BTSรับหนี้แสนล้าน แลกสัมปทานเดินรถสีเขียวถึงปี2602
Loading

BTSรับหนี้แสนล้าน แลกสัมปทานเดินรถสีเขียวถึงปี2602

วันที่ : 9 กรกฎาคม 2562
บีทีเอสทดสอบความพร้อมระบบรถไฟฟ้า พร้อมเปิดให้บริการจากหมอชิตถึงห้าแยกลาดพร้าววันที่ 11 ส.ค.นี้ โดยไม่เก็บค่าโดยสาร จากนั้นเปิดถึงแยกเกษตร ธ.ค.62 และทั้งสายถึงคูคตปลายปี 63 ด้าน รฟม. เตรียมเซ็น MOU กับ กทม.

          BTSรับหนี้แสนล้าน แลกสัมปทานเดินรถสีเขียวถึงปี2602

          บีทีเอสทดสอบความพร้อมระบบรถไฟฟ้า พร้อมเปิดให้บริการจากหมอชิตถึงห้าแยกลาดพร้าววันที่ 11 ส.ค.นี้ โดยไม่เก็บค่าโดยสาร จากนั้นเปิดถึงแยกเกษตร ธ.ค.62 และทั้งสายถึงคูคตปลายปี 63 ด้าน รฟม. เตรียมเซ็น MOU กับ กทม. โอนสิทธิ์และหนี้ค่าก่อสร้างสีเขียวเหนือกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท ส่วนการเจรจาสัมปทานเดินรถสายสีเขียวตามคำสั่ง ม.44 คาดจบใน 2 เดือน ให้บีทีเอสรับหนี้กว่าแสนล้าน คุมค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย กทม. พร้อมควักรายได้อุดหนุน แลกสัมปทานยาวถึงปี 2602

          นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามความพร้อมการเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต- สะพานใหม่-คูคต จำนวน 1 สถานี จากสถานีหมอชิต-ห้าแยกลาดพร้าว วานนี้ (8 ก.ค.) ว่า รฟม. ได้เร่งรัดการก่อสร้างงานโยธา วางราง และให้ทางกรุงเทพธนาคม และบีทีเอสเข้ามาติดตั้งระบบ เมื่อเดือน ม.ค.2562 ซึ่งตามแผนงานปกติ จะสามารถเปิดเดินรถได้ในเดือน ก.ค.2564 แต่จากที่ได้ปรับวิธีการทำงานใหม่ เพื่อความรวดเร็วและทยอยเปิดให้บริการ ซึ่งขณะนี้มั่นใจว่าจะสามารถเปิดให้บริการช่วงหมอชิต-ห้าแยกลาดพร้าวได้ในวันที่ 11ส.ค.นี้ โดยไม่เก็บค่าโดยสาร และเดือนธ.ค.2562 จะเปิดไปถึงแยกเกษตร และมีเป้าหมายจะเปิดตลอดสายถึงคูคต ปลายปี 2563

          ทั้งนี้ ก่อนเปิดเดินรถวันที่ 11 ส.ค. รฟม.และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะต้องมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) มอบหมายให้ กทม. เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถสายสีเขียวเหนือช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ตามมติ ครม. ซึ่ง รฟม.จะเสนอร่าง MOU ขออนุมัติที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ในวันที่ 25 ก.ค.นี้ โดยสายสีเขียวเหนือมีมูลค่างานโยธาและระบบรางประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท

          นายมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด กล่าวว่า การเจรจาสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวตามมาตรา 44 กับ บีทีเอส คาดจะจบภายใน 2 เดือนนี้ โดยสัมปทานใหม่อายุ 30 ปี จะเริ่มต้นปี 2573 ครอบคลุม 3 ส่วน คือ เส้นทางสายหลักช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งเป็นสัมปทาน เดิมที่จะหมดสัญญาในปี 2572 และช่วงอ่อนนุชแบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า ซึ่ง กทม. ลงทุน ก่อสร้างงานโยธาและระบบเอง และจ้างบีทีเอสเดินรถจะหมดสัญญาในปี 2585 และสายสีเขียวส่วนต่อขยาย สายเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่คูคต) และสายใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ซึ่ง รฟม. เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างงานโยธาและวางราง และโอนหนี้ให้ กทม. บวกค่าดอกเบี้ยประมาณ 1 แสนล้านบาท  ซึ่งบีทีเอสต้องชำระแทน กทม.

          โดยนโยบายควบคุมค่าโดยสารของรถไฟฟ้า บีทีเอสตลอดสายไม่เกิน 65 บาท ภาครัฐต้องอุดหนุน เอกชน ซึ่งโมเดลช่วงปี 62-72 จะนำรายได้ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า ที่ กทม. เก็บค่าโดยสารเอง มีกระแสเงินสดปีละหลายพันล้านบาทมาอุดหนุน ส่วนปี 2573-2602 ค่าโดยสารจะปรับตามอัตราเงินเฟ้อและต้นทุนที่เพิ่ม ซึ่ง กทม. จะหาโมเดลในการอุดหนุนเพื่อไม่ให้ ค่าโดยสารสูงเกินไป เช่น นำรายได้จากค่าธรรมเนียม หรือภาษีโรงเรือนที่เก็บได้มากขึ้น จากที่ดินที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้า

          นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวย การใหญ่ บีทีเอส กล่าวว่า กทม.จะโอนภาระหนี้ค่า ก่อสร้างมาที่บีทีเอส และกำหนดค่าโดยสารตลอดสาย ไม่เกิน 65 บาท ซึ่งทำยาก หากรัฐไม่อุดหนุน ซึ่งการ อุดหนุนมีหลายวิธี โดยต้องเจรจาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป

          สำหรับการเปิดเดินรถหมอชิต-ห้าแยกลาดพร้าวนั้น ช่วงแรกจะจัดการเดินรถในเวลาเร่งด่วน 07.00-09.00 น. และเวลา 17.00-19.00 น. แบบขบวนเว้นขบวน หมายความว่าจะมีขบวนที่วิ่งปลายทางแค่หมอชิต ขบวนถัดไปจะวิ่งทะลุถึงห้าแยกลาดพร้าว สลับกันไป ส่วนนอกเวลาเร่งด่วน จะวิ่งถึงห้าแยกลาดพร้าวทุกขบวน ปัจจุบันที่สถานี หมอชิต มีผู้โดยสารประมาณ 8 หมื่นคนต่อวัน ช่วง แรกจะเป็นผู้โดยสารเดิมประมาณ 50% ที่ใช้บริการ ต่อไปห้าแยกลาดพร้าว จะช่วยลดความแออัดที่สถานีหมอชิต และเพิ่มความสะดวกให้ผู้โดยสาร.
 
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ