ยันไม่รื้อมาตรการแอลทีวีแนวราบ
Loading

ยันไม่รื้อมาตรการแอลทีวีแนวราบ

วันที่ : 8 ตุลาคม 2562
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เรียกร้องให้พิจารณาผ่อนผันเกณฑ์การใช้มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย(แอลทีวี)กับที่อยู่อาศัยแนวราบ โดย ธปท.ยังยืนยันว่าการใช้มาตรการแอลทีวีที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.62 ที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่แล้ว ทั้งที่อยู่อาศัยในแนวราบ เช่น บ้านจัดสรร และในแนวสูง เช่น คอนโดมิเนียม เป็นต้น
            นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เรียกร้องให้พิจารณาผ่อนผันเกณฑ์การใช้มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย(แอลทีวี)กับที่อยู่อาศัยแนวราบ โดย ธปท.ยังยืนยันว่าการใช้มาตรการแอลทีวีที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.62 ที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่แล้ว ทั้งที่อยู่อาศัยในแนวราบ เช่น บ้านจัดสรร และในแนวสูง เช่น คอนโดมิเนียม เป็นต้น
            สำหรับมาตรการแอลทีวีที่ใช้ในแนวราบนั้น การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยสัญญาแรกจะไม่ได้รับผลกระทบอยู่แล้ว เพราะเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อให้ทำได้ 95-100% ของมูลค่าหลักประกัน ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสมเนื่องจากวงเงินให้กู้จะต้องไม่เกินมูลค่าของหลักประกัน และมาตรการแอลทีวีไม่ได้จำกัดการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยแนวราบ มีโอกาสได้รับสินเชื่ออยู่ ทำให้มองว่าขณะนี้ไม่มีความจำเป็นใดที่ต้องผ่อนคลายเกณฑ์ดังกล่าว
            "มาตรการแอลทีวีปัจจุบันไม่น่าจะกระทบบ้านแนว ราบและบ้านหลังแรก จึงไม่คิดว่าจะต้องผ่อนเกณฑ์ที่ใช้อยู่ แต่หากผู้ประกอบการอสังหา ริมทรัพย์หรือคนที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบมาก และมีข้อติดขัด ธปท.ก็พร้อมรับฟัง เพราะที่ผ่านมาก็มีการพูดคุยกันมาตลอด"
            นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ส่วนตัวไม่ได้คาดหวังว่า ธปท.จะผ่อนคลายเกณฑ์ดังกล่าวอยู่แล้ว เพราะตั้งแต่ประกาศมาตรการแอลทีวีออกมาก็ไม่เคยที่จะหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่อยากให้ ธปท.เข้าใจถึงการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะโครงการแนวราบและแนวสูงที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งการกำหนดเงินดาวน์ในอัตราเท่ากัน ส่งผลให้ประชาชนที่ต้องการที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบ เนื่องจากจะต้องผ่อนดาวน์ต่องวดในราคาที่สูงกว่า เพราะโครงการแนวราบใช้เวลาสร้างเร็วกว่ามีสินค้าที่พร้อมขายอยู่แล้ว ต่างจากคอนโดมิเนียมที่ขายก่อนสร้างเสร็จ 2-3 ปี ทำให้การผ่อนในอัตราเดียวกันจึงไม่เหมาะสม
            ทั้งนี้ เมื่อไม่ผ่อนผันเกณฑ์แอลทีวี จะทำให้กับผู้ที่อยู่อาศัยแนวราบได้รับความเดือดร้อน เพราะไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ และไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง และการที่ ธปท.มองว่าส่วนนี้เป็นหนี้ครัวเรือนนั้น อยากให้แยกแยะหนี้ที่เกิดขึ้นออกจากกัน เนื่องจากการเป็นหนี้จากการซื้อที่อยู่อาศัยถือว่าช่วยให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตัวเอง และเป็นทรัพย์สินที่มีหลักประกัน ต่างจากการเป็นหนี้จากบัตรเครดิต หรือสินเชื่อบุคคล ที่ต้องเข้าไปควบคุมมากกว่า และหากพิจารณาตามหลักความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครที่มีที่อยู่อาศัยอยู่แล้วจะไม่ชำหนี้คืนหรือปล่อยให้ถูกยึดอย่างแน่นอน
            "เรื่องที่เกิดขึ้นทำใจไว้แล้ว หากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ผู้ที่ออกกฎเกณฑ์ออกมาต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนที่จะประกาศใช้ คล้ายกับต่างประเทศที่ทำกัน แต่ของไทย นอกจากไม่รับฟังแล้ว ไม่เข้าใจข้อมูลการทำธุรกิจในเชิงปฏิบัติทำให้ประชาชนที่ต้องการที่อยู่อาศัยเดือดร้อน"
 
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ