มข. พัฒนาเมืองต้นแบบอัจฉริยะ
Loading

มข. พัฒนาเมืองต้นแบบอัจฉริยะ

วันที่ : 25 มิถุนายน 2562
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเครือข่ายพันธมิตรพัฒนาเมือง "City Development Alliance: CDA" ซึ่งสมาคมการผังเมืองไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ธรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.ศิลปากร และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เพื่อสนับสนุนทางวิชาการให้กับการพัฒนาเมืองร่วมกันสร้าง ค้นหา และออกแบบความรู้ร่วมกันพัฒนานโยบายทางด้านการพัฒนาเมืองของประเทศไทย ได้กำหนดแผนการดำเนินงานขึ้นในพื้นที่นำร่อง 19 เมือง
          ผนึกกำลังสมาคมผังเมือง-เล็งนำร่อง19จว.

          รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเครือข่ายพันธมิตรพัฒนาเมือง "City Development Alliance: CDA" ซึ่งสมาคมการผังเมืองไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ธรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.ศิลปากร และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เพื่อสนับสนุนทางวิชาการให้กับการพัฒนาเมืองร่วมกันสร้าง ค้นหา และออกแบบความรู้ร่วมกันพัฒนานโยบายทางด้านการพัฒนาเมืองของประเทศไทย ได้กำหนดแผนการดำเนินงานขึ้นในพื้นที่นำร่อง 19 เมือง

          ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะทำหน้าที่เป็นประธานเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนตามกรอบแนวทางการพัฒนาเมืองโดยมีกฎบัตรของเมืองต่างๆ นั้นเป็นหัวใจหลักในการพัฒนา ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมดำเนินการตามโครงการดังกล่าวนี้จะนำหลักวิชาการและองค์ความรู้ด้านวิชาการนำมาถ่ายทอดและต่อยอดจากสิ่งที่แต่ละเมืองนั้นได้ดำเนินการอยู่แล้ว

          โดยทุกเมือง และทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมตามแผนการดำเนินงานดังกล่าวนี้จะได้ร่วมแลกเปลี่ยนและนำเสนอในสิ่งที่มี สิ่งที่ขาดและสิ่งที่ต้องการบนพื้นฐานที่เกิดขึ้นจากความต้องการของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมสนับสนุนการพัฒนาเมืองตามแนวทางเมืองอัจฉริยะและได้กำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์หนึ่งในการบริหารม.ขอนแก่น

          "ขณะนี้มีเมืองต่างๆ จำนวน 19 แห่ง ที่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบริษัทพัฒนาเมืองที่เข้าร่วมกับการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือดังกล่าว จากนี้ไปคณะทำงานร่วม 6 หน่วยงานหลักจะลงพื้นที่เพื่อเปิดเวทีสาธารณะ ในการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการ และสิ่งที่คนในชุมชนนั้น ดังนั้นวันนี้จึงเป็นมิติใหม่ในการพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือจากภาควิชาการที่เข้าไปสนับสนุนการทำงานในพื้นที่นำร่อง 19 เมืองที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ไป"

          ด้านรศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า เครือข่ายพันธมิตรพัฒนาเมือง ที่เริ่มต้นขึ้นจาก 6 หน่วยงานหลักร่วมกับเมืองต้นแบบ 19 แห่ง จากนี้ไปจะเข้าสู่ขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรมร่วมกันเริ่มจากการประชุมเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง การจัดทำตำราและเอกสารวิชาการทางด้านการพัฒนาเมือง จัดการฝึกอบรมและจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเมือง การทำวิจัยร่วมกัน

          "ทุกเมืองล้วนต้องการเป็นเมืองอัจฉริยะ ซึ่งการเป็นเมืองอัจฉริยะนั้นสามารถที่จะแยกรายละเอียดได้ในแต่ละประเภท วันนี้ความชัดเจนในการพัฒนาเมืองที่สอดรับกับนโยบายของส่วนกลางและนโยบายในการบริหารพื้นที่ของผู้บริหารท้องถิ่นพบว่าทุกพื้นที่ต่างต้องการที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก การส่งเสริมในเรื่องของธุรกิจท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบเมือง"
 
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ