ANNUAL REPORT REIC 2019
013 R e a l E s t a t e I n f o r m a t i o n C e n t e r ( R E I C ) เราได้ผ่านปี 2562 มาระยะหนึ่งแล้ว และได้เห็นว่า GDP การชะลอตัวจาก 4.2% ในปี 2561 ลงมาอยู่ที่ 2.4% ซึ่งได้รับ ผลกระทบมาจากปัจจัยการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน ที่หดตัว และยังมีเหตุการณ์สำ �คัญที่ส่งผลกระทบเชิงลบ ต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยตรงด้วย คือ การออกเกณฑ์การ กำ �กับดูแลเรื่อง LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในระหว่างปี รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นความต้องการซื้อ ที่อยู่อาศัยผ่าน 3 มาตรการ คือ (1) การลดหย่อนภาษีเงินได้ จากการซื้อบ้านและห้องชุด (บ้านหลังแรก) ไม่เกิน 200,000 บาท (2) การลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และลดค่าจดจำ �นอง เหลือร้อยละ 0.01 สำ �หรับการซื้อบ้านจัดสรรและห้องชุดราคา ไม่เกิน 1 ล้านบาท และ (3) การลดค่าธรรมเนียมการโอน กรรมสิทธิ์และลดค่าจดจำ �นองเหลือร้อยละ 0.01 สำ �หรับการซื้อ บ้านจัดสรรและห้องชุดที่ซื้อจากผู้ประกอบการฯ ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 3 มาตรการนี้ได้ส่งผลช่วยพยุงยอดโอน กรรมสิทธิ์ทั่วประเทศให้ใกล้เคียงกับปี 2561 ทำ �ให้ปรับตัวลง เพียงเล็กน้อย โดยมีหน่วยและมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ฯ ลดลงเพียง ร้อยละ -0.5% และ -0.5% ตามลำ �ดับ เมื่อเทียบกับปี 2561 ในส่วนของอุปทานที่อยู่อาศัยที่ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ทำ �การสำ �รวจตลาดที่อยู่อาศัย 26 จังหวัด ในปี 2562 มียอดขายลดลงประมาณ -24% ทำ �ให้มีจำ �นวนหน่วยเหลือขาย ในปลายปี 2562 สูงถึง 301,098 หน่วย มูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่ประมาณ 14.6% ในปี 2563 อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นปีที่มีความยากลำ �บาก อีกปี อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของ COVID - 19 ซึ่งส่งผล ให้เศรษฐกิจภาพรวมทั้งประเทศหดตัวลงในครึ่งปีแรก และ คาดว่า GDP ปี 2563 อาจจะมีการหดตัวถึง -7.8% ถึง -7.3% ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร รักษาการผู้อำ �นวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ด้วยทิศทางของสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ อาจทำ �ให้ภาค อสังหาริมทรัพย์มีการหดตัวลงด้วยเช่นกัน โดยคาดการณ์ว่า หน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์อาจจะหดตัวลง -17.6% และ -19.8% ตามลำ �ดับ ในภาวะเช่นนี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้มีบทบาท ในการนำ �เสนอข้อมูลที่ทันต่อสถานการณ์ในฐานะที่เป็น ศูนย์กลางรวบรวมและพัฒนาข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ นำ �เสนอ บทวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินสถานการณ์และแนวโน้มตลาด อสังหาริมทรัพย์ อันนำ �ไปสู่การพยากรณ์อุปสงค์ อุปทาน และทิศทางราคาอสังหาริมทรัพย์ตามช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ตามพันธกิจที่ได้รับมอบหมาย ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้ให้ความสำ �คัญกับการจัดทำ � พยากรณ์โครงการเปิดขายใหม่ ราคาของอสังหาริมทรัพย์ รวมถึง คาดการณ์ด้านสินเชื่อและการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย และ ข้อมูลสำ �คัญอื่น ๆ เพื่อพัฒนาสู่การจัดทำ � Warning Indicator เพื่อติดตามสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย และนำ �ผลการ คาดการณ์สื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการฯ เพื่อเป็นข้อมูลในการออกมาตรการส่งเสริมให้คนไทยมีบ้านตาม แนวนโยบายของกระทรวงการคลังและตามภารกิจของธนาคาร อาคารสงเคราะห์ รวมถึงการพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์และ เศรษฐกิจของประเทศ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์จะยังคงมุ่งมั่นสานต่อความ ร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่ครอบคลุมทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ในทุกมิติ และมุ่งเน้นให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมในด้านต่าง ๆ ท้ายนี้ ศูนย์ข้อมูลฯ ขอขอบคุณในความร่วมมือจากทุกภาคส่วน มา ณ โอกาสนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3