โฟกัสกรุ๊ป สร้างทางเลียบเจ้าพระยา ประชาชนกว่า75%หนุนโครงการ
Loading

โฟกัสกรุ๊ป สร้างทางเลียบเจ้าพระยา ประชาชนกว่า75%หนุนโครงการ

วันที่ : 3 พฤษภาคม 2562
นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีโครงการก่อสร้างทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โดยได้วางนโยบายตั้งแต่ปี 2558 เพื่อพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำสองฝั่งใช้เป็นเส้นทางสัญจร และกิจกรรมต่างๆ รวมระยะทาง 57 กิโลเมตร(กม.) โดยมอบหมายให้กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะนำร่องการก่อสร้างโครงการทั่งสองฝั่ง ในช่วงแรกจากบริเวณสะพานพระราม 7 ถึงสะพานปิ่นเกล้า รวมระยะทาง 14 กม.
          นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีโครงการก่อสร้างทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โดยได้วางนโยบายตั้งแต่ปี 2558 เพื่อพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำสองฝั่งใช้เป็นเส้นทางสัญจร และกิจกรรมต่างๆ รวมระยะทาง 57 กิโลเมตร(กม.) โดยมอบหมายให้กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะนำร่องการก่อสร้างโครงการทั่งสองฝั่ง ในช่วงแรกจากบริเวณสะพานพระราม 7 ถึงสะพานปิ่นเกล้า รวมระยะทาง 14 กม. โดยขณะนี้ยังเกิดข้อพิพาท มีการร้องศาลปกครองเกี่ยวกับโครงการมีความชอบธรรมหรือไม่ เนื่องจากกระบวนการล่าสุด ทางกรุงเทพฯได้เสนอเรื่องไปยังกระทรวงมหาดไทย และคาดว่าจะมีการเปิดประมูลการก่อสร้างนั้น  ทางสมาคมฯได้จัดกิจกรรมเวทีสาธารณะเรื่อง "ทางเลียบเจ้าพระยาสร้างสรรค์หรือทำลาย" มีตัวแทนจาก 35 องค์กร สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย รวมทั้งภาคประชาสังคมเข้าร่วม

          ด้าน ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะโฆษกโครงการการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กล่าวว่า งานแบบนี้เป็นเงินภาษีของประชาชนและเป็นโครงการที่เกิดขึ้นในสมัยของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากประชาชน ซึ่งตามแผนงานแล้ว โครงการต้องเริ่มก่อสร้าง แต่ปัจจุบันยังไม่เริ่มกระบวนการดังกล่าว เนื่องจากต้องกลับมาทบทวนแผนงาน ซึ่งจากการสำรวจและศึกษา มีประเด็นทางด้านวิชาการหลายอย่าง อันได้แก่ เรื่องการสร้างที่ต้องรุกล้ำลงไปแม่น้ำเจ้าพระยา อาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงอาจจะกระทบต่อการระบายน้ำในช่วงเวลาวิกฤต และอาจจะส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาโครงการดังกล่าวจะเข้าไปครอบคลุมพื้นที่สาธารณะรวมกว่า 138 ไร่ ซึ่งมีสถานที่ราชการ วัด ที่พักอาศัยของประชาชน โรงแรม เป็นต้น ที่อาจจะได้รับผลกระทบ

          สำหรับผลสำรวจ(โฟกัสกรุ๊ป)การพัฒนาโครงการจาก สจล. ระบุว่า มีประชาชนเห็นด้วยกับการพัฒนาโครงการประมาณ 75% และอีก 25% ไม่เห็นด้วย ซึ่งจากผลสำรวจจะเห็นได้ว่าเกินกว่า 50% ให้เดินหน้าพัฒนาโครงการต่อไปได้ นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบอีกว่า 65% เห็นว่ามีผลดีมากกว่าผลเสีย ส่วน 11% ผลดีกับผลเสียเท่ากัน 10% คิดว่าผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากจะทำให้วิถีชีวิตประชาชนตามริมน้ำเปลี่ยน และอีก 14% ไม่แน่ใจ ในส่วนของประเด็นที่เห็นด้วยกับการพัฒนาโครงการนี้ กว่า 68% เห็นด้วย 16% ไม่เห็นด้วย และอีก 16% ไม่มีความคิดเห็น

          อย่างไรก็ตาม แผนแม่บทโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ได้กำหนดเส้นทางและพื้นที่ของโครงการในระยะทางเลียบริมฝั่งรวมระยะทาง 140 กม. ทั้งเขตกรุงเทพฯ , ปทุมธานี ,นนทบุรี และสมุทรปราการ แบ่งเป็น 8 โครงการใหญ่ ซึ่งมีหลักการในการพัฒนานั้น เน้นให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และไม่ให้กระทบกับวิถีชุมชนเดิม การพัฒนาในแต่ละพื้นที่ของ 8 โครงการใหญ่นั้นจะทำโดยยึดหลักไม่ให้กระทบกับวิถีของชุมชน อีกทั้งเน้นการพัฒนาที่ยังจะคงเอกลักษณ์เดิมเอาไว้ ทำให้แผนพัฒนาแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้ โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะใช้งบพัฒนาเบื้องต้น 36,000 ล้านบาท

          นายยศพล บุญสม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฉมา โซเอ็น จำกัด ในฐานะที่ภาคประชาชน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว เนื่องจากเป็นโครงการที่รัฐบาลมีธงมาตั้งแต่แรก มัดมือชก โดยที่ยังไม่ได้เห็นแผนแม่บทของโครงการ แต่รัฐบาลพยายามที่จะให้คำตอบเดียวคือ การสร้างทางเลียบ ซึ่งรัฐฯยังไม่ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับงบประมาณในการดูแลโครงการ งบประมาณในการขุดลอกแม่น้ำ สิ่งเหล่านี้ ยังไม่มีความชัดเจน
 
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ