ปราจีน-ปากน้ำขอแจ้งเกิดอีอีซี รง.พาเหรดแห่เข้า newS-curve
วันที่ : 16 พฤศจิกายน 2563
ลุ้นนโยบายบิ๊กตู่เคาะ ปราจีนฯสมุทรปราการ จังหวัดน้องใหม่เข้าร่วม เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC เฟส 2
ลุ้นนโยบายบิ๊กตู่เคาะ "ปราจีนฯ-สมุทรปราการ" เข้าร่วมเขตส่งเสริม EEC เฟส 2 ผู้ประกอบการในพื้นที่ล็อบบี้หนัก ยกเหตุผลศักยภาพใกล้เคียง 3 จังหวัดเป้าหมาย new S-curve นักลงทุนแจ้งความจำนงพร้อมย้ายฐานทันที หากปราจีนฯได้เป็นจังหวัดที่ 4 ใน EEC
ลุ้นนโยบายบิ๊กตู่เคาะ "ปราจีนฯสมุทรปราการ" จังหวัดน้องใหม่เข้าร่วม เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC เฟส 2 หลังผู้ประกอบการในพื้นที่ล็อบบี้หนัก ยกเหตุผลไม่มีความแตกต่างใน 3 จังหวัดเดิมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน-ระบบคมนาคม แถมยังมีนักลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย new S-curve แจ้งความจำนงพร้อมย้ายฐานเข้ามาในจังหวัดเพิ่มขึ้น หากปราจีนฯได้เป็นจังหวัดที่ 4 ใน EEC
การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ใน 3 จังหวัด ฉะเชิงเทราระยอง-ชลบุรี ได้ดำเนินการมาได้ครึ่งทางของแผนที่วางเอาไว้แล้ว ล่าสุดได้มีความพยายามจากผู้ประกอบการในจังหวัดข้างเคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ได้พยายามผลักดันให้มีการ "ผนวกรวม" พื้นที่ในจังหวัดของตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ EEC ด้วย เนื่องจากจังหวัดข้างเคียงก็มีศักยภาพและไม่ได้มีความแตกต่างในแง่ของภูมิศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐานเมื่อเทียบกับ 3 จังหวัดใน EEC เลย เพียงแต่การลงทุนข้ามเข้ามาในจังหวัดข้างเคียงเหล่านี้กลับมีความแตกต่างในแง่สิทธิประโยชน์ชนิดที่เทียบกันไม่ได้เลย
2 จังหวัดใหม่ EEC
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการดึงให้จังหวัดปราจีนบุรีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพิ่มเติมจากจังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา โดยตามศักยภาพของปราจีนบุรีแล้ว "สามารถเข้ามาอยู่ใน EEC ได้" เนื่องจากมีการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมเดิมอยู่แล้ว มีโครงสร้างพื้นฐานของระบบคมนาคมที่พร้อม แต่การพิจารณาจะขึ้นอยู่กับรัฐบาล ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ. หรือบอร์ด EEC) ว่า จะมีนโยบายอย่างไรหรือจะให้สิทธิพิเศษอะไรได้บ้าง
"ตอนนี้ก็ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า ปราจีนบุรีจะถูกเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ด EEC เมื่อไร แต่จากการศึกษาก่อนหน้านี้สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ EEC ได้ ขณะเดียวกันก็ยังมีสมุทรปราการอีกจังหวัดหนึ่งที่ต้องการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ EEC เฟส 2 ด้วยเช่นกัน" นายคณิศกล่าว
ด้านสถานการณ์เฉพาะหน้าในขณะที่สหรัฐจะมี "โจ ไบเดน" จากพรรคเดโมแครตเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่นั้น นายคณิศกล่าวว่า สหรัฐจะมีนโยบายที่ส่งเสริมการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นได้เตรียมหารือกับนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพื่อปรับแผนการลงทุน 5 ปี (2563-2567) ของ EEC ซึ่งคาดว่าจะมีเงินลงทุนมากกว่า 1,787,376 ล้านล้านบาท เป็นการลงทุนจากโครงสร้างพื้นฐาน 367,376 ล้านบาท 14,200,000 ล้านบาท
"เบื้องต้นแผนงานใหม่ของ EEC จะมุ่ง ไปเรื่องของการดึงการลงทุนจากสหรัฐมากขึ้น โดยเฉพาะจะเน้นเรื่องของ green เทคโนโลยี และขอให้รัฐบาลดำเนินการข้อตกลงทางการค้าให้สำเร็จ ทั้ง CPTPP และ FTA กับทาง EU รวมถึงการขอให้พิจารณาอีกครั้งถึงสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย"
ชะลอศูนย์ซ่อมอากาศยาน
ส่วนเป้าหมายและแนวทางการจัดทำ งบประมาณตามแผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประจำปี 2565 วางไว้ที่ 20,000 ล้านบาทนั้น จะมี เป้าหมายการขับเคลื่อนแผนงานปี 2564 ด้วยการยึด 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) แผนด้านการเกษตร พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เมืองใหม่ 2) แผนพัฒนาระบบสาธารณสุข ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 3) แผนพัฒนาบุคลากรการศึกษา และ 4) การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) ในพื้นที่ โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหลือตอนนี้ก็คือ ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เตรียมเข้าบอร์ด EEC ในเดือนธันวาคม เพื่อพิจารณาผลการเจรจาและราคา ส่วนศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) นั้นคาดว่าจะต้องยกไปเป็นปี 2565 เนื่องจากแผนฟี้นฟูการบินไทยยังไม่ผ่านการพิจารณาของศาล และหากในเดือนมกราคม 2564 แผนฟี้นฟูยังไม่ผ่านอีก ศูนย์ซ่อมอากาศยานอาจจะต้อง "ยกเลิกการลงทุนไปก่อน"
S-curve แห่ลงปราจีนบุรี
นายสมมาตร ขุนเศษฐ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรีพยายามผลักดันทางรัฐบาลเพื่อให้ความเห็นชอบให้ปราจีนบุรีได้รับการบรรจุเป็นจังหวัดที่ 4 ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เนื่องจากมีอุตสาหกรรมใหม่ (new S-curve) จำนวนมากที่ต้องการเข้ามาลงทุนในปราจีนฯ จึงมีความจำเป็นที่จังหวัดจะต้อง ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในด้านสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เทียบเท่ากับ 3 จังหวัด EEC อีกทั้งปราจีนบุรียังมีข้อได้เปรียบโดยเฉพาะ "ผังเมือง" ของจังหวัดแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมสีม่วงและพื้นที่เกษตรสีเขียวไว้อย่างชัดเจน ที่สำคัญราคาที่ดินอยู่ในระดับที่ยังไม่สูงมากนัก
ปัจจุบันจังหวัดปราจีนบุรีมีสวนอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรม รวม 6 แห่ง ที่ลูกค้าในนิคมได้รับความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ (new S-curve) และต้องการได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเท่ากับโรงงานที่ตั้งในพื้นที่ EEC
ลุ้นนโยบายบิ๊กตู่เคาะ "ปราจีนฯสมุทรปราการ" จังหวัดน้องใหม่เข้าร่วม เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC เฟส 2 หลังผู้ประกอบการในพื้นที่ล็อบบี้หนัก ยกเหตุผลไม่มีความแตกต่างใน 3 จังหวัดเดิมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน-ระบบคมนาคม แถมยังมีนักลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย new S-curve แจ้งความจำนงพร้อมย้ายฐานเข้ามาในจังหวัดเพิ่มขึ้น หากปราจีนฯได้เป็นจังหวัดที่ 4 ใน EEC
การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ใน 3 จังหวัด ฉะเชิงเทราระยอง-ชลบุรี ได้ดำเนินการมาได้ครึ่งทางของแผนที่วางเอาไว้แล้ว ล่าสุดได้มีความพยายามจากผู้ประกอบการในจังหวัดข้างเคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ได้พยายามผลักดันให้มีการ "ผนวกรวม" พื้นที่ในจังหวัดของตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ EEC ด้วย เนื่องจากจังหวัดข้างเคียงก็มีศักยภาพและไม่ได้มีความแตกต่างในแง่ของภูมิศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐานเมื่อเทียบกับ 3 จังหวัดใน EEC เลย เพียงแต่การลงทุนข้ามเข้ามาในจังหวัดข้างเคียงเหล่านี้กลับมีความแตกต่างในแง่สิทธิประโยชน์ชนิดที่เทียบกันไม่ได้เลย
2 จังหวัดใหม่ EEC
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการดึงให้จังหวัดปราจีนบุรีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพิ่มเติมจากจังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา โดยตามศักยภาพของปราจีนบุรีแล้ว "สามารถเข้ามาอยู่ใน EEC ได้" เนื่องจากมีการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมเดิมอยู่แล้ว มีโครงสร้างพื้นฐานของระบบคมนาคมที่พร้อม แต่การพิจารณาจะขึ้นอยู่กับรัฐบาล ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ. หรือบอร์ด EEC) ว่า จะมีนโยบายอย่างไรหรือจะให้สิทธิพิเศษอะไรได้บ้าง
"ตอนนี้ก็ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า ปราจีนบุรีจะถูกเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ด EEC เมื่อไร แต่จากการศึกษาก่อนหน้านี้สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ EEC ได้ ขณะเดียวกันก็ยังมีสมุทรปราการอีกจังหวัดหนึ่งที่ต้องการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ EEC เฟส 2 ด้วยเช่นกัน" นายคณิศกล่าว
ด้านสถานการณ์เฉพาะหน้าในขณะที่สหรัฐจะมี "โจ ไบเดน" จากพรรคเดโมแครตเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่นั้น นายคณิศกล่าวว่า สหรัฐจะมีนโยบายที่ส่งเสริมการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นได้เตรียมหารือกับนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพื่อปรับแผนการลงทุน 5 ปี (2563-2567) ของ EEC ซึ่งคาดว่าจะมีเงินลงทุนมากกว่า 1,787,376 ล้านล้านบาท เป็นการลงทุนจากโครงสร้างพื้นฐาน 367,376 ล้านบาท 14,200,000 ล้านบาท
"เบื้องต้นแผนงานใหม่ของ EEC จะมุ่ง ไปเรื่องของการดึงการลงทุนจากสหรัฐมากขึ้น โดยเฉพาะจะเน้นเรื่องของ green เทคโนโลยี และขอให้รัฐบาลดำเนินการข้อตกลงทางการค้าให้สำเร็จ ทั้ง CPTPP และ FTA กับทาง EU รวมถึงการขอให้พิจารณาอีกครั้งถึงสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย"
ชะลอศูนย์ซ่อมอากาศยาน
ส่วนเป้าหมายและแนวทางการจัดทำ งบประมาณตามแผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประจำปี 2565 วางไว้ที่ 20,000 ล้านบาทนั้น จะมี เป้าหมายการขับเคลื่อนแผนงานปี 2564 ด้วยการยึด 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) แผนด้านการเกษตร พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เมืองใหม่ 2) แผนพัฒนาระบบสาธารณสุข ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 3) แผนพัฒนาบุคลากรการศึกษา และ 4) การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) ในพื้นที่ โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหลือตอนนี้ก็คือ ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เตรียมเข้าบอร์ด EEC ในเดือนธันวาคม เพื่อพิจารณาผลการเจรจาและราคา ส่วนศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) นั้นคาดว่าจะต้องยกไปเป็นปี 2565 เนื่องจากแผนฟี้นฟูการบินไทยยังไม่ผ่านการพิจารณาของศาล และหากในเดือนมกราคม 2564 แผนฟี้นฟูยังไม่ผ่านอีก ศูนย์ซ่อมอากาศยานอาจจะต้อง "ยกเลิกการลงทุนไปก่อน"
S-curve แห่ลงปราจีนบุรี
นายสมมาตร ขุนเศษฐ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรีพยายามผลักดันทางรัฐบาลเพื่อให้ความเห็นชอบให้ปราจีนบุรีได้รับการบรรจุเป็นจังหวัดที่ 4 ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เนื่องจากมีอุตสาหกรรมใหม่ (new S-curve) จำนวนมากที่ต้องการเข้ามาลงทุนในปราจีนฯ จึงมีความจำเป็นที่จังหวัดจะต้อง ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในด้านสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เทียบเท่ากับ 3 จังหวัด EEC อีกทั้งปราจีนบุรียังมีข้อได้เปรียบโดยเฉพาะ "ผังเมือง" ของจังหวัดแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมสีม่วงและพื้นที่เกษตรสีเขียวไว้อย่างชัดเจน ที่สำคัญราคาที่ดินอยู่ในระดับที่ยังไม่สูงมากนัก
ปัจจุบันจังหวัดปราจีนบุรีมีสวนอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรม รวม 6 แห่ง ที่ลูกค้าในนิคมได้รับความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ (new S-curve) และต้องการได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเท่ากับโรงงานที่ตั้งในพื้นที่ EEC
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ