เนื่องจากเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอีสต์-เวสต์ คอริดอร์ส เพิ่มศักยภาพด้านโลจิสติกส์. ส่งผลดีต่อประเทศ ไทย เชื่อมการขนส่งสินค้าจากทวาย ผ่านไปยังท่าเรือแหลมฉบังเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี และมหาสมุทรอินเดีย ส่งต่อไปยังประเทศในแถบยุโรปเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้า เมื่อเทียบกับท่าเรือน้ำลึกระนองแล้วยังถือว่าเป็นท่าเรือย่อยในการขนส่งสินค้า
ส่วนการเจรจากับรัฐบาลทหารเมียนมาปัจจุบันนั้น มองว่า รอให้นายกรัฐมนตรี สั่งการ ซึ่งเป็นเรื่องของรัฐกับรัฐ
อย่างไรก็ตาม เนด้ายังคงสนับสนุน เงินกู้วงเงิน 4,500 ล้านบาทให้กับเมียนมา ดอกเบี้ย 0.1% ก่อสร้าง โครงการถนน ขนาด 2 ช่องจราจรระยะทาง 104 กิโลเมตร จากบ้านพุน้ำร้อนจังหวัดกาญจนบุรีประเทศไทยเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ประเทศเมียนมา คาดว่าจะเสนอเข้าสู่ครม ในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าและสามารถเปิดประมูลได้ปลายปีนี้ใช้เวลาก่อสร้างไม่เกิน 2 ปี ซึ่งจะร่นระยะเวลาเดินทาง ขนส่งสินค้าระหว่างกันได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงจากเดินเป็นเส้นทางลูกรัง ใช้เวลาเดินทางไม่ต่ำกว่า 4-5 ชั่วโมง เมื่อสอบถามถึงการเจรจาระหว่าง ITD กับ คู่สัญญาทางเมียนมา นายพีรเมศร์มองว่า น่าจะไม่สามารถทำได้เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
ITD ลุ้น 5 ก.พ.
นาย สมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เมียนทวาย อินดัสเทรียล เอสเตท จำกัด (MIE) ในเครืออิตาเลียนไทยฯ ผู้บริหารจัดการโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในประเทศเมียนมา เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของเมียนมา หรือ DSEZ MC มีนัดหมายเจรจากับทาง MIE และพันธมิตรเอกชนไทยผ่านทางระบบออนไลน์ในวันศุกร์ที่ 5 ก.พ.นี้ เกี่ยวกับข้อรายละเอียดของการยกเลิกสัญญาสัมปทานโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระยะแรก (Initial Phase) ที่ทางบริษัทและพันธมิตรฝ่ายไทยเป็นผู้ถือสัมปทานอยู่ ว่าจะตกลงกันอย่างไร
ทั้งนี้ แม้ว่าทางฝั่งเมียนมาจะเกิดการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนเมื่อเช้าตรู่วันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา แต่ทางฝ่าย DSEZ MC ก็ยังไม่ได้ติดต่อมาหรือส่งเอกสารใดๆมา เพื่อเลื่อนหรือยกเลิกนัดหมายการเจรจา ดังนั้น บริษัทจึงถือว่าการนัดหมายดังกล่าวจะยังคงมีอยู่เว้นเสียแต่ว่าทางฝ่ายเมียนมาจะแจ้งมาหลังจากนี้
สำหรับคำถามที่ว่าการรัฐประหารครั้งนี้จะส่งผลต่อโครงการทวายหรือไม่นั้นไม่ขอคาดเดา เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
รัฐบาลทหาร ยึดอำนาจ ซูจี ลุ้นโปรเจ็กต์ทวายส่อพลิก เนด้าเดินหน้าลงทุนตัดถนน 2 เลน 4,500 ล้านดอกเบี้ย 0.1% เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษ-ท่าเรือน้ำลึกทวาย หลังนายกประยุทธ์ ตั้ง"อาคม" นั่งหัวโต๊ะเจรจารัฐบาลเมียนมาช่วยเอกชนถูกเลิกสัญญา
โปรเจ็กต์ยักษ์เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และท่าเรือน้ำลึกทวาย มูลค่ากว่า 3แสนล้านบาท บนเนื้อที่ 250 ตารางกิโลเมตร ได้เงียบหายไป หลังเปลี่ยนขั้วทางการเมือง จากรัฐบาลทหาร มาเป็น รัฐบาลประชาธิปไตย ภายใต้การนำ ของนางอองซานซูจี พรรคเอ็นแอลดี
แม้หลายฝ่าย ทำนายกันตั้งแต่ต้นว่า ในที่สุดแล้วโครงการดังกล่าวอาจถูกยกเลิกไป เพราะนอกจากเป็นพรรคฝั่งตรงกันข้ามแล้ว ประชาชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มน้อย ที่อยู่ในความดูแลของนางซูจี ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนครั้งมโหฬาร ขณะเดียวกันยังประเมินอีกว่า เมียนมาอาจได้ประโยชน์ไม่มาก หากเทียบกับเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่น
เรื่องมาปรากฎชัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 บริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล็อปเม้นต์ จำกัด(มหาชน) หรือ ITD แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ได้ถูกบอกเลิกสัญญาสัมปทาน จากคณะกรรมการบริหารงานพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (DSEZ MC) ซึ่งเป็นโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเฟสแรกเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 เพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ 27 ตารางกิโลเมตร ภายใต้ชื่อบริษัท เมียนทวาย อินดัสเทรียล เอสเตท จำกัด (MIE) ในเครือ ITD แม้ จะลงทุนไปแล้วกว่า 8,000 ล้านบาท ก็ตาม แต่ฝั่งเมียนมาอ้างว่า เอกชนไทย ไม่ยินยอมชำระเงินส่วนที่เหลืออีก 300 ล้านบาทตามเงื่อนไขสัญญา ขณะ ITD ชี้แจงว่า ทางเมียนมาเองไม่ยินยอมส่งมอบพื้นที่ ทำให้นักลงทุนรายย่อยไม่มั่นใจ ทั้งที่เซ็นบันทึกข้อตกลง ( MOU) ร่วมกันตั้งแต่ปี 2551
ขณะรัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยืนยันจะให้ความช่วยเหลือและเดินหน้าโครงการทวายต่อเนื่องเพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่สามารถขนส่งสินค้าไทยไปยังมหาสมุทรอินเดีย ส่งต่อไปยังประเทศในแถบยุโรปได้ อย่างไรก็ตาม การเมืองเมียนมาเกิดพลิกผัน อีกครั้งเมื่อรัฐบาลทหารเข้ายึดอำนาจรัฐบาล นางซูจี ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 หรือที่เรียกกันว่า "ปฏิบัติการก่อนฟ้าสาง" ที่สร้างความมั่นใจให้กับรัฐบาลไทยและภาคเอกชนไทยอีกครั้ง ที่อาจมีโอกาสเจรจาเดินหน้าโครงการทวายต่อไปหลัง มีการประชุมที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเอกชนไปแล้ว เมื่อไม่นานมานี้
ตั้ง "อาคม" เจรจาทวาย
ล่าสุด พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ถึงผลกระทบกรณีการลงทุน เขตเศรษฐกิจพิเศษในทวาย ประเทศเมียนมาว่า ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่มี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในการพูดคุยเจรจาเพื่อแก้ปัญหาและช่วยเหลือนักลงทุนของไทย ขณะ รมว.คลัง ได้ออกมาระบุว่า กรณี ITD ถูกยกเลิกสัญญาลงทุน ทวาย เฟสแรก นั้น และยืนยันว่า ยังไม่ได้คุยกับเอกชน เนื่องจากยังมีหลายประเด็นที่ต้องเข้าไปพิจารณา แต่หลังจากนั้นจะมีการนัดคุยกับ ITD อีกครั้ง ขณะกรณีนายพลมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ยึดอำนาจและเข้ารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหภาพเมียนมานั้น ยังไม่ขอออกความคิดเห็น ทั้งนี้ขอรอดูพัฒนาการของทางเมียนมาก่อน แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามมองว่าโครงการลงทุนต่างๆ ในเมียนมาจะยังเดินหน้าต่อ
เนด้า ยันลุยต่อ "ทวาย"
นายพีรเมศร์ วุฒิธรเนติรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. (NEDA) เปิดเผยว่า เนด้ายืนยัน เดินหน้าลงทุนต่อ เนื่องจากเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอีสต์-เวสต์ คอริดอร์ส เพิ่มศักยภาพด้านโลจิสติกส์. ส่งผลดีต่อประเทศ ไทย เชื่อมการขนส่งสินค้าจากทวาย ผ่านไปยังท่าเรือแหลมฉบังเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี และมหาสมุทรอินเดีย ส่งต่อไปยังประเทศในแถบยุโรปเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้า เมื่อเทียบกับท่าเรือน้ำลึกระนองแล้วยังถือว่าเป็นท่าเรือย่อยในการขนส่งสินค้า
ส่วนการเจรจากับรัฐบาลทหารเมียนมาปัจจุบันนั้น มองว่า รอให้นายกรัฐมนตรี สั่งการ ซึ่งเป็นเรื่องของรัฐกับรัฐ
อย่างไรก็ตาม เนด้ายังคงสนับสนุน เงินกู้วงเงิน 4,500 ล้านบาทให้กับเมียนมา ดอกเบี้ย 0.1% ก่อสร้าง โครงการถนน ขนาด 2 ช่องจราจรระยะทาง 104 กิโลเมตร จากบ้านพุน้ำร้อนจังหวัดกาญจนบุรีประเทศไทยเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ประเทศเมียนมา คาดว่าจะเสนอเข้าสู่ครม ในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าและสามารถเปิดประมูลได้ปลายปีนี้ใช้เวลาก่อสร้างไม่เกิน 2 ปี ซึ่งจะร่นระยะเวลาเดินทาง ขนส่งสินค้าระหว่างกันได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงจากเดินเป็นเส้นทางลูกรัง ใช้เวลาเดินทางไม่ต่ำกว่า 4-5 ชั่วโมง เมื่อสอบถามถึงการเจรจาระหว่าง ITD กับ คู่สัญญาทางเมียนมา นายพีรเมศร์มองว่า น่าจะไม่สามารถทำได้เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
ITD ลุ้น 5 ก.พ.
นาย สมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เมียนทวาย อินดัสเทรียล เอสเตท จำกัด (MIE) ในเครืออิตาเลียนไทยฯ ผู้บริหารจัดการโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในประเทศเมียนมา เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของเมียนมา หรือ DSEZ MC มีนัดหมายเจรจากับทาง MIE และพันธมิตรเอกชนไทยผ่านทางระบบออนไลน์ในวันศุกร์ที่ 5 ก.พ.นี้ เกี่ยวกับข้อรายละเอียดของการยกเลิกสัญญาสัมปทานโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระยะแรก (Initial Phase) ที่ทางบริษัทและพันธมิตรฝ่ายไทยเป็นผู้ถือสัมปทานอยู่ ว่าจะตกลงกันอย่างไร
ทั้งนี้ แม้ว่าทางฝั่งเมียนมาจะเกิดการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนเมื่อเช้าตรู่วันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา แต่ทางฝ่าย DSEZ MC ก็ยังไม่ได้ติดต่อมาหรือส่งเอกสารใดๆมา เพื่อเลื่อนหรือยกเลิกนัดหมายการเจรจา ดังนั้น บริษัทจึงถือว่าการนัดหมายดังกล่าวจะยังคงมีอยู่เว้นเสียแต่ว่าทางฝ่ายเมียนมาจะแจ้งมาหลังจากนี้
สำหรับคำถามที่ว่าการรัฐประหารครั้งนี้จะส่งผลต่อโครงการทวายหรือไม่นั้นไม่ขอคาดเดา เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ