บีทีเอส แนะถกค่าโดยสาร15บาทลั่นหนุนรัฐบาล
วันที่ : 23 กรกฎาคม 2562
"ศักดิ์สยาม" ลั่นปรับลด ค่าครองชีพต้องชัดเจนภายใน 1 เดือน "คีรี" ยันพร้อมร่วมมือรัฐบาลช่วยลดภาระค่าครองชีพ ประชาชน แต่ต้องหาแนวทางที่เหมาะสม หวั่นเอกชนแบกภาระอยู่ไม่ได้ ด้าน รฟม.ย้ำต้องถก ร่วมเอกชน หวั่นกระทบสัญญาสัมปทาน
ลั่นปรับลด ค่าครองชีพต้องชัดเจนภายใน 1 เดือน "คีรี" ยันพร้อมร่วมมือรัฐบาลช่วยลดภาระค่าครองชีพ ประชาชน แต่ต้องหาแนวทางที่เหมาะสม หวั่นเอกชนแบกภาระอยู่ไม่ได้ ด้าน รฟม.ย้ำต้องถก ร่วมเอกชน หวั่นกระทบสัญญาสัมปทาน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยนโยบายปรับลดค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะว่า จะเรียกประชุม 23 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อมอบนโยบายให้แต่ละหน่วยงานกลับไปพิจารณาหาแนวทางและมาตรการการช่วยค่าครองชีพด้านการเดินทางให้แก่ประชาชน โดยให้หาช่องว่างที่พอจะออกมาตรการลดค่าโดยสารเพิ่มเติม
"ผมจะให้เวลาแต่ละหน่วยงานกลับไปพิจารณา 1 เดือนและส่งกลับมาให้ผม เมื่อถึงวันนั้นจึงจะรู้ว่า ระบบขนส่งส่วนไหนที่สามารถปรับลดค่าโดยสารอะไรได้หรือไม่อย่างไร"นายศักดิ์สยามกล่าว
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS กล่าวกรณีที่รัฐบาลต้องการช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยกระทรวงคมนาคมอยากเห็นค่าโดยสารรถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสายนั้น ส่วนตัวมองว่ารัฐบาลมีเจตนาที่ดี และโดยส่วนตัวก็พร้อมให้ความร่วมมือ แต่เชื่อว่าการช่วยลดภาระของรัฐบาลก็ต้องเข้าใจภาคเอกชนให้สามารถอยู่รอดได้ เพราะไม่เช่นนั้น ก็คงไม่มีเอกชนรายใดกล้าลงทุน ซึ่งก็ทำให้รัฐบาลต้องลงทุนเองหมดทุกโครงการ
ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ทุกโครงการของภาครัฐมักให้ผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) เฉลี่ยที่ระดับ 9% ถือว่าไม่สูงนัก ขณะที่ ปัจจุบันหากคิดค่าโดยสารรถไฟฟ้าตามที่คาดไว้จริงๆอาจต้องจ่ายสูงถึง 130 บาทต่อรอบ แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการไม่สามารถปรับราคาให้สูงได้ เพราะอาจกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน
"หากฝ่ายรัฐไม่มองความมั่นคงของภาคเอกชนบ้างอนาคตคงไม่เกิด เพราะไม่งั้นภาครัฐก็ต้องทำเองหมด ซึ่งอยากให้เอกชนร่วมลงทุนก็ต้องให้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล"
สำหรับข้อเสนอของกทม.ที่อยากให้ผู้ที่ได้สัมปทานต้องร่วมรับภาระหนี้ค่าก่อสร้างส่วนต่อขยาย 2 สาย และเก็บค่าโดยสารตลอดเส้นทางไม่เกิน 65 บาทนั้น ธุรกิจ ต้องคำนึงถึงกำไรของผู้ถือหุ้น แต่ก็ต้องคำนึงรายได้ของผู้มาใช้บริการว่าทำอย่างไรให้เขาสามารถใช้บริการได้ ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการเจรจา มั่นใจว่าหากบีทีเอสทำไม่ได้ก็ไม่มีใครจะมาทำได้ ถ้าการเจรจาไม่สำเร็จ เราก็ยังมีสัมปทานเหลืออีกราว 9 ปี
"เรากำลังพิจารณาข้อเสนอ เพราะหากเราได้โครงการหลักมาแต่รายได้จากค่าโดยสารอาจไม่ทำกำไร เราก็อาจต้องไปหารายได้ส่วนอื่นๆมาแทนได้ไหม ซึ่งเราคิดว่าเราทำได้ เพราะธุรกิจเดินรถไฟฟ้าในต่างประเทศ ใครๆเขาก็ทำกัน" นายคีรีกล่าว
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบนโยบายการปรับลดค่าโดยสารที่ชัดเจน แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดค่าโดยสารตามนโยบาย โดยหากจะดำเนินการจริงต้องไปดูรายละเอียดในเรื่องของสัญญาต่างๆ ที่ทำไว้ร่วมกับเอกชนก่อนว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากเป็นสัญญาที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน
ทั้งนี้ หากทางเอกชนที่รับสัมปทานเห็นว่าได้รับผลกระทบก็จะเป็นในลักษณะเดียวกันกับเรื่องของทางพิเศษ หรือทางด่วน ที่มีคดีความกันอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นต้อง หารือร่วมกันทุกฝ่ายก่อน
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า การที่รัฐบาลต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ประชาชน คงต้องรอฟังนโยบายที่ชัดเจน หลังจากนั้นจึงจะหารือร่วมระหว่างกรมการขนส่งทางราง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบราง อาทิ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
เบื้องต้นมองว่า การที่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะเหลือ 15 บาทตลอดสาย สามารถทำได้ แต่คง ทำในส่วนของการเดินรถโดยภาครัฐ เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) หรือรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ของ ร.ฟ.ท. ขณะที่การเดินรถในส่วนของเอกชน เนื่องจากมีการทำสัญญาเดินรถอยู่ ดังนั้นต้องดูว่าจะมีรูปแบบใดที่จะสามารถทำได้บ้าง
"ตอนนี้กรมขนส่งทางราง กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ เพราะที่ผ่านมามีประชาชนร้องเรียนมามากว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทยแพง และส่วนตัวมองว่าหากจะเริ่มปรับลดค่าโดยสาร ตอนนี้รถไฟฟ้าสายสีม่วง มีผู้โดยสาร ใช้บริการน้อยอยู่ หากปรับลดค่าโดยสารลง อาจจะดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งเมื่อมีคนมาใช้บริการมากขึ้น รายได้ก็จะเพิ่มมากขึ้น จนอาจจะไม่ได้เสียรายได้เลย"
นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางรางได้ส่งเรื่องผ่านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ให้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางราง ประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงคมนาคม ขร. และกระทรวงการคลัง มีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เพื่อพิจารณามาตรการสนับสนุนโครงสร้างอัตราค่าโดยสารของรัฐบาล และนำไปปฏิบัติต่อไป
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยนโยบายปรับลดค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะว่า จะเรียกประชุม 23 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อมอบนโยบายให้แต่ละหน่วยงานกลับไปพิจารณาหาแนวทางและมาตรการการช่วยค่าครองชีพด้านการเดินทางให้แก่ประชาชน โดยให้หาช่องว่างที่พอจะออกมาตรการลดค่าโดยสารเพิ่มเติม
"ผมจะให้เวลาแต่ละหน่วยงานกลับไปพิจารณา 1 เดือนและส่งกลับมาให้ผม เมื่อถึงวันนั้นจึงจะรู้ว่า ระบบขนส่งส่วนไหนที่สามารถปรับลดค่าโดยสารอะไรได้หรือไม่อย่างไร"นายศักดิ์สยามกล่าว
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS กล่าวกรณีที่รัฐบาลต้องการช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยกระทรวงคมนาคมอยากเห็นค่าโดยสารรถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสายนั้น ส่วนตัวมองว่ารัฐบาลมีเจตนาที่ดี และโดยส่วนตัวก็พร้อมให้ความร่วมมือ แต่เชื่อว่าการช่วยลดภาระของรัฐบาลก็ต้องเข้าใจภาคเอกชนให้สามารถอยู่รอดได้ เพราะไม่เช่นนั้น ก็คงไม่มีเอกชนรายใดกล้าลงทุน ซึ่งก็ทำให้รัฐบาลต้องลงทุนเองหมดทุกโครงการ
ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ทุกโครงการของภาครัฐมักให้ผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) เฉลี่ยที่ระดับ 9% ถือว่าไม่สูงนัก ขณะที่ ปัจจุบันหากคิดค่าโดยสารรถไฟฟ้าตามที่คาดไว้จริงๆอาจต้องจ่ายสูงถึง 130 บาทต่อรอบ แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการไม่สามารถปรับราคาให้สูงได้ เพราะอาจกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน
"หากฝ่ายรัฐไม่มองความมั่นคงของภาคเอกชนบ้างอนาคตคงไม่เกิด เพราะไม่งั้นภาครัฐก็ต้องทำเองหมด ซึ่งอยากให้เอกชนร่วมลงทุนก็ต้องให้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล"
สำหรับข้อเสนอของกทม.ที่อยากให้ผู้ที่ได้สัมปทานต้องร่วมรับภาระหนี้ค่าก่อสร้างส่วนต่อขยาย 2 สาย และเก็บค่าโดยสารตลอดเส้นทางไม่เกิน 65 บาทนั้น ธุรกิจ ต้องคำนึงถึงกำไรของผู้ถือหุ้น แต่ก็ต้องคำนึงรายได้ของผู้มาใช้บริการว่าทำอย่างไรให้เขาสามารถใช้บริการได้ ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการเจรจา มั่นใจว่าหากบีทีเอสทำไม่ได้ก็ไม่มีใครจะมาทำได้ ถ้าการเจรจาไม่สำเร็จ เราก็ยังมีสัมปทานเหลืออีกราว 9 ปี
"เรากำลังพิจารณาข้อเสนอ เพราะหากเราได้โครงการหลักมาแต่รายได้จากค่าโดยสารอาจไม่ทำกำไร เราก็อาจต้องไปหารายได้ส่วนอื่นๆมาแทนได้ไหม ซึ่งเราคิดว่าเราทำได้ เพราะธุรกิจเดินรถไฟฟ้าในต่างประเทศ ใครๆเขาก็ทำกัน" นายคีรีกล่าว
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบนโยบายการปรับลดค่าโดยสารที่ชัดเจน แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดค่าโดยสารตามนโยบาย โดยหากจะดำเนินการจริงต้องไปดูรายละเอียดในเรื่องของสัญญาต่างๆ ที่ทำไว้ร่วมกับเอกชนก่อนว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากเป็นสัญญาที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน
ทั้งนี้ หากทางเอกชนที่รับสัมปทานเห็นว่าได้รับผลกระทบก็จะเป็นในลักษณะเดียวกันกับเรื่องของทางพิเศษ หรือทางด่วน ที่มีคดีความกันอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นต้อง หารือร่วมกันทุกฝ่ายก่อน
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า การที่รัฐบาลต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ประชาชน คงต้องรอฟังนโยบายที่ชัดเจน หลังจากนั้นจึงจะหารือร่วมระหว่างกรมการขนส่งทางราง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบราง อาทิ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
เบื้องต้นมองว่า การที่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะเหลือ 15 บาทตลอดสาย สามารถทำได้ แต่คง ทำในส่วนของการเดินรถโดยภาครัฐ เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) หรือรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ของ ร.ฟ.ท. ขณะที่การเดินรถในส่วนของเอกชน เนื่องจากมีการทำสัญญาเดินรถอยู่ ดังนั้นต้องดูว่าจะมีรูปแบบใดที่จะสามารถทำได้บ้าง
"ตอนนี้กรมขนส่งทางราง กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ เพราะที่ผ่านมามีประชาชนร้องเรียนมามากว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทยแพง และส่วนตัวมองว่าหากจะเริ่มปรับลดค่าโดยสาร ตอนนี้รถไฟฟ้าสายสีม่วง มีผู้โดยสาร ใช้บริการน้อยอยู่ หากปรับลดค่าโดยสารลง อาจจะดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งเมื่อมีคนมาใช้บริการมากขึ้น รายได้ก็จะเพิ่มมากขึ้น จนอาจจะไม่ได้เสียรายได้เลย"
นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางรางได้ส่งเรื่องผ่านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ให้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางราง ประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงคมนาคม ขร. และกระทรวงการคลัง มีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เพื่อพิจารณามาตรการสนับสนุนโครงสร้างอัตราค่าโดยสารของรัฐบาล และนำไปปฏิบัติต่อไป
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ