พลิกโฉม จตุจักร-พหลโยธิน พัฒนา 59 จุดเชื่อมรถไฟฟ้า
Loading

พลิกโฉม จตุจักร-พหลโยธิน พัฒนา 59 จุดเชื่อมรถไฟฟ้า

วันที่ : 31 กรกฎาคม 2562
เปิดเส้นทางให้ทดลองนั่งฟรีกันไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ รถ ไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน จากวัดมังกรฯ-ท่าพระจำนวน 5 สถานี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ล่าสุดรัฐบาลยังเตรียมความพร้อมเปิดเดินรถอีก 1 สถานีบริเวณ 5 แยกลาดพร้าว ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วันที่ 9 สิงหาคม ที่จะถึงนี้
         เปิดเส้นทางให้ทดลองนั่งฟรีกันไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ รถ ไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน จากวัดมังกรฯ-ท่าพระจำนวน 5 สถานี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ล่าสุดรัฐบาลยังเตรียมความพร้อมเปิดเดินรถอีก 1 สถานีบริเวณ 5 แยกลาดพร้าว ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วันที่ 9 สิงหาคม ที่จะถึงนี้

          ทั้งนี้นอกจากจะช่วยร่นระยะการเดินทาง บรรเทาการจราจร ติดขัดแล้ว ยังสร้างความคึกคักให้กับธุรกิจค้าปลีก, โรงแรม, คอนโดมิเนียม,อาคารสำนักงาน ที่เปิดให้บริการ และอยู่ระหว่างเปิดขายต่างปรับยุทธศาสตร์ดึงลูกค้าเข้าพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นการพลิกโฉมพื้นที่ การลงทุนจัดทำทางเชื่อม ระหว่างสถานีเข้ากับตัวอาคารสร้างมูลค่าอย่างมหาศาลให้กับทำเลในย่านนั้น

          อย่างไรก็ตาม ตามแผนพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าระยะแรก จำนวน 12 เส้นทางพบว่ามีจุดเชื่อม ต่อสำคัญระหว่างรถไฟฟ้าราว 59 จุดเพื่อให้การเดินทางของประชาชนได้รับความสะดวกสบาย และรวดเร็ว แต่กลับพบว่า มีหลาย จุดที่ยังขาดการเชื่อมต่ออย่างลงตัว ผู้โดยสารยังต้องเดินผ่านพื้นที่กลางแจ้งก่อนเข้าสู่สถานี
          ตัวอย่างที่เห็นภาพชัดคือ "สถานีสวนจตุจักรและพหลโยธิน" เมื่อลงจากรถไฟฟ้าบีทีเอสต้องเดิน เป็นระยะทางอีกราว 20-30 เมตรเพื่อเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้า MRT นอก จากนั้นหากจะใช้บริการรถโดยสารสาธารณะอื่นๆจะต้องยืนตากแดดตากฝนเข้าคิวรอเนื่องจากขาดการพัฒนาจุดเชื่อมต่อที่ดีนั่นเอง

          กรมรางเร่งบูรณาการร่วม

          ปัญหาดังกล่าวกำลังจะได้รับการพัฒนาเมื่อกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมบูรณาการร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟ แห่งประเทศไทย (รฟท.) กรุงเทพ มหานคร (กทม.) สถาบันการขนส่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ร่วมพัฒนาพื้นที่จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 59 จุดให้พร้อมรองรับและให้ผู้ใช้บริการ ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น

          ต่อเรื่องนี้นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เผยถึงแผนดำเนินการพัฒนาที่คัดเลือกมาดำเนินการว่า บางจุด อาทิ สถานีสยาม สีลม ศาลาแดง เตาปูน พญาไท มักกะสัน และอโศกเป็นจุดเชื่อมต่อที่ผู้โดยสารเดินเชื่อมต่อโดยไม่ต้องตากแดดตากฝน แต่อีกหลายจุดยังต้องเร่งดำเนินการทั้งนี้เนื่องจากยังมีจุดเชื่อมต่อที่จะเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าอีกจำนวน 13 จุด แต่มีแนวคิดที่จะเสนอให้คัดเลือกมาดำเนินการก่อนจำนวน 8 จุดในช่วงแรกนี้ คือ สถานีสวนจตุจักร สถานีพหลโยธินในพื้นที่ช่วงห้าแยกลาดพร้าว สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีมีนบุรี สถานีกรุงธนบุรี สถานีบางหว้า สถานีรัชดาภิเษก สถานีสำโรง โดยเฉพาะจุด "สถานีสวนจตุจักร" ถือว่าเป็นจุดนำร่องที่จะต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญ มีผู้ใช้บริการจำนวนมากโดยเฉพาะเช้า-เย็น และช่วงวันหยุด

          สำหรับสถานีสวนจตุจักรในเบื้องต้นพบว่ามีผู้เกี่ยวข้องหลายรายไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพ มหานคร ในฐานะเจ้าของพื้นที่ฟุตบาททางเท้า รฟม.ในฐานะผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT รฟท.ในฐานะเจ้าของสวนจตุจักร บีทีเอส ในฐานะผู้ให้บริการรถไฟฟ้า จึงต้องบูรณาการร่วมกันทั้งเรื่องการออกแบบ เรื่องการก่อสร้าง เรื่องงบประมาณ ตลอดจนเรื่องการดูแลบำรุงรักษา

          โดยแนวคิดนั้นทุกฝ่ายได้ประโยชน์ทั้งหมด สำหรับ 8 จุดคาดว่าใช้งบประมาณไม่มาก เน้นทำหลังคากันแดดกันฝนให้เดินหรือยืนรอรถโดยสารตลอดจนเข้าสู่สถานีได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยแนวคิดของการร่วมหารือเพื่อบูรณาการร่วมกันนั้นอาจแบ่งสนับสนุนงบประมาณดำเนินการและดูแลบำรุงรักษา ณ จุดต่างๆ

          บวก2แนวคิดความร่วมมือ

          สอดคล้องกับแนวคิดของรศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงษ์ รองผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เสนอให้ร่วมกันยกระดับการให้บริการจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าให้ได้มาตรฐานโดยพร้อมรับเป็นเจ้าภาพในการออกแบบจุดสถานีสวนจตุจักรเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน ที่เข้าไปใช้บริการ

          เช่นเดียวกับกรุงเทพ มหานครโดยนายศักดิ์ชัย บุญมา รองผู้ว่าราชการกทม. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าเป็นหน้าที่ของสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) จะต้องเร่งดำเนินการและรับเรื่องการก่อสร้างงานโยธาของกทม.ไปดำเนินการ

          ดังนั้นในอีกไม่นานนี้ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าและระบบบริการรถโดยสารสาธารณะในจุดเชื่อมต่อสำคัญของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทยก็จะได้เห็นภาพการอำนวยความสะดวกของภาครัฐและเอกชนให้ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น
 
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ